ทีมงาน Jet Propulsion Laboratory รายงานถึงความคืบหน้าของการแก้ปัญหา คอมพิวเตอร์ในยาน Voyager 1 ค้้างตั้งแต่ปลายปี 2023 โดยล่าสุดสามารถดัมพ์หน่วยความจำออกมาได้ และเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแล้วทีมงานสงสัยว่าเกิดจากแรมบางส่วนของ flight data subsystem (FDS) เสียหาย
หน่วยความจำส่วนที่เสียหายกินพื้นที่ 3% ของหน่วยความจำทั้งหมด โดยคาดว่าแรมเสียเพราะถูกอนุภาคในอวกาศชน หรือไม่ก็แค่แรมเสียตามอายุขัย 46 ปี
กระบวนการซ่อมอาจจะใช้เวลาอีกหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน แต่ทีมงานค่อนข้างเชื่อว่าจะซ่อมได้ในที่สุดและคอมพิวเตอร์จะกลับมาทำงานได้
ที่มา - NASA Blog
Comments
วิจัยยางลบเพื่อใช้ในอวกาศด่วน
รุ่นนั้นน่าจะใช้ Magnetic-core memory นะ
จะส่งคนไปซ่อมยังไงก่อน???
ส่งสัญญาณไปซ่อมฮะ
เขาไม่ได้บอกตรงๆ แต่น่าจะเขียน firmware ใหม่เพื่อเลี่ยงการใช้แรมส่วนนั้นไปครับ
lewcpe.com , @wasonliw
สมัยนั้น แรมเขาว่ากันเป็น K หรือเป็น M นะ ยุค 2530 นี่ มีคอมแรมสัก 4 M ก็แทบยกมือไหว้แล้ว
คอมผมตอนปี 34 มีแรม 4MB นะครับ ;-)
ปล. จริง ๆ คือลุงผมเค้ายกมาให้ครับ ผมแค่ได้มาฟรีๆ 555 ใช่ว่าบ้านมีตังค์หรอกนะ
555 ชีวิตผมเลย ทั้งเป่า ทั้งยางลบถู เวลาเสียงจากไบออสดัง ตี๊ด...ตี๊ด...ตี๊ด...ตี๊ด
..: เรื่อยไป
NASA กำลังประกาศหาอาสาสมัคร บินไปซ่อมยาน contract สัญญา 1 ชั่วอายุคน
คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของผม มีแรม 64k เอง Commodore 64
ออกแบบมาดีจริง เสียกลางทางอันไกลโฟ้นยังมีแผนกู้ใช้ต่อได้อีก แถมมีทีมที่ MA ระบบยังเก่าแก่ขนาดนี้อีก
สงสัยว่าซ่อมยังไง ส่งคำสั่งไปปิดส่วนที่เจ๊งอะเหรอ