เมื่อต้นเดือนมีนาคม Honda ได้ เปิดตัว ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้า Honda e ที่งาน Geneva Motor Show ล่าสุดมีรายละเอียดเพิ่มเติมของรถรุ่นดังกล่าวออกมานิดหน่อยแล้ว
รายงานระบุว่า Honda e จะมีการกระจายน้ำหนัก (Weight Distribution) แบบ 50/50 คือน้ำหนักลงที่ล้อหน้าและหลังเท่ากัน นั่นหมายความว่ารถรุ่นนี้จะทรงตัวได้ดีขณะเข้าโค้ง บวกกับเป็นรถขับเคลื่อนล้อหลังก็จะทำให้ขับได้สนุกยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ Honda e จะมาพร้อมแบตเตอรี่ขนาด 35.5 กิโลวัตต์ชั่วโมง ชาร์จไฟด้วยหัวชาร์จแบบ Type 2 (Mannekes) หรือหัวชาร์จด่วนแบบ CCS2 วิ่งได้ระยะทางราว 200 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง
การกระจายน้ำหนักแบบ 50/50 ว่ากันว่าเป็นสัดส่วนที่ดีมากในวงการรถยนต์ (บ้างก็ว่าดีที่สุด) แต่รถแข่งบางประเภทเช่นรถ drag ก็มักจะเซ็ทรถให้น้ำหนักลงที่ล้อหลังมากกว่าเพื่อให้ล้อหลังเกาะพื้นถนนมากที่สุด
Honda e เวอร์ชันวางขายจริงจะเปิดตัวภายในปีนี้
ที่มา - TechCrunch
ภาพโดย Honda
Comments
200 โลนี่ต่ำสุดแล้วมั้งที่เคยเห็น พอขับไปพัทยาได้
รถไฟฟ้านี่ การจราจรจะมีผลต่อความสิ้นเปลืองไฟมั็ยครับ เช่นถ้าเป็นรถน้ำมันขับในเมืองนี่กินสุดๆ
กระแสแทบไม่ไหลเลยครับถ้า มอเตอร์ไม่หมุน แต่จะเปลืองตรงแอร์หละมั้ง
รถไฟฟ้านี่เหมาะกับสภาพจราจรในเมืองมากเลยครับ ตอนรถหยุดมันก็ใช้ไฟแค่ระบบไฟฟ้าภายในรถ แอร์ แล้วก็น่าจะระบบระบายความร้อนแค่นั้น ที่ใช้แบตเยอะก็มอเตอร์ขับเคลื่อนรถซึ่งไม่ถูกใช้งานเลยตอนรถจอดแล้วก็ใช้พลังงานตามความเร็วที่วิ่ง
ปัญหาคือแอร์ในรถนี่ น่าจะกินไฟอยู่นะ ถ้าจะให้ในรถเย็นตลอดเวลาเนี่ย และมีผลกับระยะการขับของรถไฟฟ้าด้วย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
แอร์บ้าน 15000 btu กินไฟประมาณ 1000 วัตต์ แอร์รถน่าจะเล็กกว่านั้นตามขนาดพื้นที่ เทียบกับมอเตอร์ที่กินระดับสิบถึงร้อยกิโลวัตต์ น่าจะมีผลน้อยครับ
แอร์รถปกติก็เกิน20000btuกันนะครับ เพราะรถต้องสู้กับแดดรอบคัน
ผมเพิ่งรู้ว่าแอร์รถมัน BTU 20000 อ่ะครับ ขอบคุณมากครับ
การจราจรติดขัดไม่ค่อยมีผลอะไรเท่าไร แต่ศัตรูของรถไฟฟ้าคือแอร์ครับ กินไฟเยอะมาก เปิดทีแบตไหลฮวบๆเลย
เคยเห็นระบบของฮุนไดที่มันโชว์การกินไฟของแต่ละระบบ ระบบแอร์กินน้อยกว่ามอเตอร์มากครับ
หรืออย่าง Tesla สามารถเปิดแอร์นอนทั้งคืนได้ เช้ามาถ้าจำไม่ผิดลดไปประมาณ 20-30 โลมั้ง นั่นคือเปิดแอร์ 8 ชั่วโมง
แต่ตอนจรจรติดขัดโดยที่มอเตอร์ไม่ค่อยได้ทำงาน แอร์คือตัวกินไฟมากสุดถูกไหมครับ?คุณเปลี่ยนประเด็นอะไรไปหรือป่าว แล้วเคยใช้รถไฟฟ้าล้วนจริงจังแล้วใช่ไหมครับ?
ส่วนตัวผมยังไม่เคยใช้รถไฟฟ้าล้วนหรอก แต่ปัจจุบันใช้ไฮบริดอยู่ เทียบกันระหว่างเปิดแอร์กับปิดแอร์ตอนแบตเต็ม ถ้าเปิดแอร์จอดเฉยๆ นี่แบตลดเอาลดเอา อยู่ได้ไม่เกิน 15-20 นาที เครื่องก็ติดมาปั่นไฟละ แต่ในทางกลับกัน ผมปิดแอร์จอดเฉยๆ อยู่ได้เป็นชั่วโมง เครื่องถึงจะติดขึ้นมาปั่นไฟ ผมถึงสรุปได้ว่าศัตรูของรถไฟฟ้าตอนจราจรติดขัดคือแอร์ไงครับ
ใช่ครับแอร์คือตัวกินไฟสุดตอนรถจอด แต่ไปเทียบกับแบตกับไฮบริดนี่มันก็ต่างกันเยอะอยู่นะความจุแบตของไฮบริดนี่เสี้ยวเดียวของ EV เลย
เรื่องขนาดแบตนี่ผมไม่เถียงเลย แต่ที่ผมยกตัวอย่างเรื่องการกินไฟของแอร์กับรถไฮบริดมัน 'น่าจะ' มีผลใกล้เคียงกับรถไฟฟ้าที่มีระยะทางวิ่งได้ไม่เยอะอย่าง honda e กับ mitsu i-miev นี่ล่ะครับ ถ้าเดินทางเฉลี่ยวันละ 80 โล ตะลุยการจราจรในกรุงเทพฯ อย่างผมก็คงมีเสียว ๆ ตอนรถติดหนักหรือลืมชาร์ทไฟในบางวันบ้างอยู่เหมือนกัน
ถึงจะเป็นรถไฟฟ้าขนาดเล็ก ขนาดแบตก็ต่างกันเป็นสิบเท่าขึ้นแล้ว คุณจะเปรียบเทียบกับไฮบริดได้ไงครับ เปิดไม่เปิดแอร์เวลารถติดจอดนิ่งเฉยๆ ประมาณสัก1ชั่วโมง ผลต่างมันไม่มี"นัยสำคัญ"ครับเมื่อเทียบกับไฮบริด ที่มันต้องติดเครื่องยนตร์น้ำมันมา
รถไฮบริด แบตมีขนาดเล็กมาก อย่างแคมรี่ ไฮบริด แบตมีขนาด 6.5 ah แปลงมาเป็น kwh ได้ 1.6 kwh (ข้อมูลจากวิกิ https://en.wikipedia.org/wiki/Hybrid_Synergy_Drive)
รถ EV อย่าง ลีฟ มีแบตขนาด 42 kwh
mg zs ev มีขนาด 44.5 kwh
ฮอนด้า ด้านบน มี 35 kwh
ผมว่าเยอะกว่าเป็น สิบเท่าเลยดังนั้นผมว่าข้อมูลจากเทสล่าที่ว่าลดไปไม่มาก ก็ไม่น่าจะผิดอะไรนะครัช
ตอนจอดติดแอร์มันต้องเป็นส่วนที่กินเยอะสุด ถูกแล้ว เพราะมอเตอร์มันไม่ได้ทำงาน แต่ประเด็นของผมคือเมื่อเทียบกับระยะทางที่วิ่งได้ มันน้อยมากผมถึงบอกว่ารถอย่าง Tesla มันเปิดแอร์นอนได้ 8 ชั่วโมง แบตลดแค่ไม่กี่สิบกิโล เมื่อเทียบกับระยะที่วิ่งได้ มันแทบไม่ต้องคำนึงถึงด้วยซ้ำ
ไฮบริด แบตมันเท่ามดเองนี่ครับ ระยะทางวิ่งไฟฟ้านี่หลักสิบกิโล หรือไม่ถึงเองรึเปล่า?
ตัวอย่างฮุนไดที่ผมยกมา ที่แบต 90% ระบบมอเตอร์ใช้ 21kW ระบบแอร์ใช้ 1kW เปิดแอร์วิ่งได้ 160 ปิดแอร์วิ่งได้ 170 ซึ่งมันมีผลน้อยมาก ยกเว้นคุณขับไม่ชาร์จ แบตเหลือ 10% แล้วต้องปิดแอร์วิ่งแบบรถน้ำมัน 555
Ioniq ระยะวิ่งน่าจะพอๆกับ honda e นี่แหละครับ 200 กิโล (รุ่นเก่า) คุณเริ่มทุกเช้าแบตเต็ม ถ้าขับ 80 โล เหลือแบตเอาไว้รถติดอีกบาน
แล้วคำถามคือคุณเคยใช้รถไฟฟ้าหรือไฮบริดแบบจริงจังว่าผลจริงออกมาอย่างไรไหมครับ? หรือแค่อ่านมาแล้วเอามาอ้างอย่างเดียว?
แต่ผมใช้วินโดว์แท้นะครับ! ;P
ผ่ามมมมมมมม
เอาเถอะ ในเมื่อประเด็นเริ่มเป๋ไปตั้งแต่แรกและพยายามจับผิดทั้งที่ไม่เคยใช้รถไฟฟ้าหรือไฮบริดแบบจริงจังมาก่อนก็ตามใจ รอไปพิสูจน์กันเองแล้วกันกับเรื่องไฟ แบต และแอร์
ผมยังไม่เข้าใจว่าการเคยใช้หรือไม่เคยใช้ส่งผลอย่างไร คุณรู้ใช่มั้ยครับว่าโลกอินเตอร์เน็ตมันมีสิ่งที่เรียกว่า YouTube ที่มี real world test มากมาย ไม่ใช่แค่การเปิดเว็บอ่าน spec sheet
ปล. ผมเคยใช้ครับ แต่ผมไม่เห็นความจำเป็นต้องบอกอะไร ผมประชดเรื่องวินโดวเพราะรู้สึกเหมือนกำลังเถียงกับคนในพันทิปมากกว่าเว็บอย่าง blognone
จนถึงตอนนี้ผมก็ยังไม่เข้าใจว่าผมเปลี่ยนประเด็นตรงไหน ดูคอมเมนท์อื่นเค้าก็เข้าใจกันแถมยังมาแย้งเรื่องการเทียบกับ ขนาดแบตของไฮบริดเหมือนผม คุณเองก็บอกว่าเข้าใจ และไม่เถียง (อ้าว!)
คือผมไม่รู้ว่าคุณเข้าใจผมผิด แต่กลับไม่ทันเลยต้องตามน้ำ หรือเข้าใจผมถูก แต่ไม่อยากแพ้ เลยต้อง all in 555
โลกนี้มีสิ่งที่เรียกว่า review, test drive และ theory อยู่ครับ ไม่ต้องเอาตัวไปทดลองเองหมดทุกอย่างฮะ
ขอบคุณครับ! T_T
*ซ้ำ
ถ้ารถจอดเฉยๆ แอร์กินพลังงานที่สุดถูกต้องแล้วครับเพราะมันเป็นอย่างเดียวที่ทำงาน ก็ไม่แปลกที่จะกินกระแสมากสุด
เพื่อนสมาชิกพยายามชี้ให้เห็นว่า มันกินที่สุดจริง แต่การเปิดแอร์ในช่วงรถติดมันไม่มีนัยยะสำคัญในการใช้งานประจำวัน
ไม่รู้คุณจะเอาชนะเรื่องอะไร ผู้ผลิต EV ไม่ได้เอามาใส่ใจด้วยซ้ำ เพราะมันไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้น
รถ EV บันทึก track มาเป็นล้านกิโลเมตร ไม่มีผู้ใช้ที่มีปัญหาเพราะเปิดแอร์ตอนรถติดสักราย อุปโลกศัตรูที่ไม่มีจริง ชัดๆ
ถ้าอย่าง Tesla ทนรถติดสองวันได้ครับ
โหมด Camper อยู่ได้ 48 ชั่วโมง ถ้าแบตเต็มๆ ยังไงก็เพียงสำหรับรถติดในเมืองไทย จอดนอนสบายไม่ต้องกลัวไอเสียเข้ารถเลย
อย่าลืม temp ภายนอกของไทยด้วยครับ -_-
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ฮ่าๆ ผมว่าเต็มที่อย่างน้อยก็คงอยู่ได้ทั้งคืนนะครับ ประสิทธิภาพคงไม่หายไปขนาดครึ่งๆ
ประเด็นต่อไปคือ รถน้ำมันติดเครื่องปั่นไฟให้แอร์เทียบกับใชแบตของ EV อันไหนหมดก่อน
I need healing.
เดาว่ารถน้ำมันหมดก่อนมั้งถ้าถังเล็กๆ แต่รถน้ำมันถึงหมดก็เติมง่ายหารถอีกคันไปซื้อมาเติม รถไฟฟ้าแบตหมดจะหา power bank จากไหนได้เนี่ย ฮ่าาๆ
เวลาเบรค มันจะดึงไฟฟ้ากลับครับ เบรคบ่อยๆ ไม่คอ่ยกินไฟเลย
กินนะครับ สูญเสียเยอะมากเลยนะครับทั้งตอนใช้แปลงเคมีเป็นไฟฟ้าก็เสีย -> แปลงไฟฟ้าเป็นกลก็เสียอีก -> แปลงกลเป็นกลก็ยังเสีย (แรงขับมอเตอร์ไปเป็นความเร่ง) -> วิ่งอยู่เฉยๆ ก็สูญเสีย (เหมือนปล่อยรถไหลเอง เดี๋ยวมันก็หยุด) -> แล้วก็แปลงกลกลับเป็นกล -> แปลงกลกลับเป็นไฟฟ้า -> ไฟฟ้ากลับเป็นเคมี สูญเสียทุกขั้นตอนเลยครับ
เบรคแล้วได้พลังงานคืนก็จริงเมื่อเทียบกับรถน้ำมันที่เบรคแล้วเสียทิ้ง แต่ที่ใช้พลังงานน้อยจริงๆ คือการขับโดยใช้เบรคให้น้อยที่สุดครับไม่ว่ารถน้ำมันหรือไฟฟ้า
200 กิโล ระยะต่ำไปนะ ไม่เหมาะกับการขับทางไกลจริงๆ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ลักษณะของรถแล้ว ไม่น่าที่จะทำออกมาให้ขับไกลๆครับ อาจจะเหมาะขับขี่ในเมืองซะมากกว่าครับ
ในช่วง 4-5 ปีนี้ผมขับไกลสุดคือเข้าสวนไปกลับรวม 180โล สำหรับผมก็น่าจะพอใช้ได้อยู่แต่ถ้าพูดถึงรูปโฉมละก็ honda ตัวนี้ยอมรับว่าโดนใจมากถ้าราคาไม่แรงก็อยากได้มาครอบครองอยู่นะ(แต่ดูทรงแล้วน่าจะแรง)
ซ้ำ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
คงเหมาะเป็นรถวิ่งในเมืองญี่ปุ่นเอง เล็กๆ น่ารักๆ
ถ้าว่าเล็กๆ น่ารักนี่ผมชอบของโตโยต้านะครับ ตัว i-Road ชอบมากๆ จนอยากได้เลย แต่เค้าไม่ขายไทย ?
size นี้เอามาแทน k-car ล่ะมั๊ง บ้านเรามาเน้นในเมืองได้อยู่ สมัย Mercedez Benz ไทย ออก E200NGT ถ้่าใช้แก็สล้วนๆก็วิ่งได้แค่ 200km เช่นกัน(แต่มันเติมน้ำมันวิ่งได้)
ถ้ามันชาร์จด่วนได้ไวไม่เกิน 20 นาที(พอๆกับเวลาเติมแก็ส) และมีปั๊มให้เติมตามหัวเมือง ก็น่าจะไม่ลำบากมาก
ที่สำคัญคือราคานี่แหละ
โซ คิ้ว น่ารักมาก เหมือนออกมาจากการ์ตูน
ถ้าราคา 6แสนน่าออกมาใช้ในเมืองอยู่นะ
"แต่รถแข่งบางประเภทเช่นรถ drag ก็มักจะเซ็ทรถให้น้ำหนักลงที่ล้อหลังมากกว่าเพื่อให้ล้อหลังเกาะพื้นถนนมากที่สุด"ล้อหน้าจะไม่ยกหรอครับ
ออกแบบรถโดยใช้ aerodynamic เพื่อสร้าง downforce ช่วยครับ ทำให้รถไม่เหิน
บางคันก็ยกครับ ถ้าแรงมากๆ อย่างมอเตอร์ไซค์แดรก ต้องเอาคานยันท้ายไปอีก กันรถยกหน้า
ชาร์จแบตได้ไวพอๆ กับเติมน้ำม้นเมื่อไหร่ แล้วจะหันไปมองนะ ตอนนี้ขอใช้เครื่องเติมน้ำมันไปก่อนละกัน
ผมเชื่อว่าเอาเข้าจริงคงต้องย้ายมาใช้รถไฟฟ้าก่อนจะเติมไฟฟ้าได้เร็วเท่าเติมน้ำมันนะครับ เว้นแต่มีเหตุการพลิกโลกอย่างตัวนำไฟฟ้ายวดยิ่งที่อุณหภูมิบ้านเราเกิดขึ้นมาในราคาถูก
สาเหตุแบ่งเป็นสองส่วน
ตีแบบให้ความเร็วชาร์จไม่มีตก (คิดแบบโง่นิดนึงนะครับ ไม่ได้หารายละเอียดเยอะ) สถานีชาร์จรุ่นล่าสุด 250kW ชาร์จรุ่น X ให้เต็มได้ในเวลา 325(ไมล์)/75(ไมล์/5นาที) = 22 นาที ถ้าจะให้ชาร์จเต็มได้ภายใน 3 นาทีนี่คงต้องใช้ไฟสัก 1.8MW ครับ
ใช่ครับ มิเตอร์ตามบ้านทั่วไป 15 แอมป์นี่ 3,300 วัตต์ครับ ส่วนอันนี้ชาร์จรถหนึ่งคันใช้ 1,800,000 วัตต์ครับ
อื้มมม จริงๆ ผมว่าเข้าใกล้ความจริงมากละนะครับ ที่สถานีชาร์จนี่เรามาถึง 250,000 วัตต์แล้วนะ อีกนิดเดียวเอง ใช้สายส่งเท่าเดิมแต่ลดหัวจ่ายลงก็น่าจะชดเชยกันได้อยู่มั้ง (เอ้า คิดไปคิดมาขัดความเห็นตัวเองต้นทางเฉยเลย)
ผมว่าเราติดกับดักเรื่องของ"ความเร็วชาร์จ" จนลืมไปว่าทุกสถานที่มีไฟฟ้า และรถคนทั่วไปมันมีช่วงเวลาจอดเฉยๆไม่น้อยจาก Log ของ Tesla พบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่ชาร์จทิ้งไว้ที่บ้าน ก็เพียงพอต่อชีวิตประจำวัน
ไม่เหมือนน้ำมันที่คุณต้องไปเติมที่ปั๊มเท่านั้นจึงต้องการความเร็ว
แต่ถ้าเราสมมติว่าทุกสถานที่ ทุกที่จอดรถ มีหัวจ่ายไฟที่จะจ่ายอัตโนมัติให้ทุกครั้งที่คุณขับรถเข้ามาจอดทีละนิดๆ โดยไม่ต้องกินแรงไฟมาก
ความเร็วในการชาร์จจึงไม่ใช่ปัญหาการใช้งานที่แท้จริงเลย (อาจมีในกรณีพิเศษ)
คนทั่วไปที่วันนึงเดินทางไม่ถึง 300 km ในแต่ละวัน กลับบ้านก็ชาร์จทิ้งไว้ตอนนอน ตื่นมาก็ขับออกไปได้เลย ใช้รถไฟฟ้าอย่างไม่มีอุปสรรคใดๆ
คนส่วนนึงไม่ได้วางแผนชีวิตอะไรทั้งในระยะยาวและระยะสั้นครับ
ปัจตุบันหลายๆ คนยังเป็นแบบ "ขับออกไปก่อนแล้วค่อยดูว่าต้องเติมน้ำมันไหม"
การใช้รถไฟฟ้ามันต้องวางแผนชาร์จนิดนึงครับ เพราะใช้เวลาชาร์จไม่น้อย
ซึ่งคนกลุ่มที่ผมกล่าวถึงเค้าไม่ชอบ เค้าอยากให้ชาร์จเร็วเพราะว่าไม่ต้องวางแผนอะไรเลย กะว่าลืมชาร์จกลางคืนก็เสียเวลาเข้าชาร์จ 5 นาทีอะไรแบบนี้
ยากครับที่จะเกิดเหตุการณ์แบบนั้น ROI ไม่คุ้มพอหรือใช้เวลานาน ยังไงก็ต้องไปจุดชาร์ตโดยเฉพาะอยู่ดี
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ยอมรับว่าผมเอาเกณฑ์ส่วนตัวมาตัดสินเกินไป
- ผมใช้รถส่วนตัวแต่เช่าอพาร์ตเม้นท์อยู่ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีที่ชาร์จค้างคืน
- ผมเดินทางไกลบ่อยทีละ 800 กม. ซึ่งมองตรงนี้ว่าแม้จอดพักทานอาหารครึ่ง ชม. เนี่ยที่ชาร์จจะพอเพียงใหม ถึงแม้ว่าบางปั๊มเข้าคิวเติมน้ำมันยังไงก็ไม่ถึงครึ่ง ชม. ต่อให้ถึงเวลาการเติมน้ำมันก็ไม่ถึงครึ่ง ชม. กลับกันถ้าเป็นรถไฟฟ้าต้องบวกเวลาเพิ่มอีกครึ่ง ชม.
ผมเลยมองว่ารถแบบนี้เหมาะสำหรับคนที่มีบ้านส่วนตัว และระยะทางในการเดินทางน้อย ไม่เหมาะกับคน ตจว. ที่เข้ามาทำงานในเมือง และใช้รถทำงานด้วยระยะทางไกล รถบริษัทมีให้นะครับพร้อมคนขับ แต่สบายใจเวลาขับรถตัวเองมากกว่า และสะดวกด้วย ขี้เกียจทะเลาะกับคนขับ กับระบบจองรถ
ขับรถเก่งมากเลยครับ ขับทีนึง 800 กม. ต่อทริป หรือ ต่อวันครับเนี๋ย
ต่อวัน แวะปั๊มเข้าห้องน้ำ 4 รอบ กับเติมน้ำมันและกินข้าว 1 รอบถ้าทำงานใน กทม. วันนึงไม่เกินร้อยโลหรอกครับ