เมื่อวานนี้เกิดเหตุไฟไหม้ศูนย์ข้อมูล Alibaba Cloud Zone C ในสิงคโปร์ กระทบบริการจำนวนมาก โดยต้นเพลิงเกิดจากแบตเตอรีลิเธียมในศูนย์ข้อมูล
กระบวนการดับเพลิงกินเวลา 4 ชั่วโมง ตั้งแต่ 10:20-14:40 ตามเวลาปักกิ่ง แต่หลังจากควบคุมเพลิงได้แล้วก็ยังมีความร้อนอยู่ ทำให้ทีมงานไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ และอุปกรณ์เน็ตเวิร์คทำงานผิดปกติ ตลอดจนมีน้ำดับเพลิงเข้าไปในห้องเซิร์ฟเวอร์ ทำให้กระบวนการกู้คืนระบบใช้เวลา
ทาง Alibaba Cloud ระบุว่าระบบที่เปิด high availability เอาไว้สามารถย้ายระบบออกไปโดยอัตโนมัติได้ตามที่คาดหวัง เช่น Redis, MongoDB, MySQL แต่บริการที่เปิดใช้แบบ single availability zone เช่น object storage หรือฐานข้อมูลต่างๆ หากอยู่ใน Zone C ก็จะดับไป
น้ำดับเพลิงที่รั่วไหลทำให้ทีมงานต้องตัดไฟฟ้าไปหนึ่งอาคารแบบฉุกเฉิน หลังจากนี้กำลังกู้คืนระบบให้กลับคืนมาต่อไป
ที่มา - Alibaba Cloud
Comments
ศูนย์ข้อมูลเวลาไฟไหม้นี้ เขาใช้น้ำดับเพลิงกันเหรอ
แบต Li-ion ใช้น้ำเลี้ยงคุมให้ไม่ร้อนจนเกินไปได้อย่างเดียว ทำอะไรไม่ได้ ได้แค่รอให้หมดพลังงานไปเอง
มันดับด้วยการตัดอากาศด้วยโฟมหรือ CO2 แบบไฟไหม้ปกติไม่ได้ เพราะมันไม่ได้ใช้อากาศในการเผาไหม้
ุถ้าจะให้ถูกจริงๆ อุบัติเหตุจาก Li-ion ไม่ควรเรียกว่าไฟไหม้ แต่เพื่อให้คนธรรมดาเข้าใจก็คงได้ละมั๊ง
เค้าต้องใช้พวก FM200 หรือ NOVEC กันไม่ใช่เหรอครับ
น้ำดับเพลิงอาจจะเป็นส่วนของทางเดินที่ไหลย้อนเข้าห้องหรือเปล่า(แต่พื้นห้องก็น่าจะยกสูงเนาะ)
แบต ยังเป็นพวกที่ใช้น้ำครับ
ศูนย์ข้อมูลนี่ดูแลยากจริงๆ ทั้งความร้อน พลังงานไฟฟ้า ไหนจะกระบวนการทำ Data recovery
..: เรื่อยไป
ระบบหลังบ้านลาซาด้าล่มเกี่ยวกับเรื่องนี้รึป่าว
น่าจะเกี่ยวเห็นๆนะ
เกี่ยวแน่นอนเพราะ Lazada เป็นของ Alibaba Group
ระบบยืนยันการชำระเงินล้มแต่เช้า ไม่รู้เกี่ยวกันไหม รูดจ่ายแล้วแต่ขึ้นรอชำระ
แบตไหม้ได้ไงนี่
ปีที่แล้ว ศูนย์ข้อมูล Equinix ในสิงคโปร์ก็มีปัญหาระบบหล่อเย็น เกี่ยวกับความเสถียรของระบบไฟฟ้าด้วยรึเปล่านะ
จำนวนมาก
แบต lithium-ion จากอุปกรณ์อะไรใน data center ที่ต้องใช้งานหนักจนความร้อนสูงจนไหม้ ขอความรู้หน่อยครับ
ก็จาก UPS
UPS ในห้อง Data Center อย่างใหญ่บึ้ม เมื่อสิบปีก่อนผมเคยเห็นในห้อง Data Center หน่วยงานหนึ่ง ใหญ่พอๆ กับตู้ Server เขาใช้ก่อนจะตัดไปใช้ไฟสำรองจากเครื่องปั่นไฟ เพื่อไม่ให้เกิดการสะดุด หรือกระชากของระบบไฟฟ้าในระหว่างเปลี่ยนสายส่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายกับเครื่อง Server ได้ แต่โดยปรกติแล้วระบบทำความเย็นในห้อง Data Center มันก็คุมความร้อนไม่ให้สูงมากได้อยู่แล้วนะเพราะมันระบายจากพื้นไม่ใช่แบบที่เราใช้ตามบ้าน แล้วมันก็มีเซ็นเซอร์ตรวจสอบอุณหภูมิตลาดเวลา ถูกผิดอย่างไร ถามคนถัดไปแล้วกัน ผมแค่เล่าตามที่เคยเห็นไม่ได้เชี่ยวชาญระบบไฟฟ้า
แปลว่าอะไรที่เป็นแบตฯก็มีโอกาสระเบิดได้ทุกเมื่อเชื่อวันเหมือนกันหมด ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งระบบสำรองไฟในบ้านและ UPS สำหรับคอมพิวเตอร์ ทั้ง server และคอมปกติ... แล้วแบบนี้ มันจะต้อง backup ซ้อนกันแบบไหนถึงจะรอดปลอดภัยได้หมดจริงล่ะเนี่ยะ
แล้วแต่ชนิดแบตด้วยนะ นี่ก็ไม่เคยเห็นข่าวแบตน้ำกรดรถยนต์กับถ่าน AA ระเบิดนะ 🤔 ช่วงนี้วงการก็ฝากความหวังไว้กับการพัฒนา SSB (solid-state battery) ว่ามันจะอันตรายน้อยลง
แต่เอาจริงจังหน่อยก็แบตเตอรี่มันทำหน้าที่เก็บพลังงานไว้เพื่อปล่อยออกมา ยิ่งมีพลังงานสะสมอยู่เยอะเวลาหลุดการควบคุมมันก็ยิ่งปล่อยพลังงานออกมามากแหละ
อย่าว่าแต่แบตลิเทียมเลย อัลคาไลน์ยังไฟลุกได้เลยถ้าเก็บรักษาไม่ดี
ตามปรกติระบบที่ต้องการให้ backup มันอยู่รอดปลอดภัยไม่ว่าจะเกิดอะไร จะใช้วิธีเก็บในสถานที่ที่มีความปลอดภัยสูง และสร้างหลาย ๆ สำเนาแยกเก็บไว้คนละมุมโลกกันครับ (ที่เคยอ่านเจอคือเก็บไว้ 3 ที่ในสามทวีปแยกจากกัน)
ฟังดูเหมือนยากในแต่ในยุคอินเตอร์เน็ตแบบนี้มันง่ายขึ้นมากล่ะครับ
ทำบริการแบบ AZ เดียวมีความเสี่ยงอยู่แล้วครับ บริการคลาวด์จำนวนมากเปิดให้เลือก multi-AZ รอบนี้ก็เป็นเคสที่ได้ใช้งาน (อาจจะจ่ายมาหลายปีแล้ว เพิ่งได้ใช้วันนี้)
lewcpe.com , @wasonliw
Bilibili ล่วงไปแล้ว