นักวิจัยที่มหาวิทลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลีย นำโดยศาสตราจารย์ Matthew Hill, ด็อกเตอร์ Mahdokht Shaibani และศาสตราจารย์ Mainak Majumber ทำการปรับปรุงแผ่นคั่นสำหรับแบตเตอรีลิเธียม-ซัลเฟอร์ ได้สำเร็จ โดยทำให้การถ่ายโอนลิเธียมไออนทำได้ดีขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพรวมถึงอายุการใช้งานของแบตเตอรี
ศาสตราจารย์ Matthew Hill ระบุว่าการใช้แผ่นคั่นแบบ nanoporous interlayer ทำให้ส่งผ่านลิเธียมได้เร็วขึ้น ส่งผลให้การชาร์จและปล่อยกระแสทำได้เร็วขึ้นและแก้ปัญหาเดิมที่ทำให้แบตเตอรีชนิดนี้มีอายุสั้น โดยทำให้สารโพลีซัลไฟด์ที่เกิดจากปฏิริยาเคมีและทำให้อายุการใช้งานสั้นลง เดินทางระหว่างแอโนดและแคโทดไม่ได้
ภาพ Pixabay
แบตเตอรีลิเธียม-ซัลเฟอร์ มีความหนาแน่นของพลังงานมากกว่าแบตเตอรีลิเธียมไอออนราว 2-5 เท่า และการปรับปรุงนี้ อาจทำให้รอบชาร์จของแบตเตอรีนี้เพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 2,000 ไซเคิลโดยประสิทธิภาพไม่ด้อยลง เทียบกับมือถือยุคปัจจุบันที่ชาร์จได้ราว 500-1,000 ไซเคิลก่อนเสื่อมสภาพ
นอกจากนี้แบตเตอรีลิเธียม-ซัลเฟอร์ ยังไม่ต้องใช้ส่วนประกอบของแร่หายากเช่นโคบอลต์ นิกเคิล และแมงกานีสแบบแบตเตอรีลิเธียม-ไอออนทั่วไป ทำให้แบตเตอรีนี้ดูจะมีอนาคตในการใช้งานจริงแบบผลิตจำนวนมากในอนาคต
อ่านบทคัดย่อของงานวิจัย ได้ที่นี่
ที่มา - Royal Society of Chemistry via Reneweconomy
Comments
ต่อไป มือถือคงจะมี แบตระดับ 10 - 15 Ahr เป็นเรื่องปกติแล้วสินะ (อย่างกับแบตรถยนต์) ขอให้ออกมาผลิตเป็น Mass Product เร็วๆ
แต่คิดเป็น Wh ออกมาก็กระจึ่งเดียวอยู่ดีครับ เพราะมัน 3.x Voltsอย่าไปดูแต่ Ah อย่างเดียว ดู Volt ด้วย
นี่แหละ นวัตกรรม
*ซ้ำ
"มีความหนาแน่นของพลังงานมากกว่าแบตเตอรีลิเธียมไอออนราว 2-5 เท่า"ขอกราบ.......... นี่คือสิ่งที่โลกรอคอย..... แค่ 2 เท่าก็ซาบซึ้งแล้ว นี่แอบให้ความหวังถึง 5 เท่าเลยเหรอ
คิดว่าต่อไปมือถือจะ...
ขนาดเท่าเดิม แบทใช้ได้ 2-3 วันหรือ....
เล็กลง แล้วบอกว่า... เพียงพอต่อการใช้งาน 1 วัน
ผมว่าคงตาม ประโยคท้ายครับ ฮ่าๆ คงบาง แบตน้อย ประหยัดต้นทุน ใช้ได้เท่าเดิม
แบตจุเท่าเดิม + ก้อนเล็กลง แล้วอัดวงจรนู่นนี่นั่นมาเพิ่มชัว
ก็คงเป็นอย่างหลังนั่นแหละครับ สำหรับบางคนที่ชาร์จมือถือเป็นประจำทุกวัน แบตอยู่ได้ 1 วันกับอยู่ได้ 3-4 วันมันไม่ค่อยต่างกันเท่าไหร่ ขอแบตอยู่ได้ 1 วันเท่าเดิมแต่เครื่องบางเบาลง อาจจะตอบโจทย์คนเหล่านั้นมากกว่าก็ได้ และส่วนตัวผมคิดว่ากลุ่มผู้ใช้ที่ 1 วันไม่พอแต่ 3-4 วันพออาจจะไม่เยอะขนาดนั้นด้วย
ส่วนตัวผมเอง... ถ้าสามารถใช้ได้ 1 วันแบบไม่ต้องกังวลใดๆต่อเนื่องซัก 2-3 ปี ผมก็โอเคแล้วครับ ขอไปเน้นเรื่องขนาดน้ำหนักแทนดีกว่า
เครื่องไม่น่าจะบางกว่ากล้องอะครับ
ปูดกล้องเหมือนเดิมครับ 555
ผมสนใจในการเอาใช้กับรถ EV มากกว่านะ ชาร์จเต็ม 1 ครั้งวิ่งได้ 600 กม อู้หูวว
ได้ต้นทุนถูกลงด้วย
ตอนนี้ก็เหลือแค่พัฒนาให้สามารถนำมาเข้าสายการผลิตแบตเตอรี่ได้อย่างจริงจัง เพื่อลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้ รวมถึงการ Recycle/Reuse ตัวแบตใหม่ตัวนี้ด้วย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
พกแบตก็เหมือนกับพกระเบิด อย่าให้ความจุมันเยอะเกินไป
ระเบิดไม่แรงก็ไม่มีค่า ฉะนั้นความจุยิ่งเยอะ = ยิ่งเป็นระเบิดที่ดี
#ผิด
ถ้าไม่มีส่วนประกอบเป็นแร่หายาก ต้นทุนผลิตควรจะต้องถูกลงด้วย ผมเข้าใจถูกต้องมั้ยครับ
ก็ไม่แน่ครับ อาจจะหาง่ายแต่ขั้นตอนการผลิตยากกว่าก็เป็นได้
อาจจะไปติดตรงทำแผ่นคั่นนี่แหละครับ เป็น porous aromatic frameworks น่าจะทำยากพอสมควร
Elon misk ต้องยกหูแล้วนะ
คงรีบโทรเพราะต้องเอาไปใช้กับ semi truck ที่โม้ไว้
เป็นตัวเลขที่หลายคนรอคอย
บางคนคำนวณไว้ว่าจะให้รถวิ่ง
ตามน้ำหนักที่กฎหมายกำหนดจะเหลือ
น้ำหนักบันทุกได้อีกแค่ตันเดียว
แบตดีขึ้นน่าจะแก้ปัญหานี้ได้
แต่ยังต้องใช้ลิเทียมเหมือนเดิม แหล่งสำคัญอย่างยูเครนตอนนี้ก็ชะงักด้วยสิ
แต่จุได้มากขึ้นก็น่าจะลดการใช้ลิเทียมลงไปได้ด้วย ไม่รู้มีข้อเสียอะไรบ้างแต่จากในข่าวคือฟังดูดีไปหมดเลย รอคอยครับ
สวดยวดด
📸
มีอะไรมาแทน Li-on ซักทีเถอะะะ bottle neck ของวงการ IT จริงๆ
รอรถไฟฟ้าวิ่งได้1000โลต่อชาร์จเลยงานนี้
ไม่อยากรีบดีใจ กว่าจะออกจากห้องวิจัยมาถึงมือคนใช้ คงอีกนาน
ยังเพิ่งผ่านขั้นตอนวิจัย ถือเป็นข่าวดีมากๆของวงการแล้ว
ทีนี้ต้องรอเข้าสเกลอุตสาหกรรม ว่าจะอีกกี่ปี ตั้งตารอมาก
พวก EV กับอุปกรณ์ไฟฟ้ายุคใหม่ๆติดปัญหาเรื่องความจุแบตฯมานานมากแล้ว