ยุคแรกของเครื่องบินเริ่มด้วยเครื่องใบพัด จากนั้นก็พัฒนามาเป็นเครื่องเจ็ทที่ใช้งานกันในปัจจุบัน และตอนนี้เรากำลังเข้าสู่ยุคของเครื่องบินไฟฟ้ากันแล้ว
ที่งาน Paris Air Show เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีเครื่องบินที่ใช้น้ำมันหลายร้อยลำถูกขายออกไป แต่ในมุมเล็กๆ ก็มีสายการบิน Cape Air จากสหรัฐอเมริกาที่สั่งซื้อเครื่องบินไฟฟ้าไปใช้รับส่งผู้โดยสารจริงเป็นครั้งแรกเป็นจำนวน "หลักสิบลำ" มูลค่าราว 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เครื่องบินดังกล่าวชื่อว่า Alice ถูกผลิตโดย Eviation Aircraft สตาร์ทอัพสัญชาติอิสราเอล มันบินได้ไกล 1,046 กิโลเมตรที่ความเร็ว 805 กม./ชม. ติดตั้งมอเตอร์ใบพัดสามตัว แบ่งเป็นที่ท้ายเครื่องหนึ่งตัว และบริเวณปลายปีกอีกข้างละหนึ่งตัว ซึ่งในรุ่นต้นแบบใช้แบตเตอรี่ขนาด 900 กิโลวัตต์ชั่วโมง
เครื่องบิน Alice บรรทุกผู้โดยสารได้เพียง 9 คน แต่นี่คือขนาดที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานของ Cape Air แล้ว เนื่องจากสายการบินนี้ให้บริการไฟลท์สั้นๆ จำนวนหลายเที่ยวต่อวัน โดยสายการบินนี้มีเครื่องบินทั้งหมด 92 ลำ
MagniX ผู้ผลิตมอเตอร์ให้เครื่องบินรุ่นนี้ระบุว่าการใช้พลังงานไฟฟ้านั้นถูกกว่าใช้น้ำมันราว 10 เท่า รวมถึงค่าบำรุงรักษาโดยรวมก็ต่ำกว่า การเตรียมเครื่องให้พร้อมบินก็เร็วกว่า รวมถึงระบบต่างๆ ก็ทนทานกว่า ทำให้เครื่องบินไฟฟ้าจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้หลายล้านดอลลาร์ต่อปี
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของมลพิษด้วย ซึ่งตามสถิติชี้ว่าธุรกิจการบินมีส่วนปล่อยมลพิษคิดเป็น 2-3% ของมลพิษทั้งโลก ทำให้ประเทศสวีเดนและนอร์เวย์ประกาศเปลี่ยนไฟลท์สั้นๆ ไปให้บริการด้วยเครื่องบินไฟฟ้าทั้งหมดภายในปี 2040
ที่มา - Quartz
ภาพทั้งหมดจากเพจ Eviation Aircraft
Comments
แบต 900 kWH!! ชาร์จทีไฟไม่ดับทั้งสนามบินรึ
I need healing.
แบตน่าจะถอดสับเปลี่ยนได้ และอาจจะไม่ได้ชาร์จที่สนามบินก็ได้ อีกอย่างหนึ่ง การชาร์จจริง ๆ คงไม่ได้ชาร์จจาก 0-900เลยทีเดียว น่าจะชาร์จช่วงที่แบตมีความจุการใช้งานคงเหลือ 25-35 เปอร์เซนต์มากกว่า และที่สำคัญถ้ามีหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดใหญ่เพียงพอ (แต่ระดับสนามบินคงไม่ใช้หม้อแปลงแบบบ้าน ๆ หรือโรงงานทั่วไปอยู่แล้ว ที่ 30-2500kVA (24kWh-2000kWh) ก็ไม่จำเป็นต้องกลัวว่าไฟฟ้าจะไม่พอชาร์จครับ เหมือนหัวเมืองที่มีโรงไฟฟ้าเพียงพอและจุดกระจายพลังงานเพียงพอ (Power Plant & Substation) ก็ไม่ต้องกลัวว่าพลังงานจะไม่พอใช้ในเวลาที่โหลดสูงสุดถูกเรียกใช้งาน(ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ณ เวลานั้น ๆ) แต่แบตมีความจุขนาด 900kWh (เก้าแสนวัตต์ต่อชั่วโมงดูว่ามันก็เยอะอยู่นะ)
kWh ไม่ใช่วัตต์ต่อชั่วโมงนะครับแต่เป็นวัตต์ชั่วโมง ถ้าวัตต์ต่อชั่วโมงจะเป็น kW/h
ครับ ๆ ตามนั้นแหล่ะ กิโลวัตต์ชั่วโมง หรือพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ หากใช้พลังงาน 9 แสนวัตต์จะใช้ได้สุงสุดแค่ 1 ชั่วโมง พลังงานก็จะหมด แต่หากใช้ต่ำกว่านั้น ก็ไปคูณเอาอีกที เช่นใช้ ชั่วโมงละ 1 หมื่นวัตต์ 10 ชั่วโมง ก็แสนวัตต์ เป็นต้น กิโลวัตต์ชั่วโมง หรือ ?กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ก็มีความหมายการใช้งานไม่ต่างกัน สรุปคือศรัพท์อย่างเป็นทางการ ก็คือ กิโลวัตต์ชั่วโมง ศัพท์ที่อ่านเข้าใจง่ายก็คือ ใช้กี่กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงก็ว่ากันไป
สรุปอย่างนั้นไม่ได้ครับ หน่วยของคนละอย่างก็คือของคนละอย่างครับ
ปล่อยเขาไปเถอะครับ ฮ่าๆๆๆ
ผมนี่นั่งอ่านแล้วนั่งขำไปด้วยกับที่เขาตั้งของเขาเองถ้าเอามาคิดเทียบแค่ต่อชั่วโมงเดียวเขาคงไม่ตั้ง Wh ขึ้นมาหรอกเนอะ เขาน่าไปทำการบ้านหน่อยก็ได้นะก่อนมาถก
ถ้าผมตอบแบบเขานี่อาจารย์ผมคงมาเผาปริญญาผมถึงบ้านเลยทีเดียว
30-2500kVA (24 kW-2000 kW) , 30-2500kVA (24 kWh/hr-2000 kWh/hr) ครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ไม่มีปัญหาครับ เพราะข้อดีของเครื่องบินพวกนี้ เหมือนกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ ที่ใช้ไฟฟ้าคือ เปลี่ยนแบตเลย แล้วเอาไปชาร์จที่อื่น และสามารถตุนไว้ได้หลายก้อน
ไม่ต้องเสียเวลาเติมเหมือนเครื่องบินปกติที่ต้องถ่ายน้ำมันจากจุดเติมในสนามบินใส่รถขนน้ำมัน แล้วขับไปเติมที่เครื่องบินอีกที ในบางกรณีอาจจะมีโครงข่ายท่อน้ำมันในสนามบินแต่ก็ใช้เวลามากกว่าเปลี่ยนแบตอยู่ดี ยังไม่รวมถึงการซ่อมบำรุงท่ออีกนะ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
นั่นสิครับถ้าเป็นระบบขนส่ง การถอดเปลี่ยนแบตเหมาะที่สุด
ค่าบริการต่อคนต่อเที่ยว คงถูกมากเลยสิแบบนี้
น่าสนใจนะครับ ถ้าเป็นแบบขึ้นลงแนวดิ่งด้วยจะดีมากเลย มันเทียบเท่าการเดินทางด้วยรถตู้ระหว่างจังหวัดในไทยได้สบาย ที่เห็นว่าควรขึ้นลงแนวดิ่งได้ เพราะการเดินทางด้วยเครื่องบินมันยังมีช่องว่างอยู่ เนื่องจากจำเป็นต้องใช้สนามบิน ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งมีค่าบริหารจัดการค่อนข้างสูง รวมถึงความคับคั่งของการจราจรในระหว่างบินขึ้นบินลง ถ้าเราสามารถใช้สถานีขนส่งประจำจังหวัดเป็นที่ขึ้นลง และควบคุมการบินระยะใกล้ได้ ก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจอีกแบบ หรือใช้ขนส่งระหว่างสถานีรถไฟความเร็วสูงไปจังหวัดข้างเคียงก็น่าจะได้
น่าสนใจ ใช้แค่มอเตอร์ก็ได้ที่ความเร็วประมาณนี้ ระบบรางและระบบท่ออาจได้ในแง่ scale แต่ข้อเสียคือไม่คล่องตัวเครื่องบินไฟฟ้าแบบนี้อุดช่องว่างได้เลย
ส่วนElon Musk เคยโม้ว่ามีไอเดีย Electric jet อยู่ ไม่รู้ว่าจะใช้หลักการอะไร เพราะแกบอกไม่มีเวลาทำ
สงสัยภาพประกอบบทความครับ จะเอาเครื่องบินออกจากโรงประกอบยังไง ในเมื่อมีเสาขวางอยู่ ??
เปิดหลังคาที่เป็นพื้นของสนามบินแล้วยกพื้นโรงประกอบขึ้นไปเสมอพื้นสนามบินแล้วก็เลื่อนออกไปครับ พอเครื่องพ้นเขตก็เลื่อนพื้นโรงประกอบลงแล้วปิดหลังคา/พื้นกลับเหมือนเดิม
#เดี๋ยวนะ
ผมว่าเป็นประตูแบบลานจอดนั่นหละครับ แต่มีข้างเดียวที่เข้าหาลานบิน ที่เหลือก็ประตูเล็กหมดนะ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
เท่าที่คิดออกน่าเป็นไปได้ 2 กรณี
แบบแรก พอทำเสร็จทั้งลำก็ถอดออกแล้วแยกเครื่อนย้ายเหมือนเครื่องบินเล็กทั่วไป
แบบที่สอง โรงประกอบอาจมีประตูทางฝั่งกล้องประกอบเสร็จแล้วลากออกด้านข้าง
แต่ดูจากโรงประกอบแล้วไม่น่าใช่โรงประกอบเครื่องบินตั่งแต่แรกน่าจะเช่าโกดังมาทำมากกว่าที่เห็นน่าจะเป็นต้นแบบมากกว่าจะผลิดจำนวนมาก
สตาร์ทอัพสัญชาติอิสราเอล มีแต่เก่งๆ จัง ผลิต มาแต่ละอย่าง โดนซื่อไปก็เยอะ
สงสัยนิดนึงนะครับ >> ปีกไม่บาง และเล็กไปใช่ไหม?ผมเห็นแล้วรู้สึกกังวล! (คือกลัวจะหักครับ)
เชื่อไหมล่ะครับว่าเครื่องบินบางแบบในปัจจุบันใช้ผ้าทำเป็นผิวด้านนอก กองทัพอากาศไทยก็มี เป็นเครื่องบินรบด้วย เทคโนโลยีด้านวัสดุในปัจจุบันไปไกลมากแล้วล่ะครับ เล็ก บาง เบา แข็งแรงด้วย ทำได้สบาย ต้นทุนก็ไม่สูงมากด้วย
ขอบคุณครับ
เครื่องบินใหญ่ใหม่ๆ สมัยนี้ปีกก็อ่อนตัวโค้ง งอ ได้เยอะ แต่ก็ไม่หัก ฮ่าๆ
ขอบคุณครับ
ดีจัง ถ้าลดต้นทุนในส่วนของเครื่องได้จริง ต่อไปน่าจะมีสายการบินสั้นๆเกิดขึ้นเยอะกว่าเดิม เพราะต้องการสนามบินที่เล็กกว่า เหมือนที่มีบริการรถตู้ขึ้นมาเสริมรถบัส
..: เรื่อยไป
คงประมาณว่า "คนครบ 9 คนออกบินนะครับ คันนี้บินไปกรุงเทพนะ"
คนที่ 10 มาขอนั่งตรงทางเดินตรงกลาง "พี่ครับๆ ผมรีบ ขอไปเที่ยวนี้เลย"
อาจได้เห็นเตรียมร่มชูชีพ พร้อมสอนวิธีการใช้งาน พอถึงที่หมายที่ไม่ได้ลงจอด ก็เปิดประตูแล้วกระโดดร่มลงมาเลย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
สามใบพัดดูปลอดภัยดีแหะ