วันนี้ผมได้รับอีเมล์ประชาสัมพันธ์จากลาซาด้า เนื้อหาภายในสรุปความได้ว่าตัวแอพอัพเดตล่าสุด ได้เพิ่มส่วนที่เป็น "ไลฟ์วิดีโอขายของ" เข้ามาในแอพ ซึ่งน่าจะทำมาเพื่ออุดช่องว่างในบริการของตนเองที่ผู้ขายยังต้องไลฟ์ขายของผ่านเฟสบุค หรืออินสตาแกรม แล้วใช้วิธีแนบลิงค์สินค้ากลับมาที่ลาซาด้า
ผมทดลองเข้าไปดูพบว่าสตรีมได้ลื่นไหลดี และมีผู้รับชมในแต่ละช่องเยอะพอควร (หลักพัน) แต่เมื่อไปดูบนเว็บลาซาด้ากลับยังไม่พบช่องทางให้เข้าไปดูไลฟ์ขายของ คาดว่าน่าจะพัฒนาอยู่ครับ
ที่มา - อีเมล์ประชาสัมพันธ์ของลาซาด้า
Comments
รูปทะลุเลย
อัพเดท >> อัพเดต , อัปเดต
น่าจับทีมแปลภาษาไทยของแอปเปิลกับซัมซุงมาปรับทัศนคติเสียจริง พาคนทั่วประเทศเขียนผิดกันหมดเลย
เดี๋ยวราชบัณฑิตก็แก้ตามเองครับ (จริงจัง)
ผมยกตัวอย่างคำว่า สมดุล (สะ-มะ-ดุล/สมุดล) เมื่อก่อนอ่านได้แบบแรก
ผิดมากๆแบบสองก็ตามมา
Sony , HP , กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ด้วยครับ
ผมไม่ได้ผิดตามองค์กรดังกล่าวครับ ผมใช้คำว่าอัพเดทมาก่อนราชบัณฑิตจะระบุว่าต้องใช้ต.เต่าเป็นตัวสะกดอีกครับ
ภาษาอังกฤษคำไหนที่เป็นตัวสะกด T ผมจะใช้ ท.ทหารเป็นตัวสะกดหมดเลยตามการออกเสียง
ตอนเด็กๆ ผมมองว่าการใช้ต.เต่าจะเหมือนสำเนียงสเปนซะมากกว่าอ่ะครับ และอีกเหตุผลนึงคือเรื่องของความคงเส้นคงวาในการแทนตัวอักษร เพราะถ้าเป็นคำที่ขึ้นต้นด้วย T เช่น time, technic, telephone เมื่อใช้ทับศัพท์ด้วยภาษาไทยก็ใช้ ท.ทหาร ทั้งหมด
ยิ่งพอโตมาระดับนึงได้เรียนรูป past tense คำกริยาที่สะกดด้วย T ส่วนมากเมื่อเติม -ed เพื่อเปลี่ยนรูปเป็น past tense จะต้องออกเสียง -ถิด -เถ็ด ต่อท้าย เช่น updated เขียนคำออกเสียงเป็นภาษาไทยแบบตรงตาม pronunciation ทั้ง uk, us ได้ว่า อัพเดทถิด, อัพเดทเถ็ด ตามหลักการลากเสียงตัวสะกดมาเชื่อมต่อกับ vowel ตัวต่อมา (เสียงตัวสะกด T เชื่อมต่อกับ -ed)
จะให้เขียนว่าอัพเดตติด หรืออัพเดตถิด ผมว่ามันไม่คงเส้นคงวามากเลยครับ
ผมก็เลยจำรูปทับศัพท์ของราชบัณทิตไม่ได้ซะที
ขอบคุณครับ แก้แล้วครับ
ได้รับความรู้ดีมากครับ ขอบคุณครับ
จากประสบการณ์ส่วนตัวผมเห็นด้วยกับหลาย ๆ ท่านว่าอย่าไปสนใจราชบัณฑิตเลยครับ การกำหนดวิธีการเขียนคำขัดแย้งกันหลายตัวอย่างมาก ๆ หลักการก็ไม่นำมาใช้อย่างชัดเจน เดี๋ยวใช้บ้าง เดี๋ยวบางทีไม่ใช้บ้าง ผมคิดว่าราชบัณฑิตก็เป็นแค่กลุ่มคนที่ทำงานไม่เก่งเท่าไรกลุ่มหนึ่ง
That is the way things are.
ไล่ตอบรวดเดียวในคอมเมนต์นี้นะครับ เดี๋ยวโควตาหมด
เรื่องการออกเสียงราชบัณฑิตไม่ค่อยจริงจังสักเท่าไรนักครับ ยิ่งถ้าคนส่วนใหญ่เขียนเป็นคำที่ถูกต้องอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นคำที่เสี่ยงต่อการสับสน หรือสิ้นเปลืองอย่าง เปน หรือ เพ็ชร ก็พิจารณาเพิ่มหรือลดบางอย่างลงได้ในภายหลังครับ
แต่กับกรณีทับศัพท์ภาษาต่างประเทศนี่ผมไม่เคยเจอแฮะ ยิ่งกับหนังสือที่ออกโดยสถาบันฯ อยู่แล้ว หากเราไปค้นตำหรับตำราของสถาบันฯ เล่มเก่า ๆ หรือหนังสือวิทยาศาสตร์/คอมพิวเตอร์ยุคแรก ๆ เราจะพบว่าทั้งหมดถูกเขียน/นิพนธ์ตามแบบแผนที่ถูกประกาศออกมาเป๊ะเลย ไม่มีรูปแบบที่พวกเรานิยมเขียนกันโดยความเข้าใจส่วนตัว (ผมใช้คำว่า "พวกเรา" เพราะผมก็เคยเขียนผิดเหมือนกัน)
ยกตัวอย่างบางคำที่ยังไม่ถูกดัดแปลงเป็นรูปแบบที่เราเข้าใจกัน
มากาเร็ต ไม่ใช่ มากาเร็ท
โค้ก ไม่ใช่ โค้ค
ฟุตบอล ไม่ใช่ ฟุทบอล
โคบอลต์ ไม่ใช่ โคบอลท์
คาร์บอเนต ไม่ใช่ คาร์บอเนท
ดีเบต ไม่ใช่ ดีเบท
ดิจิทัล ไม่ใช่ ดิจิตอล lol เจอความย้อนแย้งในราชบัณฑิตเข้าไป หงายหลังกันเลยทีเดียวครับ
เมื่อ "ข้อเท็จจริง" ปะทะกับ "ความเป็นจริง"Fact VS Reality
อันไหน fact อันไหน reality ครับ ผมมึนไปหมดแล้ว
ผมพูดถึง 2 สิ่งนี้บ่อยๆ น่ะครับ ถ้ามองขาดแล้วจะเห็นว่ามันไม่ได้เหมือนกันไปเสียทุกบริบทพอดีเห็นกรณีนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีในการชี้ให้เห็นสิ่งที่ผมมองเห็น เลยออกความเห็นไว้สำหรับผู้ที่เคยอ่านความเห็นผมที่ผ่านมาครับ
Fact เป็น "ข้อเท็จจริง" ที่มนุษย์เราตั้งขึ้น มักนำหยิบยกมาถกเถียงกันเสมอ ทั้งที่มันอาจไม่ใช่ "ความเป็นจริง"Reality คือ "ความเป็นจริง" ที่เกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติ ที่เมื่อยกขึ้นมาถกเถียงกับ "มนุษย์ Fact" อีกฝั่ง มักจะไม่มีทางได้ Solution ที่ลงตัวได้ เพราะต่างก็มีอัตตา ยึดแนวทางตนเองอย่างเหนียวแน่นทั้ง 2 ฝั่ง
ในความย้อนแย้งที่คุณพบ ก็เป็นเรื่องทำนองเดียวกันครับ ระหว่าง Fact คือ "แบบแผนที่ราชบัณฑิตฯ ประกาศออกมา" เช่น "ดีเบต ไม่ใช่ ดีเบท" กับ Reality คือ "คำศัพท์บางคำที่ย้อนแย้งโดยราชบัณฑิตฯ เอง" เช่น "ดิจิทัล ไม่ใช่ ดิจิตอล"
ผมพบเรื่องทำนองนี้บ่อยๆ ใน Blognone นี่ครับ เป็นสัดส่วนที่มากยิ่งกว่า Pantip เสียอีก เพราะที่ไหนยิ่งถกเถียงกันด้วยเหตุผลมากเท่าไหร่ ยิ่งเจอปัญหาระหว่าง "คนที่ยึดมั่นถือมั่นกับ Fact" และคนอีกฝั่ง "ที่ยึดมั่นถือมันกับ Reality" เสมอ
ไม่มีใครถูกและผิดโดยแท้ครับ และไม่มี Solution ที่ถูกหรือผิดโดยแท้ด้วยครับ มีแต่คน 2 ฝั่ง และ 2+ Solution ครับ
ผมหมายความว่า ถ้าคนส่วนใหญ่ในการถกกัน เป็นกลุ่มที่ยึด Fact เป็นที่ตั้ง ก็จะใช้กฏ กติกา ทั้งหมดที่มนุษย์กำหนดขึ้นเป็น Fact และใช้เหตุผลทั้งหมดโน้มน้าว (หรือบังคับ) ให้อีกฝั่งที่มีจำนวนน้อยกว่า ยอมรับว่ามันถูกต้องและควรต้องเปลี่ยนความคิดมาปฏิบัตตาม Fact
นั่นคือ Solution ที่ 1 ที่ทำให้ลงเอยกันได้
แต่ถ้าคนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ยึดถือ Reality เป็นที่ตั้ง ก็จะใช้เหตุผลข้อเดียวคือ กฏคือสิ่งที่คนกำหนดขึ้น ถ้ามันขัดแย้งกับพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ กฏก็ย่อมเปลี่ยนได้ ปรับปรุงได้
นั่นก็คือ Solution ที่ 2 ที่ทำให้ลงเอยกันได้เช่นกันครับ
โดยมาก ใน Blognone ที่ถกกัน มักจะวนอยู่รอบเหตุการณ์นี้ของคนสองฝั่งครับ
ถ้าอ่านแล้วรู้สึกว่าข้อเขียนของผม "เลอะเทอะ" ก็ข้ามๆ ไปนะครับ
ไม่เลอะเทอะเลยครับ
ปัญหาคือเวลาพยายามว่ามันคือ fact หรือเปล่าเนี่ยแหละครับ เชื่อว่าผมเองก็หลุดอยู่บ่อยๆ เพราะสิ่งที่ผมใช้แบ่งผมจะแยกแค่ว่ามันตัดสินได้ด้วย fact หรือว่ามันเป็นความเห็นที่ไม่ตรงกัน (ที่ผมก็จะแค่แลกเปลี่ยนความเห็นแต่ไม่จำเป็นต้องจบที่เห็นตรงกัน)
มันไม่ใช่ความ "หลุด" หรอกครับ เราทุกคนเป็นกันทั้งนั้น
บางบริบทเราก็ยึดมั่นถือมั่นกับ Factบางบริบทเราก็ยึดมั่นถือมั่นกับ Reality
และบางบริบท เราก็อยู่ตรงกลาง มองเห็นความเป็น "ธรรมชาติ" ของมันได้ (คือ ธรรม ในความหมายเดียวกับพระพุทธเจ้า)
มันขึ้นอยู่กับ ปูมของชีวิตแต่ละคนในบริบทนั้นๆ ว่าเกิดมาอย่างไร ครอบครัวอย่างไร ถูกสอนสั่งอย่างไร สั่งสมประสบการณ์อะไรมาบ้าง
เช่น บางคนอาจเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นราวนักวิชาการตัวกลั่น เมื่อเกิดมาในครอบครัวที่สอนให้มั่นใจในตัวเองสูงและยึดมั่นในความถูกต้องเชิงทฤษฎี ก็จะเก่งมากแบบใจแคบ ทุกสิ่งที่ผิดไปจาก Fact คือผิดไปหมด และเชื่อว่า Fact เหล่านั้นคือ Rule ที่จะจัดระเบียบโลกได้ แต่เมื่อคนคนเดียวกันนี้ ได้ไปสนทนาอยู่ในบริบทที่ตัวเองไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ การยึดมั่นถือมั่นของเขาก็จะย้ายข้างไปยึดเอา Reality ที่ได้รับรู้และสัมผัสได้ตรงจากประสบการณ์เพียงอย่างเดียว และด้วยที่ครอบครัวปลุกปั้นมา ก็จะยังคงใจแคบ แล้วหันไปเชื่อได้ว่า Fact เหล่านั้นเปลี่ยนได้ เมื่อยกเอาพฤติกรรมของคนคนนี้ในต่างบริบท ต่างเวลา ต่างสถานการณ์ มา "ดีเบt" กัน ก็จะดูเหมือนย้อนแย้ง และสามารถลดความน่าเชื่อถือของคนคนนี้ลงได้ไม่ว่าจะมองจากมุมมองของ "มนุษย์ Fact" หรือ "มนุษย์ Reality"
คนแบบที่ผมยกตัวอย่างนี้มีตัวตนจริงๆ นะครับ เอาที่เห็นๆ เด่นๆ ในขณะนี้ เช่น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นต้น
ดังนั้น ไม่ใช่การ "หลุด" หรอกครับและเพื่อไม่ให้ผม "หลุด" บ่อยๆ ผมจึงมักไม่ออกความเห็นเลยในข่าวและ/หรือบริบทต่างๆ ที่ผมไม่มีทั้ง Fact และ Reality ในหัวสมองของผมเลย เพราะจะทำให้ความเห็นอันมาจากเพียงความรู้สึกที่อยากให้ "เป็น" หรือ "ไม่เป็น" ของผมในบริบทนั้นๆ เป็นเพียง Garbage แท้ๆ นั่นเอง
ผมคิดว่าเอาคำว่า fact กับ reality มาใช้แบบไม่ถูกครับ ความหมายของมันไม่ตรงกับที่คุณอธิบายครับและ fact มันเกิดขึ้นได้เพราะ reality ครับ
การที่เราจะรู้ได้ว่าอะไรคือ fact มันต้องใช้ evidence มายืนยันซึ่ง evidence นั้นจะถูกสร้างโดย reality
เช่น สมมุติข้อเท็จจริง (fact) คือ "ตอนนี้ผมกำลัง discuss กับคุณจักรนันท์"
ข้อเท็จจริงนี้มันจะไม่จริงถ้าในความเป็นจริง (reality) "ผมไม่ได้ reply จักรนันท์"
evidence ก็คือ reply นี้ครับ
สิ่งที่คุณกำลังอธิบายอยู่นั้นมันเหมือนความหมายของ การมองเรื่องเดียวกัน โดยใช้วิธีคิดกันคนละ scope มากกว่าครับ
ขอไม่ถกยาวนะครับที่คุณ Reply มาทั้งหมด คุณติดอยู่กับการ "ตีความ" คำศัพท์ครับ ทำให้ออกทะเลไปเป็นปัญหา ไก่กับไข่
มันไม่ใช่ Scope อะไรเลยครับ มันคือคุณยังมองไม่ขาด จนมองเห็นความเป็นธรรมชาติของมัน ว่ามันเป็นเช่นนั้นแหละ
ผมเคยพูดไว้ในนี้เมื่อเกือบ 10 ปีมาแล้วว่า ถ้าไอน์สไตน์เชื่อว่า F = ma เป็น Fact (เหมือนที่คนอื่นๆ เชื่อหมดทั้งโลกในขณะนั้น) เขาก็คงไม่ค้นพบ E = mc²
คุณกำลังเล่นแปรธาตุในการตีความคำศัพท์อยู่ครับคุณไม่ได้กำลังคุยประเด็นเดียวกับผม (โดยที่คุณกำลังไม่รู้ตัวอยู่)
ได้ข้อคิดที่ชัดเจนมาก ๆ ครับ ขอบคุณครับ
That is the way things are.
เข้ามาเม้นว่า ผมเข้าใจสิ่งที่คุณสื่อนะ แนะนำให้บางท่านลองถอดหัวโขนออกมาจากจุดที่ตัวเองยืนบ้าง ลองทิ้งความรู้และประสบการณ์ที่มี บางทีเราจะได้เข้าใจจุดยืนของท่านอื่นๆ มากขึ้น
ไม่เลอะเทอะเลยครับ และขอบคุณมากที่ตั้งใจพิมพ์ตอบผมเสมอมาครับ
ในเมื่อ "fact" และ "reality" ไม่ตรงกัน จึงมีผู้ชี้นำกำหนดสิ่งที่เรียกว่า rule ขึ้นมาบังคับ หรือชี้นำผู้ตามแบบเรา ๆ นี่แหละครับ
ผมไม่ถือว่าราชบัณฑิตเป็น "fact" นะ เพราะมีหลาย ๆ อย่างที่ราชบัณฑิตกำหนดแล้วมันค่อนข้างขัดแย้งกันกับนักเขียนหลาย ๆ กลุ่ม เหมือนกับที่เราถกประเด็นกัน แต่ราชบัณฑิตคือผู้สร้าง "rule" คือไม่จำเป็นต้องเป็น "fact" (สิ่งที่สถาบันหรือกลุ่มนักวิชาการยึดถือ) หรือ "reality" (สิ่งที่บุคคลทั่วไปยึดถือ) แต่ขอให้เป็น "rule" หรือแนวทางปฏิบัติร่วมกันเป็นพอ
การใช้ภาษาละตินในงานด้านวิทยาศาสตร์ก็เข้าทำนองเดียวกัน ในการค้นพบอะไรบางอย่าง คนที่พบเรียกแบบหนึ่ง แต่อีกคนที่พบแบบเดียวกันอาจเรียกอีกแบบหนึ่ง แต่พอมีภาษาละติน ทุกคนเข้าใจแบบเดียวกัน ถือว่าเป็นอันจบเรื่อง
สำหรับความเห็นนี้ ผมถกต่อนะครับ เพราะไม่ออกทะเล แต่เขายัง "มองไม่ขาด" เท่านั้น
ก่อนจะถกกันต่อไป ขอกำหนดกรอบว่า ผมไม่ถกในเชิง "การตีความ" คำศัพท์นะครับ (Reality, Fact, ความเป็นจริง, ข้อเท็จจริง) เพราะ "ความหมาย" ของศัพท์ ก็เป็นเพียงกฏที่มนุษย์สร้างขึ้นและดิ้นไปได้ตามบริบทและมุมมองอยู่ดี
Rule ไม่มีทางตอบโจทย์ได้ทั้ง Fact และ Reality พร้อมกันครับ
มนุษย์มักถือว่าอะไรเป็น Fact คือสิ่งที่มันนิ่งแล้ว ทำนองเดียวกับ 1 นิ้ว = 2.54 เซนติเมตร หรือดวงจันทร์โคจรรอบโลก
แต่ Reality คือ "ความไม่แน่นอน" ในทางปฏิบัติครับ มันจึงเขียนเป็น Rule ไม่ได้ เพราะมันจะมี Exception เป็น Infinity เสมอครับ (นี่ขนาดผมยังไม่ยกเอาเรื่องการมี "Emotion" และ "Sense" อยู่ใน Reality ด้วยนะครับ)
ถ้าคุณมี Exception ในบางคำศัพท์ในราชบัณฑิตฯ แยกออกมา คุณก็จะได้พจนานุกรมอีกเล่มอยู่ดี เพราะไม่ได้มี Exception แค่สิบคำ และยังมีเพิ่มไปตามกาลเวลาและความดิ้นได้ทางภาษาต่อๆ ไป (Reality)
ความแน่นอนคือความไม่แน่นอนครับ
สิ่งที่ผมมองขาดคือ "ความไม่แน่นอน" นี่แหละครับ ที่เป็นเรื่องปกติแล้วFact เหมือนการเอา Snapshot ของ Reality มา Filter และ Organize มันเท่านั้นครับ
เช่นที่ผมขอไม่ถกต่อกับคุณ rattananen ก็เพราะ แค่เริ่มต้นเขาก็ยึดเอาความหมายของคำศัพท์ Fact และ Reality ขึ้นมาเป็นประเด็นหลัก ซึ่งไม่ว่าจะตัวคำศัพท์หรือความหมายของมันตามที่เขายกขึ้นมาเพื่อจะ "ดีเบt" กับผมนั้น มันก็เป็น Fact ที่มนุษย์เราสร้างขึ้นมานั่นเอง สาระสำคัญมันอยู่ที่ 2 สิ่งที่ผมพูดถึงอยู่ "ผม" เรียกมันเองว่า "Fact" และ "Reality" โดยตัวผมเอง ส่วนใครจะเห็นว่า "ไม่ตรงความหมาย" ตาม Fact ใคร หรือ Rule ชาติใด ภาษาใด นั้นสุดแท้แต่เขาจะแทนที่ "2 สิ่ง" ของผมด้วยคำศัพท์อื่นใดๆ หาได้เป็นประเด็นเดียวกับผมไม่
คุณ rattananen ยึด "ศัพท์" เป็น Fact ในวิธิคิดของเขา และพยายามจะ "ดีเบt" ให้ "สิ่งแรก" และ "สิ่งที่สอง" ของผม ไม่ควรเรียกว่า "Fact" และ "Reality" โดยไม่ได้นำเสนอศัพท์อื่นที่เหมาะสมกว่าใช้แทนด้วยนะ แต่กลับพยายามให้ผมเปลี่ยนเนื้อหาของ "2 สิ่ง" ของผมไปให้ตรงกับความหมายของศัพท์ 2 คำนั้นแทน
ในขณะที่ผม เพียงยกศัพท์สัก 2 คำ ที่พอจะนำมาใช้เรียก "2 สิ่ง" อันเป็นธรรมชาตินี้เท่านั้นเอง ในเมื่อผมไม่ได้เป็นนักวิชาการทางภาษาที่รู้เพียงพอจะหา "ศัพท์" ที่สื่อความตรงถึง "2 สิ่ง" ที่ผมยกขึ้นมาได้ ผมก็เพียงแค่เลือกคำว่า Reality Fact ความเป็นจริง และ ข้อเท็จจริง มาใช้ไปก็เท่านั้นครับ
คือเขาหลงประเด็นไป ในขณะที่ผมมองว่า คำศัพท์ คือส่วนหนึ่งของภาษาในการสื่อสาร ผมเพียงพยายามยกศัพท์บางคำขึ้นมาอธิบาย "มุมมอง" "วิธีคิด" ฯลฯ ของผม มาใช้สื่อสารให้ผู้อ่านท่านอื่นเข้าใจ "2 สิ่งที่ผมกำลังสื่อ" อยู่เท่านั้นไม่ได้บ้าบอไปกับการตีความว่า ศัพท์เหล่านั้น แปลว่าอะไร ผมเอาไปใช้ถูกบริบทหรือไม่?
งงไหมครับนี่...ที่ผมพยายามชี้ให้เห็นถึงการติดกับดักความคิดเรื่อง Fact เรื่อง Reality หรือแม้กระทั่ง Rule กันโดยไม่รู้ตัว
ดิจิตอล: digitol?
ลิงค์ => ลิงก์
แค่ได้มาอ่าน comment ในข่าวนี้ผมก็ว่าคุ้มค่าเวลาแล้ว
That is the way things are.
อ่านไปอ่านมา อ้าว ลืมเรื่อง Lazada ไปซะแล้ว
จริง ผมเข้ามามองหา มีใครเม้นถึงลาซาด้ามั่ง ฮ่าๆๆๆ สมเป็นบล็อกนัน ผมชอบบล็อกนันตรงนี้
Overthinking Disease มีอยู่จริงๆ ครับ และอาจจะสัมพันธ์กับโรค NPD ด้วยถ้าอยู่ในระยะแรกๆก็นั่งสมาธิไม่ฟุ้งซ่าน อยู่กับความจริงและมีสติตลอดเวลา ถ้าแย่กว่านั้นก็ทานยาครับ ส่วนผลข้างเคียงของยาอาจจะอ้วนขึ้นหรือซึมเศร้าหนักว่าเดิม ฯลฯ ครับ