ผลกระทบจากข่าวปลอมที่เกิดขึ้นในโลกจริงไม่ได้มีเพียงสหรัฐฯ เมียนมาร์ แต่ยังเกิดขึ้นแล้วที่ศรีลังกา เมื่อรัฐบาลศรีลังกาสั่งให้ผู้บริการเครือข่ายปิดกั้นการเข้าถึง Facebook, Instagram และ WhatsApp เพื่อสกัดกั้นการลุกฮือของประชาชนที่พยายามโจมตีชาวมุสลิมชนกลุ่มน้อย ด้วยเหตุผลโซเชียลมีเดียมีข่าวปลอมแพร่เยอะเกินไป
เหตุการณ์ลุกฮือเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมา โดยประชาชนเข้าโจมตีสถานที่ทางธุรกิจและบ้านเรือนของชาวมุสลิมในกรุงโคลอมโบ มีผู้เสียชีวิต 1 ราย จนรัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้าน Facebook ตอบว่า กำลังอยู่ระหว่างพูดคุยกับรัฐบาลศรีลังกา เพื่อดำเนินการลบเนื้อหารุนแรง
ด้านโฆษกรัฐบาล Harindra B. Dassanayake ระบุว่าถ้าสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ Facebook จะกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง
ก่อนหน้านี้ Facebook ก็ ระงับบัญชีของพระ ที่เป็นแกนนำโจมตีชาวโรฮิงญาในเมียนมาร์ไปแล้ว และในศรีลังกาเองก็มีหลายฝ่ายวิจารณ์มานานว่า Facebook ในศรีลังกาก็ถูกใช้เป็นพื้นที่แพร่ข่าวปลอม และข้อความเกลียดชังต่อชาวมุสลิมเช่นกัน
Freedom House องค์กรสิทธิมนุษยชนในสหรัฐฯ เคยระบุปัญหาในศรีลังกาว่า ความเกลียดชังชาวมุสลิมที่แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียเริ่มขึ้นในปี 2013 และมากขึ้นเรื่อยๆ
ภาพจาก Shutterstock
ที่มา - New York Times
Comments
We are hate them because they were hated us. .กวีสงครามครูเสด
ฝ่ายมอนิเตอร์ของเฟสบุ๊คทำงานช้าหรือพึ่งพาบอทมากเกินไปหรือเปล่านะมันถึงลุกลามขนาดนี้
ผมก็เพิ่งทราบนะเนี่ยว่าศรีลังกาก็มีความขัดแย้งรุนแรงกับมุสลิมเพราะเคยเห็นแต่ข่าวในพม่า
หรือว่าโซเชียลเนตเวิร์กจำเป็นต้องถูกควบคุมโดยรัฐมาคิดดูอีกทีเรื่องนี้จีนกับเกาหลีเหนืออ่านขาดมานานแล้ว
ถ้าแบบนั้นเสือดำกับ30ล้านอาจโดนขุดไม่ลึกขนาดนี้นะครับ
The Last Wizard Of Century.
แต่กระแสโลกกำลังวิ่งไปทางนั้นครับดูข่าวย้อนหลังได้โดยเฉพาะยุโรปเข้มงวดขึ้นเรื่อย ๆ
ของฝั่งยุโรปมันไปทาง "ถ้าคุณจะให้บริการในประเทศเรา คุณต้องมีทีมงานที่พร้อมแก้ปัญหา" ครับ
แต่ก่อนเห็นชอบวิจารณ์การควบคุมข่าวสารของประเทศจีนที่ต้องเป็นไปตามที่รัฐบาลกำหนดตอนนี้ทางยุโรป/อเมริกาเพิ่งจะเข้าใจว่าการกระจายข้อมูลข่าวสารที่เสรีจนเกินไปก็สร้างปัญหาได้เหมือนกัน
เสรีในที่นี้คือมันต้องตั้งอยู่บนเงื่อนไขที่ไม่ใช่เป็นการละเมิดผู้อื่นหรือข้อมูลที่เป็นเท็จนะครับ point มันน่าจะอยู่ตรงนี้มากกว่า ซึ่งผมก็เห็นด้วยว่าคำว่าเสรีมันก็ต้องมีเงื่อนไขและขอบเขตของมัน ไม่ใช่เสรี 100%
ขอบเขตก็ตามที่รัฐบาลของแต่ละประเทศกำหนดหละครับ
ยุโรป/อเมริกาอาจจะกำหนดขอบเขตที่ต่างจากจีน/เกาหลีเหนือ
การแสดงความคิดเห็นที่ไม่เกินขอบเขตของยุโรป/อเมริกาก็อาจจะ
เกินขอบเขตของจีน/เกาหลีเหนือ เช่นการวิจารณ์พรรคคอมมิสนิสต์
มันก็เกินขอบเขตของจีน ถ้ามี social media ที่มีการวิจารณ์
พรรคคอมมิวนิสต์รัฐบาลจีนสั่งให้ลบก็ต้องลบเพราะเกินขอบเขตและ
เสรีภาพในมุมมองของรัฐบาลจีน
ส่วนเรื่องข้อมูลเป็นเทจอันนี้บางครั้งสือที่สร้างภาพว่า
ต่อต้าน fake news เองก็เห็นว่านำเสนอ fake news อยู่บ่อย ๆ
มันคงป้องกันยากเพราะสือแต่ละค่ายก็มี agenda ของตัวเองอยู่
พูดแบบนั้นมันก็ใช่ครับ แต่มันก็จะมีสิ่งที่ประชาชนที่เป็นหน่วยย่อยสุดของสังคมนั้นๆ ยอมรับได้อยู่ และอีกอย่างต้องดูแยกกันครับว่าเป็นเรื่องในประเทศหรือต่างประเทศ เพราะในเงื่อนไขของสองแบบนี้มันมีความต่างกันอยู่
เมื่อรัฐออกกฎมายังไงก็ต้องรับหละครับ
เหมือน พรบ.คอมของไทย รัฐก็ให้ออกความคิดเห็น
แต่จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยยังไงออกมาแล้วก็ต้องทำตาม
ขอบเขตของกฎหมายก็เป็นเรื่องในประทศนั้น ๆ
เรื่องที่พูดได้ในประเทศไทยอาจพูดไม่ได้ในประเทศอื่น
และเรื่องที่พูดได้ในประเทศอื่นด็อาจจะพูดไม่ไดในประเทศไทย
ในมุมมองนั้นผมก็เห็นด้วยครับ แต่ว่าการออกกฎของรัฐมันก็ไม่ใช่ประกาศิตขนาดที่ว่าจะไม่สามารถมีการเปลี่ยนแปลงอะไรได้เลย อย่างที่บอกไปเมื่อประชาชนรู้สึกว่ามันผิดปกติและสามารถรวมพลังได้มากพอ ก็มีโอกาสที่จะต่อต้านจนสร้างความเปลี่ยนแปลงตรงนั้นได้
รัฐเองก็ต้องริดรอนเสรีภาพของประชาชนบางส่วนเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคมมันก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา
ใช่ครับ
ครับ
ประเทศไทยก็มี ใครอยู่ในกรุ๊ป line/facebook นี้ มาเล่าให้ฟังหน่อย
ลายเซ็นยาวเกินไปครับ
ไม่รู้จะ monitor ยังไง เพราะอ่านไม่ออก
อ่านข่าวๆ ก็ดูซีเรียสอยู่นะ พอมาเห็นคอมเม้นนี้ ลูกอมแทบพุ่ง
ข่าวลือ แล้วมีคนเชื่อ และทำให้เกิดความรุนแรง มีได้หลายแบบครับ หลายปีก่อนเขมรก็เคยเผาสถานฑูตไทย เพราะข่าวลือมั่วๆ มาแล้ว แต่ตอนนี้ข่าวลือมันกระจายเร็วกว่าเดิมมาก เพราะ Social ต่างๆ ถ้าคนจำนวนมากไม่รู้จักคิดไตร่ตรอง ก็มีโอกาสสร้างปัญหาได้ง่าย และรวดเร็วกว่าเดิมมาก
แยกแยะให้ออกนะครับระหว่างการควบคุมทุกข่าวเพื่อผลประโยชน์ของชนชั้นปกครองเอง เช่น เกาหลีเหนือ จีน กับการควบคุมไม่ให้ข่าวเท็จถูกแพร่กระจายออกไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนในสังคม
That is the way things are.