(ความเห็นนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ)
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า การประมูลคลื่นความถี่ในเดือนสิงหาคมนี้ มีผู้ยื่นคำขอเข้าร่วมประมูลคลื่น 1800 MHz สองราย และไม่มีผู้สนใจประมูลคลื่น 900 MHz แม้แต่รายเดียว แม้ว่าจะเป็นคลื่นล็อตสุดท้ายของย่านนี้ก็ตาม
จากเหตุการณ์นี้สรุปได้ว่า คลื่น 1800 MHz ซึ่งเปิดให้ประมูล 9 ล็อต ล็อตละ 5 MHz จะยังมีคลื่นเหลือหลังการประมูลแน่นอน เพราะมีผู้เข้าประมูลเพียงสองราย กรณีต่ำสุดคือคือประมูลรายละ 1 ล็อต จะมีคลื่นเหลือ 7 ล็อต กรณีสูงสุดประมูลรายละ 4 ล็อต ก็ยังจะมีคลื่นเหลือ 1 ล็อต ส่วนคลื่น 900 MHz ไม่มีผู้ยื่นประมูลจึงเหลือ 1 ล็อตสุดท้ายเช่นเดิมทำไมคลื่นที่ขาดแคลนกลับขายไม่ออก แต่คลื่นที่มีเหลือกลับมีผู้สนใจมากกว่า ทั้งที่คุณสมบัติทางเทคนิคของคลื่น 900 MHz ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างกว่า
คำอธิบายข้อแรกก็คือเรื่อง ราคาคลื่นราคาตั้งต้นของการประมูลครั้งนี้กำหนดขึ้นจากราคาชนะประมูลเมื่อสองปีที่แล้ว สำหรับคลื่น 1800 MHz นั้น ราคาชนะประมูลครั้งที่ผ่านมาใกล้เคียงกับราคาประเมินคลื่นความถี่ขั้นสูงด้วยวิธี Full Enterprise Model และต่ำกว่าราคาประมูลในหลายประเทศ จึงเป็นราคาที่ไม่แพงเกินความสามารถในการทำกำไรได้ทางทฤษฎี ประกอบกับการไม่บังคับซื้อเหมาครั้งละ 3 ล็อต (15 MHz) แต่ให้เลือกซื้อล็อตเดี่ยวๆ ได้ ทำให้เอกชนไม่ต้องแบกรับภาระเกินความจำเป็น
แต่คลื่น 900 MHz นั้น ราคาชนะประมูลครั้งที่ผ่านมาสูงกว่าราคาประเมินคลื่นความถี่ขั้นสูงถึงเกือบสามเท่า และเป็นราคาที่ทำลายสถิติโลก จึงเป็นราคาที่ไม่น่าสนใจเท่าใด หากไม่เข้าตาจน
กสทช. ออกแนวทางให้กลุ่มดีแทคจำเป็นต้องเข้าประมูลเพื่อสิทธิในการใช้คลื่นความถี่ต่อเนื่องในช่วงรอยต่อของการสิ้นสุดสัมปทานและการรับใบอนุญาตใหม่ มิเช่นนั้นจะเสียสิทธินี้ไป ในเบื้องต้นเอกชนก็มีท่าทีให้ความสนใจคลื่น 900 MHz มากกว่า 1800 MHz เพราะคลื่นย่านหลังใกล้เคียงกับคลื่น 2300 MHz ที่มีให้ใช้อยู่แล้วจากการทำสัญญากับทีโอที ในขณะที่คลื่น 900 MHz นั้นเอกชนรายนี้ยังขาดแคลนอยู่
แต่ด้วยราคาที่สูงเป็นสถิติโลก บวกกับเงื่อนไขภาระการต้องติดตั้งตัวกรองสัญญาณให้กับระบบรถไฟความเร็วสูงจากจีนและให้กับค่ายมือถือที่อยู่ติดกัน ซึ่งคำนวณแล้วมีมูลค่ามหาศาล แม้ กสทช. จะดึงดูดด้วยการลดราคาตั้งต้นการประมูลลง 2,000 ล้านบาท แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับภาระที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งคลื่นนี้เหลือเพียง 5 MHz ในขณะที่คู่แข่งมีคลื่นย่านนี้รายละ 10 MHz จึงเสียเปรียบตั้งแต่ยังไม่เริ่มนับหนึ่ง
คำอธิบายข้อที่สอง จึงอยู่ที่ว่า การจัดสรรคลื่น 900 MHz ให้กับระบบอาณัติสัญญาณรถไฟความเร็วสูงจากจีนทำให้คลื่นโทรคมนาคมมีปริมาณลดลง และยังเพิ่มปัญหาการรบกวนสัญญาณระหว่างกัน ทำให้มีต้นทุนเพิ่มในการติดตั้งระบบกรองสัญญาณวิทยุ ซึ่งต้องเป็นระบบที่คุณภาพสูงมากสำหรับกรณีที่การรบกวนก่อผลกระทบต่อความปลอดภัยของรถไฟความเร็วสูง ทำให้ต้นทุนสูงมากตามคุณภาพความคมของระบบกรองสัญญาณ
แล้วประเทศไทยควรเดินหน้าอย่างไร ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟที่ใช้คลื่นในย่าน 900 MHz เป็นไปตามมาตรฐาน GSM-R ของยุโรป แต่ก็มีปัญหาในปัจจุบัน นอกจากปัญหาคลื่นรบกวนแล้ว มาตรฐาน GSM-R เป็นมาตรฐานที่กำลังจะตกยุค เพราะแม้จะใช้เทคโนโลยี GSM ซึ่งเป็นเทคโนโลยีดิจิตัลมาดัดแปลงให้เหมาะกับรถไฟ แต่ก็เป็นเทคโนโลยียุค 2G ซึ่งอุตสาหกรรมจะผลิตอุปกรณ์รองรับไม่เกินปี 2573 และยิ่งใกล้ปีดังกล่าวอุปกรณ์ก็จะยิ่งหายากและมีราคาสูง ในยุโรปจึงได้พัฒนามาตรฐานใหม่ FRMCS และมีแผนจะทยอยย้ายออกจาก GSM-R ตั้งแต่ปี 2565 โดยระบบใหม่จะออกแบบให้รองรับต่อไปอีกอย่างต่ำ 20 ปี โดยคาดว่าสวิสเซอร์แลนด์และเนเธอร์แลนด์จะปิดระบบ GSM-R โดยเร็วหลังปี 2565
ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบอาณัติสัญญาณรถไฟจากเนเธอร์แลนด์เคยเสนอแนะเมื่อ 5 ปีก่อนว่า ต้นทุนในการเปลี่ยนระบบอยู่ที่ประมาณ 500 ล้านยูโร ในขณะที่คลื่นที่ได้คืนมาสามารถประมูลเพื่อกิจการโทรคมนาคมได้ประมาณ 3,800 ล้านยูโร จึงสมควรที่จะเร่งหาระบบใหม่ที่ทันสมัยและปลอดภัยกว่า
ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้สูงว่าระบบใหม่จะเชื่อมต่อแบบ IP-based ผ่านเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น 4G 5G WiFi หรือแม้แต่สัญญาณดาวเทียม และมีความเป็นไปได้ที่จะใช้คลื่นย่านอื่น เนื่องจากคลื่น 900 MHz มีจำกัดมาก แม้แต่ในจีนก็พัฒนาระบบใหม่ด้วยเทคโนโลยี LTE บนคลื่นย่าน 450 MHz แต่รถไฟความเร็วสูงของจีนในประเทศไทยกลับใช้เทคโนโลยีเก่า
ที่ผ่านมาการตัดสินใจของ กสทช. ในการจัดสรรคลื่น 900 MHz ให้กับระบบอาณัติสัญญาณรถไฟเป็นไปตามคำขอของกระทรวงคมนาคม และอยู่บนพื้นฐานว่ารถไฟความเร็วสูงต้องใช้คลื่น 900 MHz เท่านั้น หาก กสทช. ไม่จัดสรรให้เท่ากับจะส่งผลเป็นการระงับโครงการนี้โดยปริยาย แต่จากข้อมูลปัจจุบันทำให้รู้ว่า เรามีทางเลือกมากกว่า 1 ทางในการจัดสรรคลื่นความถี่ให้รถไฟความเร็วสูง
การตัดสินใจจัดสรรคลื่น 900 MHz ที่ขาดแคลนเพื่อเทคโนโลยีที่กำลังจะตกยุคอาจเป็นเรื่องที่ต้องร่วมกันหาทางออกโดยเร็ว ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป ไม่เช่นนั้น อีกไม่กี่ปีเราก็อาจจะต้องลงทุนเพิ่มเพื่อเปลี่ยนจากเทคโนโลยีที่จะตกยุค ทั้งที่เพิ่งลงทุนไปได้ไม่นาน
Comments
เฮ่อ
เฮ่อ
(ซดกาแฟ)...เฮ่อ
(ซดชา)...เฮ่อ
(ซดนม)...เฮ่อ
(จิบไวน์)... ฟู้ว~~~ว
(ซดมาม่า)... ซูดด
(ซดน้ำตา) เฮือก ??
~ HudchewMan's Station & @HudchewMan ~
(ซู๊ด เบียร์) อ่าาาา
เอาคลื่นระบบรถไฟมาประมูล
ถ้ามีปัญหาเรื่องการเดินรถ
กสทช. ก็โยนอุนจิให้เอกชนไง มันถึงไม่มีใครโง่ประมูล
+1
คลื่นความถี่ต่ำๆ ที่ใช้ได้ในระยะไกล น่าจะเหมาะกับใช้ในพื้นที่ชนบททั่วประเทศ ที่มีประชากรเบาบาง พื้นที่กว้างมากรถไฟวิ่งแค่ตามราง น่าจะให้ใช้คลื่นความถี่สูงๆ ที่ใช้ได้ไม่ไกล แค่ตั้งเสาอากาศถี่ๆ ตามแนวรางไม่กี่ต้น น่าจะถูกกว่าไปตั้งเสาถี่ๆ ในพื้นที่ชนบททั่วประเทศ
เห็นด้วยครับ
รอลดราคา ซักครึ่งนึงอาจจะมีคนสนใจ
โยนเก่งตลอด
รู้ทั้งรู้ แต่ก็ยังกล้า
เขาเป็น "กรรมการ" ใน "คณะกรรมการ" ครับ ต้องมองว่าแต่ละคนมีจุดยืน อำนาจไปอำนาจกลุ่ม ไปอ่านได้ว่าใครโหวตอะไรมติไหน ให้ความเห็นอย่างไร
lewcpe.com , @wasonliw
ผมหมายถึง กสทช. ในภาพรวมครับ ขอโทษด้วยครับที่ไม่ชัดเจน
อยากอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ไม่ทราบว่าอ่านได้ที่ไหนครับ
ทั้งๆที่รู้ว่ามันเป็นเทคโนโลยีเก่า ทำไมไม่แย้งและเสนอให้คมนาคมทบทวนก่อน นี่เท่ากับว่าไม่ได้ทำหน้าที่ซินะ เค้าขอมาก็ให้แค่นั้นหรือครับ อ่านแล้วปวดตับ
เมื่อไหร่ไทยจะมีคนที่มีความรู้ความสามารถ ไม่โง่ ไม่หิว ไม่แดก ไม่เอื้อ มาบริหารประเทศนะต้องตายอีกกี่ชาติ
ปลูกฝังมาตั้งแต่ประถมครับ
รร.สอนให้เด็กแข่งขัน
โตขึ้นมาเลยไม่รู้จักทำดีเพื่อคนอื่น
ผมว่าโรงเรียนสอนให้จำนนต่อคนที่อยู่สูงกว่าด้วยครับ
ตกลงสอนให้แข่งขันหรือสอนให้ยอมจำนนผมว่าโรงเรียนไทยสอนให้ทำตามๆกันไป ไม่ค่อยมีใครอยากคิดอะไรแปลกใหม่ให้ต่างจากคนอื่น
โรงเรียน สอนให้แข่งขันกันเองระหว่างเด็ก ให้ความสนใจกับนักเรียนระดับครีมเป็นหลัก เด็กเก่งวิชาการพวกอาจารย์ทุ่มให้เป็นพิเศษเพื่อเอาไว้แข่งเอารางวัล เป็นที่เชิดหน้าชูตาโรงเรียน ส่วนเด็กไม่เก่งวิชาการ (แต่อาจเก่งอย่างอื่น) ถ้าเก่งด้วยตัวเองก็ดีไป แต่ถ้าแค่สนใจยังไม่รู้จะเก่งไหมก็แทบไม่ได้รับการสนับสนุน สุดท้ายกลายเป็นแว้นไป
ส่วนยอมจำนนคือ จำนนต่อรุ่นพี่ จำนนต่อครูบาอาจารย์ จำนนต่อกฎที่ถูกตั้งโดยผู้ใหญ่ บลาๆ ก็ควบคู่กันไปครับ
แบบนี้ต้องมีคนลุกฮือแหกกฎออกมา จะได้หลุดจากวัฏจักรเดิมที่ไร้การพัฒนาเสียที บางทีก็ต้องต่อกรกับผู้ใหญ่หรือโค่นล้มให้ราบคาบและยอมจำนนได้ ถึงจะเกิดการพัฒนาที่แท้จริงและจริงจังครับ
ลองดูสมัยโซเวียตล่มสิครับ การลุกฮือประท้วงและปลดแอกอิสรภาพของประชาชนและคนธรรมดาหลายคน สามารถเปลี่ยนแปลงประเทศและอนาคตได้อย่างแท้จริง หรือแบบนักเรียนใน 14 ตุลาฯ ที่เดี๋ยวนี้หาคนที่ประท้วงและอยู่เพื่ออุดมการณ์แทบไม่มีแล้วครับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
แต่ได้อย่างอีเด็กเปรต(รู้สึกแบบนั้นจริงๆ) เนติวิท นี่ก็ไม่ไหวนะ
การเรียกคนที่ไม่ได้คิดเหมือนคุณว่าเด็กเปรต ผมว่าเป็นการกระทำที่ไร้ซึ่งความเคารพในผู้อื่นอย่างสิ้นเชิงครับ
แม้กระทั่งคนที่คุณเรียกเค้าว่าเด็กเปรต เค้ายังไม่เคยเรียกใครด้วยคำพูดหมิ่นเกียรติกันแบบนี้เลยครับ
อยู่มาตั้งนานก็น่าจะทราบเรื่อง Hate Speech นะครับ เก็บไว้ในใจดีกว่านะครับ
คนเป็นผู้บริหารได้ ไม่โง่แน่ครับ อย่างอื่นคิดกันเอาเอง
oxygen2.me , panithi's blo g
Device: HP Zbook, iPad Pro, iPhone 15PM, iPhone 16+, Nothing Phone 1
อันนี้โดนใจ
ใช่ครับ เขาขึ้นไประดับนั้นไม่ใช่นคนธรรมดานะครับ อาจจะมีหลุดไปบ้างแต่คงน้อย หรือใช้กำลังยึดมา!!
ในเอกชนนี่เห็นด้วยครับ
แต่ในราชการที่โตตามสายขึ้นไปเรื่อยๆนี่ไม่แน่ผมเคยได้ยินมุกตลกร้ายในแวดวงสาธารณสุขอยู่อันหนึ่งคือ "เอาหมอมาเป็นผู้บริหาร เสียหมอมือดี ได้ผู้บริหารมือแย่มา"
คำว่าโง่นี่มันไม่ได้อธิบายว่าเหมาะหรือไม่เหมาะเป็นผู้บริหารนะครับ
หลายคนเป็นคนมีฝีมือในสายอาชีพตัวเอง แต่ไม่ได้จะเก่งในงานบริหาร
ฉะนั้นถ้าบอกว่าคนเป็นผู้บริหารได้ ไม่โง่แน่ ... อันนี้ไม่เห็นด้วยครับ ข้าราชการ หรือองค์กรเอกชนหลายที ได้ผู้บริหารจากคนที่ทำงานมานาน หรือมีลูกน้องเยอะครับ
แต่บางคนก็ทักษะเข้ากับคนดี แต่ไม่มีฝีมือบริหารก็เยอะครับ
เอาตัวเองไปอยู่ตรงนัน แล้วก็เปลี่ยนมันซะ
+100
การวิจารณ์เป็นสิ่งที่ควรมี
แต่ดีกว่าหากเราไปจัดการมันเอง
ดิจิตัล => ดิจิทัล
สวิสเซอร์แลนด์ => สวิตเซอร์แลนด์
นอกเรื่อง นามสกุลท่านอ่านยากนิดๆ
ซื้อคลื่นมาทำธุรกิจตัวเอง แต่ต้องมาทำระบบให้เอกชนเจ้าอื่นเสียเงินเพิ่มฟรีๆ ไม่ก่อให้เกิดกำไร ใครซื้อก็โง่สุดๆ ละครับ
งี่เง่าแท้ๆ เลย ทั้ง กสทช. คมนาคม และรัฐบาล ไม่มีความก้าวหน้าหรืออัพเดตให้ทันสถานการณ์เลย แม้แต่โครงสร้างพื้นฐานในประเทศ พังหมดครับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ผมกำลังสงสัยนิด ๆ ว่าระบบ Signal นี่รันบน 4G บ้าน ๆ ไม่ได้หรือ หรือกลัวว่าตัวระบบเครือข่ายจะล่ม ? หรือว่าลาเทนซีสูง หรืออื่น ๆ
คือรถไฟมันวิ่งในเมือง ไอ้จุดอับสัญญาณมือถือมันก็คงไม่เยอะมั้ง?
ใช้ public band/network ก็การันตีไม่ได้เลย โดยเฉพาะเรื่องคมนาคมชีวิตคนทั้งนั้นครับ เจ็บจริง ตายจริง ผมเห็นด้วยที่จะให้แยกความถี่เฉพาะสำหรับกิจการคมนาคม แต่ควรพิจารณาให้รอบคอบกว่านี้ มองให้ไกลเกินกว่า 20 ปี ด้วยซ้ำ เพราะว่าพวกนี้ลงทุนสูงมาก เปลี่ยนแต่ละครั้ง ภาษีพวกเราทั้งนั้น
ระบบมันมี SLA นี่ครับ ??
ทางทฤษฏีทำได้ แต่ในทางปฏิบัติอาจไม่มีคนผลิตขาย เพราะเขาผลิตตามมาตรฐานของรถไฟฟ้าด้วยกันครับ
ง่อว กสทช.ต้องดูแล และออกมาเป็นฝ่ายให้ข้อมูลของระบบรถไฟแล้วนะครับ แถมยังออกกฎการประมูลแบบปกป้องระบบรถไฟอีก
คนประมูลสัมปทานต้องจ่ายแพงเพื่อไปซัพพอร์ทคนที่ใช้คลื่นฟรี โดยมีกฎที่ออกโดยผู้จัดประมูลที่ไม่เอื้ออะไรกับคนจ่ายเงินเลย
ไม่พอครับ แทนที่จะเอาไปคุยกันในกสทช. แล้วปรับแก้ข้อเสียนั้น นี่ยังมีหน้ามาวิเคราะห์ให้ฟังถึงจุดบอดขององค์กรตัวเองให้ประชาชนฟังอีก
ง่อวววววววว ใช้รองพื้นยี่ห้อไหนนนนนนน
กสทช.คนนี้(กับคุณสุภิญญาที่ออกไปแล้ว)เป็นเสียงส่วนน้อยตลอดกาลครับ ลองตามข่าวเก่าๆดูจะเข้าใจว่าทำไมต้องมาเขียนออกสื่อแทน
"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."
ขอบคุณครับ แต่ผมไม่เห็นด้วยอยู่ดีครับ
ทำไม ไทยไม่แก้อาณัติสัญญาณ ให้รองรับมาตรฐานใหม่ไปเลย ล่ะครับแล้ว 900 ก็ใช้สื่อสารอย่างเดียว
กินมาแล้ว .. อุ๊บ!!
my blog
สงสัยว่าทำไมไม่ใช้ระบบสาย น่าจะถูกและเสถียรกว่าไม่ใช่เหรอ
สื่อสารระหว่างตัวรถ กับระบบควบคุมครับ ใช้สายไม่ได้
น่าจะแพงกว่านะครับ ยิ่งระยาทางไกลมากขึ้นไปเรื่อยๆ ระบบเก่า อาจจะไม่สื่สารแต่ใช้คุย sensor ที่ราง ยิ่งระยะเพิ่มก็เพิ่มงบไปอีก ไหนจะซ่อมบำรุงสาย fiber อีก
รู้ปัญหาแล้วก็ยังเดินหน้าต่อ
ท็อปฟอร์มอีกละ ถ้าทำประชามติยุบ กสทช ทิ้งได้ป่านนี้คงสลายหายไปในอากาศละมั้ง
ต้องลุ้นกันล่ะครับว่า จะมีทางออกเพื่อคลี่คลายปัญหานี้อย่างไรบ้าง
เดี๋ยวรอดูยี่ห้ออุปกรณ์ที่ประมูลได้ก็น่าจะรู้เลยว่าใครจ่าย...อุ๊บส์
Deleted
กสทช. จับ BTS เป็นตัวประกัน
ความเห็นต่อความเห็นนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ
เรื่องทำไมไม่มีใครประมูลคลื่น 900 MHz
อ้างถึง
https://www.blognone.com/node/104444
จากบทความของท่าน กสทช เข้าใจได้ทันทีว่า ต้องการยึดความถี่ย่าน 900 MHz คืน เพื่อไปประมูลขายให้บริษัทโทรศัพท์มือถือ โดยใช้ข้ออ้างเรื่องปัญหาการรบกวนของ BTS ที่เป็นกระแส มาเป็นตัวประกัน มีเรื่องที่ย้อนแย้งที่ผมไม่เข้าใจอีกหลายประเด็น เช่น
เรื่องที่ 1 ความถี่ที่เป็นข่าวของ BTS เป็นความถี่ย่าน 2.4 GHz ซึ่งห่างไกลจาก 900 MHz มาก สำหรับผมแล้วเหมือนกับว่ามันเป็นคนละเรื่องกัน
เรื่องที่ 2 ตกลงปัญหาของ BTS เกิดจากอะไรกันแน่ ช่องสัญญาณข้างเคียงรบกวนกันจริงๆ หรือ เคยอ่านบทความของจุฬาฯ
ประมาณว่าเครื่องรับของ BTS เอาสัญญาณ DTAC เข้ามาแล้ว สร้าง Intermediate Frequency มาทับตัวเองพอดี ซึ่งถ้าหากแนวคิดในบทความของจุฬาฯถูก ก็แสดงว่าเป็นคนละเรื่องกับช่องสัญญาณข้างเคียงรบกวนกัน การใช้แต่ตัวกรองสัญญาณ อาจเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด อยากเห็นข้อมูลและหลักฐานทางวิชาการ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การคาดเดาเพียงอย่างเดียว
เรื่องที่ 3 มาตรฐานการใช้แบนด์วิธโดยปกติการใช้ช่องสัญญาณหรือแบนด์วิธ จะมีมาตรฐานระหว่างประเทศอยู่ว่าให้ใช้สัญญาณภายในแบนด์ได้เท่าไร สัญญาณล้นเกินออกมาที่ช่องข้างๆได้ไม่เกินเท่าไร ถ้าทุกคนรวมทั้ง DTAC ทำตามมาตรฐาน แล้ว BTS มีปัญหา ก็เป็นหน้าที่ของ BTS ที่ต้องแก้ไขระบบของตัวเอง ไม่ใช่ว่าคนที่อยู่มาก่อนจะได้สิทธิพิเศษกว่าคนอื่น ถ้าไม่มีมาตรฐานระหว่างประเทศ กสทช ก็มีหน้าที่ที่ต้องกำหนดมาตรฐานดังกล่าว ดังนั้น “เงื่อนไขภาระการต้องติดตั้งตัวกรองสัญญาณให้กับระบบรถไฟความเร็วสูงจากจีน” จึงเป็นการผลักภาระให้ผู้อื่น ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
เรื่องที่ 4 ความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ไม่รู้บริษัทโทรศัพท์มือถือ จะไปรู้เรื่องทางเทคนิคของระบบรถไฟความเร็วสูงจากจีนได้ยังไง เมื่อไม่รู้ ก็มีความเสี่ยง ไม่มีใครกล้าเสี่ยงกับความไม่รู้หรอก และในกรณีนี้ไม่ใช่แค่เรื่องเงิน แต่เอาคอไปขึ้นเขียง
เรื่องที่ 5 ความเห็นท่าน >> "เรามีทางเลือกมากกว่า 1 ทางในการจัดสรรคลื่นความถี่ให้รถไฟความเร็วสูงการตัดสินใจจัดสรรคลื่น 900 MHz ที่ขาดแคลนเพื่อเทคโนโลยีที่กำลังจะตกยุคอาจเป็นเรื่องที่ต้องร่วมกันหาทางออกโดยเร็ว ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป ไม่เช่นนั้น อีกไม่กี่ปีเราก็อาจจะต้องลงทุนเพิ่มเพื่อเปลี่ยนจากเทคโนโลยีที่จะตกยุค ทั้งที่เพิ่งลงทุนไปได้ไม่นาน">>
ผมไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกไหม คือ ระบบรถไฟความเร็วสูงจากจีน ถูกกำหนดให้ผูกขาดโดยจีนอยู่แล้ว ให้แม้กระทั่ง ม.44 เราไม่ได้เป็นผู้เลือก จีนต่างหากที่เป็นผู้เลือก เทคโนโลยีจะทันสมัยหรือล้าสมัย ก็อยู่ที่ฝ่ายจีน เราไม่ได้มีทางเลือกอะไรเลย สิ่งที่ฝั่งไทยทำได้ก็เพียงแค่ ไม่ให้ซื้อน็อตตัวละ 20 ล้าน ก็เท่านั้นเอง
GSM-R 900 MHz เป็นระบบเก่าใช้กันทั่วโลกมาร่วมสามสิบปีแล้ว ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร ระบบ BTS ต่างหาก ที่ว่าเป็นระบบทางสะดวกแบบใหม่ (Virtual Block) ใช้กับความถี่ย่าน 2.4 GHz WIFI หรือ ยุค 3G ที่ทันสมัยใหม่กว่า GSM-R 900 MHz แล้วทำไมระบบที่ทันสมัยกว่ามีปัญหาสาหัสกว่าระบบเก่าที่ล้าสมัยล่ะ ผมไม่เข้าใจจริงๆ
หากไม่มีใครประมูล คลื่นก็เสียเปล่า ยกให้หน่วยงานรัฐ เช่น TOT หรือ CAT ดันให้เป็นผู้บริการมือถืออีกค่าย โดย คิดราคาที่เป็นธรรม คนธรรมดาที่ใช้แต่โทรอย่างเดียวก็มีเยอะนะครับ ให้คนส่วนใหญ่ใช้ครับ แต่อย่าเอาไปปล่อยเช่าอีกหล่ะ