ล่าสุดช่วงดึกของคืนวันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมานี้ มีคนแจ้งผมมาว่าตัวเว็บ Gmember ได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้ทำการดึง MV มาจากเว็บ YouTube แล้ว และเท่าที่ผมตรวจสอบในเบื้องต้น ก็ไม่พบร่องรอยใดๆ ที่อาจกล่าวได้ว่ามีการดึง MV จากเซิร์ฟเวอร์ของ YouTube ในหลายๆ MV ที่เป็นข่าวก่อนหน้านี้
นอกจากนี้ MV บางเพลงก็มีการเปลี่ยนแปลงโดยถูกเปลี่ยนกลับเหลือเพียงแต่การฟังเพลงเท่านั้น (เช่น MV เพลงเหตุผลข้อเดียว
ที่ถูกอ้างถึงใน ข่าวเก่า
)
อัปเดท 15/08/12 16:35 เพลงเหตุผลข้อเดียวกลับมาโหลดจาก YouTube แล้วนะครับ และยังมีความเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ที่ผมสังเกตเห็นเพิ่มเติม เช่น MV จะไม่สามารถปรับเลือกความละเอียดต่างๆ ได้แล้ว, MV ไม่สามารถชมบนอุปกรณ์ iOS ได้แล้ว โดยจะขึ้นว่าไม่มี Flash, MV มีอัตราเฟรมต่อวินาทีที่ต่ำลง, ไม่พบว่ามีโฆษณาแสดงก่อนหน้า MV หรือระหว่างชม MV, ปรับระบบให้เฉพาะสมาชิกเท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ และความคิดเห็นเก่าๆ ที่เคยมี URL ของ YouTube ถูกลบออกไปครับ
สำหรับวิดีโออื่นๆ ที่มีการเผยแพร่บน YouTube ตามปกติ ยังใช้วิธีการดึงจากเซิร์ฟเวอร์ของ YouTube อยู่ครับ ภาพประกอบดูได้หลังเบรกครับ
Comments
อ้าว ปรับใหม่แบบนี้ก็ไม่เทียบเท่า youtube แล้วสิ
I need healing.
วันนี้ผมเห็น vdo โฆษณาแพนทีนภาษาไทยก่อนดูบาง clip gmm น่าจะหาทางสร้างรายได้ต่อจากนี้ได้ไม่ยาก เอาใจช่วย
twitter.com/djnoly
ระบบพัฒนาที่ดีขึ้นจริงๆ ฮ่าๆ
+1 ยังเทียบความละเอียด 360p@Youtube ไม่ได้เลย อิอิ
โดนจับใด้ก็ต้องเอาสีข้างเข้าถูแบบนี้แหละครับ
แต่ก็ยินดีด้วยกับก้าวใหม่ของ gmm ที่ไม่ไปเกาะชวบ้านเสียที
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ว้า ไม่เทียบเท่า YT ซะแล้ว อิอิ
ดู Mobile ไม่ได้, เฟรมเรทลดลง, ปรับความละเอียดไม่ได้, Comment แบบปิด
ช่างเป็นพัฒนาการก้าวกระโดด (ถอยหลัง) ที่สวยงามจริงๆ
จากที่ผมติดตาม เพลงแรกที่สตรีมเองคือเพลง IN MY ROOM แล้วไปใช้การแทรกไฟล์จาก Youtube พอถูกจับได้ก็กลับมาสตรีมเองแบบเดิมรวมทั้งเพลงก่อนๆที่แทรกไฟล์จาก Youtube แต่มีโลโก้อยู่ ...// ไม่รู้จะอธิบายยังไง ...:p
IN MY ROOM ผมลองดูก็สตรีมมาจากไอพี 119.46.113.121 ไอพี แกรมมี่ >_<
edit ที่อยู่ ip เข้าใจผิด
ดีนะที่ดูดเก็บไว้หมดแล้ว /พัฒนาลง
จะเป็นอีกหนึ่งตำนานของวงการไอที
ว่าวันหนึ่งมีบริษัทไทยได้ implement ระบบ streaming ได้ใกล้เคียง Youtube :D
ฟันธง "เด็กฝึกงาน" LOL
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
แต่ยังไงผมก็เอาใจช่วยนะ ยิ่งถ้าเป็นคนไทยพัฒนาเองแล้ว สนับสนุนเต็มที่ กว่า Youtube จะมีฟีเจอร์ขนาดนี้ได้ก็ใข้เวลาพัฒนาตั้งหลายปี
สู้ต่อไปครับ
เริ่มต้นได้ดีครับ ถ้าทำได้เท่า YouTube ได้ทันที่ก็
ดูๆแล้วใช้ Protocol RTMPT การดาวน์โหลดทำได้ แต่ก็ยากกว่ากว่าของ YouTube รวมทั้งคุณภาพของไฟล์ที่ได้มาที่ต่ำกว่าเดิม (น่าจะป้องกันการละเิมิด
ตลาดเพลงมีไว้สำหรับคนฟังเพลง(น่าจะวัยรุ่นๆ) เห็นว่าตลาดดาวน์โหลดที่เค้าเปิดให้บริการมีมูลค่าสูงถึง 1000+ ล้านเลย
ระบบใหม่น่าจะทำรายได้ให้เพิ่มอีกเยอะ
ไม่ชอบที่เคยทำ แต่ตอนนี้ก็เอาใจช่วยเช่นกันครับ, อย่างน้อยก็ได้ปรับปรุงแก้ไข ไม่ใช่ทู่ซี้ทำซึนฯ อยู่ร่ำไป และหวังว่าอนาคตคงไม่แอบไปละเมิดใครเหมือนอย่างที่ไม่อยากให้ใครมาละเมิดเราเช่นกันนะ ;p
my blog
ที่เค้าทำว่าเป็นการตลาดอีกแบบหรือเปล่านะ
เพราะการแก้ไขไม่ใช่ทำง่ายเปลี่ยนระบบไปมาก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆนะ มีคนเขียนข่าวถึงเรื่องนี้เยอะเลย
ผมว่าเป็นโชคดีของแกรมมี่นะ ที่โดนจับได้ตั้งแต่แรกๆ ไม่ใช่ใส่เพลงไปเป็นร้อยๆเพลงแล้วเพิ่งมารู้ตัว คงจะเสียเวลาและเสียหน้ากว่านี้เยอะ
กลับสู่ความเป็นจริงเสียที
ก้าวกระโดงคลอง เย่!
May the Force Close be with you. || @nuttyi
เจาน้ำชา 1080p
เจาๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
+1เหมือนกันเลยครับ อยากได้ๆๆๆๆ
+1080
กากเต็มรูปแบบ อิอิอิ ต่อไปจะฟังเพลง GMM ต้องเปิดวิทยุรอ
when they play i sing along it made me smile ><
Comment ไม่ได้แล้ว
จริง ๆ GMM ทำให้คนสงสัยและเข้าไปดูเว็บ GMember มากขึ้นหรือเปล่าเนี่ย :P (แซว)
กลับสู่โลกแห่งความจริงแล้ว....
ถ้าพูดในแง่ของ marketing แล้ว fail 200%
อย่าลืม ค่ายเพลงเดี๋ยวนี้ รายได้มาจากคอนเสริต ค่าตัวนักแสดงไปตามงานต่างๆ ออก event โฆษณา เล่นละคร ส่วนรายได้จากการขาย tape จริงๆ มันหมดยุคไปเมื่อ 15 ปีแล้ว ไม่ใช่เพราะ MP3 ด้วย ไม่ใช้เพราะ Youtube ด้วย และไม่ได้เป็นที่เมืองไทยด้วยที่เดียวด้วย มันเป็นไปทั่วโลกครับ
แต่เป็นเพราะ ค่ายเพลงทั่วโลกประสบกับปัญหา "แฟนเพลงขาดแรงศรัทธา" ถามว่า แล้วไอ้แรงศรัทธาคืออะไร
ลองไปมองดูคอนเสริตเหล่านักร้องศิลปินรุ่นเก่าๆ ดูที่ห่างหายวงการไปนานแล้วมาออกคอนเสิรต บัตรราคาไม่ใช่น้อย 500 1500 2500 5000 เต็มหมด คนคนยอมจ่ายเพื่อศิลปิน
แล้วลองหันมาดูศิลปินยุคนี้ ... ฉาบฉวยเหลือเกิน ออกเทป สร้างกระแส ทำแผ่นเพลงขายนิดหน่อย แล้วก็หายตายไปจากกัน ถ้าบังเอิญ ศิลปืนคนนั้น ต่อยอดได้ เล่นละครได้ ออกเกมโชว์ได้ ก็กลับมาหากินตามสัญญาได้ ออกเทปนิดหน่อย
ศิลปืน "ปัจจุบัน" หลายคนเผางานตัวเองมาก ชื่อแซ่ยังไม่ทันจำได้ หายไปแล้ว แล้วก็มีคนใหม่แจ้งเกิดในวงการ หรือศิลปินดีๆ ทำเพลงดีๆ เปิดฟังเจอในรถ "เฮ้ยเพราะว่ะ ใครร้องว่ะ" นั่งฟังจนจบเพลง แล้วดีเจสมัยนี้ มันสอบใบอนุญาตมาได้ยังไง หน้าที่ดีเจ ที่ผมรู้จักดีเจดี "รุ่นลายคราม" ทันทีที่จบเพลงจะพูดชื่อเพลง ศิลปิน อัลบั้ม ปีที่ออก ที่มาเพลง ความคิดเห็นส่วนตัว แล้วเปิดเพลงใหม่ แต่ขอโทษครับ สมัยนี้ เพลงจบแล้ว ไม่พูดเลยว่าเพลงนั้นชื่ออะไร ใครร้อง ผมต้องจำเนื้อเพลงแล้วเข้าไปหาจาก google หรือ ยูทูป แล้วค่อยไปซือแผ่น
ยิ่งพัฒนาไป กลายเป็นว่าคนฟัง ที่คิดจะซื้อแผ่น ไม่รู้ว่าศิลปินดีๆ คนนั้นเขาชื่ออะไร ร้องเพลงอะไร
ใจจริงถ้าจะเอามาทำเอง ช่วยพัฒนาให้มันดีกว่ายูทูป ไม่ใช่เรื่องคุณภาพ ของ video แต่เป็นระบบเรื่องเพลงจริงๆ ทั้ง Lyric search , ชื่อศิลปิน , ที่มาเพลง , เนื้อร้อง , แรงบันดาลใจศิลปิน , เรื่องที่มันเกี่ยวกับเพลงจริงๆ
ถ้าคุณทำได้ ลองดูไหมหละครับ ว่าคนเขาจะเลิอกอะไร
เพลงมันคือจิตวิญญาณ ครับ
ไม่รู้ว่าคุณ Fourpoint ได้ตามมาอ่านไหม? ลองอ่านดูนะครับ
เห็นด้วยครับยุคนี้มันหมดยุคขายเพลงไปแล้ว สินค้าที่แท้จริงคือศิลปินต่างหาก ขนาดมีสื่อที่เข้าถึงง่ายยังหาจำหน้ากันไม่ได้เลย
โอ้ว คหนี้โดนใจมาก เรื่อง dj นี่+100 เลย ว่าแต่ เหมือนผมจะเคยได้ยินแว่วๆนะว่า เวลาเล่นเพลงเขาห้ามพูดแทรก หรือทำเสียงแทรก และต้องเปิดเพลงให้จบด้วย ใช่ไหมหว่า
ต้องบอกว่ามันเป็นผลกระทบย้อนกลับ จากการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างรุนแรงครับ
ในเมื่อทำเพลงออกมาขายแผ่นไม่ได้ ต้องไปเอากำไรจากส่วนอื่นๆซึ่งมันน้อยกว่าเดิม เงินที่จะลงทุนก็ต้องลดลง
ผมเคยอ่านบทสัมภาษณ์นักแต่งเพลงท่านนึง เขาเล่าว่าเมื่อก่อนเขาจะจ้างนักแต่งเพลงมือทอง เพื่อแต่งเพลงโปรโมท 3-4เพลงต่อalbum(ที่เขาเรียกว่าเพลงหน้าA) ที่เหลือจ้างนักแต่งเพลงมือรองๆ แต่งเพลงที่เหลือ เราเลยได้รับฟังเพลงที่ฟังครั้งแรกก็ติดหูจริงๆบ่อยมาก
แต่ในยุคลดต้นทุน เขาก็เลิกจ้างนักแต่งเพลงเก่งๆ(มือทองตกงานกันหมด) ไปจ้างนักแต่งเพลงมือใหม่ ที่คิดค่าจ้างถูกกว่าและกดราคาได้ง่าย เพลงมันก็เลยออกมาธรรมดาๆ เลียนแบบเกาหลีบ้าง ญี่ปุ่นบ้าง(เมื่อก่อนมันก็มี แต่เดี๋ยวนี้หนักกว่าเดิมเยอะ) เน้นขายหน้าตานักร้อง ไปเป็นแนวidol แทนที่จะเน้นขายความเป็นศิลปิน เพราะรายได้จากsms vote,กดโหลดเพลงผ่านมือถือ นั้นแซงหน้ายอดขาย CDไปเรียบร้อยแล้วด้วยซ้ำ บัตรคอนเสิร์ทของนักร้องแนวidol ขายหมดเร็วกว่านักร้องแนวขายเสียงเสียอีก
มันเป็นการปรับตัว ที่เกิดจากพฤติกรรมของผู้บริโภคเองน่ะครับ ใครเขาจะลงทุนทำเพลงดีๆแพงๆ ในยุคที่การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นเรื่องธรรมดาสามัญ ที่หลายคนไม่รู้สึกผิดที่จะกดโหลด mp3 หรือsave youtubeมาดูในมือถือ โดยที่แทบไม่จ่ายเงินไปถึงผู้ผลิตกันเลย
ที่นักร้องเก่าๆขายบัตรแพงๆได้และเริ่มมีกันบ่อยๆ ก็เพราะเขาแทบไม่ต้องลงทุนเพิ่มไงครับ เสียแค่ค่าproduction เท่านั้น เพลงก็เพลงเก่า ลิขสิทธิ์เก่าๆ ติดหูคนอยู่แล้ว คนดูก็มีกำลังซื้อสูง อยากดูเพื่อย้อนอดีตวันวานอันแสนหวาน ไม่เหมือนวงใหม่ๆ นักร้องใหม่ๆที่ต้องลงทุนเพิ่มอีกเยอะ เพลงก็ยังไม่ติดหู เด็กวัยรุ่นที่ติดตามกำลังซื้อแทบไม่มี ไปตามกรี๊ดๆกันซื้อแผ่นแท้กันสักกี่คน?
สุดท้ายวงการเพลงไทย ก็ต้องขาย"ของเก่า"กันไปเรื่อยๆ เพราะไม่มีใครอยากเสี่ยงลงทุนใหม่ เพลงใหม่ๆก็แย่ลง คนก็เลยไม่ศรัทธาที่จะซื้อของแท้เพราะมันห่วย ยอดขายก็แย่ ผู้ผลิตก็ต้องหาทางลดต้นทุน ฯลฯ กลายเป็นวงจรอุบาวท์หาที่สิ้นสุดไม่ได้
ยังอีกนานกว่าที่คนไทย จะก้าวไปถึงขั้นซื้อเพลง online ถูกลิขสิทธิ์กันมากๆ จนศิลปินและค่ายเพลงอยู่ได้เหมือนทางตะวันตก
ป.ล. ผมซื้อCDเพลงที่ชอบมา rip เป็นflac ไว้ฟังเองครับ(เพราะมันสะดวกกับlifestyle ปัจจุบันมากกว่า) ถึงจะไม่ได้ซื้อทุกแผ่น โหลดบ้างก็มี แต่ก็พยายามเท่าที่งบจะอำนวย เพราะคิดว่าฟังเพลงแล้วชอบ กดlikeในyoutube ศิลปินเขาก็ไม่ได้ตังค์สักบาท สู้เก็บตังค์ซื้อแผ่นบ้างนานๆที ยังมีเงินย้อนกลับไปถึงผู้ผลิตให้เขามีเงินกินข้าวบ้างก็ยังดี
ผมว่า "ที่นักร้องเก่าๆขายบัตรแพงๆได้และเริ่มมีกันบ่อยๆ ก็เพราะเขาแทบไม่ต้องลงทุนเพิ่มไงครับ" มันไม่เป็นเหตุเป็นผลกันนะ
เรื่องอื่นไม่ขอออกความเห็นครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
อ่านให้ครบย่อหน้าสิครับ คำตอบมันมีอยู่ส่วนหลัง แต่ผมไม่ได้เขียนติดกัน
"...ที่นักร้องเก่าๆขายบัตรแพงๆได้และเริ่มมีกันบ่อยๆ ก็เพราะเขาแทบไม่ต้องลงทุนเพิ่มไงครับ เสียแค่ค่าproduction เท่านั้น เพลงก็เพลงเก่า ลิขสิทธิ์เก่าๆ ติดหูคนอยู่แล้ว คนดูก็มีกำลังซื้อสูง อยากดูเพื่อย้อนอดีตวันวานอันแสนหวาน ไม่เหมือนวงใหม่ๆ นักร้องใหม่ๆที่ต้องลงทุนเพิ่มอีกเยอะ เพลงก็ยังไม่ติดหู เด็กวัยรุ่นที่ติดตามกำลังซื้อแทบไม่มี ไปตามกรี๊ดๆกันซื้อแผ่นแท้กันสักกี่คน?"
มีบ่อยๆ->ลงทุนไม่สูง, เพราะเพลงใช้เพลงเก่าค่า LC ไม่เสียเพิ่ม ไม่ต้องโปรโมทมาก เราเลยพบเห็นคอนฯย้อนวัยกันมากขึ้น
ขายบัตรแพงๆได้->ฐานลูกค้าคือคนวัยทำงานกำลังซื้อสูงกว่าสมัยวัยรุ่นเยอะ
บัตรขายดี->เพราะเพลงเก่าๆติดหูกันอยู่แล้ว เป็นเพลงยุคที่นักแต่งเพลงเก่งๆแต่งเพลงกันเยอะ และคนดูวัยทำงานหรือมีอายุหน่อย ก็จะเริ่มอยากย้อนอดีตความหลังวันวานอันแสนหวาน เช่นเคยส่งเพลงนี้ให้รักแรก ฯลฯ
แต่ข้อจำกัดก็คือ มันทำบ่อยมากไปไม่ได้ เดี๋ยวคนดูจะเบื่อ(เพราะคงไม่มีใครอยากฟังเพลงเก่าซ้ำๆในเวลาไม่นาน) อย่างมากก็ปีละหนสองหน ซึ่งที่เห็นเขาก็ใช้วิธี วนศิลปินเอา คอนฯรอบแรก เอาวงนึงเป็นmain แล้วเอาอีกคนมาเป็นguest ให้ฮือฮา คอนฯรอบถัดไปก็เอาคนที่เคยเป็นguest มาเป็นวงหลักแทน แล้วค่อยไปปีถัดไป
ผมนึกว่าวงจรอุบาทว์มันเริ่มจากค่ายเพลงทำเพลงดีมาแค่ไม่กี่เพลง คนซื้อรู้สึกว่าไม่คุ้มค่าแต่ก็ต้องอดทนเอา จนกระทั่งmp3เกิดขึ้นมาคนจึงหันไปหาเพราะรู้สึกถูกเอาเปรียบโดยค่ายเพลงมาตลอด ซึ่งแทนที่ค่ายเพลงจะรู้สึกตัวกับทำเพลงห่วยลงกว่าเดิมอีก จนทำให้คนฟังเพลงรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินให้กับเพลงก็ได้ วงจรอุบาทว์นี้มันเริ่มจากค่ายเพลงโลภมากและไม่จริงใจต่อลูกค้าทั้งๆที่เป็นอาชีพของตนจึงทำให้อาชีพนั้นดิ่งลงไปในทางเรือหาย แล้วนี้ก็ไม่ใช่วงจรอุบทว์ตั้งแต่ต้นถ้าค่ายเพลงหยุดความโลภของตน ทำงานให้หนักขึ้น จริงใจให้มากขึ้น วงจรอุบาทว์ก็จะค่อยๆหายไป แต่ถ้าค่ายเพลงยังเลือกเดินไปตามกระแสแห่งความอุบาทว์มันก็ไม่มีใครช่วยท่านได้ อาชีพของท่านเองอยากให้มันเป็นยังไงก็ขึ้นอยู่กับท่าน
มันไม่มีอาชีพนักฟังเพลง มันมีแต่อาชีพนักแต่งเพลง นักร้อง ฯลฯ ดังนั้นนักฟังเพลงไม่สามารถทำอะไรวงจรนี้ได้ ผู้ที่จะตัดวงจรนี้ได้มีแต่ค่ายเพลงกับผู้เกี่ยวข้อง
คนไม่ได้หันไปหา mp3 เพราะถูกเอาเปรียบหรอกครับ แต่เพราะอยากเอาเปรียบต่างหาก เพลงไม่ดีก็ไม่ต้องไปฟังแค่นั้นเอง แต่คนอยากฟังแบบฟรีๆ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
@darkfaty
ไม่จริงครับ เพราะตามเว็บดาวน์โหลดเพลง เค้ามีให้โหลด "ทั้งอัลบั้ม" ไม่ใช่แค่เพลงฮิตหนึ่งเพลงในอัลบั้มนั้น
ถ้าไม่คิดว่าคุ้มเงิน ก็ไม่ต้องซื้อ หรือเลือกฟังจากสื่ออื่น เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ
การขโมยไม่ใช่ทางเลือกตั้งแต่แรกแล้ว
รอจะตอบนานนนนนมากกกกก อยากให้เพิ่มโควต้าจัง
@Zatang อยู่กันคนละฝั่งอีกแล้วน่ะครับแหะๆ เหมือนเดิมครับผมอยู่ฝั่งลูกค้า
แนวคิดว่าลูกค้าเป็นคนไม่ดีนี้เป็นของค่ายเพลงที่พยายามหาคำอธิบายพฤติกรรมการดาว์นโหลดเพลงโดยไม่ได้รับอนุญาติซึ่งมันก็ไม่จำเป็นที่จะถูกทั้งหมด ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การมาของเทคโนโลยีที่ง่ายกว่าดีกว่าจะฆ่าของเก่า บริษัทต่างๆที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนั้นๆจะต้องคอยเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงนี้ หากค่ายเพลงปรับตัวโดยด้วยวิธีต่างๆที่เราเห็นตัวอย่างจากค่ายเพลงต่างประเทศทำก็จะทำให้ลดปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ ซึ่งการใช้วาทะกรรมว่าลูกค้าเลวเพื่อตอบตัวเองไม่ได้แก้ปัญหาใดๆเลย
@WarHammeR_TH ขออนุญาติตอบรวมกันน่ะครับโควต้ามันหมดเร็ว
เรื่องการขโมยเป็นสิ่งไม่ดีครับไม่ควรขโมยน่ะครับ ที่ผมตอบมันทำให้คุณคิดว่าผมสนับสนุนการขโมยเหรอครับ ผมเสนอความเห็นตอบคุณ Fourpoint ว่าค่ายเพลงควรพยายามหาวิธีแก้ปัญหาวงจรอุบาทว์เพราะมันเป็นอาชีพของเขา การมาด่าลูกค้าเป็นตัวการในการทำลายวงการเพลงนี้มันไม่ได้ช่วยอะไรพวกเขาเลย ยังไงเขาก็ต้องขายของให้กับลูกค้าเหล่านี้อยู่ดี บางทีผมอาจจะพิมพ์ไม่ละเอียดพอคุณเลยเข้าใจผิดน่ะครับขอโทษด้วย
ปล.เรื่องเพลงไม่ดีไม่ต้องไปฟังกับมีให้ดาวน์โหลดทั้งอัลบั้มอันนี้นอกประเด็นไปไกล เพราะการให้ความเห็นของผมเพื่อจะบอกว่า "ค่ายเพลงโลภลดคุณภาพของเพลงเป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้เกิดการละเมิดมากขึันควรหยุดการกระทำนั้นซะ ลูกค้าเค้าจะหันกลับมาสนับสนุนเอง" ดังนั้นขอไม่ตอบความเห็นนั้นน่ะครับ
ความเห็นนี้ฟังขึ้นครับ
... แต่ผมคิดว่าคนมีเรื่องอย่างอื่นให้ทำ เลยไม่สนใจเพลงอีกแล้วมากกว่า
อย่างผม ตอนนี้เวลาว่าง ส่วนใหญ่กลายเป็นเกมส์ (PC & 3DS) ที่เหลือเป็น Podcast (กำลังย้อนดู epic meal เลย) และกิจกรรมอื่นๆ
น้องสาวฟังเพลง ... เกาหลี ส่วนแม่ก็ติด Facebook
tv ที่บ้านไม่ใด้เปิดเป็นเดือนแล้ว
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
การลดต้นทุนไม่ได้เกิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์เพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากการแข่งขันกันที่สูงขึ้น จากที่เมื่อก่อนศิลปินจะเป็นได้ต้องเก่งจริงๆ ปัจจุบันแค่มีหน้าตาดีเสียงดีนิดหน่อยก็เป็นได้ ศิลปินเหล่านี้ยังมีจำนวน'มาก'คงจะยากที่ใครจะซื้อแผ่นทุกศิลปินที่ตนเองชอบ มันยังเป็นแค่กระแสที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป นอกจากนี้โลกเราไม่ได้ปิดอีกแล้ว การแข่งขันต้องแข่งกับคนทั่วทั้งโลกทั้งคุณภาพ ราคา และตัวศิลปินเอง
การจ้างนักแต่งเพลงเก่งๆ ไม่ได้เป้นการประกันว่าเพลงที่ได้จะดีกว่าเพลงที่นักแต่งเพลงรุ่นใหม่แต่งเสมอไปอีกแล้ว ยุคสมัยเปลี่ยน แนวเพลงที่ผู้บริโภคชื่นชอบก็เปลี่ยนไปด้วย โดยเฉพาะจำนวนนักแต่งที่เพิ่มขึ้นมามาก มันก็เหมือนแต่ก่อนที่วิศวะเป็นวิชาชีพที่โดดเด่น มีการแข่งขันน้อยหาคนเก่งๆยาก แต่ตอนนี้มันไม่ได้เป็นแบบนั้นแล้วครับ
ช่องทางที่เข้าถึงได้ฟรี อันนี้คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าช่องทางการเข้าถึงในปัจจุบันนั้นมีจำนวนมาก ทั้งทางทีวี วิทยุหลากหลายสถานีที่ฟังได้ทั้งทางคลื่นและออนไลน์ รวมการละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งก็เป็นเพียงช่องทางหนึ่ง พอเบื่อก็มีเพลงใหม่จากนักดนตรีใหม่เข้ามาแทน ความสำคัญของเพลงจึงไม่ได้สำคัญอีกต่อไป
เรื่องเหล่านี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งนั้นครับ เราจึงบอกไม่ได้หรอกว่าผลทั้งหมดมาจากการละเมิดลิขสิทธิ์(ซึ่งมันก็มีส่วน แต่ไม่ใช่ทั้งหมด)
โลกมันเปลี่ยนไปแล้วครับ การแข่งขันทั่วโลก เทคโนโลยีใหม่ๆ เทรนปัจจุบัน จำนวนคนทั้งศิลปินและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ช่องทางการเข้าถึง จริงๆอยากแนะนำหนังสือ "The World is Flat" ให้อ่านครับ ประเทืองความรู้มาก
ปล. ผมเป็นคนที่ชอบฟังเพลงคุณภาพเสียงดีๆที่กากๆคนหนึ่งและ rip เพลงเป็น flac ไว้ฟังเหมือนกันครับ ส่วนแนวเพลงที่ผมฟังมันมักจะไม่ยึดติดกับตัวศิลปินเท่าไหร่นี่สิ xD
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ขอตอบทีเดียว quota มีน้อย ใช้สอยประหยัด@Mckay
การแข่งขันที่สูงขึ้น?ถ้ามองว่ามีการแข่งขันจากภายนอกประเทศมากขึ้น มีส่วนจริงครับ เพราะเดี๋ยวนี้เราเข้าถึงเพลงต่างชาติได้ง่ายกว่าเดิม แต่ถ้านับเฉพาะในประเทศ ผมว่าจำนวนalbum ที่ออกมาน้อยกว่าเดิมนะ ค่ายเพลงเล็กๆกลับล้มหายตายจากไปหมดด้วยซ้ำ เหลือแต่ค่ายเพลงใหญ่ๆที่สายป่านยาว
จริงครับ เพลงดีๆอาจจะมาจากนักแต่งเพลงมือใหม่ก็ได้ แต่ค่าตัวของนักแต่งเพลงเก่งๆ ก็เกิดจากผลงานเก่าๆของนักแต่งเพลง ไม่ใช่เพราะค่าตัวแพง นักแต่งเพลงเลยเก่ง แต่เพราะนักแต่งเพลงเก่ง เลยค่าตัวแพงครับ เรื่องพวกนี้เป็นไปในทางเดียวกันกับวงการศิลปะและการออกแบบ โดยเฉพาะสถาปนิก จริงอยู่ว่านักแต่งเพลงเก่ง อาจจะหลุดเพลงห่วยก็ได้ แต่นับเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่า ที่จะได้เพลงดีๆจากนักแต่งเพลงมือใหม่ อยากให้ลองไปค้นเพลงเก่าๆ ดังๆ ชื่อนักแต่งเพลงชื่อดังทั้งนั้นครับ โดยเฉพาะของพี่เบิร์ด เพลงติดหู โปรโมทนี่ แต่งกันวนๆอยู่ไม่กี่ท่าน ค่าตอบแทนสูงๆก็เป็นแรงจูงใจที่จะให้นักแต่งเพลง มีความตั้งใจสูง ละเอียดพิถีพิถัน ไม่ใช่ทำงานส่งๆ แอบลอกชาวบ้านมาง่ายๆ
ช่องทางเข้าถึงได้ฟรี อันนี้เป็นส่วนสำคัญ ที่เกิดจากเทคโนโลยี โลกยุคอนาล็อค การ copy ทำได้ยาก เนื่องจากติดข้อจำกัดทางกายภาพของสื่อ ถึงจะโปรโมทผ่านวิทยุฟรีทีวี คนฟังก็อัดเพลงลำบาก เพราะสัญญาณไม่ดี ถึงจะมีต้นฉบับเทปของเพื่อน แต่จะอัดต่อ ก็มีต้นทุน เทปตลับละ 20บาทฟังไม่กี่ทีก็ยืด จะให้ทนๆเหมือนของแท้ ต้องซื้อของ maxell ตลับละ 60-70 บาทมาอัด เพิ่มอีกนิดก็ได้ของแท้แล้ว วงการของเถื่อนยุคนั้น เลยกระทบต่อค่ายเพลงน้อยครับ
แต่ยุคนี้ล่ะ? วิทยุผ่านเนทอัดแสนง่าย youtube แปลงfile เป็นmp3 ได้แค่คลิกเดียว หรือแม้แต่เข้า google ชื่อเพลง.mp3 ทีเดียวก็เจอ มันทำให้แนวโน้มที่จะละเมิดกันได้ง่าย และเมื่อทำบ่อยๆมันก็จะติดนิสัยครับ ในเมื่อของเถื่อนก็ได้คุณภาพการรับชมใกล้เคียงของแท้ แล้วจะซื้อของแท้ไปทำไม?
ความง่ายในการละเมิดมันก็ทำให้ คนที่กลางๆ มีแนวโน้มที่จะเอียงไปทางละเมิดกันมากขึ้นอีกด้วย
การปรับตัวเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อที่จะอยู่รอดได้ในยุคที่การละเมิดลิขสิทธิ์สูงมากๆครับ ดังที่ยกไป การหารายได้จาก sms,โหลด ringtone ที่ผมเชื่อว่าหลายคนที่นี่ แทบไม่เคยใช้งาน เพราะคนเก่งคอม มีทางเลือกอื่นที่ง่ายกว่า และคุณภาพดีกว่า แต่ก็ด้วยผลตอบแทนที่ต่ำลง มันก็ย้อนกลับมาทำให้ต้นทุนการผลิตต้องลดต่ำลงอยู่ดี และแนวโน้มก็เป็นแบบนี้กันทั่วโลกเช่นกัน จริงอยู่ว่าการละเมิดอาจไม่ใช่ปัจจัยเดียว แต่มันเ้ป็นปัจจัยหลัก โดยมีเทคโนโลยีเป็นสิ่งเีีร้าอย่างรุนแรงครับ
@YF-01ส่วนคำว่าแรงศรัทธา มันสร้างยากจริงครับ นานๆทีเราถึงจะเห็นวงดนตรีที่หลุดออกมา เป็นผู้นำกระแสหลักแทนได้ ซึ่งถ้าย้อนไปสมัยdigital เริ่มต้นใหม่ๆ ค่ายเพลงอย่างเบเกอรี่ก็ถือเป็นค่าย ที่แหวกแนว สร้างแรงศรัทธาแบบใหม่ๆเช่นกัน แต่สุดท้ายก็ทนกระแสละเมิดไม่ได้ ล้มหายตายจากไปหมดอยู่ดี
เรื่องโอตาคุ ผมว่าเป็นตลาดเฉพาะครับ เพราะในญี่ปุ่น idol ที่เน้นตลาดโอตาคุเอง ยอดขายโดยรวมก็สู้ศิลปินแท้ๆไม่ได้อยู่ดี (นานๆทีถึงจะแซงได้บ้าง แบบ AKB48) รายได้หลักของidol กลับกลายเป็นการขายของที่ระลึกต่างๆ และการจัดคอนฯ ซึ่งโมเดลนี้บ้านเรา ก็เลียนแบบ เช่นพวกreality show แล้วมาแข่งร้องเพลงนั่นแหละ(แต่ดันเลียนแบบด้านยอดขายแผ่นไม่ไ่ด้)แต่ไปเน้นจาก sms vote แทน เพราะคนทั่วไปเข้าถึงง่ายกว่า จ่ายทีละน้อยๆ เลยกดบ่อยๆโดยไม่ทันระวัง รวมแล้วมากกว่าซื้อแผ่นเสียอีก
แต่อย่างที่ว่าไป มันจับได้แค่ตลาดเฉพาะเท่านั้น และตลาดเฉพาะในเมืองไทย ดันมีกำลังซื้อต่ำ เพราะส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น และฐานรายได้ที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับญี่ปุ่น ก็ยังไม่สามารถขึ้นเป็นรายได้หลักทดแทนของค่ายเพลงได้ง่ายๆ
การละเมิดที่ทำได้ง่าย ทำให้เราติดนิสัยที่จะละเมิด และเมื่อคนส่วนใหญ่ทำกันเป็นประจำ มันก็ทำให้คนที่เคยเป็นขาประจำ ก็มีความโน้มเอียงที่จะเริ่มละเมิดกันมากขึ้นตามไปด้วยครับ
โมเดลที่เขาทำกันตอนนี้ คือพยายามดึงเงินจากขาจร และขาประจำ ให้ยอมจ่ายง่ายขึ้น (ดังที่เราเห็น sms vote,ringtone เสียงรอสาย)ยอมเก็บเล็กผสมน้อย ดีกว่าไม่ได้อะไรเลย
@btxxxxมันก็เป็นสองมุมมองไงครับ มุมมองค่ายเพลง ก็ต้องหาทางปรับตัว หรือหาวิธีใหม่ๆ ในการสร้างกระแสให้คนยอมจ่ายของแท้มากขึ้น ทั้งทางตรงและอ้อม ซึ่งแต่ละโมเดล ก็อาจจะถูกใจหรือไม่ถูกใจกัน
ส่วนในมุมของผู้บริโภค ก็ต้องรับรู้ด้วยว่า ถ้าเรายังติดนิสัยละเมิดกันง่ายๆต่อไป ค่ายเพลงดีๆก็จะล้มหายตายจากไปหมด เหลือแต่ค่ายเพลงที่เน้นธุรกิจ หรือขายหน้าตาแบบidol ไปเกือบหมด ซึ่งถ้ามันถูกจริตคุณก็ดีไป แต่ถ้าไม่ชอบล่ะ จะเรียกร้องหาเพลงแบบยุคเก่า ที่เจ๋งมากๆ ฟังครั้งแรกก็ติดหู ฮัมเพลงตามได้ทั้งบ้านทั้งเมือง มันย่อมไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป และต้องรับรู้ว่ามันเกิดจากผลกระทบย้อนกลับของพฤติกรรมของเราเอง
อย่างค่าย Rx ที่คุณยกมา ก็เห็นชัดเจน แม้เมื่อก่อนจะมีศิลปินที่เน้นหน้าตาบ้าง แต่หลายเพลงที่เคยมีก็ติดหู คนชอบกันมากมาย ถือเป็นแนวเพลงแบบหนึ่งที่นิยม แต่สมัยนี้ล่ะ มีวงไหนบ้าง ลองให้คุณนึกชื่อวง นึกออกบ้างไหม ที่เห็นก็มีแนว idol แทบจะล้วนๆ เพลงแทบไม่มีติดหูกันเลย สุดท้ายก็ต้องเปลี่ยนไปเน้นธุรกิจสื่อผ่านดาวเทียม ขายลิขสิทธิ์ร้านอาหาร และจัดคอนฯเพลงเก่าๆ ถ้าจะบอกว่ามันคือการพัฒนา ผมต้องบอกว่า เขาปรับตัวเพื่อกันตายมากกว่าครับ
จริงๆทางออกที่สวยงามที่สุด แต่เป็นไปได้ยากที่สุดเช่นกัน คือการที่ผู้บริโภคเกิดจิตสำนึก ในคุณค่าของลิขสิทธิ์(แบบประเทศญี่ปุ่น ที่ยอดขายของแท้สูงมากแทบจะที่สุดในโลก) และเข้าใจข้อเท็จจริงว่า นักร้อง นักแต่งเพลง ค่ายเพลง ก็ต้องกินต้องใช้ คุณรับชมแล้วชอบใจ แต่จะไม่ตอบแทนเขาสักนิด แล้วเขาจะอยู่ได้อย่างไร?
เวบblognone เป็นแหล่งรวมของข่าวIT ผมคิดว่าโดยส่วนใหญ่จะเข้าใจถึงคุณค่าของ ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างดี ถึงเราอาจจะหาข้ออ้างในการที่จะไม่ใช้ของแท้บ้าง แต่ลึกๆแล้ว ผมว่าเราเข้าใจในคุณค่าของแท้กัน
แต่ผมพอตอบได้บ้างนะว่าของ RS เนี่ยมันมีใครบ้าง (นี่ก็เป็นสิ่งที่คุณเข้าใจไปเองอีกแล้ว) เพราะหลาย ๆ คนผมชอบที่จะ "ดู" แต่ผมไม่ชอบ "ฟัง" ซึ่งสาเหตุที่ผมตอบได้ก็เพราะอะไรครับ? เพราะผมซื้อแผ่นเพลง (สมัยนี้) เค้าน่ะเหรอ? หรือผมไปเปิด youtube เพื่อแปลงเป็น mp3 มาฟังเหรอ? หรือแม้กระทั่งไปโหลด mp3 ตามเว็บฝากไฟล์หรือเว็บบิทเพื่อมาฟังเหรอ? มันไม่ใช่หรอกครับ
คุณตอบผมว่ามันต้องมองสองมุม แต่ที่คุณพิมพ์มาน่ะ คุณกลับไปอ่านดูสิครับ ว่าคุณเขียนกี่มุม? คนนั้นคนนี้บอกว่า ด้านค่ายเพลงผิดตรงนั้น ตรงนี้ คุณก็พยายามบอกแต่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากผู้บริโภคไปละเมิดลิขสิทธิ์เค้า แล้วมันจะ 2 มุมได้ยังไง?
เรื่องที่คุณจะมาเรียกร้องเรื่องการเคารพลิขสิทธิ์อะไรนั่น มันไม่มีใครเถียงคุณหรอกว่าการเคารพเรื่องลิขสิทธิ์มันดีหรือไม่ดี (โดยเฉพาะกับคนส่วนใหญ่ที่นี่) สิ่งที่ผมกับอีกหลาย ๆ คนสื่อ กำลังบอกว่า วิธีรักษาสิทธิ์ของคุณแบบนี้ มันเหมาะสมหรือไม่ต่างหาก อย่างที่ผมบอกไปว่าเคส GMM กับทรู ผมก็ยังเคยแสดงความเห็นว่า มันเป็นลิขสิทธิ์ของเค้าคุณไม่จ่ายเงินเค้าคุณก็ไม่ได้ดู คุณต้องมองเหตุผลที่คนอื่นเค้ายกมาให้คุณฟังด้วยเหมือนกันว่า แล้วเค้าพูดผิดตรงไหน? มันไม่ใช่เรื่องจริงเลยหรือ? (เท่าที่จำได้ผมอธิบายให้คุณอ่านทั้งกระทู้ก่อนและกระทู้นี้ไม่ต่ำกว่า 3-4 รอบแล้ว)
งั้นลองตอบมุมของคุณ ที่คุณอยากได้ โดยที่ค่ายเพลงต้องมีรายได้เพียงพอที่จะอยู่ได้ด้วยนะครับ ^^
อย่างที่ยกไปแล้ว โลกในฝัน ค่ายเพลงออกalbumสุดยอด แรงศรัทธาสูงใครๆก็อยากสนับสนุนของแท้กันหมด แต่ในโลกจริง มันยาก ต่อให้สุดยอด แต่โดนละเมิดไปเยอะ คุณอาจไม่ละเมิดแต่คนส่วนใหญ่ในไทยละเมิด มันก็จบ นักร้อง ค่ายเพลงจะเอารายได้จากไหน?
ส่วนค่ายRx เท่าที่ติดตามตอนนี้ก็มีแต่แนว idol นะครับ(ถ้ามีแนวศิลปินแท้ๆอยู่ ช่วยยกชื่อมาที ผมนึกไม่ออกจริงๆ) เพลงติดหูแบบยุคนู้นแทบไม่มี จะโทษว่าผมแก่เกินวัยไปแล้วเลยไม่ถูกหู แต่ผมก็ยังตามฟัง MM! Berryz koubo บ้างเช่นกันนะ(สั่งแผ่นHK/JPเอา ของไทยนานๆทีออก)
คำว่าปรับตัว มันก็ต้องปรับตัวครับ ขายแผ่นไม่ได้เขาก็ต้องหาทางเอาเงินด้านอื่นแทน แต่รายได้ตรงนี้มันก็ไม่ได้มากมายอะไรเหมือนยุคก่อนๆ(แม้มันจะมากกว่ายอดขายแผ่นปัจจุบันก็เถอะ) ทำให่ค่ายใหญ่ๆก็พยายามลดต้นทุนลง ค่ายเล็กก็ล้มหายตายจากไป สุดท้ายมันก็เข้าวงจรอุบาทว์ แต่จะโทษว่าใครเริ่มก่อนก็คงยาก มันก็ผสมผเสกันไป คุณชอบดูชอบฟังผ่านyoutube แล้วซื้อแท้บ้าง แต่คนอื่นๆที่อาจเป็นสัดส่วนใหญ่กว่าดูและฟังแต่ไม่ยอมจ่ายเงินสักบาท ทางค่ายเขาก็ต้องตัดสินใจว่าจะเอาอย่างไรกันดีนั่นแหละ
อีกอย่างเห็นกระทู้ก่อนมีคนบ่นว่า package CD เป็นdigipackมันไม่ดึงดูด แต่มองอีกแง่ แผ่นราคาร้อยต้นๆก็ถือว่าถูกมาก เมื่อเทียบกับยุคก่อน(450บาท) หรือแม้แต่เทียบกับเพลงตปท.ที่ขายในไทย(ver.Thai ราคาประมาณ390บาท) ก็ต้องบอกว่าคุณภาพตามราคา ของแถมจะเอาเยอะก็ต้องขายแพงขึ้น เขาก็กลัวว่ายอดขายอาจจะลดลง เพราะแฟนพันธุ์แท้จริงๆมีน้อย มันก็เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากผลกระทบย้อนกลับนั่นแหละครับ จริงๆเรื่องนี้ก็เหมือนกับในวงการการ์ตูนอนิเมะไทยเช่นกัน ทำดีๆขายแพงๆ ก็ขายไม่ออก แต่พอทำถูกๆของแถมน้อยคนก็บ่นว่าห่วย พาลไม่ซื้ออีก มันเป็นเรื่องของ business decision ที่ต้องอ้างอิงจากmarket researchด้วย ไม่งั้นก็เจ๊งกันหมดล่ะครับ
/*เพิ่มเติมกระทู้ที่พันทิป ที่น่าสนใจและเป็นมุมมองจากคนในวงการโดยตรง "คนทำเพลง คนแต่ง โปรดิวเซอร์ ไม่ได้อะไรเลย"...
โอตาคุนั่นผมยกแบบสุดโต่งเลยอ่ะครับ
อย่างที่คุณบอกละครับ ตลาดญี่ปุ่นซื้อของถูกลิขสิทธิ์สูงมาก และถ้ามองลึกไปอีกหน่อยจะเห็นว่าลูกค้าที่นั่น"ศรัทธา"ในตัวศิลปินสูงมากเช่นกัน (เมื่อก่อนผมก็ไล่เก็บ BoA ของแท้ทุกอัลบั้ม..)
มันเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องกันไปครับ เมื่อรักในตัวศิลปินคุณก็จะสนับสนุนของแท้ เมื่อซื้อของแท้จนชินก็จะมีสำนึกเรื่องลิขสิทธิ์
ซึ่งผม"เชื่อ"ว่าการสร้างศรัทธาง่ายและยั่งยืนกว่าการรณรงค์สำนึกด้านลิขสิทธิ์อย่างเดียวครับ เพราะมันจับต้องได้ยากกว่ามาก แต่บ้านเราเลือกทางยากเพราะมันเหมือนจะง่ายกว่า
บ้านเรากลัวจะแบบ ศรัทธามีเพลงฮิต แต่ฉันไม่จ่าย
ขนาดศิลปินที่ว่าดังๆ bodyslam ในalbum คราม ซึ่งผมคิดว่าเพลงก็ติดหูมากๆ แต่จากเสียงเล่าลือในพันทิป ก็มียอดขายไม่ถึงหมื่นชุด แค่ค่าproduction ทำแผ่น ยังไม่พอเลยมั๊งครับ -_-"
แต่รณรงค์ให้เค้าซื้อ แล้วจะทำให้เค้าจ่ายเหรอครับ?
ไม่ศรัทธา+รณรงค์ = จ่าย? กับศรัทธา+ไม่รณรงค์ = จ่าย?
คุณคิดว่าแบบไหนจะเป็นไปได้มากกว่ากัน?
สุดท้าย คุณกลับไปอ่านที่แต่ละคนเค้าพิมพ์กันใหม่ หรือ แม้แต่ที่เค้ายกตัวอย่างเฮียฮ้อเอง อีกรอบนะครับว่า สิ่งที่บริษัทเค้าจะได้จาก "ลูกค้า" มันแค่ "ยอดขายแผ่น" หรือเปล่า?
แล้วคุณได้อ่านที่ผมบอกหรือเปล่า รายได้ทางอื่นมันน้อยเมื่อเทียบกับรายได้จากยอดขายแผ่นโดยตรง(สมัยก่อน)ครับ ถ้ามีทางเลือกเขาก็อยากได้ยอดขายแผ่น มากว่ายอดviewสูงๆ แล้วไปซือสินค้าประกอบอื่นๆอีกนิดหน่อย
ซึ่งขนาดศิลปินชื่อดัง ที่คนดูมีศรัทธาสูงๆ บอกชื่อไปคนทั่วไปรู้จักหมด เพลงก็ติดหูกันหมด แทบไม่ต้องโฆษณารณรงค์อะไรเลย ยอดขายแผ่นยังต่ำเตี้ยติดดินยังกับวงอินดี้ยุคก่อนแบบนี้ คุณจะหาทางออกอย่างไรดี?
ผมถามไปคุณยังไม่ตอบเลยนะ ว่าโมเดลธุรกิจแบบไหน ที่จะทำให้นักร้องและค่ายเพลงอยู่รอดได้ในปัจจุบัน?
เอะอะก็โฆษณาทางอ้อม ตปท.เขาโฆษณาทางอ้อมแล้วคนเขาไปซื้อเพลงแท้กัน แต่บ้านเราโฆษณาผ่านเนทไป ก็ขายได้แต่sms vote,rintone ซึ่งส่วนนั้นมันมีโฆษณาทางอื่นที่เจาะลูกค้าโดยตรงอยู่แล้ว มันเลยแทบไม่เห็นผลยังไงล่ะครับ
ส่วนเฮียฮ้อไม่เคยเป็นfirst moveในวงการครับ(ยกเว้นกรณีเรื่องลิขสิทธิ์ทีวีดาวเทียม) แกปรับตัวทีหลัง หลังปล่อยให้ค่ายอื่นลองผิดลองถูกไปก่อน ก็ยังทำให้อยู่ได้ แต่ก็เลยทำให้ค่ายไม่ขยายตัวใหญ่ไปกว่านี้สักเท่าไร คนมาอวยกัน เพราะแกตอบเอาใจลูกค้าที่เพิ่งด่าค่ายใหญ่ไปนั่นแหละ
คุณเอาหลาย ๆ เรื่องมาปนกัน เพื่อให้คนอื่นเชื่อในสิ่งที่คุณพูด แต่หลาย ๆ สิ่งที่ว่ามันไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่อง หรือเป็นเหตุเป็นผลต่อกันเลย
ตัวอย่าง...
รายได้ทางอื่น (ในปัจจุบัน) มันน้อย เมื่อเทียบกับรายได้จากยอดขาย "แผ่น" โดยตรง (สมัยก่อน)-> ข้อความนี้มันเป็นเหตุเป็นผลสนับสนุนเรื่องใดของคุณ? เมื่อก่อนค่ายเพลงขายเทปได้แตะหลักล้านตลับ เป็นเพราะคนไม่ละเมิดลิขสิทธิ์น่ะเหรอ? แต่ก่อนเทปมันอัดต่อกันไม่ได้? ไม่มีเทปผี? ฯลฯ และมันเป็นแบบนั้นจริงทุกอัลบั้มหรือเปล่า? ผมและหลาย ๆ คนบอกคุณว่า "มันเป็นปัจจัยหนึ่ง" เท่านั้น!
ส่วนที่คุณถามผมว่า โมเดลธุรกิจแบบไหนที่จะอยู่รอดได้? ผมบอกตามตรงว่า "ผมไม่รู้" แต่ถ้าถามว่า ทำแบบไหนแล้วผมในฐานะ "ลูกค้า" พอใจและอยากซื้อสินค้าคุณ "ผมตอบได้" (และอธิบายไปแล้ว)แล้วคุณตอบสมการข้างบนของผมได้ไหมว่าอันไหนควรจะเป็นข้อเท็จจริง?
เรื่องเฮียฮ้อผมก็เคยเขียนไปแล้วว่า ถ้าคราวบอลยูโร ผมนี่แหล่ะที่ว่าเค้าว่าไม่ถูกที่ไปยุ่งเรื่อง GMM กับทรู แต่ครั้งนี้ที่ผมบอกว่าโอเค คือ "แนวคิดที่รู้จักปรับตัว" ไม่ใช่ "ตัวเฮียฮ้อ"
คุณลองอ่านความเห็นด้านล่างดูสิครับ หรือจะเอาแค่ตัวคุณเองก็ได้ ว่าแต่ละเพลงที่คุณฟัง คุณซื้อทุกแผ่นหรือเปล่า? และเหตุผลที่ทำให้คุณตัดสินใจที่จะซื้อเพราะอะไร?
ย้อนกลับไปอีกจังหวะ ผมว่ามันมาจากการขาด"แรงศรัทธา"นั่นแหละครับ
ถ้ายกตัวอย่างสุดโต่งแบบโอตาคุญี่ปุ่นที่ต้อง"ซื้อ3" นั่นมันเป็นสภาพที่เกินกว่าคำว่าลิขสิทธิ์ไปแล้ว ถามว่าลูกค้าประเภทนี้ถึงมีโอกาสละเมิดได้เขาจะละเมิดไหม? ถ้าทำให้เกิด"แฟนคลับ"แบบนักร้องเกาหลีได้เขาจะละเมิดไหม?
สภาพตลาดปัจจุบันของเราลืมเรื่องนี้ไปได้เลย เราไปมองกลุ่ม"ขาจร"ที่แทบไม่อยากซื้อแล้ว พยายามออกกฏ/ลดต้นทุนเพื่อให้ได้กำไรจากการขายแบบเดิมๆ แทนที่จะเพิ่มคุณภาพ/สร้างระบบที่เอื้อต่อการเป็นแฟนเดนตาย
คุณภาพที่ต่ำลงเรื่อยๆ ก็ทำให้ลูกค้า"ขาประจำ"ถอนตัวไปเป็น"ขาจร" วงจรอุบาทว์มันก็ตกซ้ำไปเรื่อยๆ
ส่วนกรณีละเมิดล้วนนั่นไม่นับและไม่ควรต้องนับ เพราะกลุ่มนั้นไม่ใช่ลูกค้าแต่แรกอยู่แล้ว ถึงจะทำอะไรมันก็ไม่ดีขึ้นอยู่ดี
ผมเห็นด้วยกับคุณ McKay และ คุณ YF-01 นะ อ่านที่คุณ Fourpoint ตอบแล้วกลับไปนึกถึง comment ในกระทู้ก่อนหน้าที่ยกตัวอย่างเฮียฮ้อ RS ที่มีความเห็นค่อนข้างจะแสดงให้เห็นว่ามีการปรับตัวตามยุคสมัย (ถึงผมจะไม่ชอบแนวทางเพลงของ RS ในปัจจุบันก็เถอะ) มันน่าจะเป็นแนวทางที่ควรจะต้องปรับตัวไปพร้อมกัน ไม่ใช่ผลักไปว่าปัญหาทั้งหมดเกิดจากผู้บริโภค (ก็ลูกค้าส่วนหนึ่งของคุณนั่นแหล่ะ) แล้วพร่ำบ่นว่าตัวเองเลยต้องทำแบบนี้ ถ้าจะคิดแบบนั้นก็เลิกขายไปดีกว่า ให้คนที่เค้าทำได้มาทำ (ไม่ใช่มาบอกว่าไม่ชอบก็ไม่ต้องซื้อ)
(ความเห็นส่วนตัวผมคนเดียว) ผมมองว่าคุณภาพเพลงและศิลปินของคุณก็ดีกว่าคู่แข่งอย่าง RS อยู่แล้ว ขนาดคุณเป็นอยู่อย่างนี้ผมยังเป็นลูกค้าคุณอยู่เลย ในขณะที่ RS ถือว่ายาก แล้วถ้าคุณปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่านี้อีกแทนที่จะถอยหลังลงคลองแบบนี้มันจะไม่ดีกว่าเหรอ?
เห็นด้วยเรื่อง "แรงศรัทธา" ฮะ
ตลาดไอดอลไม่ใช้จะขายได้แค่ศิลปินนะครับ มันมีความผู้พันธุ์กับตัวศิลปินอยู่ด้วย
อยู่ที่ค่ายจะสามารถทำมันได้รึเปล่า หากสามารถทำให้มันเกิดขึ้นได้แล้ว 1คน ซื้อ 2อัลบัมครับ สะสม 1 เปิดฟัง 1
บางคนที่ประหยัดหน่อย ซื้อมาเก็บ แล้วนั่งฟังบนยูทูบครับ เห็นด้านบนพูดถึงกำลังการซื้อของตลาดกลุ่มนี้
ผมอยากจะบอกเลยว่ามันสูงกว่าคนที่หาเงินได้แล้วซะอีกครับเพราะเค้าทุ่มเท ใจเค้าอยู่กับศิลปินตลอดเวลา
เวลาผลงานออกมา สั่งอิมพอต แพงกว่าที่ GMM ซื้อ LC มาผลิตในไทยอีกนะ
อิมพอต 900 ในไทย 400 ต่างกันแค่ " Made in "
กลับมาที่ค่ายเพลงไทย
ผมพูดได้อย่างเต็มปากว่าผมซื้อแผ่นแท้ แต่..แผ่นแท้ที่ผมซื้อคือแผ่นที่ผมโหลด MP3 มาฟังแล้วทั้งนั้น
ผมจะไม่มีวันเดินเข้าร้านแล้ว ดูปกดู,ชื่อเพลง,ดูหน้าศิลปิน,MVโปรโมท แล้วซื้อเด็ดขาด
การที่ฟังเพลงโปรโมท 1 เพลงมันก็เพราะดี แต่เมื่อต้องซื้ออัลบัมเท่ากับผมต้องจ่ายเงินเพื่อเพลงทั้งหมด
..คำถาม.. 10 เพลงในอัลบัมมันดีพอที่ผู้บริโภคแบบผมจะต้องจ่ายเงินรึยัง?
เป็นโจรท์ที่ผู้ผลิตต้องเอากลับไปคิดครับถ้าคุณอยากจะให้อัลบัมคุณขายได้เพลงและราคาต้องสัมพันธุ์กันด้วย
+1 เรื่องดีเจนี้ใช่เลยครับ
mp3 กับ youtube อะตัวดีเลยผมว่า คนที่ศรัทธา bodyslam ผมว่าเยออะ โครต ถ้านับซื้อของแท้ผมไม่รู้ตัวเลข
GMM กลัวอาเบะสินะ
กลับมาสู่ความจรืงล่ะ ต่อจากนี้ก็คงต้องดูกันต่อไปว่า GMM จะได้ผลอย่างที่เขาหวังไหม (ลดการละเมิดลิขสิทธิ์ ยอดขายเพิ่ม)
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
เค้าคงไม่ได้หวังยอดขายเพิ่มมั้งครับ ที่อ่านๆ ดูเหมือนอยากได้รายได้จากส่วนแบ่งโฆษณาที่ youtube แบ่งให้ไม่ได้ เลยทำระบบเองเพื่อขายโฆษณาเอง
Back to old Gmember.
ป.ล. เพื่อใครยังไม่รู้ว่าแต่ก่อน Gmember เคยอัพวีดีโอผ่าน server ตัวเองด้วยครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
มันลำบากมากนักไม่ฟังก็ได้ครับ >.<
ตั้งใจทำเพลงไม่เน้นคุณภาพเพราะยอดขายไม่ดีก็เอาคุณภาพกระพี้ไปแล้วกัน อย่างนี้หรือที่ศิลปินเขาทำกัน งง
เป็นกำลังใจให้ครับ ผมว่าถ้าเราทำตัวคล้ายจีนบ้างในแง่พยายามพัฒนาระบบหรือ service เป็นของตัวเองและให้ดีเทียบเท่ากับของตะวันตกนี่น่าจะดีกว่าต้องไปคอยพึ่งพาชาวบ้านเค้าอยู่เสมอ และมันจะเป็นการพัฒนาบุคลากรของเราไปด้วยในตัว
จริงๆ ถ้าคนสามารถกดโหลดเพลงจาก GMM ได้ง่ายกว่ากดโหลดจาก 4Shared และราคาสมเหตุสมผล ผมว่าก็มีคนซื้อนะ ส่วน CD ก็ทำเป็น Audiophile ไปเลย มี Package สวยๆ ราคาสัก 400-500 บาท ไม่ใช่ได้กล่องกรอบๆ แผ่นบางๆ โหลดMP3ไรท์มาใส่กล่องว่าเป็นของจริงบ้าง Bitrate ห่วยๆ บ้าง ใครจะไปซื้อหละครับ ส่วน *123 เองก็ใช้กับ iOS ไม่ได้ทั้งที่ปัจจุบันคนไทยมีจำนวนคนใช้ iPhone เยอะขนาดไหน ส่วน Android เองก็ไม่มี Music Store และระบบ Anti-Privacy ที่ชัดเจน เหมาะกับการโหลด MP3 มากกว่า
ผมเองก็เป็นคนที่โหลด MP3 โหลดเพลง iTunes และ ฟังเพลงจาก Youtube ครับ เพลงค่ายไหนเพราะผมก็จะโหลดแบบเสียตังก์จาก iTune เพราะได้ 320k เสียงดีกว่าโหลดMP3 ส่วนเพลงใหม่ๆ ผมจะฟังจาก Youtube ก่อน ส่วนเพลงที่ตามกระแส โหลดจากบิตมากกว่าครับ
การที่ GMM จะทำ Portal เพลงของตัวเอง ผมว่าทาง GMM ต้องทำให้เจ๋งให้ได้ ไม่งั้นเป็นไฟลามทุ่งครับ การทำ Portal เองต้องใช้ทรัพยากร Developer และระบบ Network มหาศาลเลยนะครับ การทำแอพ ก็ตกหลายแสนแล้ว ระบบ Network ที่ต้องจ้างพนักงานมาดูแลระบบตัวเองอีก
ก่อนอื่นต้องพัฒนาระบบจ่ายเงินออนไลน์ให้ง่ายและเข้าถึงบุคคลทั่วไปให้มากกว่านี้ก่อนครับ
การซื้อของออนไลน์ในไทย ผมว่าลำบากเกินไป (บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าซื้อของผ่านอินเตอร์เน็ตได้)
เขียนเหมือนดูดีแต่พลาดรายละเอียดสำคัญหลายเรื่องทำให้รู้สึกว่าไม่ได้ใช้จริงๆ
ถ้าเรื่องกล่อง ส่วนตัวผมอยากให้ทำ Package ให้มันสวย ๆ หรือดูน่าสนใจมากกว่านะ super jewel box ที่ว่าผมรู้สึกว่ามันธรรมด๊า ธรรมดามาก บางแผ่นที่ผมซื้อ เพลงในนั้นผมก็ฟังหรือมีหมดแล้ว แต่ผมซื้อเพราะ Package ก็มี (อยากสะสม) อย่างน้อยตัวปกที่ใส่มาน่ะ ให้ข้างในมันรู้สึกว่าซื้อมาแล้วแตกต่างจากคนโหลดมาฟังเอาหน่อยก็ดี
ขอบคุณที่ช่วยยืนยัน ผมก็จำได้ว่า iTunes ขยายเป็น 256 kbps เป็นรอบสุดท้าย แล้ว 320kbps มันหลุดมาตอนไหนหว่า
ผมกำลังคิดว่าทำไมต้องพัฒนาระบบเอง (ในเรื่องของ Player)
HTML5 video player ฟรีๆดีๆมีเยอะเยะ หรือถ้าไม่ฟรีก็ซื้อแค่ไม่กี่ตัง เวปมาสเตอร์ทั่วไปยังซื้อได้เลย
ถ้าผมทำงานให้ GMM ผมทำได้สบายๆในเรื่องของระบบ front-end และคนหาดูแลเซิฟเวอร์ให้ load balance ดีๆสักคน
การเทียบเท่า Youtube ไม่ใช่เทียบเท่าทุกประกาศ ไม่ใช่เวป video hosting สะหน่อย
ก็แค่เอาวิดีโอมาของตัวเองมาให้คนดูได้ทุก platform , ลื่น ก็แค่นั้น ผมไม่เห็นว่ามีอะไรต้องทำไปมากกว่านี้เลย
ไปดูเพลง อันตราย ของ บี พีรพัฒน์ ขึ้น Youtube เต็มๆ
ผมแค่อยากบอกว่า
สินค้าของคุณ คือ การเล่นกับความรู้สึกคน
ดนตรี
ศิลปินเนือร้อง
การแต่งตัว
คุณขายได้ไม่ได้ ไม่เกียวกับลิขสิทธิ์
มันเกี่ยวตรงที่ว่า
คุณได้ขายจิตวิญญานลงไปในเพลงหรือไม่ เพราะถ้าไม่?
ต่อให้คุณใช้กฎหมาย 100 มาตรา ป้องกันการ Copy ระดับเทพ คุณก็ไม่ได้เงินจากเขาอยู่ดี
พูดตรงๆนะครับ บางทีได้ MP3 มาผมยังลบทิ้งเลย
.....รก.....
ตอนนี้กลับมาใช้ youtube หมดแล้ว
สงสัยแบนวิดธ์จะเต็มเลยกลับมาแอบใช้ต่อ
ยืนยันครับว่าตอนนี้กลับมาใช้ YouTube แล้ว
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
เอ่อ..... -*-
ไม่ . ได้ . ซื้อ . CD . มา . นาาาน . มาก . แล้ว . ครับ . . .