ในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ มีการใช้ VR ให้ลูกค้าเข้ามาดูแบบจำลองบ้านและคอนโดเสมือนจริงก่อนตัดสินใจซื้อ แต่ VR สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบโครงสร้าง
โดยอนันดา ถือเป็นอสังหาริมทรัพย์รายแรกของไทย ที่นำ VR มาสร้างแบบจำลองเสมือนจริงของอาคารให้ผู้รับเหมาเข้ามาร่วมทำงานตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบพิมพ์เขียว แทนที่จะรับพิมพ์เขียวไปทำการก่อสร้างต่อเหมือนอย่างที่เคยเป็น
ธีรวรรตน์ ตังประพฤทธิ์กุล ผู้จัดการฝ่าย BIM (Building Information Modelling) บอกว่า VR BIM Models คือเทคโนโลยีการทำพิมพ์เขียวด้วยระบบดิจิทัล ให้ทุกหน่วยงานมีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นตอนวางแผนก่อสร้าง หาข้อผิดพลาดได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จะได้แก้ปัญหาได้ทันก่อนจะกลายเป็นปัญหาตอนก่อสร้างที่ต้องใช้เวลาและงบประมาณในการแก้ไข นอกจากนี้ ข้อมูลพิมพ์เขียวจะมีชุดเดียวบคลาวด์ อัพเดตการแก้ไขตลอดเวลา ทำให้ผู้รับเหมาได้พิมพ์เขียวเวอร์ชันที่ถูกต้องที่สุดไปทำงานต่อ
ธีรวรรตน์ ระบุเพิ่มเติมว่า อนันดาเคยลองใช้ VR BIM ในการสร้างที่จอดรถในโครงการหนึ่ง ค้นพบว่าโครงสร้างเหล็กไม่เอื้ออำนวยและจะสร้างปัญหาในอนาคต จึงจัดการแก้ไข ทำให้ประหยัดงบไปได้ 3 ล้านบาท
ผู้สาธิตใช้งาน VR BIM Models ระบุว่า แบบจำลองที่เห็นผ่านแว่นจะช่วยให้เห็นภาพจริง ระยะจริง เช่นบริเวณที่สูง ควรสร้างรั้วสูงเท่าไรเพื่อความปลอดภัย ทางเดินแคบหรือกว้างเกินไปหรือไม่ โมเดลที่ได้สามารถมองเห็นได้ถึงระบบท่อ เสาหลักว่าแข็งแรงพอหรือไม่ ช่องว่างระหว่างท่อเหมาะหรือยัง เป็นต้น
ในการประยุกต์ใช้ VR BIM Models อนันดาระบุว่าได้ลงทุน 1 ล้านบาท มี 13 โครงการที่นำไปประยุกต์ใช้ เช่น Ashton Rama 9, Q Sukhumvit 36, Ideo Sathon เป็นต้น
Comments
ไม่เห็นต้องให้ยืนให้เมื่อยเลยแบบนี้ ...
ผมเดาว่าใช้ UE นะ
งง นิดหน่อยว่า ดู model ผ่านจอก็ได้ตามที่กล่าวมาแล้วนี่นา ต้องถึงขั้น vr เลยหรือ
มันไม่เหมือนกันครับ ดูผ่าน VR จะเห็นขนาดจริงความสูงจริงและมุมมองเหมือนจริง
หลังตึกเสร็จ ก็ใช้ AR มาทาบกับพิมพ์เขียวด้วยนะ ว่าเหมือนตามแบบเปล่าฮ่าๆ