ประเด็นเรื่องการนำซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไปใช้งานหารายได้ แล้วไม่นำกำไรที่ได้ส่งกลับสู่ชุมชน เป็นสิ่งที่ถกเถียงกันในโลกโอเพนซอร์สตลอดมา ( กรณีล่าสุดคือ WordPress กับ WP Engine และ WordPress กับ 37signals ก่อนหน้านี้มีอีกหลายสมรภูมิ เช่น Elasticsearch กับ AWS และ Redis )
ปัญหาที่เกิดมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์และบริษัทเทคโนโลยีกลุ่มหนึ่ง (ส่วนใหญ่เป็นบริษัทรายเล็ก) รวมตัวกันตั้งกลุ่ม Open Source Pledge เรียกร้องให้บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทำเงินจากโอเพนซอร์ส ช่วยกันจ่ายเงินอุดหนุนให้นักพัฒนาที่ดูแลโครงการเหล่านั้นด้วย อย่างน้อยควรอยู่ระดับ 2,000 ต่อปีต่อนักพัฒนาของบริษัทเองหนึ่งคน โดยจะเลือกจ่ายเข้านักพัฒนาโดยตรงหรือมูลนิธิที่ดูแลโครงการโอเพนซอร์สก็ได้
บริษัทใหญ่ที่สุดในกลุ่ม Open Source Pledge คือ Sentry เปิดเผยว่ามีนักพัฒนาในบริษัท 135 คน จ่ายเงินให้วงการโอเพนซอร์สปีละ 270,000 ดอลลาร์ หรือหารออกมาแล้วตก 3,700 ดอลลาร์ต่อพนักงานหนึ่งคน ซึ่ง Sentry บอกว่าเงินจำนวนนี้ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับรายได้ของบริษัทปีละ 100 ล้านดอลลาร์ แต่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อวงการโอเพนซอร์ส ตัวอย่างบริษัทอื่นๆ ในกลุ่มได้แก่ HeroDevs, Antithesis, StackBlitz, Prefect, Laravel เป็นต้น
กลุ่ม Open Source Pledge ยังรวมตัวกันออกเงินซื้อป้ายบิลบอร์ดริมถนนในย่านซานฟรานซิสโก นครหลวงของวงการไอทีโลก เพื่อเรียกร้องให้ซีอีโอ ซีทีโอ ซีเอฟโอ ของบริษัทยักษ์ใหญ่ที่นั่งรถผ่านได้มองเห็น และกระตุ้นให้คนเหล่านี้มาสนใจจ่ายเงินให้วงการโอเพนซอร์สด้วย
ที่มา - Sentry , The Register
Happy Friday, especially to @thePledge member company CFOs! pic.twitter.com/6KJcbLMxy5
— Open Source Pledge ⇌ (@ThePledge) October 18, 2024
Let’s get this to 100m$. A lot of you are starting to plan for next year, if you depend on OSS make a case to help sustain it. Thank you to everyone who has joined already but work is not done. pic.twitter.com/bkrGe11q4i
— Milin Desai (@virtualmilin) October 8, 2024
Comments
กี่ครั้งแล้ว กับ Supply chain attackผลิตภัณฑ์ทำเงินเป็นร้อยล้านพันล้าน ยืนอยู่บนโครงการทำฟรีที่ไม่มีใครเหลียวแลจนเกิดปัญหาความปลอดภัย แถมมาตรการที่เกิดขึ้นรังแต่จะสร้างความ suffer ให้แก่นักพัฒนาอีก
I need healing.
มันขัดกับหลักธุรกิจครับ ต้องการต้นทุนที่ต่ำสุด กำไรสูงสุด และ เราต้องเป็นเจ้าเดียวที่ทำได้
เดี๊ยวต่อไปถ้า AI ปรับแต่งได้หมด Opensource อาจจะเกิดยากขึ้น เอาแนวคิด หรือโฟลมาขึ้นโครงใหม่ได้เร็วและคิดว่าได้เป็นเจ้าของเอง
คล้ายๆกับ 7- ก๊อปของที่ขายดีขึ้นมาใหม่ โดยอ้างว่าเราพัฒนาสูตรเองอะแหละ แต่ความจริงคือทั้งลองใช้ ทั้งชิม ทั้งใช้ยอดขายของอีกสินค้า มาอ้างอิงเพื่อคิดสินค้า คล้ายๆ กันออกมา แต่ 7- ก็ไม่เคยจ่ายค่า.... ให้กับสินค้าเดิมเลย....
ชักเริ่มเข้าใจเรดแฮทขึ้นมานิดหน่อยละ มีแต่คนดูดไปสร้างเองไม่ส่งคืนให้เจ้าของโครงการเลยจนต้องเปลี่ยนไลเซนส์วงการเลยโอเพนซอร์สไม่โตซักที
กรณีเรดแฮทอาจจะเป็นผลดีต่อโครงการนะครับด้วยเหตุที่เป็นลินุกซ์ดิสทริบิวชันจะแตกต่างจากกรณีอื่น ๆ ที่เป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สสายอื่น ๆ เพราะคนที่ดูดไปทำดิสโทรจะช่วยสร้างฐานผู้ใช้งานสายเรดแฮทมากยิ่งขึ้น เข้าถึงได้ง่ายกว่าเรดแฮท ก็มีโอกาสสูงที่นักพัฒนาทั่วไปจะเจอบั๊กและแก้ส่งกลับไปที่ดิสโทรและกลับไปหาต้นน้ำในที่สุดครับ
กรณีที่เห็นได้ชัดสุด คือ Debian -> Ubuntu -> Linux Mint patch เกิดขึ้นไหลกลับไปต้นน้ำอยู่เรื่อย ๆ ครับ แม้ว่าจะเคยมีกรณี patch จาก Ubuntu หลายส่วนไม่ถูกส่งกลับไป Debian ก็ตามแต่ก็ แก้ไขด้วยทำการโครงการส่งกลับต้นน้ำ สิ่งเหล่านี้ทำให้สาย Debian ครองโลกฝั่ง Linux
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
ส่งไปแต่แพทช์อาจจะดี แต่ว่าปริมาณแพทช์ที่ส่งเข้าไปเมื่อเทียบกับรายได้ที่ทำได้นี่ผมว่าน่าตั้งคำถามนะครับ :)
จริง ๆ มันก็พูดยาก OSS หลายตัวถ้าไม่มาเป็น OSS ก็คือไม่มีคนรู้จักเลยนะ (เช่น Blender3D) คือมาเป็นที่นิยมเอาอีตอน OSS นี่ล่ะ แล้วพอมาเรียกร้องคนใช้ก็อาจจะบอกว่า "อ้าวก็ไม่ได้บอกให้มาเป็น OSS ซะหน่อย" แต่อีกแง่คือเอาของเค้าไปใช้แล้วสร้างรายได้ได้นี่ก็ควรจะแบ่งคืนให้เขาเสียหน่อย ช่วยเหลือกันโปรเจคมันจะได้ไม่ล่ม
หรือจริง ๆ รัฐควรมาช่วยอุดหนุนโปรเจคพวกนี้นะครับ ?
จะว่าไปที่เคยเป็นข้อพิพาทกันรายใหญ่ ๆ น่าจะเป้น AWS มั้ง?