เมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบเอกสาร RFC หรือ "เอกสารขอความคิดเห็น" ที่เริ่มฉบับแรกเมื่อวันที่ 7 เมษายน 1969 หรือ 12 ปีก่อนอินเทอร์เน็ตที่เริ่มจริงจังในยุค IPv4 ( RFC791 ) ในปี 1981 โดยตัว RFC เกิดขึ้นในยุค ARPANET
DARPA (ชื่อ ARPA ในยุคนั้น) ต้องการสั่งซื้ออุปกรณ์เครือข่ายแบบ packet-switching โดยเรียกว่า Interface Message Processors (IMP) หลังจากนักวิจัยได้รับงานจาก DARPA ก็มาออกแบบโปรโตคอลว่าควรมีหน้าตาอย่างไร กระบวนการออกแบบมีการถกเถียงในหมู่นักวิจัยจนกลายเป็นเอกสาร RFC ออกมา
กระบวนการออกเอกสาร RFC ใช้ระบบบรรณาธิการ มีการแยกส่วนระหว่างเอกสารให้ข้อมูล (FYI), เอกสารมาตรฐานโปรโตคอล, และเอกสารแนวปฏิบัติ (best current practices - BCP) ในช่วงหลังกระบวนการออก RFC เป็นทางการมากขึ้น อย่างไรก็ดีแนวทางของ RFC ยังคงเปิดกว้าง การอ่านเอกสาร (และร่างเวอร์ชั่นต่างๆ) สามารถอ่านได้ฟรีโดยไม่ต้องเป็นสมาชิก แม้แต่การเสนอร่างใหม่ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกขององค์กรใดล่วงหน้า
บรรณาธิการของ RFC มีงานหนักขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลังที่มีมาตรฐานและเอกสารต่างๆ เสนอเข้ามาจำนวนมากเฉลี่ย 300 ฉบับต่อปี
ร่าง RFC ฉลองครบรอบ 50 ปี กำลังอยู่ระหว่างการแก้ไข หากผ่านก็จะเป็นเอกสาร RFC เช่นเดียวกับเอกสารฉลอง 30 ปี RFC ( RFC2555 ) และ 40 ปี RFC ( RFC5540 )
ที่มา - IETF: Fifty Years of RFCs
ภาพโดย geralt
Comments
มาออกมา?
ถุก -> ถก
มาออกมาโปรโตคอล ?
ถุกเถียง => ถกเถียง
ปฎิบัติ => ปฏิบัติ