สถานการณ์ของสตาร์ทอัพแชร์จักรยาน Ofo ดูยากลำบากขึ้นไปอีก หลังจากทยอย ปิดสาขาในต่างประเทศ รวมทั้ง ประเทศไทย ล่าสุดมีรายงาน Ofo ถูกผู้ผลิตจักรยานฟ้องร้อง เนื่องจากค้างจ่ายเงิน
โดยบริษัทผู้ผลิตจักรยาน Shanghai Phoenix Bicycles ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหาย Ofo เป็นจำนวนเงินราว 10 ล้านดอลลาร์ อธิบายว่า Ofo ได้เซ็นสัญญาให้ผลิตจักรยานจำนวน 5 ล้านคัน โดยจะทยอยซื้อตลอดปี ตั้งแต่พฤษภาคม 2017 ซึ่งตลอดปีที่แล้ว Ofo ซื้อจักรยานไปรวม 2 ล้านคัน แต่พอขึ้นปี 2018 ถึงตอนนี้ Ofo ซื้อจักรยานเพิ่มไปเพียง 1 แสนคันเท่านั้น จึงผิดข้อตกลงและทำให้บริษัทได้รับผลกระทบ
สิ่งที่อธิบายได้ก็คือ Ofo เริ่มปิดสาขาในต่างประเทศ ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องการจักรยานจำนวนมากแบบที่เคยประเมินไว้ก่อนหน้า อย่างไรก็ตามคำถามที่ตามมาคือการเติบโตของแอปแชร์จักรยานจะเป็นอย่างไรต่อไปกันแน่
Ofo มีผู้ลงทุนรายสำคัญคือ Alibaba และบริษัทการเงินในเครือ Ant Financial ขณะที่บริการคู่แข่ง Mobike ได้ ขายกิจการ ไปให้ Meituan-Dianping แล้ว
ที่มา: The Verge
Comments
จริง ๆ ก็ดูเป็นบริการที่ดีนะ น่าแปลกใจว่าทำไมถึงเจ๊งได้
That is the way things are.
ไม่ได้คิดค่าดูแลรักษามั้งครับ เห็นว่าค่าแรกเข้านิดเดียว ยิ่งเจอข่าวเก่าว่าคนรื้อแยกชิ้นส่วนไปขายหรือประกอบใหม่อีกยิ่งขาดทุนหนัก
ผมว่าสาเหตุหลักมาจากการไม่ดูแลและจัดระเบียบการใช้บริการ เช่น การจอดจักรยานในพื้นที่ที่กำหนด, คุณภาพจักรยานที่แย่ (เคยเห็นข่าวจัการยาน ofo กองอยู่ในที่กำจัดขยะในจีน) และปัญหาจักรยานโดนขโมยด้วย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ประเทศไทย โดยเฉพาะเมืองใหญ่ ไม่เหมาะกับการปั่นจักรยาน ซึ่งที่ไม่เหมาะสาเหตุเพราะรัฐและประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญครับ
ผ้ากันเลยทีเดียว
จากใจคนปั่นจักรยานในเมืองกรุง ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังปั่นอยู่ เพราะโชคดีบ้านกะที่ทำงานห่างกันแค่โลกว่า ๆ และถนนที่ผ่านส่วนใหญ่จะโอเค
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ถ้าในไทยก็คงว่ามันไม่เหมาะอะครับเห็นคนปั่นจักรยานบนถนนทีไรเหมือนเขาเสี่ยงตายอยู่มากกว่า ถ้าในบ้านเกิดก็คงเพราะ การแข่งขันสูง แล้วตัวธุรกิจไม่ค่อยจะสามารถสร้างความแตกต่างได้จากเจ้าอื่นเท่าไหร่ มันก็เกิด loyalty ยาก ไหนยังจะต้นทุนการจัดการจักรยานอีกเสียต้องซ่อม โดนขโมยต้องหาทดแทนไหนจะมีเรื่องกับหน่วยงานท้องถิ่นจากที่รถไปจอดผิดที่หรือไม่มีที่จอด คือมีปัญหาร้อยแปดจากการเป็นเจ้าของสินทรัพย์เองน่ะครับมันไม่เหมือนพวก uber ที่ไม่มีสินทรัพย์ไม่ต้องรับภาระอะไรจากการดูแล ตัว startup เองก็คงคิดถึงเรื่องนี้ไม่สุดแล้วขยายบริการออกไปมากเกินแรกๆค่าใช้จ่ายพวกนี้จะไม่โผล่หรอกครับซึ่งเป็นจุดตายของผู้ประกอบการหน้าใหม่เลยเพราะนานๆไปมันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนเขาดูแลค่าใช้จ่ายแฝงพวกนี้ไม่ไหว เจ๊งไปก็มากครับ ตัวอย่างเด่นๆในจีนก็ LeEco ไง ขยายตัวแรงจนเจ๊ง ไม่โฟกัสกับธุรกิจหลักตัวเองที่ก็มีคู่แข่งอยู่ ไปแย่งเค้กชิ้นอื่นต่อเรื่อยๆ กลายเป็นว่าเค้กก้อนหลักก็ไม่ได้ก้อนใหม่ก็ไม่ไหว
สำหรับประเทศไทย ส่วนตัวผมยังมองว่า บริการประเภทนี้เหมาะกับพื้นที่ปิดมากกว่า
เช่นภายในมหาวิทยาลัย สวนสาธารณะ แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเกาะเล็กๆและมีพื้นที่จอดจักรยาน
ถ้าพื้นที่ใหญ่ๆคงตามดูแลไม่ไหว
เห็นเอามาทดลองในไทยกับมหาวิทยาลัยนี่แหละครับ 2-3 ที่ เละหมด รถหาย รถไปโผล่คนละอำเภอ รถไปจอดหน้าบ้านตัวเอง
ของมหาลัยชื่อดังที่อีสาน มีเอาไปขายที่ตลาดด้วยครับ . . .
?
โอ้โห
รูปนี้คือชายในรูปตระเวนไปถอดชิ้นส่วนจักรยานเพื่อเอามาขายเหรอครับ ?
ถ้าใช่นี่ก็แย่มาก ๆ
That is the way things are.
เท่าที่รู้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลัง Ofo ประกาศยุติให้บริการในไทยหน่ะครับ ทีนี้ถ้า Ofo ไม่มาเก็บเอง (หมายถึงว่าจ้างใครก็ได้มาเก็บในนาม Ofo) ก็คงจะปล่อยให้ใครก็ได้เก็บไปต้มยำทำแกงได้ครับ
ปัญหาใหย๋อีกข้อ คือพื้นที่จอดนี่แหละครับ ตามจุดสำคัญ เช่น รถไฟฟ้า ห้างสรรพสินค้า ไม่มีพื้นที่ให้จอดเพียงพอแน่ๆ
ของไทย จะใช้ได้ผลต้องมี คน track เรียลทามละมั้งออกนอกพื้นที่ก็ให้หมวกกันน็อคดำ ไปตามเลย จ้างทหารน่าจะเวิร์ค
ที่ภูเก็ตเปิดทดลองให้ใช้ฟรีเลยยิ่งเป็นตัวแปรที่ทำให้มันเละครับ ล่าสุดเมื่อวานกลับไปภูเก็ตเหลือแค่ obike ที่เป็นแบบเสียเงินและยังคงเปิดให้บริการอยู่ หลังจากพยายามปลดล็อค ต้องลองถึง 3 คันถึงปลดได้ ต่างจากช่วงแรกๆ ที่ให้บริการที่คุณภาพค่อนข้างดีกว่านี้เยอะ เรื่องค่าบำรุงรักษาและการประเมินความเสี่ยงน่าจะเป็นจุดที่คาดการณ์ผิดไปเลยทำให้หลายเจ้าอยู่ไม่ได้ ก็หวังว่าบริการนี้จะไม่พากันถอนตัวกันไปจนหมดจากไทย เพราะหลายๆ ครั้งที่รู้สึกว่ามันช่วยให้รอดจากการถูกโขกสับจากผู้ให้บริการท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
เจ๊บจี๊ดตรงประโยคสุดท้าย และยอมรับว่ามันเป็นความจริงในบ้านเรา
^ ^