ประเทศเอลซัลวาดอร์ประกาศเลื่อน แผนการออกพันธบัตรบิทคอยน์ตามที่เคยประกาศไว้ เนื่องจากราคาบิทคอยน์ตกลง
เดิมที เอลซัลวาดอร์ประกาศขายพันธบัตรมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์ มีกำหนดขาย 15-20 มีนาคม โดยจะนำเงินสดที่ได้ไปซื้อบิทคอยน์ 500 ล้านดอลลาร์ และนำไปจ่ายค่าขุดเหมืองบิทคอยน์อีก 500 ล้านดอลลาร์ ผู้ซื้อพันธบัตรมีกำหนดไถ่ถอน 5 ปี โดยได้ดอกเบี้ยตามที่ประกาศ
แต่เนื่องจากราคาบิทคอยน์ผันผวน บวกกับสถานการณ์สงครามยูเครน-รัสเซีย ทำให้ Alejandro Zelaya รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต้องประกาศเลื่อนแผนการขายพันธบัตรนี้ไปก่อน โดยอาจกลับมาขายในเดือนกันยายน 2022
Comments
อ่านข่าวนี้แล้วอารมณ์เหมือน ตอนตั้งกองทุน กบข. ใหม่ ๆ อะไรก็ดูดี
ถ้าไม่เบื่อจะพิมพ์เกินไป เล่าให้ฟังหน่อยครับว่ามันเกิดอะไรขึ้น ผมจะได้เอาไว้ประดับความรู้
สมัยก่อน ถ้ารับราชการหรือรัฐวิสาหกิจ จะได้ผลประโยชน์ ที่น่าทำงานด้วยมาก ๆ
สองอย่างคือบำเน็จ (รับเงินก้อนตอนเกษียร) กับ
บำนาน (รับเงินรายเดือน ประมาณ 70-80% ของเงินเดือนสุดท้าย ไปจนเสียชีวิต)
พอมาถึงจุดนึง สมัยทักษิณนั่นแหละ รัฐก็ยกเลิกสองตัวนี้
โดยเอาเงินจากกระทรวงการคลังมาก้อนนึง ตั้งสิ่งที่เรียกว่า กบข.
หรือ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ให้เอาเงินก้อนนี้ไปบริหารเพื่อให้ได้กำไรนำมาจ่ายเป็น บำเน็จ หรือ บำนาน ตรงชื่อ
การทำงานก็เหมือน ๆ ประกันสังคม นั่นคือ ถ้าทำงานเราจ่าย 3% ที่ทำงานจ่าย 3%
ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน แล้วพอเลิกทำงาน อายุเยอะเกษียรแล้ว ก็เอาเงินกองทุนนี้ไปขาย
ปัญหาคือ...
มันคือการลงทุน การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าคุณจะใส่เงินลงไปในหุ้นกู้เยอะขนาดใหนก็ตามหรือหุ้นรัฐที่ดูยังไงก็กำไร แล้วเค้าขายให้คุณก่อนแค่ใหนก็ตาม การลงทุนขาดทุนได้นะ
(เช่นการบินไทยเป็นต้น)
ปัญหาจะเกิดตอน ขาดทุน นี่แหละ โดยเฉพาะทำในนามของรัฐ มันจะอาการแบบ
ทำตามที่รัฐกำหนดนโยบายลงทุนแล้ว ผู้บริหารกองทุนไม่ผิด นะจ๊ะ .. จบ
ขาดทุนบักโกรกแค่ใหน ก็ทำงานกันตาใส ตามปรกติ
มาถึงพันธบัตร ... พันธบัตรรัฐบาล คือ กระทรวงการคลังขอกู้เงินจากประชาชน
หมายความว่า รัฐบาล ประเทศเอลซัลวาดอร์ ขอกู้เงินไปซื้อ บิทคอยน์ กับเครื่องขุดจำนวนหนึ่ง
เพื่อเก็งกำไร .. ก็ลองนึกสภาพ 5 ปีนี้ดูว่า มันจะค่อย ๆ บวก หรือ สวิงขึ้นลงจนหัวใจวาย
แต่มองในมุม รัฐบาลอาจจะไม่เป็นไร เพราะสุดท้ายขาดทุนจริง ๆ ก็ใช้เงิน ภาษีประชาชนจ่าย
ก็อาจจะเป็นได้ แบบอยากทดลองลงทุนว่ากำไรมั้ยแต่ใช้เงินคนอื่นมาลองอย่างถูกต้อง
ตามกฏหมายนั่นแหละ เพราะ
" ทำตามที่รัฐกำหนดนโยบายลงทุนแล้ว ผู้บริหารกองทุนไม่ผิด นะจ๊ะ "
ประมาณนั้น
ถ้าใครคุม กบข. ได้นี่ แล้วนิสัยไม่ดี ไปปั่นหุ้นได้เลยนะนี่
ถ้าใช้วิธี pump & dump มันจะมีข้อมูล transaction ขึ้นหราน่ะสิ - -"
คิดว่าน่าจะใช้วิธีซื้อนอกกระดานมากกว่าครับ
มันมีวิธีใช้อีกวิธีหนึ่งครับ คือเอาไปลงทุนให้ผู้สนับสนุน/อุปถัมภ์
ขอบคุณครับ
ที่จริงผมว่ามันเป็นแนวทางที่ดีนะครับ ปัญหาอยู่ที่คนบริหารอย่างเดียวเลยฉะนั้นมันก็ควรกำหนดไปเลยว่าสามารถลงทุนในความเสี่ยงระดับ 1, 2, 3 ,... ได้เท่าไรก็ว่าไป
ผมเห็นด้วยกับความเห็นนี้นะ วิธีการถูกแล้ว แต่คนกำหนดนโยบายและคนบริหารละ เป็นยังไง ?
การลงทุนแบบกองทุนกบข.ที่ว่ามานี่ เหมือนกับที่ บ.ประกันชีวิตทั้งโลกทำกันเลยครับ
จริงครับ วิธีการเปลี่ยนจากให้บำนาญอย่างเดียว มาเป็นยังให้บำนาญอยู่แต่ให้น้อยลงกว่าในอดีต แต่ให้มาลงทุนผ่านกบข.เสริมขึ้นมา แบบนี้ถือว่าดีสำหรับงบประมาณของประเทศ ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่ต้องเอาเงินภาษีไปสนับสนุนตรงส่วนบำนาญอย่างเดียว ก็จะมีผลตอบแทนของกบข.มาช่วยด้วย
ส่วนเรื่องการบริหารกองทุนกบข. จริงๆกบข.ก็เหมือนพวกกองทุนบำเหน็จบำนาญในต่างประเทศนี่แหละเพราะบริหารในรูปแบบคล้ายๆกันเลย แต่คนที่ตั้งแง่คือเค้าไม่เข้าใจการลงทุน อยากให้ผลตอบแทนของกองทุนเป็นบวกตลอด โดยไม่มีการติดลบ ที่ขนาดกองทุนHedge Fund ระดับโลกยังทำไม่ได้
จริงๆเรื่องการบริหารกองทุน มีจุดที่สามารถเปลี่ยนได้คือ ทำแบบกองทุนความมั่งคั่งของNorwayซึ่งเป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ที่เค้าจะลงทุนตามดัชนีหุ้นโลก และ ดัชนีตราสารหนี้โลกข้อดีของนโยบายนี้คือมีความโปร่งใสในการบริหารเพราะแค่ลงทุนตามดัชนี ค่าใช้จ่ายในการบริหารก็ต่ำมากๆเพราะไม่ต้องจ้างผู้จัดการกองทุนค่าตัวแพงๆ
แต่การที่ลงทุนตามดัชนีคือ ถ้าตลาดหุ้นโลกติดลบหนัก ผู้ถือหน่วยที่ไม่เข้าใจการลงทุน ก็จะออกมาต่อว่ากองทุนบริหารยังไงให้ติดลบ อีกอยู่ดี.....
กบข สามารถเลือกแผนการลงทุนได้ มีให้เลือกตั้งแต่แผนที่เสี่ยงระดับ 1 ถึง 6 ล่าสุดมีแผนลงทุนในหุ้นต่างประเทศแล้วด้วย
อธิบายดีมากๆ เป็นความคิดเห็นที่มีความรู้ดีที่สุดในช่วงที่ผ่านมาเลย
สะกดผิดนิดหน่อย บำเหน็จ บำนาญ เกษียณ
นอกนั้นเนื้อหาดีมาก
ใจความสำคัญมันคือการถอน "ความรับผิดชอบ" ออกไปจากรัฐครับ รัฐใส่เงินสมทบรายปีให้ แล้วจบกันไป ตัวราชการจะอายุเท่าไหร่ ต้องใช้บำนาญกี่ปี ไม่ใช่ความรับผิดชอบของรัฐอีกแล้ว
กองทุนมีความเสี่ยงนี่ก็เหมือนของประกันสังคมของประชาชนทั่วไป แถมประกันสังคมนี่ประชาชนเลือกไม่ได้ด้วย
lewcpe.com , @wasonliw
ผมเข้าใจต่างนะที่ผมเข้าใจ คือ เดิมข้าราชการเกษียณมีสิทธิเลือกรับบำเหน็จ (รับเงินก้อนครั้งเดียวจบ) หรือรับบำนาญ (รับเป็นรายเดือน) วิธีคำนวณบำเหน็จ บำนาญดูจากจำนวนปีกับเงินเดือนเดือนสุดท้าย มีสูตรคำนวณแบบไม่มีเพดานมาคุม ข้าราชการจะได้แค่นี้
ต่อมามี กบข. ข้าราชการใหม่ต้องเข้าระบบ กบข.ทุกคน ทุกคนต้องหักจ่ายรายเดือน พอเกษียณจะได้เงินเป็น 2 ก้อน
ก้อนที่ 1 เลือกเงินบำเหน็จ หรือบำนาญ ข้อต่างกับระบบเดือม คือ ถ้าเลือกบำนาญจะไม่ใช้เงินเดือนเดือนสุดท้ายมาคำนวณแล้ว แต่จะใช้เงินเดือนเฉลี่ย 5 ปีสุดท้ายแทน (รัฐจ่ายน้อยลง) และมีเพดานมาคุม คือ ไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย 5 ปีสุดท้าย (รัฐจ่ายน้อยลง) แม้ว่าอายุราชการจะเยอะแค่ไหนก็ตาม (รับราชการตั้งแต่อายุ 18 เกษียณ 60 ทำงาน 42 ปี ก็ได้ไม่เกิน 70%)
ก้อนที่ 2 เงินสะสมจาก กบข. ที่เหมือนมีมาเพื่อส่งเสริมการออม เพราะปกติราชการไม่ออมเงินเพราะคิดว่ามีบำนาญอยู่แล้ว
A smooth sea never made a skillful sailor.