Blognone Tomorrow งานสัมมนาเทคโนโลยีประจำปีของ Blognone กลับมาอีกครั้งในปี 2019 โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 9 กันยายน 2019 ที่ภิรัชฮอลล์ BITEC บางนา
ธีมของงานปี 2019 มุ่งเน้นที่ Human & Machine หรือความสัมพันธ์ของมนุษย์กับเทคโนโลยีและเครื่องจักร โดยจะแยกย่อยเป็น 3 ห้องตามประเภทของเทคโนโลยี ได้แก่ AI, IoT, Cloud กับผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ มากถึง 28 คนที่จะมานำเสนอประเด็นเหล่านี้
รายชื่อ Speaker ช่วงเช้า (Main Stage by AIS)
Keynote: 5G and Business Transformation: Impacts & Opportunities
คุณยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AISจะมาเล่าถึงการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีโทรคมนาคมจากยุคที่ 4 (4G) ไปยุคที่ 5 (5G) ซึ่งไม่ใช่แค่การเปลี่ยนแปลงในแง่ความเร็วของการรับส่งข้อมูล แต่ยังมีเรื่องของความหน่วงที่ต่ำ ซึ่งจะมีช่วยให้เกิดการใช้งานอุปกรณ์ IoT และ Edge Computing ในหลากหลายรูปแบบมากขึ้น ส่งผลให้เกิดโอกาสทางธุรกิจอีกมากมาย
AIS ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เตรียมพร้อมสำหรับการให้บริการด้านนี้ จะมาช่วยชี้ให้เห็นโอกาสถึงโอกาส ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจจากการมาถึง 5G
Keynote: Battery-Driven Future
ขณะที่โลกกำลังค้นหาพลังงานสะอาดเพื่อมาทดแทนถ่านหินและน้ำมัน Elon Musk ก็ได้แนะนำ Tesla Motors รถยนต์ไฟฟ้าที่จับต้องได้ให้คนได้รู้จัก
คุณสมโภช อาหุนัย ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ (Energy Absolute)ที่ผลิตแบตเตอรี่ รถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติไทยและสร้างสถานีชาร์จสำหรับรถไฟฟ้าทั่วประเทศ จนถูกขนานนามว่า Elon Musk เมืองไทย จะมาเล่าวิธีคิดในการบุกเบิกพลังงานทางเลือกในประเทศไทยและอนาคตของไทยจะเป็นอย่างไรจากพลังงานไฟฟ้านี้
Panel: From China with Love
การผงาดขึ้นมาของบริษัทเทคโนโลยีจากจีน เป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคามไปพร้อมกัน
สินค้าและบริการของจีนช่วยเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้กับคนไทย (เช่น การไปขายของให้คนจีนบน Taobao) ช่วยเข้ามาแข่งขันกับเจ้าตลาดเดิมทั้งฝั่งโลกตะวันตก และแบรนด์เอเชียจากญี่ปุ่น-เกาหลี-ไต้หวัน (เช่น มือถือจีนที่เข้ามาแข่งกับแอปเปิล-ซัมซุง) แต่ในอีกด้าน สินค้าและบริการจีนก็เข้ามาแข่งกับคนไทยเช่นกัน และมักเอาชนะได้ด้วย เพราะมีต้นทุนถูกกว่า สามารถทำราคาได้ดีกว่ากิจการของคนไทย
งาน Blognone Tomorrow 2019 จึงพยายามค้นหาคำตอบว่า เราควรรับมือกับบริษัทจีนอย่างไร? โดยเชิญตัวแทนจาก 3 บริษัทคือ Tencent, Huawei และ Meituan Dianping มาร่วมสนทนากันบนเวที
- คุณกฤตธี มโนลีหกุลกรรมการผู้จัดการ Tencent (Thailand)
- คุณธนินทร์ น้อยรังสีหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี ธุรกิจคลาวด์ ศูนย์ภูมิภาคแห่งประเทศไทยของ HUAWEI TECHNOLOGIES (Thailand)
- Janus HeHead of Global Business, Meituan Dianping
- ดำเนินรายการโดย "ซู่ชิง" จิตต์สุภา ฉิน
รายชื่อ Speaker ช่วงบ่าย (AI Stage by KBTG)
ห้อง AI Stage by KBTG เป็นการนำเสนอในประเด็นเรื่อง AI, Machine Learning, Big Data, Data Analytics รวมถึงกระบวนการ Agile Process ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ถูกจับตาอย่างมากจากภาคธุรกิจทุกวันนี้
MLOps: Productionizing Machine Learning at Scale
เราน่าจะคุ้นเคยกับ DevOps ในฐานะหนึ่งในกระบวนการ agile และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่าง Development และ Operation และล่าสุดก็เกิดกระบวนการคล้ายๆ กันที่เรียกว่า MLOps ในสาย AI
คุณทัศพล อธิอภิญญา Advanced Machine Learning Engineer ของ KBTGและอดีตวิศวกรคนไทยใน Apple สำนักงานใหญ่ จะมาแบ่งปันประสบการณ์และเล่าให้เราฟังว่ากระบวนการ MLOps มันเป็นอย่างไรและช่วยในกระบวนการทำ Machine Learning มันง่ายและสะดวกมากขึ้นอย่างไร
Panel: Practical Data
Data is a new oil เป็นประโยคที่สะท้อนถึงความสำคัญของข้อมูลสำหรับองค์กรในยุค Digital Transformation แบบนี้ ทว่าปัญหาคือสุดท้ายแล้วข้อมูลที่แต่ละองค์กรเก็บมา สามารถนำไปใช้ได้จริงอย่างไร พวกเขารู้ได้อย่างไรว่าต้องใช้ข้อมูลอะไร ได้ข้อมูลเหล่านั้นมาจากไหนและแปลงข้อมูลออกมาเป็นการปรับปรุงสินค้าและบริการได้อย่างไร
มาหาคำตอบจากแง่มุมของ
- คุณนที ศรีรัศมี Executive Director, UOB Thai
- คุณกล้า ตั้งสุวรรณ Chief Executive Officer of Wisesightใน Panel Discussion: Practical Data
- ดำเนินรายการโดย อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ผู้ร่วมก่อตั้ง Blognone
DesignOps: Keeping Up with the Dev Cycle by Way of Agile Design operation
เราน่าจะคุ้นเคยกับ DevOps ในฐานะหนึ่งในกระบวนการ agile และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่าง Development และ Operation และล่าสุดก็เกิดกระบวนการคล้ายๆ กันที่เรียกว่า DesignOps ในสายนักออกแบบ
คุณสรรพวิชญ์ ศิริผล ดีไซเนอร์จาก KBTGจะมาเล่าให้เราฟังว่า DesignOps ช่วยให้การทำงานของทีมออกแบบร่วมกับทีมอื่นๆ ง่ายมากขึ้นและดีขึ้นได้อย่างไร
Unlock the Value of Data with Artificial Intelligence (AI)
การต่อยอดข้อมูลด้วยการใช้งานร่วมกับปัญญาประดิษฐ์กำลังเป็นประเด็นที่โลกธุรกิจสนใจ เราได้เชิญ คุณพรชัย พฤกษารัตนนนท์ ผู้อำนวยการ ธุรกิจโออีเอ็ม เดลล์ เทคโนโลยี โซลูชั่น ด้าน Embedded และ Edge ภาคพื้นอินโดจีนว่าในมุมมองของ Dell EMC ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสตอเรจข้อมูลองค์กร ธุรกิจต่างๆ สามารถนำข้อมูลมาต่อยอดและเพิ่มมูลค่าได้อย่างไร
Experimental at Scale in Agoda
บริษัทจองที่พักออนไลน์อย่าง Agoda มีวัฒนธรรมการ "ทดลอง" เรื่องต่างๆ ตลอดเวลา เบื้องหลังของการทดลองทำ A/B Testing ในสเกลระดับ Agoda จะเป็นอย่างไร การบรรยายนี้มีคำตอบโดย Idan Zalzberg VP Data ของ Agodaที่หลายคนเคยฟังเขามาแล้วในงาน Blognone Tomorrow ปีที่แล้ว
รายชื่อ Speaker ช่วงบ่าย (IoT Stage by dtac)
ห้อง IoT Stage by dtac เป็นการนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับ Internet of Things ในหลากหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็น Smart City, Smart Farming, Smart Home, Smart Car
Digital Agriculture
Smart Farming / Smart Agriculture เป็นหนึ่งในประเด็นที่ถูกพูดถึงอย่างมากถึงการมาของ IoT ในไทย อาจเนื่องด้วยความเป็นประเทศเกษตรกรรม dtac เป็นหนึ่งในบริษัทที่บุกเบิกเรื่องนี้ แล้วก็ประสบความสำเร็จแล้วด้วยจากความร่วมมือกับ Yara บริษัทด้านเกษตรระดับโลกจากนอร์เวย์
นำเสนอโดย คุณประพันธ์ จิวะพงษ์ VP, Head of Sustainability Department, Total Access Communication PLC.ผู้นำโครงการด้าน Digital Agriculture ที่ dtac
Panel: Smart City Case Study: Hatyai
การมาถึงของ IoT และ 5G ทำให้ไอเดียของ “เมืองอัจฉริยะ” หรือ Smart City สามารถเกิดขึ้นได้จริงและถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ แต่หลายคนอาจจะยังรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก ทว่ามีหนึ่งเคสที่เกิดขึ้นจริงแล้วในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (ม.อ.) จากความร่วมมือกับ Cisco
เราจึงเชิญผู้มีส่วนร่วมอย่าง คุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยของ Ciscoและ คุณจิรศักดิ์ นพรัตน์ Chief Technology Officer (CTO) Smart City Project มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มาเล่าให้ฟังถึงความร่วมมือและมุมมองที่ว่าด้วยการเปลี่ยนหาดใหญ่ให้เป็น Smart City นั้นเป็นไปได้จริงมากน้อยแค่ไหน
ดำเนินรายการโดย พรหมเมศร์ ศิริสุขวัฒนานนท์บรรณาธิการ Brand Inside
The Future of Car
วงการรถยนต์เป็นหนึ่งในวงการที่กำลังเผชิญกับ Digital Disruption และกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่รถยนต์แห่งยุคสมัยหน้า
เราได้เชิญ คุณ Ramesh Narasimhan ประธานของนิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย)มาเล่าวิสัยทัศน์ของค่ายรถที่ก้าวหน้าในเรื่องรถยนต์ไฟฟ้าอย่างนิสสัน ว่าอนาคตของรถยนต์ไม่ได้มีแค่แง่มุมของรถยนต์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว
LINE Things: Connecting the World to Your Pocket
เมื่อพูดถึงแพลตฟอร์ม IoT เราอาจนึกถึงโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีเซ็นเซอร์เชื่อมกับหุ่นแขนกล หรือ ฟาร์มอัจฉริยะที่มีเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำและดิน แต่จริงๆ แล้ว IoT ใกล้ตัวกว่าที่เราคิดมาก เพราะในสภาพแวดล้อมที่เราไปบ่อยๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร โรงหนัง หรือแม้แต่บ้านของเราเอง อาจมีอุปกรณ์ Bluetooth Low Energy (Bluetooth LE) ที่พูดคุยกับสมาร์ทโฟนของเราได้โดยตรง แม้จะมีแพลตฟอร์มอื่นทำอยู่ก่อนแล้ว แต่ก็มีรูปแบบการใช้งานจำกัดหรือเป็นแพลตฟอร์มเฉพาะที่ฐานผู้ใช้ไม่มาก
LINE Things เป็นแพลตฟอร์ม IoT ที่กว้างกว่าการเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับอินเทอร์เน็ต เพราะสามารถใช้ LINE เป็นทั้งแพลตฟอร์มและอินเทอร์เฟซ เปิดทางให้นักพัฒนานำผู้ใช้เชื่อมต่อได้กับอุปกรณ์ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ผ่านทางแชตและแอปพลิเคชั่นบน LINE
เราจึงเชิญ คุณจิรวัฒน์ กรัณย์วิทยาการ Technology Evangelist จาก LINE Thailandมาแนะนำข้อมูลของ LINE Things และเดโมการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ IoT กับ LINE ให้เห็นกันจริงๆ ว่าทำอย่างไร
Future of Smart Living
ปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่กี่ปีที่ผ่านมา Smart Home เป็นหนึ่งในเรื่องที่ถูกพูดถึงกันมาก และก็เริ่มเกิดขึ้นจริงบ้างแล้ว โดยเฉพาะกับโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่บริษัทพัฒนานำโซลูชันสมาร์ทโฟนมาให้ลูกบ้านได้ทดลองใช้งาน
Sansiri ก็เป็นหนึ่งในบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายแรกๆ ที่นำเทคโนโลยี Smart Home มาให้ลูกบ้านใช้งาน พวกเขาเห็นอนาคตในเรื่องนี้อย่างไร เราเชิญ คุณไพบูลย์ วงศาสุทธิกุล Senior Vice President - Innovation & Strategic Partnership แสนสิริและ คุณจิรพัฒน์ จันทร์เจิดศักดิ์ CTO ของ Siri Venturesมาพูดคุยกันในเรื่องนี้
รายชื่อ Speaker ช่วงบ่าย (Cloud Stage by NUTANIX)
ห้อง Cloud Stage by NUTANIX เป็นการพูดถึงพื้นฐานของโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีในยุคปัจจุบัน ที่ทุกอย่างขึ้นไปอยู่บนคลาวด์ แต่ก็มีรายละเอียดที่ต้องเสวนาและถกเถียงกันในหลายแง่มุม
Enterprise Cloud: From Scratch to Production Protection
Nutanix ที่ให้บริการ HCI และซอฟต์แวร์จัดการสตอเรจคลาวด์ จะมาแบ่งปันมุมมองการสร้างคลาวด์สำหรับองค์กรตั้งแต่พื้นฐานจนพร้อมใช้งาน โดย คุณสุรักษ์ ธรรมรักษ์ System Engineer Manager, Nutanix Thailand
Hybrid/On-Premise Cloud อนาคตระยะยาวหรือทางแก้ชั่วคราว
ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่า Cloud เป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของ Digital Transformation สำหรับองค์กร จาก Private Cloud ในองค์กรไปใช้งาน Public Cloud ทว่าปัญหาคือหลายๆ องค์กรจะย้ายไปใช้ Public Cloud ทั้งหมด 100% ก็อาจจะเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ Hybrid Cloud เลยเป็นทางออกไปก่อน และค่อนข้างแน่นอนว่า Private Cloud ล้วนในอนาคตคงไม่เหลือ
ปัญหาคือ Hybrid Cloud จะยังคงเป็นสถาปัตยกรรมหลักแบบนี้ต่อไป หรือเป็นเพียงเส้นทางเปลี่ยนผ่านไปสู่ Public Cloud ทั้งหมดในอนาคต
มาร่วมแลกเปลี่ยนและพยายามให้คำตอบกับคำถามข้างต้นกับ
- คุณนพดล เจริญทองHead of General Business for Thailand and Emerging จาก SAP Indochina
- คุณวิริยะ โฆษะวิสุทธิ์Executive Director จาก ExxonMobil
- ดำเนินรายการโดย วสันต์ ลิ่วลมไพศาล ผู้ร่วมก่อตั้ง Blognone
Top facts you need to know about the Cyber Security Act and the Privacy Data Protection Act
ประเด็นเรื่องความปลอดภัย เป็นประเด็นสำคัญที่องค์กรไม่ควรมองข้าม แต่ในความเป็นจริงรายงานจากบริษัทด้านความปลอดภัยหลายแห่งชี้ตรงกันว่า ปัญหาสำคัญของความปลอดภัยในองค์กร กลับเกิดจากการมองข้ามของผู้บริหาร ทั้งในแง่การให้ความรู้คน นโยบายและงบประมาณ
ดร. ภูมิ ภูมิรัตน์ Expert member of National Cybersecurity Preparation Committeeในฐานะตัวแทนจาก Microsoft Thailand จะมาแสดงมุมมองด้านนี้ในงาน Blognone Tomorrow 2019 ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายสำคัญในเรื่องนี้ 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ และ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
Automation and Robotic Process
หนึ่งในประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กรคือลดกระบวนการที่ซ้ำซ้อนและไม่จำเป็น จากการเปลี่ยนการใช้งานคนมาเป็นระบบอัตโนมัติ
คุณพงศ์พีระ ชวาลาธวัช Vice President, Solution Integration Group จาก Metro Systemsบริษัทไอทีและมีประสบการณ์ให้บริการโซลูชันด้านไอทีมานานในไทย จะมาถ่ายทอดประสบการณ์ในด้านนี้
Open Distro for Elasticsearch
Amazon Web Services (AWS) บริษัทคลาวด์เบอร์ 1 ของโลกมีบริการที่ชื่อว่า Elasticsearch เอนจินต์สำหรับการทำระบบค้นหาและวิเคราะห์ ก่อนจะกลายเป็นหนึ่งในมาตรฐานซอฟต์แวร์บนคลาวด์
คุณพงษ์สันติ์ สายัมพล Solution Architectจาก Amazon Web Services จะมาพูดเรื่อง Open Distro for Elasticsearch โครงการที่ทำให้ Elasticsearch เป็นโอเพนซอร์สและยกระดับมูลค่าของมัน
Future of Banking Security
ธนาคารและสถาบันการเงินเป็นหนึ่งในเป้าหมายโจมตีหลักของแฮกเกอร์มาโดยตลอด การแฮกสถาบันทางการเงินแต่ละครั้งสามารถสร้างความเสียหายได้มหาศาล ขณะที่ด้านเทคโนโลยีความปลอดภัยธนาคารก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดและเปลี่ยนก่อนอุตสาหกรรมอื่น
วิทยากรจากทั้งธนาคาร (SCB, KTB) และหน่วยงานกลางอย่าง NDID จะมาคุยถึงความเป็นไปได้ในอนาคต ว่าเรากำลังจะมีความเปลี่ยนแปลงอะไร และความเปลี่ยนแปลงนั้นจะเพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างไรบ้าง ในหัวข้อ Future of Banking Security
- ดร.ฉกรรจ์ พราหมณ์แก้วBlockchain Architect, National Digital ID (NDID)
- คุณพนิต เวชศิลป์VP Mobile Development, Siam Commercial Bank
- คุณสุรชัย ฉัตรเฉลิมพันธ์SVP IT Strategy, Management & Governance Technology Group, Krungthai Bank Public Co.,Ltd.
- ดำเนินรายการโดย วสันต์ ลิ่วลมไพศาล ผู้ร่วมก่อตั้ง Blognone
Special Guest (Main Stage)
Hyperloop and Path Skipping Development Strategy
Hyperloop ไอเดียการเดินทางแห่งอนาคตที่ Elon Musk เสนอเอาไว้ กำลังกลายเป็นรูปเป็นร่างในหลายๆ ประเทศ
แขกรับเชิญพิเศษ คุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่จะมานำเสนอไอเดียว่า Hyperloop เป็นอนาคตของระบบคมนาคมไทย ไม่ใช่รถไฟความเร็วสูง รวมถึงเปิดรายงานการศึกษา Hyperloop ในไทยให้เป็นสาธารณะด้วย
การนำเทคโนโลยีนี้มาใช้งานในไทยเป็นไปได้จริงแค่ไหน มองเห็นอะไรใน Hyperloop และโอกาสทางเศรษฐกิจของไทยในการนำมาใช้งาน
ตารางกำหนดการของงาน Blognone Tomorrow 2019
ผู้สนใจสามารถซื้อบัตรได้จาก EventPop (สามารถออกใบกำกับภาษีได้)
Comments
เหมือนปีที่แล้วเลยครับ ช่วง Early Bird ไม่มีรายละเอียดและคนที่จะมาพูดทำให้ผมไม่กล้าซื้อ
นี่คือเหตุผลที่เป็น Early Bird ครับ รู้ครบแล้วก็ได้ราคาเต็มครับ
เป็นเหตุผลที่ประหลาด เทียบกับ Early bird งานทั่วไปนะครับ
ปกติช่วง Early มักประกาศสาระสำคัญของงานเกิน 80% แล้ว เหลือที่เผื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไข ถ้ายังไม่ Finalize เพื่อให้ไปจัดเตรียมนู่นนี่นั่น จัดเพื่อให้ได้ยอดการันตี เพื่อไปคอนเฟิร์มเพื่อให้เกิด Volume discount และเพื่อนำเงินส่วนนึงไปจ่ายค่าเตรียมการจัดงานบางส่วนล่วงหน้า
ผมมองว่ามันเป็นความรับผิดชอบของผู้จัดงานที่จะต้องแจ้ง information หลักๆให้ครบ และผมเชื่อว่าคน "ส่วนใหญ่" ก็คิดเช่นนั้น เพราะการตัดสินใจเร็วของ Early bird ของงานสัมมนาทั่วไป ควรเป็นแบบ "รู้ครบ แล้วตัดสินใจไว" ไม่ใช่ "ไม่รู้อะไรเลย ตัดสินใจไปก่อน" .. ซึ่งปีที่แล้วก็มีคอมเมนท์เรื่องนี้ และปีนี้ก็ยังคงเป็นเช่นเดิม
แต่ก็อีกนะ ก็ไม่ได้ขัดอะไรถ้า Early bird ของงานนี้เป็นเรื่องของ Gambling and risk-taking แต่บริษัทไอทีเองก็ไม่ชอบอะไรแบบนี้ไม่ใช่เหรอ เวลาจะลงชื่อไปงานสัมมนาขนาดงานฟรียังขอดูลิสต์หรือต้องส่งหัวข้อไปให้เจ้านายเลยถึงจะลงชื่อกันได้ นี่มีค่าใช้จ่ายด้วยซ้ำ.... ในเมื่อไม่ชอบทำไมถึงทำกับผู้อื่นเช่นเดียวกัน ผมแค่ไม่เข้าใจ
ถ้าทีมงานคิดแบบนี้จริงๆ ก็ขออวยพรให้โชคดีครับ 555
คุณเข้าใจคำว่า Early Bird ผิดไป 10 ล้านปีแสง
อาจจะคิดว่า Shut up and take my money
Early Bird นี่ไม่มีจำกัดจำนวนตั๋วใช่ไหมครับ แค่ซื้อและจ่ายก่อน 8 สิงหาก็พอ?
สวัสดีค่ะ คุณ earlykindบัตร early bird ไม่มีจำนวนจำกัดค่ะ สามารถซื้อได้ภายในวันที่ 8 สิงหาคมเท่านั้น User 1 คน สามารถซื้อบัตรได้สูงสุด 5 ใบค่ะ
น่าสนใจมาก
จอดรถฟรีมั้ยครับ?
จอดฟรี 12 ชม. ครับ