เมื่อปี 2015 บิลล์ เกตส์ ไปบรรยายในงาน TED หัวข้อ "The next outbreak? We're not ready" โดยระบุว่าที่ผ่านมามีการเตรียมพร้อมรับสงคราม แต่ที่จริงแล้วความเสี่ยงสูงสุดของมนุษชาติกลับเป็นโรคระบาดที่อาจคร่าชีวิตเหยื่อได้นับล้าน
เขาเตือนว่าตอนนี้เราไม่มีระบบรองรับโรคระบาด โดยกระบวนการส่งต่อข้อมูลยังล่าช้าและขาดความแม่นยำ ไม่มีกำลังคนที่เตรียมพร้อม แม้จะมีองค์การอนามัยโลกก็ทำได้เพียงตรวจตราว่าเกิดโรคระบาดขึ้นหรือไม่ แต่ไม่มีโครงสร้างรับมือที่พร้อม และเหตุการณ์ที่ผ่านมาอย่างโรคอีโบล่านั้นการระบาดไม่หนักมากเพราะตัวโรคทำให้ผู้ป่วยล้มป่วยหนักได้รวดเร็ว และโรคไม่แพร่เข้าเมืองใหญ่ แต่ครั้งต่อๆ ไปหากโรคติดไปกับคนเดินทางทางเครื่องบินก็จะพาโรคไปได้กว้างขวาง
เขาระบุว่าการเตรียมพร้อมโรคระบาดต้องใช้โครงสร้างทางทหารที่สามารถระดมพลจำนวนมากได้รวดเร็ว พร้อมกับโครงสร้าง ได้แก่ ระบบสาธารณะสุขที่ดี, กำลังพลด้านสาธารณสุขสำรอง, การทำงานร่วมระหว่างสาธารณสุขและทหารเพื่ออาศัยกำลังทหารในการขนส่งและรักษาความปลอดภัย, การซ้อมรับมือโรคระบาดแบบเดียวกับการซ้อมรบ, และการลงทุนวิจัย
วิดีโอความยาว 8 นาทีครึ่ง มีคำบรรยายภาษาไทยให้ด้วย
ที่มา - TED
Comments
แกมองอนาคตได้เก่งแฮะ
ผมทึ่งกับคำทำนายในหนังสือของแก (the road ahead) เมื่อ 20 ปีที่แล้วมาก ว่าเราจะมี IoT หรือพวก alexa ใช้ แกมองอนาคตได้ขาดมาก
จริงๆ เรื่องนี้มันก็แน่นอนอยู่แล้วเหมือนกับที่ทุกคนเกิดมาต้องตาย แค่ต้องมีคนที่กล้าและมีเงินออกมาทำ
ขอเพิ่มกฏหมายพิเศษ เพื่อป้องกันการกักตุนสินค้าและโก่งราคา สำหรับสินค้าที่เกี่ยวข้องด้วยนะ
อ้างอิงของไทย จริงๆ เรื่องพวกนี้ทำได้โดยประกาศพิเศษผ่านกระทรวงฯ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้านั้นๆ อยู่แล้วนะ ทำได้ทันทีผ่านกลไกปรกติครับ อยู่ที่ว่าเหล่านายๆ ในกระทรวงนั้นๆ จะทำหรือเปล่า
กฎหมายธรรมดาก็มีครับ มีทุกประเทศ ไทยก็มี ไต้หวันนี่ห้ามส่งออกหน้ากากไปหลายวันแล้ว ส่วนทำไมเพิ่งประกาศนี่ต้องถามฝ่ายบริหาร
lewcpe.com , @wasonliw
เห็นว่าหน้ากากกลายเป็นสินค้าควบคุมแล้วนะครับ แต่ทีมงานรัฐบาลมารายงานนายกฯ และนายกฯ ได้แถลงข่าวว่าไม่เจอคนขายโก่งราคา ไม่เจอหน้ากากที่ขายราคาแพงครับ
ผมสงสัยในประเด็นนี้ว่า จะบังคับใช้กฏหมายให้ได้ผลยังไง ถ้าทุกคนในสังคมเป็นผู้ละเมิดกฏหมาย จะเพิ่มความรุนแรง เอาทหารออกมาไล่จับ ไล่ยิงประชาชนเหรอ หรือควรจะเร่งผลิตสินค้าออกมาให้ทันต่อความต้องการแทน
ปัญหาของประเทศเรา คือการบังคับใช้กฎหมายยากมากครับพอจับ ทุกคนด่า คนที่ไม่มีเกี่ยวข้อง ก็พร้อมซ้ำเติม
ขนาดจับหมวกกันน็อค ตำรวจยังโดนรุมด่าเลย
งงมาก ๆ ว่าทำไมไม่ทำให้มันถูกกฎตั้งแต่แรก
มันไม่ได้ลำบากอะไรเลย
ต้องไล่สอนเด็ก ๆ ที่เกิดมาใหม่ให้มีความคิดถูกต้องตั้งแต่แรก แล้วรอให้ที่เหลือแก่ตายไปให้หมดครับ แก่แล้วเปลี่ยนยากทุกวันนี้ก็เห็นลูกทะเลาะกับพ่อแม่แบบจะเป็นจะตายเพราะยังไงพ่อแม่ก็ไม่ยอมใส่หน้ากากตอนออกจากบ้าน ลูกกลัวเอาไวรัสมาติดหลานในบ้านพูดกันยังไงก็ไม่รู้เรื่องจนจะเลิกพูดกันไปเลยละ
แน่ใจเหรอครับว่าเด็กรุ่นนี้จะเอาตัวรอดได้ 55555 ลองมาอยู่ในมุมมองของนายจ้างแล้วอาจจะเปลี่ยนความคิดเลยครับ โลกแห่งความเป็นจริงมันต่างกับโลกในโซเชียลเยอะเลยครับ
ผมเป็นนายจ้างครับ เพิ่งให้เด็กออกไปหนึ่งคนเพราะทัศนคติแย่มาก แต่ในขณะเดียวกันเพื่อนของคนนั้นที่ผมรับมาก่อนดีกว่ามาก เพิ่งเริ่มให้ทดลองเลื่อนเป็นคนคุมทีม เด็กรุ่นใหม่ที่ผมเจอก็มีทั้งดีและไม่ดีครับ
ไม่ใช่และ เด็กรุ่นใหม่ตอนนี้ตัวปัญหาเลย ต่อให้คนแก่ตายหมดก็จะห่วยต่อไป ตำรวจทำไรด่าหมด รังแกคนจนมั่ง ออกมาจากรุ่นใหม่ทั้งนั้น ดูคอมเม้นในเฟสข่าวก็เข้าใจแล้ว พวกที่ต่อต้านทุกอย่าง ทั้งที่ตัวเองผิด เด็กรู่นใหม่แทบทั้งนั้น
แล้วเด็กที่เกิดใหม่ มีพ่อแม่คือ เด็กรุ่นใหม่ตอนนี้ ไหมครับ ต่อให้เกิดใหม่กี่รอบแต่คนสอนรอบตัวยังเป็นอยู่ก็เหมือนเดิม แค่จะบอกว่าต้องดัดตั้งแต่ตอนนี้ทุกรุ่น
มีพ่อแม่เป็นเด็กรุ่นใหม่ตอนนี้แล้วไม่สามารถสอนให้มีความคิดถูกต้องตั้งแต่แรกไม่ได้หรือครับ?
จริงๆ ผมแอบไม่เห็นด้วยกับคำว่า ความคิดถูกต้อง อยู่หน่อยนึงแต่หยวนๆ ข้ามไปได้อยู่ และใช่ครับก็ต้องดัดตั้งแต่ตอนนี้ทุกรุ่นนี่แหละ แค่ว่าคนโตแล้วก็จะไม่ค่อยได้ผลเท่า
คงต้องปูตั้งแต่การศึกษานะครับ ระดับการศึกษาของคนในบ้านเรานี่แตกต่างกันมาก เหวี่ยงมาก ความคิดความอ่านหรือวิธีการใช้ตรรกะมันออกมาเป็นคนละเรื่องกันเลย เรื่องแบบนี้มันแค่สอนไม่ได้ มันอยู่ในพื้นฐานทางความคิดมากกว่า ซึ่งต้องใช้เวลาค่อยๆปรับกันไปในแต่ละสังคม
แต่มันก็คนละเรื่องกับการบังคับใช้กฎหมายอยู่ดี ปัญหามันมาจากทั้งสองฝั่งน่ะ ฝั่งคนใช้กฎหมายก็ไม่เข้มแข็งพอ เลือกปฏิบัติ บางทีก็สักแต่จะออกข้อบังคับห้ามนู่นนี่แต่ไม่มีมาตรการเยียวยาคนที่ได้รับผลกระทบ มันปกติที่ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามมันย่อมมีคนต่อต้าน แต่การเตรียมการมันก็ต้องรอบด้านกว่านี้
ถ้าคิดว่าจะเริ่มที่เจนต่อไป ก็ต้องรอเจนต่อไปตลอดครับ เรารอเจนต่อไปกันมากี่เจนแล้ว?
มันได้บางระดับครับ เช่น ถ้าสินค้าขาดไปหนึ่งวัน กำลังมีพ่อค่าเริ่มตุนก็สั่งห้ามตุน สั่งห้ามส่งออก ต้องขายทีละน้อยๆ ฯลฯ จากนั้นควบคุมระดับ supply ให้พอ นำเข้า เพิ่มกำลังผลิต ฯลฯ การบังคับจะเบรกไม่ให้มีการกักตุนขนานใหญ่ ทุกคนตกใจกลัว ซื้อหน้ากากกันคนละร้อยสองร้อยชิ้น พ่อค้าซื้อกันทีละหมื่น
แต่ระยะยาวหากของมันขาด ยังไงมันก็ลงโทษแก้ปัญหาไม่ได้หรอกครับ อย่างสมัยน้ำมันพืชสุดท้ายก็ต้องน้ำเข้ามาเติม
lewcpe.com , @wasonliw
'บิ๊กตู่' ไม่เชื่อหน้ากากขาดตลาด
สาธารณะสุข => สาธารณสุข