นอกจาก เปิดเผยเรื่องการเก็บเงินสำหรับเล่น cross-play ของ PlayStation แล้ว คดี Epic v. Apple ก็ทำให้มีข้อมูลจากฝั่ง Xbox หลุดมาด้วยเช่นกัน โดยคราวนี้ Lori Wright ตำแหน่ง VP จากฝั่ง Xbox ตอบคำถามศาลในเรื่องกำไรของเครื่องคอนโซล ว่า Xbox ไม่เคยทำกำไรจากการขายเครื่องคอนโซลได้เลย และขายในราคาขาดทุนมาโดยตลอด (กำไรส่วนใหญ่มาจากการขายเกมและบริการเสริม)
การให้ปากคำของ Wright อยู่ในบริบทที่ว่า ทำไมอัตราส่วนแบ่ง 30% บนแพลตฟอร์มขายเกมบนคอนโซล ถึงเป็นอัตราที่เหมาะสม (เพราะเครื่องคอนโซลมักขายขาดทุน) และแตกต่างจากอัตราส่วนแบ่ง 30% บน App Store ของ Apple ที่ขาย iPhone ในราคาที่ทำกำไรอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม Daniel Ahmad นักวิเคราะห์วงการเกมจากบริษัทวิจัยตลาด Niko Partners ได้ทวิตเพิ่มเติมไว้ว่า แม้เครื่องเกมคอนโซลมักจะขายในราคาขาดทุน แต่ก็มีบางเจ้าเช่น Nintendo ที่จะตั้งราคาขายแบบทำกำไรตั้งแต่แรก เช่น Nintendo Switch
ส่วน PS4 ก็ทำกำไรเช่นกัน หลังตรึงราคา 299 ดอลลาร์ไว้หลายปี และแม้ PS5 จะตั้งราคาขาดทุน ในตอนนี้ แต่เมื่อมียอดจำหน่ายมากขึ้น และผลิตสเกลใหญ่ขึ้น ราคาก็อาจกลายเป็นเท่าทุน หรือทำกำไรได้ในอนาคต
ที่มา - IGN
This isn't too unusual for the console spaceThe console is sold at a loss initially & usually for some time afterThe platform holder recoups the investment in hardware via its own first party game sales + services + the cut it takes from third parties that sell games / DLC https://t.co/j1wDjoRac9
— Daniel Ahmad (@ZhugeEX) May 5, 2021
Comments
เป็นเรื่องที่ผมมองแบบผิวเผินเพื่อความขำๆ เวลาบริษัทชี้แจงผู้ถือหุ้น โม้ว่าทำยอดขายได้ถล่มทลายทุกไตรมาสอย่างโน้นอย่างนี้ แต่พอโดนคณะกรรมการป้องกันการผูกขาดตรวจสอบ กลับบอกว่าขาดทุนตลอด การแข่งขันสูง โดน disrupted บ้าง
เอาจริงๆ ยอดขายถล่มทลาย ไม่ได้แปลว่าต้องทำกำไรจากยอดขายตั้งแต่ขายเครื่องได้ครับ ตอนขายเครื่องออกไปอาจขาดทุนกระจุยเลยก็ได้ แต่สำหรับคอนโซลเนี่ย พอมีเครื่องในมือคนมากขึ้น ก็จะมีโอกาสทำกำไรในช่วง lifetime ของเครื่องมากขึ้น เลยต้องอวดผู้ถือหุ้นครับ
สุมมุติขายเครื่องขาดทุนเครื่องละ 100 ดอล (เลขสมมุติ) แต่ทำกำไรคืนมาจากเกมและบริการที่ผู้เล่นจะใช้จ่ายต่อเครื่องได้ราว 300-400 ดอลต่อปี (เลขสมมุติ) แถมเครื่องยังเล่นได้หลายปี อะไรแบบนี้ หัก 100 ดอลที่ขายขาดทุนไป ก็ยังกำไรเยอะครับ
ขายเครื่อง คนซื่อครั้งเดียวถึงจะขายได้เยอะมันก็เท่านั้น แต่ขายเกมหรือบริการเสริมมันกินได้ตลอด
การขายเครื่องได้เยอะ สามารถเอาไปคุยในที่ประชุมได้ครับ แม้จะขายขาดทุนก็ตาม การขายได้เยอะแปลว่ามีคนใช้งานเยอะขึ้นแปลว่าสามารถขายเกมได้เยอะขึ้น กำไรจากเกม จากไลเซนส์ก็ได้เยอะขึ้น เขาไม่ค่อยเน้นกำไรจากเครื่องหรอกครับ เน้นขายเครื่องได้เยอะเข้าว่า แม้บางเครื่องก็ไม่ได้ขายขาดทุน
The Dream hacker..
แต่ apple ไม่คิดค่าออนไลน์นะ
แต่เกมแพงทำให้ซื้อเครื่อง Console ไม่ลงเลย
model ของการขายเครื่องเกมขาดทุนตั้งแต่แรกเริ่มมาจาก sony ตอน ps1 ครับ จากนั้นทุกค่ายก็ทำตามกันหมด (ยกเว้นนินเทนโด้)
เพราะกรณี sony คิดคือ เน้นขายเครื่องให้ได้มากๆ เร็วๆ ให้ยอดเยอะๆ แล้วไปเอาเงินค่า license เกม หรือ accessories แทน (ที่มาของ memory card ความจุจิ๋วๆ และไม่มี memory ในตัวเครื่อง ทั้งที่เครื่องเกม CD ก่อนหน้านี้มี memory สำหรับ save ในเครื่องทุกเครื่อง)
แต่ model นี้ ตัวเครื่องวเกมมันจะไปกำไรตอนกลาง หรือปลายเจน ที่ต้นทุนการผลิตลดลงไปมากครับ
กรณีของ xbox ก็เลยแปลกๆ หน่อย เพราะขาดทุนค่าเครื่องตลอดเวลา
แต่ละบ.เขาก็มีค่าใช้จ่ายที่คนอื่นไม่เห็นอยู่ Apple ก็อาจจะมีเหมือนกันก็ได้ ผมถึงได้มองว่า 12% หรือ 30% มันถูกหรือแพงไปราคาไหนหรือราคาที่เหมาะสมมันพูดยาก เพราะแต่ละบ.เขาก็มีเรื่องภายในที่ต้องจัดการแตกต่างกันไป
ประเด็นผูกขาดมันไม่ได้อยู่ที่ว่าเก็บแพงหรือถูกไป แต่อยู่ที่ว่ามันกีดกันการแข่งขันหรือเปล่ามากกว่า
เพราะงั้นที่ฟ้องกันอยู่ตอนนี้อย่าง Epic vs Apple หรือ Overgrowth vs Steam เรื่องส่วนแบ่ง 30% ผมคิดว่ายังไงมันก็ไม่น่าจะฟังขึ้นหรอก ก็ต้องไปดูประเด็นอื่นๆแทน อย่าง Epic vs Apple ก็ประเด็นเรื่อง IAP หรือ Overgrowth vs Steam ก็ประเด็นเรื่องห้ามตั้งราคาร้านอื่นถูกกว่าใน Steam ทำนองนี้
ส่วน Nintendo ขายเครื่องอย่างเดียวก็กำไรแล้ว ไม่ต้องพูดถึงยอดขายเกมของตนเอง ไม่ต้องแบ่งยอดขายให้Platformอื่นๆ
ต้องยอมรับว่าเกม first party ของนินนั้นแน่จริงมากครับ การสร้างเครื่องที่ต่างจากชาวบ้านมันก็มีความเสี่ยงของมัน ถ้าขายดี มีเกมดีๆ ก็ถือว่าดีไป มีแต่เกม exclusive ใครอยากเล่นก็ต้องซื้อเครื่องมาเล่น
แต่อนาคตจะมีคนฟ้องข้อหาผูกขาดตลาดแฮนเฮลด์มั้ยนะ 555 คงไม่หรอก ก็เจ้าอื่นไม่ทำเองนิ
The Dream hacker..
เหมือนเห็น โซพียอดขาดทุนตลอด สงสัยหวังผลด้านอื่น
แต่ Apple ก็เก็บ 30% มาตั้งแต่แรกๆ แล้วนะครับ งงว่าทำไมเพิ่งโวยกันพักหลังมานี่https://www.techrepublic.com/blog/software-engineer/app-store-fees-percentages-and-payouts-what-developers-need-to-know/
ถ้าดูรายละเอียดฟ้องจริงๆ เนื้อหาหลักไม่ได้อยู่ที่ว่าเก็บ 30% มันเยอะไปแต่เป็นเรื่องการผูกขาดทำให้ไม่มีเจ้าอื่นสามารถเข้าไปแข่งขันด้วยส่วนแบ่งที่ถูกกว่าได้ครับ
อย่างเคส Apple นี่ Epic คร่าวๆก็ฟ้องเรื่อง iOS ต้องลงแอปจาก App Store เท่านั้นและต้องใช้ IAP จาก Apple เท่านั้นห้ามมีตัวอื่น อะไรทำนองนี้ครับ
ส่วนเรื่อง 30% แพงเนี่ย เอามาใช้เรียกหาพวกเสียมากกว่าครับ
แบบนี้นี่เอง ขอบคุณครับ ว่าแต่เริ่มแรกมา ios 2.0 ก็มีแต่ app store นะ