อินเดียได้บันทึกประวัติศาสตร์ใหม่ด้านอวกาศ โดยยานสำรวจ Chandryaan-3 ได้ลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์สำเร็จในวันนี้ โดยเป็นยานสำรวจลำแรกของโลกที่ลงจอดใกล้กับบริเวณขั้วใต้ (South pole) และเป็นประเทศที่ 4 ของโลก ที่ส่งยานอวกาศไปลงจอดบนดวงจันทร์สำเร็จ ถัดจาก สหภาพโซเวียต, สหรัฐอเมริกา และจีน
ขั้วใต้ของดวงจันทร์เป็นพื้นที่เป้าหมายของการสำรวจดวงจันทร์ที่มีความท้าทาย เนื่องจากพื้นผิวส่วนใหญ่เป็นหลุมบ่อ ทำให้ยากต่อการลงจอด ขณะเดียวกันก็เป็นพื้นที่เป้าหมายที่คาดว่าจะพบแหล่งน้ำ ซึ่งหมายความว่าจะมีพลังงาน ออกซิเจน ที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีพ
องค์กรวิจัยด้านอวกาศของอินเดีย หรือ ISRO เคยส่งยานสำรวจ Chandrayaan-2 ไปดวงจันทร์ในปี 2019 แต่ยานเกิดอุบัติเหตุร่วงสู่พื้นขณะลงจอด เนื่องจากปัญหาซอฟต์แวร์ จึงมีการแก้ไขมาเป็น Chandryaan-3 ที่ออกเดินทางไปตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม
ความสำเร็จของอินเดียนี้ยังส่งสัญญาณด้านการแข่งขันด้านอวกาศที่อาจเกิดขึ้นจากนี้ เมื่อต้นสัปดาห์ยานสำรวจของรัสเซีย Luna-25 ที่มีเป้าหมายลงจอดที่ขั้วใต้ดวงจันทร์เช่นกัน เกิดอุบัติเหตุร่วงสู่พื้นก่อน
ที่มา: Engadget
Comments
หัวมู้
ใช้คำว่าขั้วใต้ดวงจันทร์ ดีกว่า ขั้วโลกใต้ นะ ผิดดาว
south pole ในทางดาราศาสตร์แปลว่าขั้วใต้เฉยๆตรงความหมายกว่า
งงเช่นกัน ไปลงทำไมขั้วโลกใต้ อย่างจี้ 555+
อ่านพาดหัวแล้วเข้าใจว่ายานสำรวจดวงจันทร์เดินทางกลับมายังโลก ลงจอดที่ขั้วโลกใต้สำเร็จซะงั้น
Chandrayaan-3
ไม่เห็นเป็นไร อย่างกระทรวงมหาดไทยของอังกฤษ ก็ยังใช้กันได้
แต่จะพยายามอาศัยบนดาวอังคาร หรือ ดวงจันทร์ทำไม รักษ์โลกให้มากกว่านี้จะดีกว่า
ทำลายจนจะอยู่กันไม่ได้แล้ว
ดวงจันยังมีอะไรให้น่าสำรวจอยู่อีกหรอน่ะ
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
ทางขั้วใต้มีโอกาสเจอน้ำแข็งมากที่สุดครับ เพราะโดนแสงแดดน้อยที่สุด
เยอะครับ
จริงๆก็เริ่มตั้งแต่ยานอินเดียเจอน้ำแข็งที่ขั้วใต้นี่แหละ พอมีน้ำก็มีเชื้อเพลิงได้ด้วย
ถัดจากนี้นอกจากสำรวจแล้วยังจะไปทางตั้งรกรากด้วย
เห็นคนพูดเรื่องเจอน้ำ ก็ยกตัวอย่างหนังซีรี่ For All Mankind ที่เจอน้ำบนดวงจันทร์
น่าจะขั้วใต้นะ
พอบอกขั้วโลกใต้เห็นรูปแล้ว งง ทำไมไม่มีน้ำแข็ง 555
ผมว่าเค้าไปค้นหาน้ำบนดวงจันทร์นี่ไม่ใช่เน้นดำรงชีพของคนนะออกแนวไปหาน้ำเพื่อมาสกัดเอาออกซิเจน/ไฮโดรเจนเพื่อเป็นจุดเติมเชื้อเพลิงของยานที่จะไปสำรวจดาวอังคารในอนาคต
ไทยน่าไปบ้าง
ถ้าต้องการสำรวจค้นหาแหล่งน้ำเพื่อให้คนไปตั้งรกรากคงไม่ใช่ เพราะระยะห่างจากดวงอาทิตย์พอๆกันกับโลก แต่ถือเป็นความก้าวหน้าที่ต้องปรบมือให้เลย
..: เรื่อยไป