ที่งาน Geneva Motor Show ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ Honda ได้นำรถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ e Prototype มาโชว์ พร้อมระบุว่าจะผลิตขายจริงในช่วงปลายปี 2019 แต่นอกจากรถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบแล้ว Honda ยังได้ประกาศเป้าหมายสำคัญว่าจะขายเฉพาะรถยนต์ไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้าล้วนในยุโรป ภายในปี 2025
เป้าหมายนี้เป็นเป้าใหม่หลังสถานการณ์ในยุโรปเปลี่ยนแปลงไปมาก เพราะผู้ผลิตรถยนต์ในยุโรปต่างมีแผนเลิกใช้เครื่องยนต์ดีเซลกันแล้ว และผู้คนก็เริ่มมองหารถยนต์ตัวเลือกใหม่ๆ ที่มีค่าบำรุงรักษาต่ำ โดย Honda เคยประกาศเมื่อปี 2017 ว่าจะขายรถยนต์ไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้าคิดเป็นสัดส่วน 66% ในปี 2025 แต่คราวนี้คือเปลี่ยนเป็น 100% เลย
ที่มา - Engadget
Honda e Prototype | ภาพโดย Honda
Comments
ส่วน Honda ไทยก็ถอด Hybrid ออกทุกรุ่นเหลือไว้แค่ Accord Hybrid
ไฮบริดกับค่าบำรุงรักษาต่ำ ?
hybrid = ราคาขายต่อแย่ บำรุงรักษายากกว่า เพราะซื้อต่อกังวลเรื่องค่าซ่อมและค่าแบตแม้จะเคลมว่ามีประกัน 10 ปี (ของหมด ใช้เวลาในการเปลี่ยน สารพัดอ้างตอนจะขอเคลม)
จุดนี้เป็นจุดสำคัญจุดนึงให้รถ hybrid ไม่เป็นที่นิยมในไทยเพราะซื้อแพงแต่ขายได้ถูก เทียบกับรถเครื่อง ICE ปรกติแล้ว ราคาซื้อถูกกว่าแถมขายได้ราคาดีกว่า ใครจะรักโลกก็ต้องเจ็บหน่อยนะ
ค่าน้ำมันที่ประหยัดไป มันเทียบไม่ได้เลยกับส่วนต่างที่เกิดจากการบำรุงรักษาหรือขายต่อครับ
เชื่อว่าราคาขายต่อจะสูงขึ้นถ้าช่างซ่อมชำนาญงานและอะไหล่เซียงกงมีเยอะครับ พอรถเริ่มนิยมราคาขายต่อก็สูงขึ้นเอง
อันนี้เฉพาะที่ไทยนะครับ
+1 ส่วนหนึ่งมาจากผู้ผลิตด้วยว่ายอมให้ซ่อมแบบเฉพาะชิ้นส่วนได้หรือป่าว เช่น
Hybrid ราคาไม่ค่อยต่างจากตัวธรรมดาแล้วครับ ลองดู option ใกล้ๆ กันได้ เพียงแต่รุ่นท็อปมีแต่ hybrid ให้เลือก ส่วนราคาขายต่อขึ้นกับการยอมรับของคน ราคาอะไหล่เริ่มถูกลงแล้ว ถ้ามีอู่นอกซ่อมได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ราคาคงค่อยๆ ดีขึ้น แต่ยังไงก็ซ่อมแพงกว่าน้ำมันล้วนอยู่ดี ถูกจริงคงต้องรอ EV ล้วน
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ค่าแบตถูกลงนะใช่ครับ แต่ราคาก็ยังแพงอยู่ดี แต่ก่อนหลักแสน ตอนนี้เหลือหกหมื่น แต่มีอีกชิ้นที่ราคาแพงอยู่ก็ตัว Inverter ระบบแปลงไฟในรถนั่นแหละครับ ยังหลักแสนอยู่เลย แค่รถในประกันยังหนาว หมดประกันเมื่อไหร่ ตัวใครตัวมันเลย
ถ้าเป็นแบตลิเทียม ในต่างประเทศมีรับซ่อมและกระตุ้นเป็นชุดเปลี่ยนแล้ว แต่ของเราถึงมีแต่ยังน้อยรายมาก แถมแพงด้วย พอแบบระบบเปลี่ยนแบตที่ศูนย์เปลี่ยนเหมือน better place ที่เคยทำแล้วเจ๊งไปแล้ว คนก็ไม่เอาอีก
ถ้าเป็นแบบ 18650 ต่อกันแยกชุดเป็นหมื่นก้อนก็ว่าไปอย่าง ซ่อมง่ายหน่อย แต่ของจริงมันไม่ใช่ไง มาเป็นแบตแบบเดียวกับแบตมือถือเลย ถ้าเสียที ไม่กระตุ้นแบตก็เปลี่ยนเลย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ราคาต่ำแสนแล้วครับ https://pantip.com/topic/37923585
ก็ยังแพง ผมถึงใช้คำว่าเริ่มลง ไม่ได้บอกว่ามันถูกแล้ว แต่สถานการณ์มันน่าจะค่อยๆ ดีขึ้น และไม่ใช่ว่าคนใช้ไปและต้องเปลี่ยนทุก part ยิ่งคนใช้เยอะมันจะยิ่งถูกลงและมีทางเลือกมากขึ้น ต่อไปถ้าเป็นลิเทียมและคนใช้มากขึ้นอีกมันก็ดีขึ้น ยุโรปเองยังตั้งเป้าไว้ 2025 เลย
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ดีทรอยด์แห่งเอเชียก็คงเป็นที่สุดท้ายที่ยังผลิต ICE เต็มรูปแบบสินะครับ
I need healing.
ถ้าในไทย ข้าม Hybrid ไปเหอะ ไป EV ล้วนเลยดีกว่า หรือไม่ก็แบบ Note e-Power ของ Nissan ตั้งเป้าของยุโรปแบบนี้ แล้วเป้า Asia นี่อีกนานกว่านี้แน่
ผมมองว่ารัฐบาลคงไม่สนับสนุนรถยนต์ จักรยานยนต์ไฟฟ้าครับ เพราะ ปตท จะแย่เอา
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
ยิ่งกว่าปตท. คือเหล่ากิจการSMEขนาดกลางเล็ก ที่คอยผลิตชิ้นส่วนป้อนโรงงานผลิตรถยนต์ ที่ถ้านำรวมการจ้างงานแล้วมากกว่าบริษัทที่ผลิตยนต์ชื่อดังทั้งหลายอีก
เพราะรถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้า ประกอบด้วยชิ้นส่วนน้อยกว่ากว่ารถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปมาก พอใช้ชิ้นส่วนน้อยลง กิจการSMEที่กล่าวมาก็เจ๊งกันหมด ยอดตัวเลขการจ้างงานคนไทยในอุตสาหกรรมรถยนต์ได้ลดลงเยอะแน่ๆ นี่ละปัญหาใหญ่ของการมาของรถยนต์ไฟฟ้า
ไม่สนับสนุนแล้วก็ปล่อยให้แย่ลงช้าๆ ขายกันแต่ในประเทศ | สนับสนุนผลักดันให้ปรับตัวกันทั้งระบบ
บริษัทใหญ่ขนาดนั้นสบายๆ ครับ พวกนี้มีแผนสำรองลงทุนธุรกิจด้านอื่นๆ ไว้อยู่แล้ว
https://www.khaosod.co.th/economics/news_2277893
ก็สนับสนุนนะครับ หรือผมพลาดอะไรไป
ภาษีนำเข้ายังไม่ลดครับ ทั้งแบบนำเข้าทั้งคันและชิ้นส่วนอะไหล่ด้วย
ตอนนี้ปตท.ทุ่มกับก็าซธรรมชาติเป็นหลัก
ซึ่งขายต่อไปผลิตไฟฟ้าครับ ก็ขายให้ egat หรือ gulf หรือ ธุรกิจผลิตไฟฟ้าเอกชนอื่นๆ เพื่อขายไฟเข้าระบบของ mea pea ครับ
ซึ่งธุรกิจน้ำมันเฉยๆ มาก กาแฟอเมซอนยังกำไรกว่าอีกมั้ง
ปตท เขาไม่แย่หรอกเท่าที่ดูแล้วเตรียมตัวไว้พร้อมแล้วด้วย อย่างปั๊มน้ำมันต่างๆของ ปตท ก็ปรับเปลื่ยนมีร้านค้า ร้านอาหารในปั๊มรองรับตอนเวลารอชาร์จรถไฟฟ้า ส่วนน้ำมันก็ปรับเอาไปขายผลิตพลังงานไฟฟ้าแทน
เอาจริงๆตอนนี้ อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นตัวทำ GDP อันดับหนึ่งของประเทศนะครับ จะขยับอะไรก็ต้องระวัง เดี๋ยว GDP ร่วงจะเจ๊งหมด
ผิดกับสิบปีก่อน ที่ product champion คือภาคอุตสาหกรรมอิเล็คฯ แต่ตอนนี้กลายเป็น sunset หมดแล้ว(เฉพาะในไทย)
จะรบ.ไหนจะขยับเรื่องรถไฟฟ้า ถ้าไม่วางแผนงานให้รอบด้าน อาจจะล้มทั้งประเทศแรงๆ แบบตอนปี 2540 ได้เลยนะ
ยังไม่นับแผนการจัดหาไฟฟ้า ที่ก็ยังพึ่งพาก๊าซธรรมชาติกว่า 60% ซึ่งต้องทำให้คิดหนัก ถ้าจะเปลี่ยนถ่ายจาก ICE มาใช่้ไฟฟ้าเต็มตัว จะเอาจากไหนมาใช้? (พวกที่บอกว่าก็ใช้พลังงานทดแทนน่ะ ยอมจ่ายหน่วยละ 10-20บาทไหม?)
EV มีค่า Efficiency สูงกว่า ICE มากครับ ซึ่งผมคิดว่าเอาน้ำมันที่ใช้เติมรถไปใส่โรงไฟฟ้าแล้วส่งมาตามสายยังคุ้มกว่า แถมจัดการมลพิษได้ง่ายกว่าด้วยhttps://insideevs.com/efficiency-compared-battery-electric-73-hydrogen-22-ice-13/
ประเด็นคือถ้าเอาไฟฟ้าจากแหล่งอื่นๆ จะจ่ายค่าไฟไหวหรือเปล่า?
อย่างแผน pdp ก็ไม่ได้เผื่อพลังงานอื่นๆสักเท่าไร ตราบใดที่กำลังผลิตไฟฟ้าหลักของประเทศยังเป็นก๊าซธรรมชาติ ก็คงต้องพิจารณาอีกเยอะ ถ้าเกิด แหล่งเจาะหยุดซ่อมกระทันหัน แล้วรถต้องหยุดวิ่งสักครึ่งประเทศ มันก็คงดูไม่จืด
ตรงนี้แหละที่บอกว่า ต้องวางแผนขยับไปพร้อมๆกันทุกด้าน ไม่ใช่แค่ลดภาษีแล้วจบ
ป.ล. เอาน้ำมันไปปั่นไฟที่โรงไฟฟ้า แล้วลากสายไฟไปจ่ายจุดชาร์จ? มันก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพดีกว่าเอาน้ำมันมาเผาเป็นต้นกำลังตรงๆของ ICE สักเท่าไร แถมยังสิ้นเปลืองเรื่องการลากสายอีกนะ ประเด็นสำคัญคือราคานี่แหละ การทำหลายต่อย่อมสิ้นเปลืองมากกว่าใช้ตรงๆ ยอมจ่ายค่าไฟหน่วยละ10-20บาทเหมือนเยอรมันหรือญี่ป่นก็จะได้ใช้พลังงานสะอาดกันเต็มที่ แต่กลายเป็นเปลืองกว่าใช้เครื่องยนต์ ICE นะ?
ลองดูใน ตารางที่ 6 หน้าที่ 17 link นี้ ดูครับ จะพบว่าโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันมีค่า Efficiency อยู่ที่ 23-43%
เทียบกับใน link ด้านบน ที่ระบุว่า ICE มี Efficiency อยู่ที่ 13%
ส่วนต่าง 10-30% นี่ยังไม่มากพอหรอครับ ไหนจะเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมที่สะดวกกว่าอีก ที่จะต้องคิดหนักจริงๆน่าจะเป็นต้นทุนในการสร้างโรงไฟฟ้าและสายส่งมากกว่าเรื่อง Efficiency ของพลังงานนะครับ
ยังไม่นับการจัดการไอเสีย
ขอบคุณครับ ยังไม่ได้ดูอย่างละเอียดว่าวัดแบบไหนเทียบยังไง เพราะยังจำตัวเลขประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ ICE ยุคใหม่ทั่วไปที่มี thermal efficiency 20-30% อยู่
ถ้าสร้างโรงไฟฟ้าพลังานน้ำมัน ก็มีความเสี่ยงเรื่องราคาที่ผันผวน แม้ช่วงนี้คงเป็นขาลงของราคาน้ำมันยาวๆ แต่ถ้าเจอเหมือนช่วงสิบปีที่ผ่านมา ที่ขึ้นแรงๆสองหน ก็อาจเป็นประเด็นเช่นกัน
สิ่งที่ผมพยายามพูด คือภาครัฐต้องวางแผนการจัดหาพลังงานไฟฟ้าที่มั่นคง และต้นทุนรับได้(ไม่ใช่หน่วยละ10-20บาทแบบพลังงานทดแทน) ไม่ใช่แค่ลดภาษีสรรพสามิตแล้วบอกว่าช่วยสนับสนุน ev แล้วนะ(ยังไม่นับภาษีนำเข้าอีกอ้วก)
อีกนิดคือ แม้ประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำมันจะดีกว่าการใช้ ICE บนรถยนต์ ก็อาจจะได้เปรียบแค่เรื่องการจัดการมลพิษ แต่ต้นทุนรวมต่อการใช้งานอาจจะไม่ถูกกว่าแบบชัดเจน อย่าลืมว่ามีต้นทุนแบตเตอรี่/การทำลายแบตเตอรี่
โดยหลักการแล้วยังไงซะการออกแบบ system ที่ต้องเคลื่อนที่ก็มีข้อจำกัดเรื่อง ขนาด และน้ำหนักของตัว system เองมากกว่า system ที่ตั้งอยู่กับที่อยู่แล้วครับ ข้อจำกัดเหล่านี้ส่งผลต่อทั้งต้นทุนและ efficiency ทั้งสิ้น
ส่วนเรื่องความผันผวนของราคาของเชื้อเพลิง ไม่ว่าเอาไปใช้แบบไหนก็มีความเสี่ยงทั้งนั้นครับ กลับกัน การใช้ EV สามารถใช้เชื้อเพลิงที่หลากหลายกว่า กระจายความผันผวนได้มากกว่าการใช้แหล่งที่มาของพลังงานเพียงแหล่งเดียวได้อีก
ซึ่งก็แน่นอน แลกมากับการจัดการปัญหแบตเสื่อม ซึ่งตรงนี้ต้องเข้าใจว่าทั้งโลกกำลังพัฒนาเรื่องแบตอย่างมาก ทั้งทำให้มันดีขึ้น และเอามันมาใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่ามากขึ้น ซึ่งจริงๆแล้ว ICE ก็พัฒนาเรื่องประเด็นสิ่งแวดล้อมอยู่เหมือนกัน แต่เทคโนโลยี ICE มีมาเป็น 100 ปี แล้ว จะหวังให้พัฒนาได้ก้าวกระโดดอย่าง EV คงยากครับ
ส่วนเรื่องภาครัฐต้องวางแผนการจัดหาพลังงานไฟฟ้าที่มั่นคงนี่เป็นอะไรที่ต้องทำอยู่แล้วครับ ไม่ว่าจะมีรถไฟฟ้าหรือไม่มี ตราบใดที่เศรษฐกิจยังต้องโต และโตด้วยการใช้พลังงาน ยังไงก็ต้องมีความมั่นคงทางพลังงาน แต่ที่ผมจะสื่อคือมันไม่ใช่ข้ออ้างว่าจะแตะเบคการสนับสนุน EV ครับ เพราะมันเป็นคนละประเด็นกันกับเรื่องไฟไม่พอ
ผมเห็นด้วยว่า EV ต้องมา
แต่จะบอกว่า มาสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำมัน เพื่อจ่ายไฟให้ ev มันดูไม่ก้าวข้ามความเสี่ยงเท่าไร และเป็นการทำซ้ำปัญหาแบบเดิม
ประเด็นที่ผมพูดเสมอ คือความมั่นคงทางพลังงานเราต่ำ ถ้าจะปรับเปลี่ยนก็ต้องเผื่อไปด้วย ไม่ใช่บอกว่า สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำมันคุ้มกว่าแล้ว ทั้งๆที่สิบปีที่ผ่านมาเราsuffer กับการผันผวนของราคาน้ำมันอย่างรุนแรง มันก็ดูเหมือนวนในอ่างกับปัญหาเดิมๆ
ผมพูดว่ามันต้องไปพร้อมกันครับ ถ้าคุณเคยได้หนังสือขอความร่วมมือให้หยุดโรงงานชั่วคราว เพราะแหล่งเจาะก๊าซหยุดซ่อม 1 สัปดาห์ คุณจะเข้าใจว่ามันกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศแค่ไหน
อยากไป ev ต้องสนับสนุนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หรือต้องกระจายความเสี่ยง ไม่ให้พึ่งพาพลังงานไหนมากเกิน 50% แบบทุกวันนี้ (สิบปีที่แล้วเราใช้ก๊าซธรรมชาติ 75% ตอนนี้เราใช้ 60%) รบ.ไหนบอกแค่ลดภาษีเพื่อสนับสนุน แสดงว่าไม่ได้สนับสนุนจริงๆ
เรื่องสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำมันการแก้ปัญหาเชิงเทคนิคในเรื่อง efficiency ครับ ปัญหาการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มไม่ได้มันไม่ใช่ปัญหาเชิงเทคนิคในเรื่อง efficiency ครับ ดังนั้น EV ก็ต้องผลักดันต่อไป เพื่อผลพลอยได้ สร้างแรงกดดันให้มีการตัดสินใจสร้างโรงไฟฟ้าตามที่สมควรครับ ไอที่คุณว่าไฟไม่พอมันกระทบต่อเศรษฐกิจนั่น คนเราทนได้ไม่นานหรอกครับ สุดท้ายก็ต้องหาทางออก ไม่ว่าจะยอมสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม หรือใช้ไฟน้อยลง หรือสุดท้ายคือแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งถ้ามีแรงกดดันมากๆก็ซ่อนปัญหาได้ไม่นานหรอกครับ
ผมพูดสิ่งที่เกิดขึ้นจริงมาแล้วไงครับ และผมเป็นหนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบเลยจำได้ดีในสิ่งที่หลายคนมองข้าม
ซึ่งตอนนั้น ชาวบ้านทั้่วไปไม่รู้เรื่องเลย นอกจากชาวบ้านริมแม่น้ำที่กาญฯ ที่ปล่อยน้ำท่วมกลางดึกเพราะเร่งปั่นไฟ กับชาววงการอุตสากรรมฯที่ได้รับหนังสือขอความร่วมมือมา
แผน pdp ล่าสุดที่หลายคนโม้ว่า ไม่ได้พึ่งพาก๊าซธรรมชาติมากอย่างเดิม ใช่ครับ ลดจาก 75% เหลือ 60 กว่า% แต่ก็นับว่าเกินครึ่งนะ แถมราวๆ 20% น่าจะซื้อจากเพื่อนบ้านอีก....
โอเคครับ เราเริ่มถกเถียงเรื่องผลกระทบต่อการสนับสนุน EV ซึ่งผมแย้งได้ว่ามันมีข้อดีมากกว่าผลกระทบและผลกระทบก็เป็นอะไรที่เราต้องแก้ไขอยู่แล้วแม้จะไม่หนุน EV
ส่วนเรื่องความมั่นคงทางพลังงานผมเห็นด้วยว่าต้องจัดการให้ดีครับ ที่เห็นต่างคือการมาของ EV เป็นตัวกระตุ้นให้จัดการปัญหานี้มากกว่า ลองคิดดูสิครับ ถ้าคนส่วนมากใช้รถ EV แล้วไฟดับจนชาร์จไม่ได้ แรงกดดันในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานขนาดไหน คนเราต้องได้รับผลกระทบกับตัวเองครับ ถึงจะเข้าใจ
ผมว่าเรามองข้างโรงงานขยะหรือเปล่าครับ เรามีขยะตั้งเยอะแยะจักหลายแหล่งมาก แถมที่ฝังกลบก็มีก็าซมีเทน อย่างน้อยก็เอามาใช้กับโรงไฟฟ้าได้นะ อย่างน้อยก็ทำเครือข่ายขนขยะหรือหลุมฝังกลบสร้างมีเทนแส้วส่งให้โรงไฟฟ้าก็ได้นะ
ส่วนการผลิตไฟฟ้าด้วยแหล่งอื่นก็มีนะ เช่น นิวเคลียร์ (แต่ต้องเป็นพื้นที่มั่นคงแน่นอน และไม่มีภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ดินทรุด หรือแผ่นดินไหวนะ), กังหันลม, โซล่าเซลล์ หรือพลังงานจากใต้พิภพก็ใช้ได้นะ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
โรงไฟฟ้าขยะนี่ผลิตไฟฟ้าได้ไม่พอใช้แน่ๆครับ
ถ้าอยู่ กทม.วันหยุดลองตั้งเข็มไปดูโรงไฟฟ้าพลังงานขยะที่แพรกษาใหม่ สมุทรปราการดูครับ โรงไฟฟ้าเบอเริ่ม ผลิตไฟได้9.9เมกกะวัตต์
ผลิตได้เยอะแค่ไหนลองเปรียบเทียบกับพารากอนก็ได้ครับ พารากอน1ชั้นใช้ไฟ40เมกกะวัตต์
เราควรปิด พารากอนซะ
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
พลังงานที่เราได้จากน้ำมันคือความร้อน
เครื่องรถยนต์สันดาป เอาแต่แรงดันที่เพิ่มขึ้นจากความร้อน ความร้อนที่เหลือไม่เอา
โรงไฟฟ้าใช้ความร้อนทั้งหมด
ส่วนเรื่องลากสาย มันก็ไม่ได้เพิ่มอะไรมากหรอกครับ เสาเดิมก็มีอยู่แล้ว
และสิ่งที่รถไฟฟ้าประหยัดกว่ารถน้ำมัน ไม่ใช่แค่เรื่องค่าเชื้อเพลิงอย่างเดียวนะครับ ค่าบำรุงรักษาก็ถูกกว่าเยอะด้วย เอาแค่ค่าน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ ก็ประหยัดได้เยอะแล้ว ชิ้นส่วนก็น้อยกว่าเยอะ(โคตรๆ)
ไทยควรกำหนด deadline ได้แล้ว
2040 ให้ขายแต่รถยนต์ไฟฟ้า
2060 ให้ใช้แต่รถยนต์ไฟฟ้า
2080 ให้ขายแต่รถยนต์ไร้คนขับ
2100 ให้ใช้แต่รถยนต์ไร้คนขับ
Honda e Prototype หน้าตาน่ารักดี ดูญี่ปุ้นญี่ปุ่น