Monet บริษัทร่วมทุนรถยนต์ไร้คนขับโดย Toyota และ SoftBank ได้พาร์ทเนอร์ร่วมลงทุนในเทคโนโลยีเพิ่มเติมเป็นบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่น 5 ราย
บริษัทรถยนต์อีก 5 รายที่เข้าร่วมได้แก่ Isuzu, Suzuki, Subaru, Daihatsu และ Mazda โดยแต่ละบริษัทจะร่วมทุนบริษัทละ 2% ทำให้บริษัทที่ถือหุ้นอยู่เดิมลดสัดส่วนการถือหุ้นลง โดย Toyota จะเหลือสัดส่วน 34.8%, SoftBank 35.2% ส่วนที่เหลือคือ Honda และ Hino จะถือหุ้นอีกบริษัทละ 10%
Junichi Miyakawa ซีอีโอของ Monet กล่าวว่า การได้บริษัทพาร์ทเนอร์มาร่วมทุน จะช่วยให้ Monet ได้รับข้อมูลเพื่อการพัฒนารถยนต์ด้วย เพราะการจะพัฒนาแพลตฟอร์ม Mobility-as-a-Service จำเป็นต้องมีดาต้าเซ็ทที่กว้างขวาง ดังนั้นการร่วมมือกันจะช่วยให้การพัฒนาแพลตฟอร์มเป็นไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
สำหรับแผนการปล่อยรถยนต์ไร้คนขับมาใช้งานจริง Monet ระบุว่ามี แผน เริ่มจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปีหน้า ต่อด้วยญี่ปุ่นในปีเดียวกัน
ที่มา - TechCrunch
Comments
ชอบวัฒนธรรมการทำงานของญี่ปุ่นอยู่อย่างนึง คือ ถึงแม้จะเป็นคู่แข่งกัน แต่เวลาต้องรวมตัวกันเพื่อพัฒนาอะไรก็ตาม ก็สามารถรวมตัวกันได้ โดยเฉพาะเมื่อต้องสู้กับคู่แข่งที่เป็นต่างชาติ มาเต็มทุกรอบ โดยเฉพาะวงการรถยนต์
แต่ปัญหาเดียวของญี่ปุ่นที่กระทบกับการพัฒนามากที่สุด เป็นเรื่องของเวลาและการทดสอบหลายครั้งจนเลยกำหนดเวลาเปิดตัวหรือเอาไปใช้จริง เพราะญี่ปุ่นเน้นความสมบูรณ์แบบหรือผลลัพธ์ที่ดีที่สุดก่อนปล่อยของสู่ตลาด
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคงเป็นเรื่องรถไฟฟ้าจากจีนเนี่ยแหละ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ก็เป็นเรื่องดีของผู้บริโภคไม่ใช่เหรอครับ?
แต่ก่อนจะวัดได้ว่า ดี หรือ ไม่ดี ที่สำคัญสุดคือ เสร็จให้ทันตามเวลาครับ
เวลาเป็นสิ่งสำคัญครับ ต่อให้ของพร้อมแต่ช้ากว่าคู่แข่ง ก็ไปไม่รอดครับ
แนะนำว่าตอนเปิดตัว แล้วของยังไม่สมบูรณ์ ก็แจ้งสิครับว่ายังไม่เสร็จ ส่งแค่ส่วนที่เสร็จแล้วไปก่อน ช่วงหลังก็ค่อยอัพเดต แก้ไข ปรับปรุง หรือเพิ่มความสามารถ แล้วส่งให้ลูกค้าก็ไม่เสียหายนะ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ในฐานะผู้บริโภค ผมไม่ได้สนใจว่าจะเอาออกมาก่อนหรือหลัง ผมมองว่าซื้อมาแล้วใช้ได้ดีมั้ย แค่นั้นครับ ส่วนถ้ามองในฐานะผู้ถือหุ้น(ซึ่งผมไม่ได้ถิอ)อาจจะไม่ดี
ส่วนตัวผมมองว่ารถญี่ปุ่นอย่างเช่น Toyota ข้อดีคือความ Reliable ค่อนข้างสูง โอกาสกินข้าวลิงกลางทางค่อนข้างน้อยกว่าแบรนด์อื่นแม่ก้ะทั่งรถยุโรปก็ตามที ซึ่งจุดนี้เป็นจุดขายของบริษัทเค้า ไม่ใช่ออกรถเร็วกว่าชาวบ้านแล้วมาซ่อมรัว ๆ หรือขวัญใจรถสไลด์ ส่วนความช้าล้าหลังไม่ทันชาวบ้าน อันนี้ก็ต้องยอมรับกันไป แต่ก็ดีกว่าทำออกมาลวก ๆ แล้วโดนด่าจนทำให้แบรนด์เสียไปเลยนะครับ
"ของยังไม่สมบูรณ์ ก็แจ้งสิครับว่ายังไม่เสร็จ ส่งแค่ส่วนที่เสร็จแล้วไปก่อน ช่วงหลังก็ค่อยอัพเดต แก้ไข ปรับปรุง หรือเพิ่มความสามารถ แล้วส่งให้ลูกค้าก็ไม่เสียหายนะ"
อันนี้มันจะไปต่างอะไรล่ะครับ เปิดตัวก่อนให้เป็นกระแส แล้วหายเงียบไปเลยเพราะทำไม่เสร็จ เผลอ ๆ มีดาวเกรดเพราะทำไม่ได้ตามที่ตั้งเป้าไว้ ทำเป็นงาน E3 ไปได้ 555
ปล. มีบริษัทเครื่องบินบริษัทนึง รีบเข็นเครื่องบินออกมาขายกลัวไม่ทันชาวบ้านเค้า ทำให้คนตายไปหลายร้อยกว่าจะออกมายอมรับความผิดพลาด อันนี้คือเรื่องดีเหรอครับ? ขายเร็วนะ แต่มีคนตายค่อยมาแก้กันงี้ก็ได้เหรอ
ก็ผมถึงบอกไงครับว่าเอามาเฉพาะที่ใช้ได้ก่อน บอกแค่ส่วนที่ใช้งานได้จริง ส่วนที่ยังพัฒนาอยู่หรือทำไม่เสร็จ ก็สั่งปิดการทำงานไป ก็ยังไม่ต้องพูดหรือป่าวประกาศออกมา บอกแค่ว่าจะมีในอนาคตหรืออยู่ในการพัฒนา ยังไม่มีในตอนนี้ ก็แค่นั้นครับ
ซื่อสัตย์กับลูกค้าเป็นที่สุด อันไหนใช้ได้ใช้ไม่ได้ก็บอกให้หมด อันไหนกำลังจะมาก็กล่าวคร่าวๆ ไว้ก่อน ถ้าไม่ได้จริงๆก็บอกไปว่าไม่มีหรือทำไม่ได้ อันไหนที่มาได้แน่ก็ระบุไปเลยว่าจะมาเมื่อไหร่และได้อย่างไร
มันต่างกับบอกว่ามีทั้งหมดแต่มาจริงไม่หมดนะครับ เหมือนที่รีบเข็นเครื่องบินออกมาตามที่คุณกล่าวนะ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
มันไม่ง่ายเหมือนซอฟแวร์นะครับ ยังไม่เสร็จตรงนู้นตรงนี้ก็ปิดไว้ก่อนได้ แต่ฮาร์ดแวร์นี่มันต้องทำงานร่วมกันหมดทุกส่วน ถ้าส่วนไหนพัง ก็พังหมดทั้งระบบ อย่างในรถยนต์ เช่น พัดลมหม้อน้ำไม่ทำงาน ตัวคุมเกียร์รวน สายน้ำมันเบรครั่ว ฟิวส์บางตัวขาด แค่นี้ก็จอดแล้วครับ ดีไม่ดีเกิดอุบัติเหตุบาดเจ็บล้มตายด้วย
ก็มีนะครับ อุปกรณ์ที่ทำงานได้แม้ไม่มีอุปกรณ์บางส่วน อาจใช้ Filler, ที่อุดพลาสติก, Dummy หรือ Jumper ที่สั่งปิดระบบบางส่วนได้ แต่เครื่องยังทำงานได้ปกติตามความสามารถที่มี ก็ทำได้อยู่นะ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
แล้วคุณรู้ได้ไงล่ะครับว่าที่เค้าอออกช้าเพราะเค้าไปทดสอบ "Filler, ที่อุดพลาสติก, Dummy หรือ Jumper ที่สั่งปิดระบบบางส่วนได้" ไม่ใช่เค้าทดสอบส่วนสำคัญ ๆ อยู่ถึงยังไม่ออกรุ่นใหม่มา //ประชด
ผมว่าสิ่งที่คุณยกตัวอย่างมา กับสิ่งที่คุณกำลังเอามาแก้ต่างมันดูย้อนแย้งกันมากเลยนะครับ
คุณบอกว่าข้อเสียของญี่ปุ่นคือต้องทดสอบระบบให้สมบูรณ์ที่สุดก่อนปล่อยเอามาขาย พอผมบอกว่าดีแล้วได้ใช้งานได้ทน ๆ ปลอดภัย คุณก็บอกว่า เพราะทำยังงี้ถึงไปไม่รอด ทำไมไม่ออกมาก่อนแล้วค่อยตามแก้ทีหลัง พอมีคนแย้งว่า ถ้าไม่ทดสอบดี ๆ มันพังอันนึงมันอาจจะไปเกี่ยวข้องกับส่วนอื่น คุณก็มาแย้งว่า ไอส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับส่วนอื่นมันก็มี อ่าวแล้วรู้ได้อย่างไรว่าไอที่เค้าไม่ออกมาก่อนเพราะมัวแต่ไปทดสอบสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับส่วนอื่น
ปล. ผมแนะนำคนอื่นอย่าไปเถียงเค้าเลยครับผมว่าเค้าไม่น่าจะรับฟังแล้วล่ะ มาแนวนี้แล้ว....
ปล. ผมน่าจะหมดโควต้าที่คอมเม้นนี้แล้วล่ะครับ อีกอย่างไม่อยากเถียงละ เหมือนไม่ได้สาระอะไรเลย ผมยอมให้คุณชนะครับ ญี่ปุ่นมันโง่ มัวแต่ไปทดสอบจนไม่ทันชาวบ้านเค้าเอามาขายกันโครม ๆ
ผมแค่พูดภาพรวม ผมพยายามอธิบายให้ฟังในสิ่งที่ผมพูด กลายเป็นโดนยัดเยียดอะไรอีก ผมผิดอะไร แค่อธิบายตามที่ผมเข้าใจ ผมรับฟังนะแล้วอธิบายขยายความที่ผมพิมพ์ไป ทำไมพิมพ์ว่าผมแบบนี้หละ ผมไม่ได้ว่าคุณหรือใครเลยนะ และไม่ได้ด่าญี่ปุ่นเลยด้วยซ้ำ
เอาง่ายๆ คือ การพัฒนาแบบญี่ปุ่นนะมันดีและควรจะทำตาม แต่ควรจะทำให้แข่งขันกับคู่แข่งได้เร็วเช่นกัน ถ้าส่วนไหนไม่สำคัญก็ชะลอไปก่อน ส่วนหลักของระบบต้องมาก่อนแล้วเปิดตัวให้ใช้งานได้ไม่เกิดปัญหา เร็ว ตอบสนองความต้องการได้ แต่ไม่สร้างปัญหาในภายหลัง และเร็วพอสู้คนอื่นได้
ส่วนอุปกรณ์ก็อาจทำให้รองรับส่วนเสริมหรือระบบใหม่ที่ยังทำไม่เสร็จแต่ถูกสั่งปิดเป็นค่าเริ่มต้น หรือถ้าส่วนที่ต้องใส่อุปกรณ์เสริมแต่ยังไม่มีก็ใส่ Filler หรือ Dummy ให้ไปก่อนก็ไม่ใช่ปัญหา ค่อยใส่อุปกรณ์ตอนทำเสร็จก็ได้
แค่นี้หละครับที่ผมจะอธิบาย ผมไม่ได้ต้องหารจะเอาชนะเลยนะครับ แค่ต่อเติมในสิ่งที่ผมคิดในตอนแรกที่ยังไม่สมบูรณ์แค่นั้น จะมาว่าผมทำไม มันผิดด้วยเหรอครับ อธิบายอะไรไม่ได้เลยใช่ไหม แค่เนี้ย จบครับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
555 แนะนำให้อ่านผ่านๆไปครับ เถียงไปยังไงก็ไม่จบชอบเอาความคิดแบบอุดมคติมาเถียงกับความเป็นจริงที่มันมีข้อจำกัดเยอะแยะ
ทำไมมองผมเป็นตัวตลกหละครับ แค่อธิบายมันผิดด้วยหรือไง มองความเห็นของผมเป็นเรื่องไร้สาระ เพ้อฝัน จินตนาการ มันใช่เรื่องไหม เหมือนไม่มีใครสนใจในสิ่งที่ผมพิมพ์เลย เหมือนผมโดนดูถูกในสิ่งที่พยายามอธิบายเลย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ประมาณนั้น แต่คงคล้ายๆเครื่องไฟฟ้าซื้อไปแล้วไม่ค่อยมีอัพเดต
ทำไมนึกถึง SONY 555
อันนี้ดูจริงที่สุด );
เรื่องรถนี่ไม่พร้อมอย่าปล่อยออกมาเลย มีปัญหา อันตรายครับ กว่าจะแก้ไขก็ลำบากไม่ใช่ software อัพเดตกันง่ายๆ
เรื่องของสินค้าที่มีผลต่อชีวิตของผู้บริโภค เอามาเทียบกับสินค้าทั่วไป รวมถึงพวกซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไปไม่ได้หรอกครับ ซอฟต์แวร์ถ้าใช้ในอุปกรณ์สำคัญ เช่น เครื่องบิน รถยนต์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฯลฯ ถึงรึบแค่ไหน ก็คงไม่มีใครอยากปล่อยออกมาหรอก ก็เห็นตัวอย่างกันประจำอยู่แล้ว ทั้งในเมืองไทยรถยนต์สุดยอดเทคโนโลยี ที่รักอู่มากกว่าเจ้าของ หรือเครื่องบินมีปัญหา พาคนไปตายหลายร้อยคน ด้วยความรีบปล่อยมาแข่งขัน
ของบางอย่างก็จำเป็นต้องสมบูรณ์ก่อนนำมาใช้ ในข่าวเป็นรถยนต์ไร้คนขับ คงไม่มีใครอยากให้มีข่าวรถยนต์ไร้คนขับ ไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจาก Bug ทำให้ Sensor ทำงานไม่สัมพันธ์กับซอฟต์แวร์จนทำให้เกิดอุบัติเหตุ แต่ถ้าเป็นเรื่องระบบบันเทิง ล้ำๆ หรือหน้าจอ Touch เท่ห์ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย Update แก้ไข Bug ได้ผมก็เห็นด้วยครับ
➕ ?????
Suzuki, Subaru, Daihatsu and hino is Toyota
core competency ของ japan product คือ reliability แต่ก็จะเสีย Time to market ไป
เป็นเรื่องธรรมดาครับ มีข้อดีก็มีข้อเสีย
ยุคนี้คนเราใจร้อน คนมาก่อนส่วนใหญ่ มักจะได้เปรัียบโดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยี เพราะงั้น tech ญี่ปุ่นถึงมีปัญหาเมื่อแข่งขันในเวทีโลก
ในฐานะผู้บริโภค ชอบอันใหนก็ซื้ออันนั้นคับ คนเรารับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากันรีบมาก ก็มีโอกาศพลาดใหญ่แบบซัมซุง ทำเอา series Note เป๋ไปเลย