บริษัทวิจัย Comparitech รายงานถึงการใช้ข้อมูลชีวมิติ (biometric) ในประเทศต่างๆ พร้อมกับกระบวนการปกป้องผู้ใช้ในประเทศเหล่านั้น พบจีนได้คะแนนสูงสุดแปลว่ามีการใช้ข้อมูลชีวมิติอย่างหนักในหลายด้านขณะที่กระบวนการคุ้มครองเจ้าของข้อมูลนั้นต่ำ
แบบสำรวจของ Comparitech สำรวจว่ามีการใช้งานข้อมูลชีวมิติเพื่องานประเภทใดบ้าง ได้แก่ การทำบัตรประชาชน, หนังสือเดินทาง, เปิดบัญชีธนาคาร, และลงคะแนนเลือกตั้ง พร้อมกับถามว่ามีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลชีวมิติหรือไม่ ขณะที่คะแนนยังระบุถึงฐานข้อมูลระดับชาติว่ามีขนาดใหญ่เพียงใด, ใช้งานสำหรับตำรวจทั่วไปหรือไม่, กล้องวงจรปิดมีการใช้ระบบจดจำใบหน้า หรือติดตั้งเป็นการทั่วไปหรือไม่
จีนได้คะแนนเกือบเต็มในทุกมิติ เช่น กล้องวงจรปิดมีการใช้งานอย่างหนัก พร้อมระบบจดจำใบหน้า และมีการจำแนกชนกลุ่มน้อยเป็นการเฉพาะ โดยขาดคะแนนไปเพียงการใช้ข้อมูลชีวมิติเพื่อการลงคะแนนเลือกตั้งเท่านั้น
CompariTech ให้คะแนนจีนเป็นอันดับหนึ่ง (แย่ที่สุด) โดยรองลมมาคือมาเลเซีย, ปากีสถาน, สหรัฐฯ โดยสหรัฐฯ นั้นยังไม่มีกฎหมายปกป้องข้อมูลชีวมิติระดับรัฐบาลกลาง แม้บางรัฐจะมีกฎหมายบังคับอยู่ในรัฐก็ตาม ประเทศที่ดีที่สุด เช่น ไอร์แลนด์ มีการสร้างข้อมูลอย่างจำกัดและกฎหมายคุ้มครองข้อมูลก็หนาแน่นยิ่งกว่า GDPR ของสหภาพยุโรปเสียอีก
เมื่อกลางปีที่ผ่านมา ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของระบบกล้องวงจรปิดของจีนหลุดออกสู่สาธารณะ แสดงให้เห็นว่าจีนใช้ระบบจดจำใบหน้าระบุเป้าหมาย เช่น ชนกลุ่มน้อย, คนติดยาเสพติด
ที่มา - South China Morning Post , CompariTech
ภาพโดย Pexels
Comments
1984
ชอบภาพประกอบ
That is the way things are.
จีนสนแค่ผลลัพธ์กับการควบคุมประชากรตนเอง ส่วนเรื่องอื่นเขาไม่สนเลย โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยและสิทธิส่วนบุคคล
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ชื่อบทความทันเหตุการณ์มาก
ทำให้นึกถึง ไปซื้อของร้านสดวกซื้อรายใหญ่รอบแรกไปเจอ ให้กดเบอร์โทร เพื่อเป็นส่วนลด ทั้งๆที่บอกว่าไม่สนใจเป็นสมาชิก ครั้งที่สอง ขอบัตรประชาชน บอกว่าเอาไปเป็นส่วนลด เออ แบบว่าถ้าเป็นคนที่ไปไม่คิดมากก็คงให้ไปแล้ว แต่สงสัยว่าจะเอาไปทำไม ก่อนหน้านี้ที่เอาของตัวเองมาขายแข่งแล้วโละของเจ้าอื่นทิ้งก็ว่า...แล้ว หรือกล้องที่ส่องอยู่บันทึกหน้าตาแล้วเอาเบอร์เอาบัตรไปทำทะเบียนราชของประเทศมันเหลอ ไม่แปลกใจที่กล้าพูดว่าทรัพยากรทุกอย่างเป็นของมัน
กล้องที่ส่องหน้าเครื่อง เอาไว้ถ่ายหน้าตอนซื้อซิมโทรศัพท์ครับ กสทช. สั่งมา
ขอหลักฐานที่ “มัน” พูดว่าทรัพยากรทุกอย่างเป็นของมันหน่อยครับ
ขออนุญาติตอบครับ ผมคิดว่าน่าจะมาจากสัมภาษณ์นิตยาสาร Forbes ครับ ใช้คีย์เวิร์ดนี้ครับ"ตลาดในโลกนี้เป็นของ** คนเก่งในโลกนี้เป็นของ** วัตถุดิบในโลกนี้เป็นของ** เงินในโลกนี้เป็นของ**"
ขอบคุณครับ
โชคยังดีนะครับที่เป็นข้อมูลของคนในประเทศเท่านั้น.....
ส่งออกเทคโนโลยีออกต่างประเทศอย่างหนักครับ (ของมันขายได้ รัฐหลายชาติก็อยากได้แบบเดียวกัน ถ้าการเมืองภายในมันเอื้อ) ส่วนความคุ้มครองก็ตามที่เห็น มีรายงานฐานข้อมูลหลุดออกมาเป็นระยะ
lewcpe.com , @wasonliw