Project Zero โครงการรายงานช่องโหว่สาธารณะของกูเกิลเปลี่ยนนโยบายการเปิดเผยช่องโหว่หลังรายงาน 90 จากเดิมหากซอฟต์แวร์ออกแพตช์เร็วกว่า 90 วันก็จะเปิดเผยช่องโหว่หลังจากออกแพตช์ มาเป็นการเปิดเผยหลังรายงาน 90 วันเสมอ แม้ผู้ผลิตจะออกแพตช์เร็วกว่ากำหนด
นโยบายใหม่ยังเปลี่ยนรายละเอียดเพิ่มเติม อีก 3 ประเด็น ได้แก่
- กรณีที่แพตช์ไม่สมบูรณ์ ก่อนหน้านี้นักวิจัยอาจจะนับเวลาต่อจากช่องโหว่เดิม หรือเปิดเป็นช่องโหว่ใหม่ซึ่งนับเวลา 90 วันใหม่ หลังจากนี้จะนับเวลาต่อจากช่องโหว่เดิมเสมอ
- กรณีที่ผู้ผลิตขอเวลาเพิ่มเติมหลัง 90 วัน เนื่องจากกำลังออกแพตช์ (grace period) ก่อนหน้านี้ทาง Project Zero จะให้เวลาอีกระยะหนึ่งหลังออกแพตช์ แต่นโยบายใหม่จะเปิดช่องโหว่ทันทีหลังออกแพตช์
- กรณีครบกำหนด 90 วัน ก่อนหน้านี้นักวิจัยเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเปิดเผยช่องโหว่เมื่อใด แต่หลังจากนี้กระบวนการเปิดช่องโหว่จะเป็นระบบอัตโนมัติ
ทาง Project Zero ชี้แจงเหตุผลว่าหลายกรณีผู้ผลิตพยายามออกแพตช์ให้เร็วไว้ก่อนแต่แพตช์กลับไม่ครอบคลุมการโจมตี
ที่มา - Project Zero
Get latest news from Blognone
Follow @twitterapi
Comments
Zero day เลยทีเดียว
กำลังสงสัยว่านโยบายแบบนี้มันจะมีประโยชน์อะไรน่ะครับ คือเข้าใจว่าดั้งเดิมตัว 90 วันมีเพื่อบีบให้เจ้าของ platform ที่มีบั๊ก รีบทำการแก้ไข แต่กฎเกณฑ์ใหม่ๆ นี่ กระทั่งว่า ออก patch ไปแล้ว ยังไม่มี grace period (เผื่อเวลา distribute patch) ให้ด้วย
ออกแพตช์ไปแล้ว "หลัง 90 วัน" ถึงไม่มีให้ครับ นั่นแปลว่าเจ้าของ product ดอกบั๊กไว้สามเดือนแล้ว
ผมว่าเข้าใจได้นะ กฎใหม่นี่กลายเป็นว่ายิ่งออกแพตช์เร็ว ยิ่งแก้ก่อนเปิดเผยนาน สมมติว่าสองสัปดาห์แก้เสร็จ ตอนเปิดเผยออกมาข่าวจะเป็นว่า "แพตช์ไปตั้งแต่สองเดือนที่แล้ว" ส่วนคนที่รอเกิน 3 เดือนนี่ก็ต้องถือว่าไม่ได้ประโยชน์อะไร
ในแง่ความปลอดภัยผู้ใช้ การที่ช่องโหว่ถูกพบไปแล้ว มันมีโอกาสที่จะถูกใช้งานไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การดึงเช็งไว้นานเป็นอันตราย การที่ผู้ผลิตอาศัย grace period ไปเรื่อยๆ ยืดอายุการรายงานนี่ไม่ใช่เรื่องที่ดี การเตือนทันทีให้ผู้ใช้รีบแพตช์ (เพราะช่องโหว่เปิดเผยแล้ว) น่าจะดีกว่า
lewcpe.com , @wasonliw
หวังว่าจะไม่แพ้ลูกอ้อนแบบคราวก่อนนะ
สงสัยว่า ทำไมบริษัทที่ทั้งทีมหาบั๊กให้กับคนอื่นด้วยเนียเขาทำไปเพื่ออะไร เพื่อชื่อเสียง เพื่อเงิน เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง เพื่ออำนาจ ถ้าดูจากกฏต่าง ๆ แล้วมันเหมือนพยายามจะมีอำนาจควบคุมบริษัทอื่น ๆ ทางอ้อมเลย
เป็นประเด็นที่น่าสนใจครับ ต้องยอมรับว่าการถือช่องโหว่เอาไว้มีอิทธิพลอยู่เพียงแต่ว่าอิทธิพลที่เกิดขึ้นผมยังมองไม่ออกว่ามันจะถูก abuse ในด้านที่ไม่ดีได้อย่างไรบ้าง ถ้าเสมือนว่าอิทธิพลต่อบริษัทอื่นๆ มีอยู่ให้ต้อง deliver ซอฟต์แวร์ที่ปลอดภัยมากขึ้น ผลประโยชน์สุดท้ายจะเกิดกับผู้ใช้งานและทีมนักพัฒนาเองที่ได้ประโยชน์จากการถูกตรวจสอบอยู่ดี และจะได้ lesson learned ด้วยว่าคุณจะต้องทำซอฟต์แวร์ให้ปลอดภัยนะ (แล้วไปจัดการ technical debt กันเอง)