BBC สัมภาษณ์ยูทูเบอร์ดังๆ บางราย พบว่าคนที่ดังมากๆ แล้วบน YouTube เริ่มเปิดแพลตฟอร์มวิดีโอของตนเอง ทำเงินจากแฟนคลับโดยตรงไม่ว่าจะเป็นวิธีการระดมทุนหรือจ่ายค่าบริการรายเดือน ด้วยเหตุผลหลายอย่างคือ YouTube ยังเต็มไปด้วย Hate Speech, อัลกอริทึมการแนะนำวิดีโอบนฟีด และยังมีปัญหาระหว่างครีเอเตอร์กับ YouTube บ่อยครั้งเรื่องรายได้โฆษณา
ภาพจาก Floatplane
Linus Sebastian คือหนึ่งในยูทูเบอร์ชาวแคนาดาที่ดังจากเนื้อหา IT ปัจจุบันมีคนติดตามช่องของเขากว่า 13 ล้านราย เปิดตัวแพลตฟอร์มของตัวเองในชื่อว่า Floatplane ในมุมของเขาคือไม่ได้ก่อตั้งมาเพื่อให้เป็นศัตรูกับ YouTube แต่สร้างขึ้นเพื่อให้แฟนตัวจริงจ่ายเงินให้ครีเอเตอร์ที่ตัวเองชอบโดยตรง ซึ่งตอนนี้ยอดผู้ใช้งานก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้ก่อตั้งมีความตั้งใจจะให้โตขึ้นช้าๆ และไม่ลงทุนมากเกินไป
ช่อง Corridor ทำเนื้อหาเกี่ยวกับเทคนิคทำหนังทั้งงานวิชวลเอฟเฟกต์ งานสตั๊นแมน เป็นต้น ก่อตั้งโดย Sam Gorski และ Niko Pueringer มีคนติดตามช่อง 8.77 ล้านราย ก่อตั้งอีกแพลตฟอร์มแยกออกมาคือ Corridor Digital ใช้วิธีเก็บค่าดูรายเดือน 4 ดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ตัวผู้ก่อตั้งยอมรับว่า รายได้จะไม่มากเท่าที่ทำได้บน YouTube แต่การทำแพลตฟอร์มของตัวเองคือสิ่งที่ควบคุมได้มากกว่า
ภาพจาก Corridor Digital
Nebula คืออีกแพลตฟอร์มวิดีโอที่เริ่มติดตลาด เป็นแหล่งรวมครีเอเตอร์ เสนอเครื่องมือดิจิทัลให้ครีเอเตอร์ทำเนื้อหารูปแบบออริจินัลคอนเทนต์ และเก็บค่าบริการรายเดือน 5 ดอลลาร์ ทางบริษัทบอกว่าจนถึงตอนนี้มีสมาชิกใช้งาน 2 แสนรายแล้ว แพลตฟอร์มก่อตั้งโดย Dave Wiskus เขาบอกว่าการเริ่มต้นธุรกิจบน YouTube เหมือนกับการเปิดร้านใหม่ในศูนย์การค้า แต่ไม่มีทางรู้ได้เลยว่า วันไหนที่ทางศูนย์การค้าจะย้ายร้านค้าของเราไปในที่ที่ไม่มีคนเดินหรือเปล่า
ภาพจาก Nebula
Jordan Harrod นักศึกษาแพทย์หนึ่งในครีเอเตอร์ของ Nebula บอกว่า เธอทำเนื้อหาเกี่ยวกับจรรยาบรรณ AI และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ซึ่งดูไม่ใช่เนื้อหาที่เข้ากันได้กับ YouTube เธอประเมินว่ารายได้จจาก Nebula นั้นใกล้เคียงกันกับสิ่งที่เธอได้รับจากโปรแกรม AdSense ของ Google
อย่างไรก็ตาม ความพยายามในการพัฒนาแพลตฟอร์มทางเลือกนอกจาก YouTube มีมานานแล้ว และเป็นหนทางที่ไม่ง่าย ในปี 2016 มีอีกแพลตฟอร์มเกิดขึ้นคือ Fullscreen รวมเนื้อหาจากยูทูเบอร์ดังสายตลกอย่าง Jack Howard และ Dean Dobbs แต่ก็ปิดตัวลงไปในปี 2017 และยังมีแพลตฟอร์ม Vessel ที่ปิดตัวลงในสองปี นอกจากนี้ผู้ลงโฆษณา ก็ยังชอบการลงโฆษณาในพื้นที่ที่มีคนเห็นเยอะมากกว่า
ที่มา - BBC
Comments
ปัญหาน่าจะเป็นต้นทุนการบริหาร platform
YouTube ทำได้ด้วย economy of scaleแต่ทำเองมันก็ได้เต็มๆ + การเข้าถึง content ง่ายกว่า ไม่ต้องมานั่งกังวลว่าวันดีคืนดี YT เกิดไม่แนะนำ clip เกิด shadow ban แบบที่ youtuber หลายคนเจอ
แต่ก็ต้องดูต่อว่าจะยืนระยะได้ขนาดไหน
เอาจริง ๆ Floatplane ตั้งขึ้นมาหลังจาก Vessel เจ๊งเนี่ยแหละ... เริ่มต้นตอนแรกตั้งบนฟอรัมของ Linus Tech Tips แล้วแยกออกมาเป็นอีกบริษัท แล้วแยกเป็นอีกเว็บเลย
Coder | Designer | Thinker | Blogger
พวก Youtuber สายอ.นักดนตรี หลาย ๆ คนที่ผมตามสร้างเว็บของตัวเอง เข้าใจว่าแพลตฟอร์มพวกนี้อาจจะมีความสามารถไม่พอก็เลยสร้างเอง
อย่างช่องที่ผมตามอยู่ก็มี drumeo (drumeo), pianote (pianote), Tim Pierce ( Time Pierce Masterclass ), Tomo Fujita ( Guitar Wisdom )
ส่วนบางช่องก็ไปลงกับ Nebula พวกนี้ไม่เน้นสอนแต่จะใกล้เคียงกับสารคดีมากกว่า (เช่น Adam Neely, Nahre Sol)
ชอบช่องของโทโมะมากๆ และคิดว่าตัวเองไม่น่าไปรู้ลึกเรื่องแบ็คกราวนด์เค้ามากขนาดนี้เลย
เอาเฉพาะเรื่องดนตรี แกสอนดีมากเลยนะ เข้าใจง่ายมาก พวกแบบฝึกหัดที่ให้ฝึกเล็กๆน้อยๆนี่ดีมากเลย
ใช่ครับ ที่ผมตามก็จะมี Tomo กับ Jens Larsen สองคนนี้แหละ แต่หลังๆ ไปเล่นเบสแทนละครับคิดน้อยกว่า เหมาะกับตัวเองกว่า
วันไหนที่ทาวศูนย์การค้าจะย้ายร้านค้าของเราไปในที่ที่ไม่มีคนเดือนหรือเปล่า >> วันไหนที่ทางศูนย์การค้าจะย้ายร้านค้าของเราไปในที่ที่ไม่มีคนเดินหรือเปล่า
โดยผู้ก่อตั้งมีความตั้งใจ ...
...ไปในที่ที่ไม่มีคนเดินหรือเปล่า
ก็ต้องดังแล้วถึงย้ายได้ล่ะนะ มีคนตาม
ถ้ายังไม่ดัง ไปเปิดในplatformแปลกๆ จะมีคนลองเข้าไปดูสักเท่าไร?
ตามหัวข้อละครับ "ยูทูเบอร์ดังๆ"
ถึงว่า ผมตาม Linus Tech tips อยู่ ตามไม่ได้ตามลึกมาก หลังๆ รุ้สึกว่าคลิปไม่ค่อยอัพเดทเร็วเท่าไร สรุปว่า ไปลงใน Floatplane ก่อน ซึ่งต้องเสียตังค์ดู อีกสัปดาห์ให้หลังถึงมาลง Youtube
ถ้าเป็นวิดีโอที่ time sensitive อย่างพวก review หลัง embargo lifted ก็ลงเลยแหละครับ ถ้าเป็นวิดีโออื่นๆมันก็ออกแนวว่าไม่จำเป็นต้องรีบเท่าไหร่ และยังไงก็ลงทุกวันอยู่แล้ว ส่วนตัวผมมองว่า floatplane คือไว้สนับสนุน creator โดยมีผลพลอยได้คือได้ดูเร็ว (แต่ไม่ใช่จำเป็นต้องสมัคร)
เคยใช้บริการ Floatplane แต่เหมาะกับใช้บนเว็บมากกว่า และแอพยังมีข้อจำกัดอยู่ เช่น ไม่มีช่องใส่เพื่อค้นหา Video กับต้อง Subscribe ช่องที่จะดูบนเว็บก่อนเข้าแอำได้
รวมถึงต้องเสียเงิน Subscribe ที่ละช่อง ช่องละ $5 ไม่ใช่ทั้งเว็บแบบ Youtube อีกส่วนก็โหลดค่อนข้างช้าด้วย
ปล. Forgotten Weapons ก็ลงใน Floatplane ด้วย พึ่งรู้ตอนสมัครเข้าเล่นใหม่ๆ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
เห็นว่าเค้าใช้บิทเรทสูงกว่า youtube หลายเท่าเลยโหลดช้าครับ
YouTube Red ไม่เวิร์คพออย่างนั้นรึ
หารายได้หลาย ๆ ทาง ป้องกันช่องทางหนึ่งมีปัญหา
อย่างพูดถึง floatplane เมื่ออาทิตย์ก่อน hardware unboxed ถูกถอดออกจาก Youtube ดื้อ ๆ เพราะปัญหาด้านการปลอดภัย ถึงจะกลับมาได้แต่รายได้ก็หายไปหลายวันครับ
จริง ๆ การที่เรามีรายได้ทางเดียวมันไม่ดีนะ ประมาทเกินไป
เหมือน ปลาทอง เวอร์ชั่นวิดิโอ
Youtuber หลายๆ ช่องก็ทำควบคู่กันไปแบบ แยกคลิป VIP ไปลงใน Patreon อีกทีนึง ในมุมคนดูก็ไม่แย่นะ แต่ที่ไม่ชอบ เช่น แคสเกมเป็น series ไว้แล้วมันต่อเนื่องกันแล้วดันแยกบางคลิปไป สมมุติลง Youtube Ep.1-2-3 แล้วแยก 5 ไปลง Patreon ส่วน Ep.6 กลับมาลง Youtube เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
แอบสนใจและอยากรู้ว่าค่า storage และค่า bandwidth มันคุ้มหรือเปล่า และใช้อะไร