คณะกรรมการยุโรป European Commission (เปรียบได้กับรัฐบาลของสหภาพยุโรป) เปิดเผยสัญญาซื้อวัคซีนที่เซ็นกับ AstraZeneca ต่อสาธารณะ หลัง มีปัญหา AstraZeneca ผลิตวัคซีนได้ไม่ทันตามที่เซ็นสัญญาเอาไว้ พร้อมทั้งอนุมัติวัคซีนของ AstraZeneca ให้ใช้งานได้ในยุโรปแล้ว
Ursula von der Leyen ประธานคณะกรรมการยุโรป ระบุว่าต้องการสร้างความโปร่งใสในเรื่องการจัดซื้อวัคซีน จึงเปิดเผยสัญญาต่อสาธารณะโดยได้รับความยินยอมจาก AstraZeneca เรียบร้อยแล้ว และตั้งเป้าจะเปิดเผยสัญญาจัดซื้อวัคซีนทุกฉบับในอนาคตอันใกล้นี้ (ก่อนหน้านี้เปิดเผยสัญญาของ CureVac ไปแล้วหนึ่งราย) อย่างไรก็ตาม สัญญาเวอร์ชันที่เปิดเผยมีการปิดทับข้อมูลบางอย่าง (redacted contract) ด้วยการคาดดำทับข้อความ
สัญญาระหว่าง EU กับ AstraZeneca เซ็นเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2020 ใจความสำคัญคือชาติสมาชิก EU ต้องสามารถซื้อวัคซีนจำนวน 300 ล้านโดส และสามารถซื้อเพิ่มได้อีก 100 ล้านโดสในอนาคต ในสัญญายังอนุญาตให้ชาติสมาชิกสามารถบริจาควัคซีนไปยังประเทศรายได้น้อยได้ด้วย
ใครสนใจอ่านสัญญา ดูได้จาก หน้าเว็บของ European Commission
ตัวอย่างหน้าแรกของสัญญา
Transparency is important to help build the trust of European citizens on the safety of the vaccines purchased at EU level.Following our renewed requests, pharmaceutical company AstraZeneca has agreed to publish the redacted contract signed with us on 27 August 2020.
— European Commission ?? (@EU_Commission) January 29, 2021
BBC อ้างแหล่งข่าวใน EU ว่าน่าจะได้วัคซีนแค่ประมาณ 25 ล้านโดสในเดือนมีนาคม หรือราว 1/4 ของสัญญาที่เซ็นไว้ จากปัญหาโรงงานผลิตของ AstraZeneca ในเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม
EU ยังแจ้งให้ AstraZeneca ส่งวัคซีนที่ผลิตในอังกฤษมายังยุโรปภาคพื้นทวีปด้วย แต่ AstraZeneca ก็ติดขัดเรื่องสัญญาที่เซ็นกับโรงงานในอังกฤษ ทำให้ไม่สามารถส่งวัคซีนไปยุโรปได้ (ซึ่งแหล่งข่าวใน EU ยืนยันว่าต้องทำได้ ตามที่ระบุไว้ในสัญญากับ EU)
หลังทาง EU โดนวิจารณ์อย่างหนักในเรื่องความคืบหน้าของการจัดหาวัคซีน ทำให้ต้องออกมาเปิดเผยสัญญาเพื่อลดแรงกดดัน
Constructive talks with Prime Minister @BorisJohnson tonight. We agreed on the principle that there should not be restrictions on the export of vaccines by companies where they are fulfilling contractual responsibilities.
— Ursula von der Leyen (@vonderleyen) January 29, 2021
ที่มา - BBC
Comments
ตบหน้ารัฐมนตรีบางคนในบางประเทศไปหนึ่งที
สงครามแย่งวัคซีนโควิด ต้องมีไปไม่น้อยกว่า 2 ปี
ดังนั้นการที่ สยามไบโอไซเอนซ์ ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี มันย่อมเป็นสิ่งที่ส่งผลดีต่อประเทศไทยและภูมิภาคของเรา
อย่าลืมไวรัสโควิด มันเปลี่ยนสายพันธุ์ไปเรื่อยๆ
การเรียนรู้เทคโนโลยี่ ย่อมสำคัญกว่าการเอาสูตรต้นตำหรับมาผลิตๆ แล้วส่งเจ้าของ เพราะซักวันหนึ่งสูตรนั้นมันก็จะใช้ไม่ได้กับสายพันธุ์โควิดในอนาคต
เท่าที่ตามอ่านวัคซีนที่ออกมาจากสยามไบโอจะแปะยี่ห้อ Astra นะครับคนละเคสกับทางอินเดียที่ได้แปะยี่ห้อ Covishield ของตัวเอง 200 ล้านโดสที่ผลิตออกมาเห็นว่าจะเป็นของไทย 26 ล้านโดส พยายามอ่านข่าวจากหลายที่แต่เหมือนว่าวัคซีนที่ออกมาจากโรงงานนี้เป็นของ AstraZeneca ดังนั้นเป็นสิทธิ์ของเค้าว่าจะขายให้ใครบ้างหน้าที่เราคือเป็นแค่ผู้ถูกจ้างให้ผลิต
แต่ข้อดีก็คือได้สัดส่วนเยอะกว่าที่อื่นครับ
ทำไมต้องบริษัทนี้ บริษัทอื่นมีความพร้อมทำไม่ให้ แถมทำไมต้องบริษัทเดียว ที่ไม่เคยทำวัคซีนสำเร็จ ขาดทุนย่อยยับ
เอกชนก็สามารถยื่นได้นะ ทั้งๆที่เขาบอกไม่คิดจะผูกขาด แต่เหมือนว่าจะครบ 1 เดือน หรือผ่านมา 3-4 เดือนนับตั้งแต่วัคซีนถูกเริ่มฉีด ทำไมไม่เห็นมีเอกชนเจ้าไหนขอเลยเหตุผลก็คงเป็นอาจมีการกีดกันบางอย่าง หรือยื่นแล้ว แต่ยังไม่อนุมัติเพราะต้องรอของจีนเข้ามาก่อน และรอของบริษัทนั้นทำให้สำเร็จก่อน
ว่าง่ายๆคือเอาคนไทยเป็นตัวประกันนั้นเอง
ต้องมีของมาสำแดงครับ
แล้วมันเกี่ยวอะไรกับเรื่องเปิดเผยหรือไม่เปิดเผยสัญญานะครับ
ไวรัสอยู่นานเกินสองปีแน่นอน และยิ่งเป็นเหตุผลให้เทคโนโลยีควรตกเป็นของรัฐ หรือหน่วยงานที่รัฐมีหุ้นส่วน ไม่ใช่ตกเป็นของเอกชนอย่างที่เป็นในปัจจุบัน นี้กลายเป็นว่ารัฐบาลไปดีลให้สยามไบโอได้เบ็ดตกปลา แต่รัฐบาลได้แค่ปลา ถ้าจะบอกว่าไม่มีหน่วยงานรัฐไหนพร้อม ก็ต้องทำให้มันพร้อม แม้ว่าจะต้องลงทุนหนักกว่าหลายเท่า ใช้เวลานานกว่าหลายเท่า แต่ถ้าประโยคที่ว่า "เราต้องอยู่กับไวรัสไปอีกนาน" เป็นความจริง ยังไงก็ใช้คุ้มแน่นอน
นอกจากรับจ้างผลิต ไม่มีสิทธิ์ขายให้ใครได้ตามใจแล้ว หัวเชื้อก็ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศด้วย ไม่ได้ผลิตได้เองครบวงจรอย่างที่เข้าใจ และเทคโนโลยีการผลิตคนละเรื่องกะคิดค้นสูตรวัคซีนนะ เห็นคนเข้าใจผิดในส่วนนี้เยอะมากกก
คือเมืองไทยมีหลายเจ้าที่ผลิตวัคซีนได้ ส่วน SBS ผลิตไม่เป็นแต่ดันได้รับสิทธิ์ผูกขาดในทางพฤตินัยหมายความว่าเราไม่กลัวสงครามแย่งวัคซีน แต่กลัวสงครามแย่งความยอมรับนับถือ....
ผมว่ารัฐบาลนี้เขาต้องมองเหนือคุณไปอีกหลายระดับเลย และต้องมองไม่เหมือนคุณแน่ๆ เพราะถ้ากลัวสงครามแย่งวัคซีน 1. ถอนจาก COVAX ทำไม (แล้วโดนด่ามากๆ รีบกลับเข้าไป)
2. ทำไมไม่ให้ องค์กรเภสัชผลิต (แต่มานั่งสร้างโรงงานและถ่ายทอดเทคให้คนที่ไม่เคยผลิต)3. ทำไมไม่ซื้อที่อินเดียเสนอ (แต่ตอนนี้ตาลีตาเหลือกซื้อของอิตาลีกระจึ๋งเดียว)
4. ทำไมไม่ให้เอกชนนำเข้า (แต่รัฐบาลนำเข้าเหมือนกันทั้งจีนทั้งอิตาลี)
ที่สำคัญ SBS แค่รับผลิตให้เขา ไม่ได้ซื้อสิทธิ์ในสิทธิบัตรเสียหน่อย จะมาพัฒนาต่อยอดเองได้ยังไง
ทีมเชียร์ร้าบาลกับนายของร้าบาลชอบตั้งสมมุติฐานเริ่มต้นก็ผิดแล้วเป็นประจำ เช่นตั้งสมมุติฐานว่าSBSเป็นตัวแทนประเทศไทยไม่มีตัวเลือกอื่น ทั้งๆ ที่มีตัวเลือกอื่นๆ ที่ดี(ต่อทุกคนนอกจากกลุ่มคนเล็ก)กว่าเสียจนไม่รู้จะว่ายังไง
ขอบคุณครับ ตรงประเด็นเยอะเลย
ที่ผมรู้คือ
ทำไมต้อง SBS?ข่าวที่ได้คือ เขาเชื่อ SBS มากกว่า เภสัชฯ
ผมก็ไม่รู้ อยากชัวร์ต้องไปถาม Astra โดยตรง
และในทางการค้า การที่คู่ค้าจะเลือกใคร มันพิจารณากันหลายมุมมาก เขาอาจจะมองว่า เภสัชฯสังกัดรัฐโดยตรง การควบคุมการแจกจ่ายวัคซีนอาจโดนรัฐแทรกแซงได้ง่ายกว่า ก็เลยเลือก SBS
ถอนจาก COVAX?ประเทศเราไม่ใช่ประเทศยากจน ซื้อจาก COVAX จะได้ราคาแพงกว่าปกติ มันก็ไม่ควรซื้อแต่แรกล่ะ เพราะเราก็ไม่ด่วนขนาดนั้น
หรือคุณสนใจเศรษฐกิจประเทศนี้มากกว่าความตายของคนประเทศอื่น? จนต้องโกยวัคซีนเกินจำนวนประชากรแบบที่ EU ทำอยู่ตอนนี้
ขอแสดงความเห็นแค่ตรงนี้นะครับ
ที่บอกว่าไม่ด่วนนี่ ดูจากผลกระทบด้านสาธารณสุขหรือผลกระทบด้านเศรษฐกิจด้วยครับ? เพราะตอนนี้วัคซีนไม่ได้มีประโยชน์แค่ป้องกันโรคนะครับ แต่มันทำให้ไทยสามารถกลับมาทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้เต็มที่ รวมทั้งปลายทางคือเปิดประเทศให้ชาติอื่นเข้า ซึ่งสำคัญมากสำหรับประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยวแบบเรา
ถ้าถามผม ผมสนใจเศรษฐกิจของประเทศเรา เพราะเศรษฐกิจของประเทศคือความเป็นความตายของคนในประเทศ มากกว่าคนประเทศอื่นครับ และผมก็หวังว่าคนบริหารประเทศจะคิดแบบเดียวกันด้วยนะ
กระทรวงสาธารณสุขเป็นคนบอกเองว่า "เนื่องจากการมีวัคซีนใช้เร็วขึ้น 1 เดือน จะช่วยให้ประเทศสามารถสร้างรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประมาณ 250,000 ล้านบาท และยังสร้างผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจ รวมถึงความเชื่อมั่นของประชาชนไทยด้วย"จาก https://resolution.soc.go.th/PDF_UPLOAD/2563/P_401822_6.pdf
ผมว่าฟังหมอวรงค์ สนธิไรให้น้อยลงก็ดี ชอบจับแพะชนแกะแปะโควทกับรูปพาดหัวบิดเบือน
เช่นผู้บริหารแอสตราเลือกSBSเพราะไม่เอากำไรบลาๆ อันนั้นก็มั่วเขาไม่เคยพูดแบบนั้น
"เภสัชสังกัดรัฐบาลจะทำให้โดนรัฐบาลแทรกแซง" คือมันก็หน้าที่รัฐบาลแจกปะครับ จะมาแทรกแซงตัวเองยังไง ผมว่าคุณอ่านที่คุณพิมพ์หลายๆรอบแล้วประเมินดูว่าฟังตลกหรือเปล่า
ช่วยเช็คราคาที่เราซื้อจากSBS จากจีน กับจากอิตาลีนะครับว่าเราเน้นถูกจริงหรือเปล่าถ้าเราไม่ด่วนขนาดนั้น ช่วยไปบอกลุงตู่ด้วยว่านำเข้าจากอิตาลีแก้ขัดทำกะลาอะไรด้วยนะครับ
ผมสนใจชีวิตคนมากกว่าเศรษฐกิจแน่นอน แต่บางคนสนใจเศรษฐกิจ(ส่วนบุคคลของคนบางคน)มากกว่าสวัสดิภาพของประชาชนคนไทย
ด้วยความเคารพ ประเทศไหนๆก็สนใจเศรษฐกิจในประเทศตัวเองทั้งนั้นแหละครับ เพราะมันก็เท่ากับความเป็นความตายของคนในประเทศเช่นกัน ก่อนจะช่วยคนอื่นได้ตัวเราเองต้องพร้อมก่อน ถ้ารัฐบาลไม่ได้มีแนวคิดแบบนี้แล้วใครจะรักษาผลประโยชน์ให้ประเทศล่ะครับนี่ นี่ชีวิตจริงๆ นะครับ
1.ไทยยังไม่เข้าร่วม เพราะต้องลงเงินก่อน และยังไม่รู้จะได้ยาตัวไหน แต่ก็ยังไม่ปิดประตู
2. องค์การเภสัชไม่มีเทคโนโลยีที่จะผลิตของ AZ ได้ ในไทยมีแค่ SBS ที่เทคโนโลยีถึง
3.ผมไม่แน่ใจว่าเจอจากที่เดียวกันหรือเปล่า ที่สส.เป็นคนทวีต แต่อ่านหลายๆคอมเม้นแล้วเหมือนจะสื่อสารไม่เคลียร์
4.รัฐบาลไม่ได้ห้าม รพ.วิภาดีก็ประกาศยังนำเข้าได้อยู่ แต่ยังโฆษณาไม่ได้เพราะยังไม่ผ่านอย.
SBS เท่าที่ทราบมีการทำพวกชีววัตถุที่ไกล้เคียงกับการตัดต่อพันธุ์กรรมได้อยู่แล้ว
ส่วนสถาบันวัคซีนพึ่งสร้างโรงงานเสร็จเมื่อปี 63 เป็นเทคโนโลยีฟักไข่
ผมอยากแย้งกับ คุณ tfctaf ในหลายความเห็น
แต่เป็นที่รู้ๆ ว่า "สิทธิในการโพส" ทุกคนได้แค่ 4 สิทธิต่อวัน และ 20 สิทธิต่อเดือน
ดังนั้นต้องรอบคอบในการใช้เป็นอย่างยิ่ง
แต่เนื่องจากมีความเห็นผิดๆ ของ คุณ tfctafผมเลยขอใช้อีก 1 สิทธิ
ประการแรก AstraZeneca ใช้เทคโนโลยี่ตัดต่อพันธุกรรมในการสร้างวัคซีน ซึ่ง SBS เขาสร้างยาต้านมะเร็งที่ใช้เทคโนโลยีนี้อยู่แล้ว
ส่วนของ อย. เป็นเทคโนโลยีเลี้ยงในไข่ ซึ่งไม่ใช่ทางของ AstraZeneca
ประการที่ 2 AstraZeneca เขาไม่ได้จำกัดว่า 1 ประเทศ ต้องให้สิทธิผลิตรายเดียว
ยกตัวอย่าง ของญี่ปุ่นแอสตราเซเนกา เริ่มทำการทดลองวัคซีน AZD1222 ในญี่ปุ่นเมื่อฤดูร้อนที่แล้ว และจับมือกับ ไดอิจิ ซังเคียว(Daiichi Sankyo Co), เจซีอาร์ ฟาร์มาซูติคอลส์ และพันธมิตรท้องถิ่นอื่นๆ สำหรับผลิตและแจกจ่ายวัคซีน
ดังนั้น ถ้า อย. เข้าทางของ AstraZeneca มีเหรอ AstraZeneca จะละทิ้งโอกาสทองนี้ เพราะ ความต้องการวัคซีนของ AstraZeneca ยังมากกว่ากำลังการผลิตที่สามารถทำได้จริง อย่างต่ำ 10 เท่า
ทำไมเราต้องรอวัคซีนจากการผลิตของสยามไบโอไซเอนซ์ครับ ทำไมประเทศไทยไม่จัดซื้อเอามาฉีดไปก่อนเหมือนหลายๆประเทศส่วนเรื่องการวิจัยพัฒนานั้นค่อยทำต่อไปในอนาคต ประเทศที่เทคโนโลยี่สูงกว่าเราทั้งญี่ปุ่น เกาหลี อิสราเอล เค้าก็ซื้อก่อนทั้งนั้น
จัดซื้อครับ
Sinovac ก็จัดซื้อเหมือนกัน มาก่อน Astra ด้วย
COVAX ถ้าตามที่หมอแถลงคือเข้าร่วมแต่ต้องรอ
ข้อ 2 นี่ ข้อความอย่างกะ Forward Mail เลยครับ ต่อให้ใครจะเป็นคนโพสต์ก็ตามเถอะพอมี Ref ที่น่าเชื่อถือกว่านี้ไหมครับ
มี ref นี้อีกครับ ว่าทำไมต้องเป็นสยามไบโอไซเอนซ์
มาอัพเดตข้อสี่ให้ครับ สรุปคือมีหนังสือออกมาห้ามเอกชนไม่ให้ไปซื้อกับผู้ผลิตวัคซีนได้โดยตรง และยังห้ามองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซื้ออีกด้วย ตามลิ้งค์นี้ครับ https://prachatai.com/journal/2021/02/91591
เสริมให้ครับ ทั่วโลกก็ยังไม่ให้เอกชนจัดหาเพราะรัฐบาลต้องจัดลำดับความสำคัญก่อน https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/141798
ทำไมไม่ให้ องค์กรเภสัชผลิตอันนี้ เพจหมอๆ เค้าชี้แจงหลายรอบหละครับ เพจ grossip สาสุข ออกมาพูดว่าไทยมีเทคโนเรื่องไก่ฟักไข่ แต่ยังไม่มีเทคโนแบบ Astra ทำ เลยต้องโยนไปให้ SBS ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ใกล้เคียงกัน
ทำไมไม่ให้เอกชนนำเข้า (แต่รัฐบาลนำเข้าเหมือนกันทั้งจีนทั้งอิตาลี)เค้าให้นำเข้านะครับ แต่อย ต้องให้มีของมาสำแดงก่อน
แล้วคุณรู้ได้อย่างไรครับว่า ใน contract เขาจะไม่ระบุต่อไปว่า เทคโนโลยีที่ได้รับมาจะไม่ถูกบังคับให้ใช้ได้ผลิตได้ให้เฉพาะ AZ เท่านั้น หรือภายในใต้การอนุมัติของ AZ เท่านั้น หรือแม้แต่ห้ามผลิตมาเพื่อแข่งกับ AZ ในอนาคต?
ตราบใดที่ contract ไม่ถูกเปิดเผยออกมาเพื่อความโปร่งใสและยืนยัน ... สิ่งที่คุณพูดมาทั้งหมดก็ไม่ต่างกับอะไรกับแค่ "จินตนาการเพ้อฝัน" ครับ
ที่สำคัญ manufacturing ตัว vaccine != R&D ตัว vaccine นะครับ มันคนละเรื่อง
ผมว่า.. คุณไม่เข้าใจเลยด้วยซ้ำว่าการรับจ้างผลิตมันก็คือรับจ้างผลิต เค้าไม่ได้มาจดทะเบียนเปิดบริษัทในไทยสักหน่อย
ต้องท้าวความก่อนว่า EU กดดัน AZ อย่างหนักให้ส่งวัคซีนให้ทันกำหนด ไม่งั้นจะใช้มาตรการทางกฏหมาย (เช่นห้ามส่งวัคซีนออกจากอาณาเขต EU) CEO ของ AZ เลยบอกว่า ในสัญญาไม่จำเป็นต้องส่งให้ทันเดดไลน์ ขอแค่ส่งให้เร็วสุดความสามารถก็พอ EU ก็เลยฟาดกลับว่าเปิดเผยสัญญาเลยสิ
เพื่อความโปร่งใสที่พาดหัวมันคือ?
EU ยิงนกสองตัว ได้ภาพลักษณ์เรื่องความโปร่งใสด้วย ได้กดดัน AstraZenaca ด้วย ไทยน่าจะทำตามบ้าง
ผมไม่ได้พาดหัวเองนะครับ อุตส่าห์เอาทวีตของ EU มาแปะให้เห็นกันชัดๆ คำแรกเลยครับ
เห็นเถียงกันจะเป็นจะตายเรื่อง SBS เท่าที่สรุปได้คือ SBS ได้สิทธิผลิตให้ AZ รัฐบาลจ่ายเงินซื้อวัคซีนกับ AZ และจ่ายเงินปรับปรุงโรงงานให้ SBS และ SBS จะคืนค่าปรับปรุงโรงงานให้รัฐบาลเป็นวัคซีน ส่วนวัคซีนที่รัฐบาลซื้อกับ AZ เป็นอีกก้อน ซึ่งก็อาจจะมาจากโรงงาน SBS ในไทยก็ได้ หรือถ้าผลิตไม่ได้ซักที AZ อาจต้องส่งของจากตปท.มาให้เราสรุป ก็ไม่เห็นจะมีใครทำอะไรโดยไม่หวังผลกำไรอย่างที่เคลมนักเคลมหนาเลยนี่นา SBS ก็เงินมาของไป ไม่ได้ทำให้ฟรี ๆ AZ ก็เงินมาของไป แถมหน้าเลือดเอาของที่ผลิตใน EU ไปขายนอก EU อีก ส่วน EU ที่พอถึงตาจนวัคซีนไม่พอก็ดันทำตัวไม่ดีออกมา จะไปแย่งวัคซีน UK อีก ?
แถมเท่าที่เห็นคือ SBS ขาดทุนสุทธิมาตลอด เลยอารมณ์เหมือนรัฐบาลลงทุนให้และหาลูกค้าให้ SBS (ซึ่งเป็นเอกชน) เลยครับ
SBS มีลูกค้าอยู่เยอะมากครับ พวกยามะเร็ง ยาเม็ดเลือดขาว ล่าสุดก็ชุดตรวจโควิดแต่ขายยา% กำไรมันน้อยครับเพราะต้องขายตัดราคาเอกชน
ถ้าตามเพจหมอๆ เช่น grossip สาสุข จะออกมาพูดประมารว่าเป็นบริษัทที่รับงานต่อจากการวิจัยของมหาลัยอยู่แล้ว คือ พออาจารย์หมอเค้าวิจัยอะไรได้และต้องการดันสู่อุตสาหกรรม ก็ส่งให้ SBS ส่งให้บริษัทเมอริต้า(อันนี้ก็ร่วมทุนกับสถาบันวัคซีน และ สำนักทรัพย์ฯ) พวกหมอๆ เค้าถึงกัน
น้ำยาตรวจโควิด SBS ก็กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์คิด Siambio เป็นผู้ผลิต
อ่าา ขอบคุณสำหรับข้อมูลมากครับ
“พวกหมอๆ เค้าถึงกัน” ไม่น่าละครับถึงได้รู้ว่ารัฐบาลจะซื้อเจ้าไหน เกิดไปดีลพลาดรับผลิตของเจ้าอื่นอย่าง moderna, Johnson & Johnson, pfizer etc.แล้วรัฐไปซื้อของ AZ ขึ้นมา หรือไปดีลได้ AZ แต่รัฐจองซื้อPfizer,moderna etc. ขึ้นมาคงแย่น่าดูเลยนะครับ ?
จะไม่รู้ได้ไงอ่ะครับ ก็รัฐบาลจะดีลซื้อยาเจ้าไหนเขาก็ขอคำปรึกษาหมอๆตลอด จะออกนโยบายอะไรก็ถามหมอๆตลอด การรับมือโควิดของไทยเลยเน้นรักษาชีวิตคนมากกว่าเศรษฐกิจก็เพราะให้น้ำหนักกับคำแนะนำของหมอๆนี่แหละครับ
แม้ว่าราคายาของบริษัทจะถูกกว่ายานำเข้า 2-3 เท่า ช่วยให้ผู้ป่วยที่มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงยาได้มากขึ้น รวมถึงยาของบริษัทจะไปอยู่ในบัญชียาของ สปสช.และสำนักงานประกันสังคมแล้ว แต่การทำตลาดยังต้องเข้าไปสร้างความเข้าใจและการยอมรับกับแพทย์ของแต่ละโรงพยาบาลอย่างมาก อุปสรรคสำคัญมาจากเรื่องของความไม่มั่นใจในประสิทธิภาพของยา เพราะคนส่วนใหญ่ยังเชื่อมั่นในยานำเข้าจากต่างประเทศมากกว่า
Ref https://www.prachachat.net/general/news-598681
คนป่วยในไทยได้ใช้ยาถูกกว่า ตปท. 2-3 เท่า เป็นสาเหตุที่ทำให้ SBS ขาดทุน
แต่ SBS จะลดการขาดทุนลงได้มาก ถ้าแพทย์ไทยลดการจ่ายยาที่ซื้อจาก ตปท. (ที่มีราคาแพงกว่า 2-3 เท่า)
แต่เรื่องนี้คงยาก เพราะรู้ๆ อยู่ บริษัทยา ตปท. ก็ได้ให้คอมมิชชั่นแพทย์ที่จ่ายยาเขาด้วย
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ จะลองไปศึกษาต่อดูครับ
ไม่ได้สนใจเรื่อง SBS กำไร หรือขาดทุนนะครับมันเรื่องของเอกชน แต่ยาที่แพทย์เลือกใช้บางครั้งที่เลือกยาแพง(original) มากกว่ายาถูก(generic) มันมีเหตุผลของมันครับ เช่นว่า non-API ที่ต่างกัน หรือกระบวนการผลิตที่ต่างกันทำให้มี by product เป็นสารก่อมะเร็งที่วุ่นวายกันไปพักหนึ่งเมื่อหลายปีก่อน
อ่านแล้วเหมือนเมืองไทยมีบริษัทยาอยู่บริษํทเดียวเลยครับ