Tags:
Node Thumbnail

เก็บเงินไม่อยู่ปัญหาคลาสสิคสำหรับคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะคน Gen-Y ที่งานวิจัยเผยให้เห็นว่าติดหล่มอยู่กับการเก็บเงินไม่อยู่ ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ทั้งภาวะเศรษฐกิจ, อาชีพไม่มั่นคงพอจะเก็บเงิน, การใช้จ่ายไปกับประสบการณ์และสิ่งเร้าต่างๆ

ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งข้อสังเกตถึงพฤติกรรมการออมของคนอายุน้อย พบว่ามีประเด็นที่น่ากังวล ผลการสำรวจด้านการวางแผนทางการเงินหลายชิ้นในไทยชี้ว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือ Gen-Y ไทยมีการวางแผนทางการเงินในระดับต่ำโดยเฉพาะกลุ่ม first jobber ที่มักมีทัศนคติที่ให้ความสำคัญต่อการออมน้อยกว่าคนรุ่นก่อน

No Description

กลุ่มคน Gen-Y ยังผูกพันกับไลฟ์สไตล์ดิจิทัลมากๆ การซื้อของออนไลน์บนมือถือเป็นเรื่องง่ายสำหรับคนกลุ่มนี้ ทำให้เงินไหลออกนอกกระเป๋าได้ง่ายเช่นเดียวกัน

แต่ใช่ว่าคนกลุ่มนี้ไม่มีความคิดริเริ่มที่จะออมเลย พวกเขาค่อยๆ เริ่มจากการออมทีละเล็กทีละน้อย ถ้าเป็นคนเพิ่งเริ่มทำงาน ก็จะมีเคล็ดการออม เช่น เก็บเศษเหรียญ, สะสมธนบัตร 50 บาท, เปิดบัญชีออมเงินแยกกับบัญชีที่ใช้ปัจจุบัน หากเป็นคนที่ทำงานมาได้ระยะหนึ่งแล้ว ก็จะเริ่มมองหาการออมที่ให้ผลตอบแทนมากขึ้นอย่างการเปิดบัญชีออมทรัพย์ การลงทุน การซื้อประกันเงินออม เป็นต้น

จะดีแค่ไหน ถ้าการออมสามารถทำได้ง่าย สนุก เห็นผลตอบแทน และเริ่มต้นได้ง่ายบนมือถือ

Kept by krungsriคือทางเลือกใหม่สำหรับคนรุ่นใหม่ที่อยากเริ่มต้นออมเงินด้วยวิธีที่ได้ผลมาพร้อมรูปแบบแอปพลิเคชั่นใช้ง่าย และตอบโจทย์พฤติกรรมการออมส่วนตัวในหลายรูปแบบ

การทำงานของ Kept แบ่งออกเป็น 3 บัญชีที่ทำงานร่วมกันระหว่าง 1 กระเป๋า 2 กระปุก คือ กระเป๋า Kept, กระปุก Grow และกระปุก Fun ในบทความนี้จะค่อยๆ ไล่เรียงวิธีการทำงานของแต่ละส่วนพร้อมทั้งรีวิวฟีเจอร์ไปพร้อมๆ กัน

No Description

กระเป๋า Kept

ฟีเจอร์แรกของ Kept คือกระเป๋า Kept ทำหน้าที่เป็นกระเป๋าสตางค์ของเรา ผู้ใช้งานสามารถโอนเงินเข้ามาเก็บในกระเป๋าใบนี้ได้ ถอนออกได้, สแกนจ่ายตามร้านค้าได้ ทำหน้าที่เป็นบัญชีเงินฝากของเราตามปกติ

แต่หน้าที่หลักของกระเป๋าใบนี้ ไม่ใช่การนำเงินมากองไว้ แต่เป็นการทำงานร่วมกับกระปุก Grow และกระปุก Fun ได้อย่างไร้รอยต่อ

เริ่มจากกรอกจำนวนเงินที่จะใช้ในกระเป๋า Kept เช่น เดือนนี้จะใช้เงินไม่เกิน 1 หมื่นบาท ก็กรอกตามจำนวน 10,000 บาท จากนั้นโอนเงินที่อยากจะเก็บมาไว้ที่กระเป๋าก่อน สมมุติว่า โอนเงินมา 25,000 บาท วันรุ่งขึ้น เงินในกระเป๋า Kept จะเหลือ 10,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 15,000 บาท จะถูกย้ายไปอยู่ที่กระปุก Grow ที่ดอกเบี้ยสูงกว่าโดยอัตโนมัติ ทำให้เราไม่ต้องกังวลว่าจะมีเงินในกระเป๋ามากเกินไป แถมยังได้เก็บเงินก้อน และได้ดอกเบี้ยดีดีทุกวันNo Description

สมมุติเกิดเหตุไม่คาดฝัน มีเรื่องต้องใช้เงิน และเงินในกระเป๋าเหลือ 1,000 บาท แต่เราจำเป็นต้องใช้เงิน 3,500 บาท แทนที่เราจะต้องไปโอนเงินจากกระปุก Grow มาใส่กระเป๋า Kept เราก็ให้แอปทำงานให้ ด้วยการเปิดฟีเจอร์โอนออกอัตโนมัติไว้ ระบบจะทำการดึงเงินจากกระปุก Grow ออกมาให้เอง 2,500 บาท เพื่อให้เราทำรายการโอน 3,500 บาทนั้นได้สำเร็จ

แต่ถ้าเรากลัวเผลอใช้เพลินจนเงินหมดกระปุก ก็สามารถตั้งค่า เตือนก่อนใช้ไว้ด้วย ระบบจะขอให้เรายืนยันก่อนที่จะเอาเงินออกจากกระปุก Grow มาใช้ เป็นการเรียกสติให้คิดทบทวนอีกครั้งก่อนจะเอาเงินจากกระปุกมาใช้นั่นเอง
No Description

กระปุก Grow

กระปุก Grow คือแหล่งเก็บเงินที่ยิ่งเก็บเยอะ ยิ่งได้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย 1.6 %* ในปีแรกและสูงขึ้นเป็น 1.8 %* ในปีที่สอง คิดดอกเบี้ยทุกวัน จ่ายดอกเบี้ยทุกวันที่ 28 ของเดือน แต่มีข้อแม้ว่า การเก็บเงินเข้ากระปุก Grow ต่อ 1 รายการ ต้องไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท (*ทั้งนี้ ดอกเบี้ย และเงื่อนไขเป็นไปตามประกาศของธนาคาร)

แต่เพื่อไม่ให้เป็นการกดดันคนออมเงินจนเกินไป เงินในกระปุก Grow สามารถโอนเงินจากกระปุกมาคืนในกระเป๋า Kept ได้ในกรณีที่เงินไม่พอใช้จริงๆ

สำหรับคนที่มีวินัยเคร่งครัด หรือมีความมุ่งมั่นในการเก็บเงินก้อนโต ก็สามารถล็อกกระปุกด้วยการปิดใช้งานฟีเจอร์โอนออกอัตโนมัติ (Allow money out) ไม่ให้โอนออกได้ด้วย และยังมีระบบแจ้งเตือนก่อนใช้ (Alert before money out) เพื่อเตือนผู้ใช้งานว่า คุณกำลังเอาเงินจากกระปุกที่ตั้งใจออมไว้ไปใช้นะ เป็นการเตือนสติอีกครั้งก่อนจะตัดสินใจNo Description

กระปุก Fun

ฟีเจอร์กระปุก Fun ช่วยให้การออมเงินสนุกและดูเป็นชาเลนจ์แข่งกับตัวเองมากขึ้น เหมาะกับคนที่สบายใจกับการออมแบบเก็บเล็กผสมน้อย หรือยังไม่มีเงินก้อนมากพอที่จะออมกับกระปุก Grow

กระปุก Fun ขับเคลื่อนการทำงานด้วยฟีเจอร์เด็ดสองอย่างคือ แอบเก็บและสั่งเก็บ ให้แอปช่วยเก็บเงินให้โดยที่เราไม่รู้ตัว

แอบเก็บ หรือ Auto grabช่วยแอบเก็บเงินเข้ากระปุก Fun ให้อัตโนมัติในทุกครั้งที่มีการโอนเงินออกจากบัญชี Kept หรือใช้จ่ายผ่าน QR เราสามารถตั้งค่าได้เองว่าจะให้ช่วยแอบเก็บกี่บาท โดยตั้งค่าได้ 3 แบบคือ

  • ระบุจำนวนเงินไปเลยว่าถ้ามีการจ่ายเมื่อไหร่ จะเก็บให้ … บาท
  • ตั้งค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น 10% ระบบจะแอบเก็บให้ 10% ของยอดที่โอนออก
  • ตั้งค่าแบบปัดเศษ ให้ระบบแอบเก็บให้เป็นจำนวนเต็มไปเลย เช่นซื้อรองเท้าไป 1,720 บาท ปัดเศษ 80 บาทจะเท่ากับ 1,800 บาท เศษ 80 บาทนั้นจะถูกนำไปแอบเก็บที่กระปุก Fun อัตโนมัติ

No Description

สั่งเก็บ หรือ Regular saveคือการตั้งค่าให้ระบบเก็บเงินเราจากกระเป๋า Kept เข้ากระปุก Fun โดยอัตโนมัติ สั่งเก็บเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือนก็ได้ ตั้งจำนวนเงินที่จะสั่งเก็บได้ตามใจชอบ เหมาะสำหรับคนขี้ลืมโดยเฉพาะ

No Description

กระปุก Fun ยังให้ดอกเบี้ยตอบแทนด้วย ถ้าแอบเก็บครบ 10 ครั้งจะได้ดอกเบี้ย 1% ในเดือนถัดไปเป็นการทำระบบให้ดูเป็นชาเลนจ์ เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้สึกสนุกที่ได้ออมเงิน

ไม่ต้องมีบัญชีธนาคารกรุงศรีก็ใช้งานได้

ทำการสมัครผ่านแอป แล้วเลือกว่าจะไปยืนยันตัวตนที่จุดบริการที่สะดวกผ่านช่องทาง Krungsri i-CONFIRM ซึ่งเป็นจุดบริการยืนยันตัวตนที่ติดตั้งไว้ที่สาขาของธนาคารกรุงศรีทุกสาขาทั่วประเทศ และจะขยายจุดบริการอื่นให้มากขึ้นในอนาคตวิธีนี้ ทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจาก

  • ดาวน์โหลดแอป Kept: สมัครใช้งาน กรอกข้อมูล และสแกนบัตรประชาชน
  • ยืนยันตัวตน: เลือกช่องทาง Krungsri i-CONFIRM จะได้ QR code เพื่อใช้ในการไปติดต่อจุดบริการ Krungsri i-CONFIRM พร้อมนำบัตรประชาชนไปด้วย หลังจากยืนยันตัวตนสำเร็จ จะได้รับข้อความทางมือถือ ให้กลับไปสมัครต่อ
  • กลับมาที่แอป Kept: ทำการสมัครต่อพร้อมถ่ายเซลฟี่
  • กรอกรหัสแนะนำเพื่อน(ถ้ามี)สามารถกรอกรหัสได้ตอนสมัคร แค่ครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้นตั้งค่าใช้งานได้ทันที
    นอกจากนี้ในอนาคต Kept ยังเตรียมแผนรองรับการยืนยันตัวตนผ่านระบบ NDID (National Digital ID) หรือการยืนยันตัวตนดิจิทัลข้ามธนาคาร ซึ่งช่วยให้ประชาชนสามารถเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารแห่งใหม่ได้ผ่านแอปพลิเคชั่นธนาคาร โดยใช้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนจากธนาคารที่ตนเองเคยมีบัญชีเงินฝากอยู่แล้ว ด้วยเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า ไม่ต้องเดินทางมาแสดงตนที่สาขา และลดการกรอกข้อมูลซ้ำซ้อน ซึ่งขณะนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดให้ธนาคารพาณิชย์ทดสอบระบบแล้ว

ทำไมต้อง Kept

จากฟีเจอร์ต่างๆ ข้างต้น ทำให้รู้ว่าแอปพลิเคชั่น Kept ถูกคิดค้นขึ้นมาโดยคำนึงถึง pain point ในการออมเงินของคนรุ่นใหม่อย่างถี่ถ้วน และถ้าสังเกตที่โลโก้ Kept ดีๆ จะเห็นเหรียญที่หยอดลงกระปุกด้วย

Kept by krungsri พัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์คนที่ต้องการเก็บออมเงินอย่างเป็นระบบ มีการพัฒนาฟีเจอร์ที่ดูเป็นการใช้เทคโนโลยีไม่ซับซ้อน แต่ได้ผลที่นำไปใช้งานได้จริง ตอบโจทย์พฤติกรรมดิจิทัลของคนรุ่นใหม่ ช่วยเป็นอีกแรงผลักดันสำคัญให้คนรุ่นใหม่เริ่มต้นออมเงินได้ เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

ดาวน์โหลดแอป Kept ได้แล้วทั้งสองช่องทางทั้ง

พิเศษ สมัคร Kept และโอนเข้าขั้นต่ำ 1,000 บาท ภายใน 7 วันนับจากวันสมัคร ตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย. - 30 ก.ย. นี้ รับ (e-coupon) คูปองสตาร์บัคส์ฟรี 100 บาท โดยจะส่งให้ทางอีเมลที่ลงทะเบียน และยืนยันอีเมลแล้ว

แนะนำเพื่อนต่อ รับสูงสุด 500 บาท! เมื่อเพื่อนสมัคร Kept ด้วยรหัสแนะนำเพื่อนของคุณสำเร็จ รับเลย 50 บาทต่อคน (สูงสุด 10 คน ตลอดรายการ) ตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย. - 30 ก.ย. นี้ รายละเอียดเพิ่มเติม www.keptbykrungsri.com หรือสอบถาม Kept help center โทร. 02-296-6299

Get latest news from Blognone

Comments

By: mrmamon
Contributor Android Windows
on 1 July 2020 - 15:27 #1165453

เข้าไปอ่านละซับซ้อนมาก MEbyTMB เข้าใจง่ายกว่าเยอะเลย แต่มีข้อดีข้อเสียคนละแบบ

By: PH41
Contributor Android Ubuntu Windows
on 1 July 2020 - 18:27 #1165480
PH41's picture

NDID ต้องไปธนาคารก่อน เพิ่งรู้

By: ck4u
iPhone Windows Phone Blackberry Symbian
on 1 July 2020 - 23:08 #1165517 Reply to:1165480

ไม่ต้องไปนะถ้ามีแอพของธนาคารที่รองรับอยู่แล้วก็ยืนยันตัวตนได้เลย

By: carrot on 1 July 2020 - 23:32 #1165522

แค่บทความ ก็ไม่เข้าใจนิสัยคนเจนนี้(และใหม่กว่านี้)แล้ว

ร่ายยาว 3 หน้ากระดาษ กว่าจะเข้าเรื่อง อย่างกะเรียงความ

ระบบก็ดูซับซ้อนวุ่นวาย แน่ใจว่าให้ gen Y ใช้ จะใช้จะสมัครก็มากสิ่ง ยิ่งต้องไปสาขา ฝันเถอะ จะเหลือคนใช้สักกี่คน

ไม่รู้ Project Manager และคน approve บทความอายุเท่าไหร่ แต่ดูแล้วไม่น่าจะเจน Y แน่ๆ

เพราะเข้าพงหญ้าไปตั้งแต่ก้าวแรก

By: gastuner on 2 July 2020 - 07:41 #1165545 Reply to:1165522

สำหรับคนที่อยากเก็บเงินจริง ๆ คิดว่าบทความไม่น่ายาว อ่านแล้วก็เข้าใจดีนะครับปล.แต่ผม Gen X 555

By: zerocool
Contributor iPhone Android
on 2 July 2020 - 16:02 #1165657 Reply to:1165522
zerocool's picture

ลักษณะนิสัยการอ่านของคน Gen Y เป็นอย่างไรครับ ผมอยากรู้ พอดีผมเป็นคน Gen X อ่านบทความแล้วไม่รู้สึกติดขัดอะไร อาจจะยาวไปบ้างบางส่วนแต่ก็ไม่ถึงกับเยิ่นเย้อจนหาเนื้อหาไม่เจอ


That is the way things are.

By: impascetic
Android
on 3 July 2020 - 11:17 #1165762 Reply to:1165657

พูดถึงเฉพาะในบทความนี้นะครับ

เกริ่นมายาวและยืดเยื้อแบบไม่จำเป็นครับ ผมอ่านแล้วต้องการจะรู้รายละเอียดของตัวแอพ เปิดขึ้นมาควรจะบอกเลยครับว่าแอพนี้ช่วยอะไรผมได้บ้าง ไม่จำเป็นต้องมาเกริ่นต้นเรื่องยืดยาวครับ แล้วเอาข้อมูลที่วิเคราะห์คน Gen Y มาให้คน Gen Y อ่านมันยิ่งรู้สึกลบอ่ะครับ คือผมรู้ตัวเองดีว่านิสัยผมเป็นยังไง อ่านแล้วรู้สึกว่าเค้าวิเคราะห์ความเป็น Gen Y เอาเอง พาลให้คิดลบกับแอพไปก่อนเลยว่าไม่ได้ตรงความต้องการของเราจริงๆ

คือเนื้อหามันครบครับ แต่มันมีเนื้อหาที่ไม่จำเป็นก็เยอะ แถมยังอยู่ส่วนแรกของบทความอีก คนยุคนี้แค่โฆษณา Youtube 5 วิก็รอไม่ได้แล้วครับ

By: IDCET
Contributor
on 3 July 2020 - 12:31 #1165769 Reply to:1165657

ผมมองว่า Gen Y เน้นแอพที่เร็ว ใช้งานง่าย และสนุกกับการใช้งานมากกว่า ไม่ต้องการอะไรมากเลย

ส่วนผม ขอแค่บริการหลักๆ ใช้งานง่าย ไม่ต้องเยอะ ขอแค่ที่จำเป็นหรือสามารถ Customize ตามใจได้ เหลือแค่ที่ใช้จำเป็น ความสนุกไม่ต้องมีก็ได้ มี Support ที่ดี แค่นี้พอครับ


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: hail_to_the_thief
iPhone
on 2 July 2020 - 18:36 #1165680 Reply to:1165522

+1 project manager คงเป็น boomer เลยไม่เข้าใจว่าการตั้งชื่อแอปก็สำคัญแค่เปลี่ยนเป็น "kept by krungsri เพื่อประชาธิปไตย" เดี๋ยวคนรุ่นใหม่ก็แห่มาสมัครกันเองแล้ว

By: powerpat
iPhone Android
on 4 July 2020 - 01:59 #1165883 Reply to:1165522
powerpat's picture

ถ้ารู้จักคนระดับบนๆของBAY
จะเข้าใจ ทำไมบทความแบบนี้ถึงออกมาได้
ผมไม่แปลกใจเลย

By: erkDaZe
Android
on 2 July 2020 - 14:05 #1165546

.

By: zipper
Contributor Android
on 2 July 2020 - 08:48 #1165556

กรุงศรีมี ออมทรัพย์มีแต่ได้ ที่ได้ดอกเบี้ยเยอะสุด แต่อันนี้ดูดอกเบี้ยเยอะกว่าหรือเปล่า

By: amba5555
Android Windows
on 2 July 2020 - 09:44 #1165579
amba5555's picture

ก็น่าสนใจดีนะครับ น่าจะเหมาะกับคนที่บังคับตัวเองให้ออมเงินได้ยาก
เช่นตัวอย่างของ TMRW เราก็ต้องมานั่งกดโอนเงินเข้าบัญชีฝากเอาดอกเบี้ยแทนแต่อันนี้มีฟีเจอร์หลายอย่างที่จะแอบออมให้เราอัตโนมัติเลย
แต่บทความก้เขียนได้ยาว และซ้ำซ้อนจริง ๆ แหละ ฮ่า ๆ

By: ck4u
iPhone Windows Phone Blackberry Symbian
on 2 July 2020 - 10:32 #1165593

ได้เงินค่าแนะนำมา 550 + starbucks 100

By: Be1con
Contributor Windows Phone WindowsIn Love
on 2 July 2020 - 11:54 #1165615
Be1con's picture

จริง ๆ มันเป็นแนวทางการเก็บเงินแบบหนึ่งนะที่เสริมเรื่อง automate เข้าไปในแอปและระบบหลังบ้าน

ส่วนตัวคิดว่าเป็น gimmick ที่ดี มี incentive ที่ใช้ได้ แต่ถ้าไม่ได้ซีเรียสส่วนนั้นมากก็ทำเองได้ครับ

ส่วนตัวก็ทำอยู่ เก็บเงินเป็น 5 บัญชีแยกกัน ตามระดับการใช้งาน (มีบัญชีหลักที่ผูกกับบัตรเดบิต, บัญชีจ่ายบัตรเครดิต, บัญชีทุนสำรอง, บัญชีทุนสำหรับเป้าหมาย และบัญชีการเงินระยะยาวที่ผมไม่ได้ถือเอง)

ประเด็นคือ แต่ละคนมีเทคนิคการออมที่ไม่เหมือนกัน พอเป็นระบบแบบนี้มันเลยความยืดหยุ่นต่ำกว่ามาก


Coder | Designer | Thinker | Blogger

By: Nolim
Android Windows
on 2 July 2020 - 13:22 #1165628

น่าสนใจตรง ดอกเบี้ย 1.6-1.8% นี่ละครับ โดยเฉพาะหลังจากที่ ME by TMB ลดดอกเหลือ 1.3% ไปละ

By: WattZ
Android Red Hat Symbian Windows
on 2 July 2020 - 13:35 #1165633
WattZ's picture

มีความซับซ้อน หลายขั้นตอน

By: atmas
Contributor In Love
on 2 July 2020 - 13:54 #1165639
atmas's picture

เลือกโทนสีเหมือนกระตุ้นให้เกิดการจ่ายมากกว่าเก็บ 555


[S]

By: impascetic
Android
on 2 July 2020 - 14:13 #1165644 Reply to:1165639

คิดเหมือนกันครับ โทนสี aggressive สไตล์เว็บช้อปปิ้งออนไลน์มากเลย

By: zerocool
Contributor iPhone Android
on 2 July 2020 - 16:00 #1165656 Reply to:1165639
zerocool's picture

เป็นความคิดเห็นที่น่าสนใจมากครับ ผมไม่เคยนึกถึงประเด็นนี้มาก่อนเลย


That is the way things are.

By: DogInCar on 3 July 2020 - 13:19 #1165774 Reply to:1165639
DogInCar's picture

คิดเหมือนกันเลยครับ 555

By: darkmaster
iPhone Windows Phone Android Windows
on 2 July 2020 - 22:59 #1165709
darkmaster's picture

ความยุ่งยากแปลก ๆ ที่ไม่นึกว่าจะเจอกับ App ในยุคนี้
1. Register require cellular ใช้ WiFi ไม่ได้
2. ยอมปิด WiFi แล้วก็จะเจอว่าสมัครใช้งานได้แค่ 6.00-22.00

By: xanthics on 3 July 2020 - 20:23 #1165847 Reply to:1165709

เกืน 2 ทุ่ม สมัครไม่ได้ แบบ..อิหยังวะ มากๆ

By: ZodiacJB on 2 July 2020 - 23:37 #1165711

ก็คือ ตอนนี้ยังไม่รอบรับ NDID จะเปิดบัญชีต้องไปยืนยังตัวที่ตู้ i-CONFIRM

By: ZodiacJB on 3 July 2020 - 07:11 #1165731 Reply to:1165711

เพิ่มเติมครับ แอปรองรับ NDID แล้ว

By: rackmanager
iPhone Android
on 3 July 2020 - 08:11 #1165734
rackmanager's picture

ได้ลองใช้ดูแล้วถือว่าประสบการณ์การสร้างบัญชีใหม่ดีเอามากๆ และ สะดวกสุดๆสำหรับคนที่มีแอพธนาคารอื่นๆที่ทำ NDID ได้น่ะครับ แนะนำของ K+ ใช้ระบบ NDID เป็นตัวยืนยันตัวเองได้จริงน่ะครับ ...(แปลกมากตอนแรกของ กรุงศรีปรากฏว่าไม่สามารถทำได้..) ไม่เป็นไร และ มันยังมีให้บัตรด้วยนะถ้าหากว่ากรอกรหัสอ้างอิงโค้ดจากเพื่อน ถ้าหากว่าไม่มีก็เอาของผมไปได้น่ะครับ VK0014

By: jwattana on 3 July 2020 - 13:10 #1165771

โหลดง่าย ลงทะเบียนไม่ยุ่งยากนัก เป็นแนวธนาคารดิจิตอล ที่ทำรูปแบบแอปออกมาได้น่าสนใจ ช่วงนี้เปิดใหม่โปรโมชั่นดี สมัครด้วย Code WJ0035จะได้เงินเข้าบัญชี 50 บาท ฟรีๆ สบายไปเลย ดอกเบี้ยบัญชี Grow ปีแรก 1.6% ปีที่สอง 1.8% น่าจูงใจดีครับ

By: Elysium
Contributor Windows Phone Symbian Windows
on 3 July 2020 - 20:33 #1165850 Reply to:1165771
By: Azymik on 3 July 2020 - 22:19 #1165871 Reply to:1165771

แฮม๋แซวๆนะครับ

By: carrot on 3 July 2020 - 22:21 #1165872

แหม่... ม้าหลายตัวอยู่แฮะ ฮี้กั๊บๆ

By: hisoft
Contributor Windows Phone Windows
on 31 July 2020 - 14:33 #1165927
hisoft's picture

แอปก็น่าสนใจนะครับ แต่งง งงมาก ?ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดนะ (แบบลืมข้อมูลในบทความไปแล้ว อ่านก่อนหน้านี้นาน นี่เพิ่งลอง)

จริงๆ คือแยกเป็นสามบัญชี เป็น saving, grow, fun
บัญชีหลักคือ saving ไว้จ่าย โอนเข้า โอนออก
ตั้งค่าไว้ว่าจะเก็บใน saving เท่าไหร่ ส่วนเกินจากยอดที่ตั้งไว้ "ถ้า" มากกว่า 5,000 บาทจะโดนโยนใส่ grow ที่ดอกสูง (1.6-1.8%) ตอนจบวัน หรือถ้าเงินในบัญชีหลักต่ำกว่าที่ตั้งไว้เลือกให้มันเอาเงินตรงนี้ออกไปเติมให้ได้ด้วย (แต่ก็คงไม่เปิด ไม่งั้นเงินเก็บก็ไหล)
ส่วน fun คือให้ตั้งว่า เวลาใช้ saving โอนออกหรือจ่าย จะแอบเก็บครั้งละกี่บาท หรือกี่ % ของยอดจ่ายอะไรงี้ ซึ่ง... คุ้มเหรอ แต่ก็อืมม คงเหมาะกับพวกไม่วางแผนการเงินให้มีได้เก็บไว้บ้างมั้ง แต่คือดอกแค่ 1% (ถ้าใช้เกินสิบครั้ง ถ้าไม่ถึงคือได้ 0.1% ต่ำติดดิน)
และยังคงไม่รู้ว่าบัญชีหลักดอกเบี้ยเท่าไหร่ครับ - -"

ไหนๆ ก็ไหนๆ ผมแปะโค้ดบ้างละกันครับ (ได้ครบแล้วครับ หาโค้ดอื่นเนอะ แบ่งกัน)

มีปัญหากับระบบ NDID ที่สมัครหลังจากกดสมัคร Kept ไปแล้วจน call center บอกว่าให้ลบแอปลงใหม่ (แต่ผมก็กดเข้าไปล้างข้อมูลเฉยๆ น่ะนะ) แต่ตอนท้ายพนักงานที่บอกว่าทางเค้าไม่ได้อะไรก็ให้โค้ดเค้ามาให้ผมสมัครนะ - -" (ซึ่งเค้าอาจจะไม่ได้อะไรจริงๆ ถ้าเค้าได้คนไปครบสิบแล้ว แค่บอกเพื่อให้เราได้ยอดห้าสิบบาทเฉยๆ)

ผลจากลองเล่นหนึ่งวัน

ลองจริงจังแล้วพบว่าใช้งานแบบกำหนดตามใจได้ยากกว่ามาก น่าจะเหมาะในการใช้เป็นแอปหลักกับคนที่ไม่วางแผนการเงินเลยหรือเก็บเงินด้วยตัวเองไม่ได้เลย ระบบเก็บเงินเป็น slip ในกระปุก grow ก็เข้าใจง่ายดี (เพื่อ track ว่ายอดไหนฝากไว้นานแค่ไหน ยอดไหนได้ดอกเบี้ยอัตราเท่าไหร่ คล้ายๆ ยอดเงินฝากประจำ) แต่การจะควบคุมว่าจะเอาเงินฝากเข้าไปเท่าไหร่เหมือนจะเป็นไปไม่ได้ทางที่น่าจะเป็นไปได้สำหรับผมที่ต้องการควบคุมเองว่าจะเก็บเงินเท่าไหร่คือปรับเลยว่าจะเอาเงินไว้ในบัญชีหลักแค่ 0 บาทแล้วใช้แอปอื่นเป็นแอปหลัก อยากเอาใส่ grow เมื่อไหร่ค่อยโอนจากธนาคารอื่นเข้ามา

ป.ล. แล้วการที่ระบบโอนเงินเข้าหลังเที่ยงคืนอีกวันนึงนี่ทำให้เราเสียอัตราดอกเบี้ยไปวันนึงมั้ยครับ? ?

By: ween
iPhone Windows Phone Android Blackberry
on 4 July 2020 - 23:35 #1165967
ween's picture

ได้ลองใช้แล้ว มันก็โอเคนะ ตอนแรกไปอ่านเจอจากเพจหนึ่งใน FB อ่านตอนแรกก็งงๆนะ แต่บทความนี้อธิบายเคลียร์กว่า

รู้สึกงงๆขั้นตอนเดียวคือตอนยืนยัน NDID นี่แหละ -*- ดูงงๆแต่ไปจบลงที่ K+

แล้วผมก็คิดว่าคนน่าจะสนใจนะ จากเพจทีาเล่นประจำคุยกันเรื่อง Kept เอารหัสบอกต่อไปทิ้งๆกันไว้ ผมยังได้เงินโบนัสมาตั้ง 150 บาทในเวลา 2-3 นี้เลย

By: ck4u
iPhone Windows Phone Blackberry Symbian
on 5 July 2020 - 01:53 #1165977 Reply to:1165967

เพจ TCS หรือเปล่าครับ ผมได้เงินมา 550 บวกกับสตาร์บัคส์ 100

By: jwattana on 7 July 2020 - 22:24 #1166149

ถ้าใครพบปัญหากับ NDID นะครับ ยืนยันตนผ่านระบบโดยอัตโนมัติไม่ได้ ก็ให้ไปที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาได้ทุกสาขา ไม่ยุ่งยาก แค่เลือกยืนยันเป็นแบบ I-confirm แทนการยืนยันดิจิตอล ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ธนาคาร แล้วแจ้งว่ามายืนยันตน app Kept I-confirm เจ้าหน้าที่ที่โต๊ะจะมีเครื่อง I-confirm ของกรุงศรี ใช้ใส่ข้อมูล เอางบัตรประชาชนตัวจริง และโทรศัพท์มือถือที่มี app KEPT ไปด้วย แป๊บเดียวผ่าน ใส่ข้อมูลที่อยู่ต่อได้เลย ลงทะเบียนเสร็จ ใส่ รหัส SM0084 รับเงิน 50 บาทได้เลย

By: mukky_it on 2 August 2020 - 23:28 #1169713

เดือนที่ 25+ ได้ดอกเท่าไร ใช่ตามธนาคารกำหนดหรือเปล่า