รัฐมนตรีดิจิทัลไต้หวันลงมือแก้โค้ดพร้อมสร้าง pull request ให้เว็บรายงานสถานการณ์ COVID-19 ของญี่ปุ่น
ในช่วงที่มีการระบาดของโรค COVID-19 รัฐบาลกรุงโตเกียวได้เปิดเว็บ COVID-19 Task Force ขึ้นมาพร้อมปล่อยซอร์สโค้ดลง GitHub เพื่อเป็นเว็บสำหรับรายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อในแง่มุมต่างๆ
ต่อมาเมื่อวันที่ 8 มีนาคม Audrey Tang รัฐมนตรีดิจิทัลของไต้หวันได้ช่วยแก้โค้ดของเว็บไซต์ดังกล่าวในส่วนของเมนูเปลี่ยนภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน (zh-TW) โดยเปลี่ยนจากตัวอักษร 体 เป็นอักษร 體 ที่เหมาะสมกว่า จากนั้นเธอได้สร้าง pull request เพื่อให้ผู้ดูแลโปรเจ็คได้เข้ามารีวิว ซึ่งผู้รีวิวโค้ดสองคนได้ยอมรับการแก้ไขนี้พร้อมคอมเมนต์ขอบคุณ และ merge เข้าโค้ดหลักแล้ว
หลังการช่วยแก้ไขโค้ดดังกล่าว ได้มีผู้ใช้ GitHub เข้ามาร่วมแสดงความขอบคุณกว่าพันคน
ทั้งนี้ Tang ใช้งาน GitHub มานานแล้วในชื่อ audreyt โดยมีส่วนร่วมกับโครงการต่างๆ อยู่เสมอ โครงการหลักที่เธอดูแลคือ mask-static ที่เป็น Progressive Web App สำหรับแสดงจุดที่มีหน้ากากอนามัยขาย
Audrey Tang เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีดิจิทัลของไต้หวันเมื่อเดือนตุลาคมปี 2016 แบบเป็น "รัฐมนตรีลอย" (Minister without Portfolio) คือไม่ได้ประจำอยู่ในกระทรวงใด แต่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เฉพาะบางอย่าง โดย Tang ได้รับมอบหมายให้ดูแลการสื่อสารด้านนโยบายรัฐบาลและจัดการข้อมูลที่รัฐบาลปล่อยออกมาเพื่อให้สื่อสารกับประชาชนในช่องทางดิจิทัล
แบ็คกราวด์ของ Tang นั้นน่าสนใจ ก่อนมาเป็นรัฐมนตรีเธอเป็นโปรแกรมเมอร์มาโดยตลอด เธอเริ่มหัดเขียนภาษา Perl ตั้งแต่อายุ 12 และลาออกจากโรงเรียนมัธยมเพราะปรับตัวไม่ได้ ต่อมาก็ทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์ให้หลายบริษัทตั้งแต่อายุ 19 และเคยทำงานใน Silicon Valley ด้วย นอกจากนี้ในปี 2005 เธอก็เริ่มแสดงออกว่าต้องการเปลี่ยนเป็นเพศหญิงโดยการเปลี่ยนชื่อ และเธอยังเป็นบุคคลข้ามเพศคนแรกในคณะรัฐมนตรีของไต้หวันด้วย
Comments
mean while in........
ไม่พู้ดดดดดดดดด
ชื่นชมทุกคนใน event นี้ครับ
สุดยอด อิจฉาจัง
กลับมามองของไทยแล้ว....
แต่บางประเทศมีไว้เพื่อกำจัดคนที่ตาสว่างจากpropaganda
จุ๊จุ๊
น่าสงสารประเทศสารขัณฑ์ที่ตำแหน่งรัฐมนตรีส่วนใหญ่มาจากอาชีพอะไรก็ได้ หมูหมากาไก่ก็เป็นได้
ปกติบริษัทจะคัดตัวผู้บริหารโดยดูจากประสบการณ์ทำงานแต่บางประเทศก็ใช้วิธีแปลกๆโดยคัดจากสิ่งที่เรียกว่า"โควต้าพรรค" ซึ่งก็เป็นธรรมเนียมเรื่อยมาไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลก็ตาม
ขอย้ำว่า "ทุกรัฐบาล" ที่ผ่านมา ต้องมีสิ่งนี้ก็ได้แต่ภาวนาว่าเมื่อไหร่ป้ายหาเสียงเลือกตั้งมันจะระบุประสบการณ์ทำงานของแต่ละคนสักที
รมต DE ประเทศสารขัณฑ์เคยนำม๊อปนกหวีดไปปิดตึก กสท. มาแล้วนะครับ อะโด่ แค่นี้จิ๊บ ๆ
“...มันคือแป้งงงงงงง...”เสียงที่ดังก้องในหัว...เมื่ออ่านข่าวนี้
Coding is the new second language
คุณทำให้รมต.บางประเทศดูโง่และไร้ความสามารถจริงๆ
ความแตกต่างของ รมต. ที่ทำงานเป็น กับทำงานไม่เป็นในระยะเวลา 5 - 10 ก็สร้างความแตกต่างได้ชัดนะ
แล้วก็วกมาแขว่ะประเทศตัวเอง สุดยอดชุดความคิด
ผมไม่แน่ใจว่าหมายถึงความเห็นไหน แต่ผมตอบถึงแนวคิดการเทียบประเทศอื่นกับตัวเองไว้แล้วกันครับ
ผมเชื่อว่า "เราอ่านข่าวต่างประเทศเพื่อมองตัวเอง"
ผมมองว่าคนไทยที่ผ่านมาภาษาอังกฤษโดยรวมประเทศเราแย่ ทำให้ข่าวสาารต่างประเทศเข้าถึงเราได้น้อยอย่างไม่น่าเชื่อ เราควรเทียบตัวเองกับประเทศอื่น (หรือคนในประเทศอื่น) ให้มากกว่านี้ เรามักมองตัวเองเหมือนศูนย์กลางจักรวาล เช่น วิกฤติต้มยำกุ้ง ที่ไม่ค่อยมีใครใช้ และเราคิดกันเองว่าคนรู้จักกันทั้งโลก ทั้งที่ส่วนใหญ่เขาเรียก Asian Financial Crisis ยังไม่นับปัญหาหรือเหตุการณ์น้อยใหญ่ที่เราล้วนไม่ค่อยมองว่าคนอื่นเขามอง หรือจัดการปัญหากันอย่างไร
ถ้าคิดว่าการเทียบต่างประเทศกับประเทศตัวเองในข่าวนี้ "เพิ่ง" เป็นปัญหา แสดงว่าปัญหามันร้ายแรงมาก เราขาดความสามารถในการมองโลกอย่างหนัก
lewcpe.com , @wasonliw
"...ประเทศสารขัณฑ์ " สินะ
ของหวานหลากสีสินะ อิอิ หรือ 10
รัฐบาลกบฎ = ประเทศ ก็สุดยอดชุดความคิดเช่นกันครับ
จ่ายเงิน(ภาษี)เหมือนกัน แต่ได้ของน้อยกว่า คุณยอมรับได้เหรอคนที่หลบหลัง "ประเทศ" นี่แหละ ที่น่าถูกรังเกียจ
ที่คนรังเกียจโตไปจะไม่ทำอย่างนี้
บ้านเรา 7% อืมมมมมม
ก็มีคนชมเค้าเหมือนกัน ผมก็พิมย์ชมได้ "รัฐมนตรีคนนี้เก่งจังเลย" พอใจไหมครับ
ส่วนพวกที่แขว่ะประเทศตัวเองนะผมก็อยากจะขอตำหนิว่า "คิดคำด่าได้แค่นี้เองรึ ด่าให้มันแรงกว่านี้หน่อยสิ" 555+
แล้วที่คอมเม้นต์บนๆพูดมา มีตรงไหนไม่เป็นความจริงบ้างครับ
จ้ะ...คนดี
นอกจากคนนี้ ยังมีรัฐมนตรีประเทศไหนอีก เขียนโค๊ดได้
https://www.blognone.com/node/67844
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
หมายความว่า เราควรพอใจ กับความห่วยของรัฐมนตรีที่เรามีอยู่ สินะครับ
อ่านแล้วเหมือนเนื้องานจริงๆ คือreplace all ตัว 体(จีนตัวย่อ) ให้กลายเป็น 體(จีนตัวเต็ม) เอง
แต่ยังไงถือว่ามีความสามารถละนะ
เป็น รมต. คงไม่มีเวลาจะมาสร้างโค้ด ไล่โค้ด แก้โค้ดเอง
ยิ่งตอนนี้วิกฤติไวรัส จะลงมาไล่โค้ดก็ไม่ใช่เรื่อง
ลองไปดูผลงานอื่นๆใน github ของรัฐมนตรีได้ที่ https://github.com/audreyt/
อ่านแล้วรู้สึกอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบกับประเทศตัวเอง
ความเห็นประเภทวกกลับมาแขวะประเทศตัวเอง อะไรเนี่ย
OK Boomer
พักก่อน
Ask real
เปิดกะลาให้นะ
ตัวบุคคล ไม่ใช่ประเทศชาติ
เค้าดูที่การกระทำ ของตัวบุคคล
กะลาแลน แค่ git ยังไม่รู้จักเลย
คงเอาไปรันบน iso แน่ๆ
ของเราต้องตั้ง server เอง เอา lead line เข้าสำนักงาน ห้อง server อยุ่ชั้นเดียวกับห้อง ผอ. แบบนี้สิเจ๋ง ปลอดภัยสุด
leased line
บ้านเราหน้ากากอนามัย หมอ พยาบาลยังเข้าถึงลำบาก ถึงต้องมีขอรับบริจาคกันรัวๆ พอขอรับบริจาค ก็โดนผู้ใหญ่ด่าอีก จนต้องไปขอให้แหม่มโพธิ์ดำ กะจ่าช่วย เฮ้อ
ตอนแรกเลยรู้จักจากเพจเนติวิทย์ นึกว่าผู้ชาย อ่สนข่าวแล้วเพิ่งรู้ว่าเป็นผู้หญิง อ่านจบแล้วก็คิดว่าอ้อ เข้าใจถูกแต่แรกแล้ว
น่าชื่นชมที่ไต้หวันใช้คนมีความสามารถ น่าจะอายุไม่มากด้วย
เป็นประเทศที่เปิดกว้างและยอมรับในความสามารถของคนจริงๆ
มองดูผู้บริหารประเทศชุดปัจจุบัน แล้วคิดว่าสิ่งแบบนี้คงเป็นไปไม่ได้ในบ้านเรา
ลองดู code รู้สึกแปลกๆ ตรงที่ใช้ camel case ใน css class แฮะ
อาจจะเพราะเป็น self-taught แล้วติดมามั้งครับ
ทั่วไปเขาจะไม่สอนให้ใช้ camel case ใน css นี่นา
coding style จัดว่าแย่ครับ
ใจเย็นๆครับท่าน
มันไม่ดียังไงเหรอครับ ? พอจะอธิบายได้ไหมครับ
แล้วถ้าใช้ kebab case แล้วมันดีกว่ายังไงเหรอครับ ?
css มันมีแนวทางอยู่แล้วอ่ะครับว่าควรตั้งชื่อแบบไหน ของแบบนี้เถียงกันได้ไม่จบแบบ space หรือ tab
การตั้งชื่อคลาสหรือ id ไม่ได้ส่งผลอะไรต่อ performance หรอกครับ ผมถึงบอกว่า coding style แย่ไม่ได้บอกว่า logic หรือ algorithm แย่ครับ
ส่วนตัวผมมองว่าคุณอาจจะมองว่า coding style แย่ แต่สำหรับ คนที่ทำงานในโปรเจคนั้นมันก็อาจจะตอบโจทย์ก็ได้ สมมติเค้าอาจจะใช้ jQuery แล้วเค้าต้องการที่จะใช้ convention เดียวกันทั้งฝั่ง js และ css จะได้ลดความหงุดหงิดเวลาที่ลืมแก้ชื่อ อะไรแบบนี้ (ส่วนตัวผมก็ก็อปปี้ชื่อตัวคลาสมาเป็นชื่อตัวแปรบ่อย ๆ นะ)
คุณอาจจะแบบ ไม่ชอบวิธีนี้ เพราะว่ามันแย่ สำหรับคุณ(ที่ไม่ได้ไปมีส่วนร่วมอะไรกับโปรเจคเขา) เพราะว่าถ้าวิธีนี้มันทำให้คนอื่น ๆ ติดวิธีใช้แบบนี้เหมือนกันไปเรื่อยๆ สักพักคุณอาจจะต้อง refer ไปหา css ที่ใช้ชื่อแบบนี้ คุณก็อาจจะเดือดร้อน นั่นก็คือแย่สำหรับคุณ
แต่ลองคิดดี ๆ อีกที แล้วคุณเสียประโยชน์อะไรจากการที่เขาเลือกใช้ naming convention แบบนี้เหรอครับ ?? ถ้าคุณไม่เสียประโยชน์อะไร แล้วมันแย่สำหรับคุณอย่างไรล่ะครับ
ถ้ามันแย่สำหรับเขา เขาก็คงแก้ไปละว่าไหมครับ
ผมว่าสุดท้ายแล้ว naming convention มันเป็นเรื่องของข้อตกลงกันภายในทีมครับ ถ้ามันมีเหตุผลที่ดีพอก็ไม่มีเหตุผลที่จะเปลี่ยนเนอะ
ซึ่งก็เหมือนกับเรื่อง space/tab เลย มันเป็นเรื่องของข้อตกลง มันไม่ใช่เรื่องมาตรฐานสากล มันอาจจะมี de facto standard แต่ถ้าไม่ใช้ก็ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายอะไรมั้งครับ ? อันนี้คุณก็รู้อยู่ละ
ปล. มันไม่ใช่แบบ เอ่อ เขียน JavaScript แล้วดันเอาปีกกาไว้บรรทัดต่อไป อันนั้นคือโปรแกรมทำงานผิดเลย อันนี้คุณก็รู้อยู่แล้วใช่ไหมครับ
เห็นด้วยเรื่องที่ว่าตกลงกันในทีมครับ จริงๆ เห็นด้วยทุกประเด็นอ่ะนะ
+1 ตามที่ตกลงกันในทีม ตามนั้นเลยครับ
+111 ครับ อยู่ที่ตกลงกันในทีมเป็นหลัก เคยทำทีมนี้ใช้ style นี้ ย้ายไปอีกทีมต้อง style อีกแบบ ก็เป็นเรื่องปกติที่เจอบ่อยทั่วไป เพราะ naming convention ตกลงกันระดับทีมที่ทำงานร่วมกันเป็นหลัก
แต่จริงๆเรื่องนี้ก็ยังเป็นปัญหากันจนปัจจุบัน มีการกระทบกระทั่งกันเป็นประจำ 55555
ยกตัวอย่าง js มี formator อย่าง ESLint ช่วยให้โค้ดไปในทางเดียวกัน(อยู่ที่ทีมนั้นๆจะตั้งค่ายังไง) ก็ยังมีการผิดใจกันเล็กๆน้อยๆตลอด เพราะแต่ละทีมดันตั้งค่า ESLint ไม่เหมือนกันอีก
พวกเครื่องมืออย่าง prettier, gofmt, phpfmt จึงเกิดขึ้นมาตัดปัญหา และหลายๆคนก็ชอบมันมากครับ ผมด้วย 555555
อย่างที่ Rob Pike กล่าวไว้
SOO COOOLLL
[S]
เยี่ยมเลย
..: เรื่อยไป
คือ ในสถานการณ์นี้ 體 มีความหมายเชิงลึกว่าอย่างไร ถึงควรใช้มากกว่าตัวย่อ 体 ที่ดูกระชับกว่า
ป.ล.ไม่ค่อยเข้าใจภาษาจีนสักเท่าไร
หลักๆเลยก็เพราะไต้หวันใช้อักษรจีนตัวเต็มครับ ผมว่าเค้าอ่านออกแต่อ่านไปมันก็สะดุดปกติไม่ได้ใช้ตัวย่อแบบจีน
ต้องเกริ่นก่อนว่า ตัวอักษรจีนมีสองแบบคือ แบบตัวย่อ(จำนวนขีดลดลง แบบประยุกต์) และตัวเต็ม (จำนวนขีดดั้งเดิม)
ญี่ปุ่น เป็นลูกผสม เอามาใช้ทั้งตัวย่อและตัวเต็ม
จีนแผ่นดินใหญ่ ใช้ตัวย่อ
ไต้หวัน ใช้ตัวเต็ม
ฮ่องกง มาเก๊า ใช้ตัวเต็ม (แต่ปัจจุบันเริ่มโดนกลืนจากจีนแผ่นดินใหญ่ บางที่ก็ใช้ตัวย่อ)
ประเทศไทย ตามวัด สมาคมจีน ใช้ตัวเต็ม
เวบต้นทางเข้าใจว่าเป็นญี่ปุ่นเขาใช้ 体 (ตัวย่อ) ซึ่งถ้าเป็นไต้หวันเขาใช้ 體 (ตัวเต็ม) มันเลยไม่ถูกต้องเขาเลยแก้ให้มันถูกตามที่ไต้หวันใช้งานครับ
เมืองไทยเทห์กว่าเคยมี รมต.คิดค้นระบบปฎิบัติการ ISO
เอาจริงๆ รมต ผมว่าไม่จำเป็นต้อง “รู้ลึก” ในสายงานนั้นๆ (ถ้าได้ก็ดี) แต่ควรจะ “เปิดกว้าง” รับฟังความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ ไม่ใช่คิดเองเออเอง หรือฟังแต่ vendor หลอกขายของ หรือรอรับคำสั่งจากนายกอย่างเดียว
ต้องมีพื้นฐานที่ดีระดับนึงครับ คือไม่ใช่ว่า ฟังความเห็นผู้เชี่ยวชาญแล้วก็เชื่อไปหมด ก็ต้องมีความรู้พื้นฐานพอจะรู้สามัญสำนึกของสิ่งที่ตัวเองดูแลอยู่บ้างครับ
ครับ เข้าใจคุณครับ
อย่างน้อย รมต. ดิจิทัลประเทศอื่น ก็คิดจะทำอะไรสักอย่างเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ 5555555555555
หลายอารมณ์มากในข่าวนี้
ชื่นชมการทำงาน แบบที่เข้ามาเพราะตั้งใจทำงานจริงๆ
อิจฉาที่สังคมเค้าผลักดันคนจากความสามารถจริงๆรู้สึกดีที่ใช้สรรพนามเรียกว่า"เธอ"
หงุดหงิดกับคอมเมนต์ที่ปกป้องรัฐบาลที่ท่านรักซะเหลือเกิน ขนาดที่โดยถุยน้ำลายใส่หน้ามากี่รอบแล้วยังไม่รู้สึก
ถึงนาทีนี้ พวกเขายังพยายามแถเพื่อบุคคลอันเปนที่รักของพวกเขา
ชังเขา = ชังชาติระวังตัวนะครับ