กระทรวงต่างประเทศฟิลิปปินส์ไม่ต่อสัญญาจ้างบริษัทเอาต์ซอร์สที่ดูแลระบบหนังสือเดินทางให้ และหลังจากไม่ต่อสัญญาบริษัทก็ "นำข้อมูลออกไป" ทั้งหมด ทำให้ทางกระทรวงต่างประเทศไม่มีข้อมูลใช้งาน
ตอนนี้กระทรวงต่างประเทศฟิลิปปินส์ต้องใช้ใบเกิดในการออกหนังสือเดินทาง เพื่อสร้างฐานข้อมูลขึ้นมาใหม่ทั้งหมด
ขณะที่คณะกรรมการข้อมูลส่วนบุคคลฟิลิปปินส์ (National Privacy Commission - NPC) กำลังเรียกทั้งบริษัทเอาต์ซอร์สและผู้เกี่ยวข้องมาให้ปากคำเพราะกรณีนี้เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมาก
ที่มา - Rappler , The Inquirer
Comments
ใน contract คงไม่ได้ระบุไว้ว่า ถ้าไม่ต่อสัญญาต้องคืนข้อมูลทั้งหมด
ผมก็ว่างั้น พลาดตัวโตๆ เลย
Shut up and ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ raise your dongers ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ
แบบนี้จะถือว่าเอกชนทำน่าเกลียดมั้ยครับ ในเมื่อข้อมูลน่าจะถือว่าเป็นของประชาชน ไม่ควรถือเป็นสิทธิ์ของเอกชนแต่เพียงผู้เดียว และถ้าดูจากข่าว
ถ้าการนำข้อมูลออกหมายถึงเอามีเดียออกไปจากศูนย์ข้อมูลก็น่าจะเข้าข่ายยักยอกทรัพย์สินราชการ ผู้ดูแลระบบไม่น่าจะมีสิทธิ์ในทรัพย์สินในศูนย์ข้อมูล
หรือเป็นการคัดลอกออกไปแล้วลบข้อมูลต้นฉบับทิ้ง อันนี้น่าจะเข้าข่ายทุจริตในหน้าที่ เพราะหน้าที่คือดูแลระบบ ถ้าทำให้ข้อมูลเสียหายก็น่าจะถือว่าดูแลไม่ดีน่าจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้
แต่ถ้าในสัญญาให้ดูแลข้อมูลโดยใช้ศูนย์ข้อมูลเอกชนอันนี้ก็จบเลยเอาจริง ๆ ก็ถือว่าพลาดเรื่องสัญญา เจรจาให้ดีก็น่าจะขอซื้อข้อมูลกลับมาเป็นของรัฐได้ น่าจะเสียค่าโง่น้อยกว่ามานั่งทำฐานข้อมูลใหม่ทั้งหมด นอกจากข้อมูลจะหายไปหมดแล้ว ...จบเลย
ตามปรกติแล้วถ้าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลจะต้อง "ทำลายทิ้ง" ถ้าไม่ถูกร้องขอให้นำออกครับ ซึ่งการนำข้อมูลออก (โดยเฉพาะจากบริการของภาคเอกชน) ในบางที่จะมีค่าใช้จ่ายพิเศษซึ่งอาจจะไม่ได้คุยกันก่อน ไม่ได้ระบุในสัญญา หรืออาจจะต่อรองแล้วล้มเหลว อะไรก็ว่ากันไป
ประโยคอ่านแล้วงงครับ แล้ว ควรจะเป็น "เจ้าของ" มากกว่า "เจ้า"หรือเปล่าครับ
ลองแก้เป็น
คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ
+1 ดีขึ้น
แก้ไขตามนั้นครับ ขอบคุณครับ
lewcpe.com , @wasonliw
เสียท่าแล้วสิ
เดาว่าเหมือนสัญญาเช่าศูนย์ข้อมูล พอไม่ต่อสัญญาและไม่ยอม backup ก่อนหมดสัญญา เขาก็ลบ vm ทิ้ง จบ
ถ้าลบยังพอเข้าใจ (ลักษณะเดียวกันกับ Hosting) แต่นี่เหมือนนำไปครอบครองต่อ
เดาต่อนะ คือข้อมูลอยู่ใน server เช่าที่เป็นของเอกชนทั้งหมด อาจจะไม่ได้ลบ แต่รัฐไม่มีสิทธิ์เข้าถึง(เพราะหมดสัญญา) และserverอยู่ในพื้นที่เอกชน
แต่ถ้า copy backup ออกจากพื้นที่ของรัฐแล้วลบที่ต้นทาง อันนี้เอกชนน่าจะโดนไม่น้อย
แต่ก็น่าจะเป็นตัวอย่างของการเขียนสัญญาที่ไม่ครอบคลุมหรือมีช่องโหว่นี่แหละ
ของไทย มีสตง.คอยตรวจTOR หรือสัญญาอีกชั้น ข้อมูลทุกอย่างเป็นของหน่วยงานเสมอต้องจัดเตรียมระบบ backup ไว้ให้ด้วย
ไม่มีอำนาจทางกฏหมายอื่นๆ ขอข้อมูลชุดนั้นเลยหรอให้ยืม ม.44 เอามั้ย
กระบี่อาญาสิทธิ์ ใช้ได้หมดตั้งแต่ตีหัวหมายัน...
ผมว่าไม่ศักดิ์สิทธิ์และเห็นผลเท่ากับกฎหมู่ของประชาชนนะ มีประสิทธิิภาพและเห็นผลทันทีทุกที่มากกว่าการประกาศ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ซวยสองต่อ
ข้อมูลก็หาย ทำใหม่แล้วมีdiffกัน จะทำกันยังไง
แล้วข้อมูลส่วนตัวประชาชนโดนเอาออกไปให้ใครใช้อะไรก็ไม่รู้
หนักมากครับอันนี้ แต่เชื่อว่าเรื่องนี้ถึงหูพี่ดูเตเต้เมื่อไหร บริษัทโดนแน่
ข่าวต่อไป "CEO บริษัทที่เคยดูแลข้อมูลพาสสปอร์ต โดนข้อหาค้ายา" ตามสไตล์
เก๋าอย่างนี้ น่าจะบ.ต่างชาติ
ทำสัญญาแบบไหนนี่ ถึงเอาข้อมูลไปได้
ปล่อยให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ได้ยังไงเนี่ย Facepalm...
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
เหลือเชื่อนะว่าสัญญาที่เซ็นไว้จะไม่ครอบคลุมข้อมูลตรงนี้ กับหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่สำคัญขนาดนี้
..: เรื่อยไป