Tags:
Forums: 

ผมขออนุญาตินำเนื้อหาข่าวจากเว็บอื่นมาให้อ่านกันดูครับ เพราะผมไม่เคยได้ยินข่าวนี้มาก่อน ทั้งใน Blognone หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง กสทช. และมันเป็นข้อตกลงที่จะมีการลงนามบังคับใช้กันปลายปีนี้แล้ว ถ้าลงนามกันลุล่วงแล้ว เราจะเสียเงินทุกครั้งที่คลิกเข้าไปดูเนื้อหาของอินเตอร์เน็ต ตกลงเรื่องนี้มีมูลหรือว่ามีข้อเท็จจริงมากน้อยแค่ไหนครับ

__ห้ามสำเนาข่าวจากที่อื่นมาลง Blognone เด็ดขาดครับ - lew__

ที่มา เดลินิวส์

Get latest news from Blognone
By: tonkung
Windows Phone
on 9 October 2012 - 01:34 #487606

เป็นข่าวที่เงียบเอามากเลยล่ะครับ

By: tontpong
Contributor
on 9 October 2012 - 10:35 #487739

ในเบื้องต้น ขอพิจารณาว่าข่าวนี้มีแนวโน้มว่าจะมั่ว.. จะมั่วมากหรือน้อยคงต้องหารายละเอียดมายันอีกที

อันแรกเลยคือ ITR ย่อมาจาก International Telecommunication Regulations .. ไม่ใช่ Internet Telecommunication Regulations

อาจจะสงสัยกันต่อ ว่าแจงตัวย่อผิดแค่นี้ จะอะไรกันนักหนาเชียว.. ก้อต้องเท้าความย้อนไปว่า ITR ฉบับก่อนหน้านี้นั้นใช้มาตั้งแต่ช่วงที่อินเตอรเนตพึ่งตั้งไข่ ดังนั้นฉบับเดิม ITR ก้อไม่ได้มีการพาดพิงถึงอินเตอรเนตแต่อย่างใด ส่วนฉบับใหม่ที่กำลังร่างกันนี้ ก้อเคยมีแนวคิดว่าน่าจะรวมเรื่องเกี่ยวกับอินเตอรเนตเข้าไปด้วย ทว่าก้อมีข้อขัดแย้งที่มีแนวโน้มว่าคงจะยังตกลงกันได้ยาก สุดท้ายเลยยังไม่ได้เอาเรื่องเกี่ยวกับอินเตอรเนตรวมเข้ามามากนัก ลำพังแค่เรื่อง IG ที่คุยกันมาหลายปีก้อยังตกลงกันไม่ได้ เลยสรุปว่าจะละเรื่องนี้ไปก่อน ดังนั้นเรื่องค่าธรรมเนียมค่าบริการในส่วนของอินเตอรเนตจึงตกไปด้วยเพราะไม่มีคนคุม

การย่อจาก Internet Telecommunication Regulations จึง mislead มากๆ .. ในขณะที่หากเอ่ยถึงในแง่ของการเปน International Telecommunication Regulations แล้ว ทั้งเสาทั้งสายล้วนมีค่าติดตั้งค่าดูแลค่าดำเนินการไม่น้อย ใน ITRs คงต้องมีเรื่องอยู่นี้ด้วย จะไม่เอ่ยถึงค่าธรรมเนียมค่าบริการคงไม่ได้

หากผู้เขียนข่าวหรือผู้ให้ข่าวยืนยันว่าใน ITRs มีการเอ่ยถึงค่าธรรมเนียมค่าบริการการใช้อินเตอรเนต.. ก้อคงต้องให้นำเอกสารทั้งฉบับมาแสดงว่าเนื้อความดังกล่าวอยู่ตรงส่วนไหน เพื่อจะได้แน่ใจว่าไม่มีการเข้าใจผิด รวมทั้งไม่ได้เอาร่างเอกสารฉบับเก่ามาอ้าง (เอกสารฉบับจิงน่าจะขอ กสทช ได้ แม้โดยมารยาทเอกสารร่างควรเปนข้อมูลลับเพราะเกี่ยวพันกับชาติอื่นๆ ด้วย แต่ที่ผ่านมาก้อมีผู้ตั้งข้อสงสัยเรื่องความโปร่งใสเกี่ยวกับเอกสารนี้ค่อนข้างมาก ทาง ITU เลยแจ้งไว้ว่าอนุญาตให้เปิดเผยได้ โดยขึ้นกับดุลยพินิจของแต่ละชาติ เพราะ ITU ก้อไม่อยากเปิดเผยเอง ด้วยเกรงผิดมารยาท)

อีกจุดนึงที่ยิ่งทำให้มั่นใจว่า ITR ไม่เกี่ยวกับอินเตอรเนตมากนัก.. คือหลังจบงานที่ดูไบ ทาง ITU จะมีจัดสัมมนา Internet Regulation ในไทย หาก ITR เกี่ยวกับอินเตอรเนตเช่นในข่าว คงไม่ต้องจัดงานที่ไทยต่อแล้ว

นอกจากนั้น หลัก กม.แบบพหุภาคี คือ แต่ละประเทศต้องออก กม. รองรับอีกที ไม่ใช่ลงนามแล้วมีผลบังคับทันที

ส่วนผู้ที่ถูกเอ่ยถึงในข่าว ไม่รุว่าแต่ละท่านออกมาพูดเอง หรือว่ามีการถามแล้วท่านตอบตามทัศนะของท่านมา.. เพราะลำพังแต่ละท่านน่าจะสอบถามไปยัง กสทช ได้ หากมีข้อสงสัยอะไร คงไม่ต้องรอถามตอบผ่านสื่อแบบนี้

ปล. คุ้นๆ ว่าใน blognone เคยมีข่าวที่เกี่ยวๆ กันอยู่นะ.. แล้วเคยมีสัมมนาเรื่องแนวๆ นี้ที่ ThaiPBS ด้วยมั้ง

สำหรับเหตุผลประกอบด้านบน หากมีจุดใดที่ผมเข้าใจผิด ก้อช่วยชี้แนะด้วยนะครับ ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ ^^)

By: Longman
Windows
on 9 October 2012 - 10:45 #487755 Reply to:487739
Longman's picture

ขอบคุณมากครับ เข้าใจอะไรหลายๆ อย่างเพิ่มขึ้น แต่ก็สงสัยอยู่ดีว่าในเมื่อมันมีค่าเสาค่าสาย ทำไมไม่เก็บค่าบริการตั้งแต่แรก ปล่อยให้ยืดยาวมาจนบัดนี้ได้ไง

By: tontpong
Contributor
on 9 October 2012 - 14:41 #487893 Reply to:487755

ตามที่เม้นท์ข้างล่างว่าไว้ขอรับ ว่าส่วนค่าเสาค่าสายนี่เราก้อจ่ายกันอยู่แล้ว.. แม้แต่พวก wifi ฟรีของรัฐ ก้อจ่ายผ่านภาษีนั่นเอง

อย่างไรก้อตาม ก่อนหน้านี้นานมากละ เคยมีเสนอเรื่องคิดค่าใช้บริการต่างๆ ในอินเตอรเนตจริง.. แต่คิดกับผู้ให้บริการ ไม่ใช้คิดกับลูกค้า เช่น หากเราดู youtube ทาง youtube ก้อต้องจ่ายให้ network provider ด้วย (ซึ่งรายละเอียดเรื่องนี้มีพูดถึงในข่าวเช่นกัน ทว่าเนื้อหาส่วนอื่นไปๆ มาๆ ดันพูดว่าลูกค้าต้องจ่ายเพิ่มซะงั้น)

เป้าหลักของข้อเสนอนั้นคือพวกเนื้อหาที่มาพร้อมโฆษณา แปลว่าหน้าจอเราคือที่ๆ ให้บริการพวกนั้นมาแปะโฆษณา ซึ่งโดยปกติใครจะมาแปะมาใช้ที่ก้อต้องเสียตัง.. ทว่าตามสภาพปัจจุบันคือผู้ให้บริการคล้ายๆ จะไม่ต้องเสียอะไร เช่นเราดู youtube เราเสียค่าใช้ network ส่วน youtube ได้ค่าโฆษณา แถมค่าโฆษณานั้นเข้าอเมริกาทั้งก้อน ทางไทยไม่ได้ซักแดง (อันนี้คิดแบบกรณีพื้นๆ นะ ไม่นับกรณีที่อาจมีการทำสัญญาการแบ่งรายได้แยกย่อยออกไป)

ส่วนกรณีตามข้อเสนอที่เคยมีการเสนอขึ้นมานั้น เมื่อคิดค่าใช้จ่ายกับผู้ให้บริการแล้ว รายได้ดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ลดค่าเชื่อมต่ออินเตอรเนตที่ปกติ end-user คือผู้ที่จ่ายทั้งหมด.. ที่เน้นคือกลุ่มประเทศที่ค่าเนตยังสูง เพื่อลดกำแพงที่กั้นโอกาสการเข้าถึงเนต อีกทางนึงก้อเพื่อให้มีการกระจายรายได้แบบแฟรๆ (หากอิงจาก ตย ก่อนหน้านี้ คือ youtube มีรายได้จาก ads มากขึ้นเพราะในไทยมีการลงทุนเรื่อง network จนทำให้คนไทยสามารถต่อเนตเข้าไปดู content+ads ของ youtube ได้ แต่ทว่ารายได้ส่วนนั้นกลับไม่มีส่วนที่วกกลับมาชดเชยส่วนที่ไทยจ่ายเลย)

ทว่าพอมีข้อเสนอแบบนี้ขึ้นมา พวกผู้ให้บริการก้อขู่กลับมาก่อนเลย ว่าจะเอาค่าใช้จ่ายตรงนั้นมาชารจลูกค้า หรือไม่ก้องดให้บริการกับประเทศที่จะใช้นโยบายดังกล่าว แล้วไปๆ มาๆ จากที่จะชารจผู้ให้บริการ ดันสรุปกันออกมาว่าข้อเสนอนี้จะไปชารจทางลูกค้าเพิ่มซะงั้น หน้ามือพลิกเปนหลังมือเลย.. แต่สุดท้ายแล้ว ข้อเสนอนี้ก้อยังมีรายละเอียดย่อยยิบที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมอีกเยอะแหละ คุ้นๆ ว่าจะโดนดองไปก่อน

.. คร่าวๆ ประมาณนั้น หากตกหล่นไรไปก้อขออภัย >.<"

By: kamthorn
Contributor Android Ubuntu
on 9 October 2012 - 12:44 #487843

หัวข้อข่าวออกจะเกินจริงอยู่มากครับ ทำเอาผู้ใช้เน็ตแตกตื่น ปกติเราใช้เน็ตก็มีค่าใช้จ่ายอยู่แล้วครับ (Internet access charges) จะคลิกไม่คลิกก็ต้องเสียเงิน แต่ในเนื้อข่าวพูดถึงแค่ Internet Protocol ทั่วๆ ไป ไม่ใช่เฉพาะคลิกลิงก์บนเว็บซะหน่อย

อยากเห็นต้นฉบับภาษาอังกฤษว่าเขียนไว้อย่างไรมากกว่า


--

By: kamthorn
Contributor Android Ubuntu
on 9 October 2012 - 13:18 #487850

http://www.itu.int/en/wcit-12/Pages/public.aspx

เอกสารที่น่าจะใช่นะครับ ฝากช่วยกันดู


--

By: kamthorn
Contributor Android Ubuntu
on 9 October 2012 - 18:51 #488045

https://thainetizen.org/2012/10/opposing-itu-authority-over-internet/

ประเด็นที่เค้ากังวลจริงๆ ก็คือความโปร่งใสของ ITU มากกว่า ซึ่งอาจจะมีผลถึงเสรีภาพในการใช้งานอินเทอร์เน็ต

เรื่องราคากลายเป็นเรื่องจิ๊บๆ


--

By: tontpong
Contributor
on 9 October 2012 - 20:11 #488079 Reply to:488045

ก้อต้องระวังต้องฟังต้องคิดให้รอบและมีสตินิดนึงละกัน ไม่งั้นอาจไปเข้าทางของเมกา.. เพราะเมกาก้อใช้มุกนี้ในการสกัดไม่ให้ IG ย้ายจากมือตัวเองไปอยู่กับ ITU หรือคนอื่นๆ (เรื่องข้อเสนอชารจผู้ให้บริการนี่ คนที่ค้านซะเสียงดังก้อเมกาเช่นกัน)

ส่วนนึงที่กระแสเรื่องนี้แรงก้อเพราะเมกาคอยปั่นกระแสอยู่ด้วย.. ซึ่งจะว่าไปแล้ว ถ้าไล่ๆ ย้อนดู มุกที่เล่นอยู่นี้นี่มันเข้าตัวเมกามากกว่าอีก ฟาก ITU ยังจะดูมีภาษีดีกว่า

By: kamthorn
Contributor Android Ubuntu
on 18 October 2012 - 18:52 #492692
By: tontpong
Contributor
on 19 October 2012 - 07:45 #493055 Reply to:492692

ขอบคุณที่แชรค้าบ.. ยังคงเขียนตัวเตมของ ITU ผิดต่อไป แต่โอเคไม่ถือเปนประเดนก้อได้

มีย่อหน้านึงไล่ว่า 6 ข้อที่เปลี่ยนมีไรบ้าง.. ย่อหน้าถัดมาก้อใส่ต่อเลยว่า "จะคิดเงินค่าใช้เนต(นะจ๊ะ)"

อ่านผ่านๆ แล้วเหมือนจะเกี่ยว.. แต่คิดอีกที มันเกี่ยวกันยังไงหว่า เมื่อไหร่จะยกส่วนที่ระบุไว้ชัดๆ มาซะที หรือว่าไม่มีให้อ้างอิงเพราะตีความเอาเอง แล้วก้อเอามาปั่นกระแส (คือประเดนเกี่ยวเนี่องนี่ดราม่ากันมาหลายปีแล้ว เลยชักไม่แน่ใจว่าอยากปั่นกระแสเพื่อเป้าหมายบางอย่างกันรึป่าว ก้อเลยมาตีความให้เข้ากับเป้าหมายนั้น ไม่อ้อมค้อมละนะ ก้อ 'เรื่องภาระของผู้ให้บริการ ซึ่งรวมถึงผู้ขาย ads ออนไลน' กับ 'เรื่องชิง IG ระหว่าง เมกา vs. ITU' นั่นแหละ)

ที่แน่ๆ ส่วนตัวคิดว่าไม่ควรลากไปเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาหรือบริการฟรีแท้ๆ ที่ไร้โฆษณา (เช่น wikipedia) .. หลายที่ๆ ทำ ตย เอาไว้อยู่แล้ว ว่าเค้าจะไม่คิดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับบริการพวกนี้

ไม่ใช่อยากขวางกระแสนะ.. ถ้ามีที่มาที่ไปชัดๆ ก้ออาจตามกระแสด้วย แต่ตอนนี้ไม่รุข้อสรุปมาจากไหน (ว่าแต่ ตกลงเรื่องนี้มันด่วนมั้ยนี่ ชงว่าเรื่องใหญ่เรื่องด่วน แต่อัพเดตอีกทีพุธหน้าตามรอบสกูป)

คืออารมณ์คล้ายๆ ได้ยินคนบอก 2012 โลกจะแตก แล้วโยงปฏิทินเผ่ามายากับนู่นนี่นั่นมาประกอบ

แล้วคนที่ติดต่อกับ ITU ก้อไม่ใช่ใครอื่น แต่เปน กสทช เองนั่นแหละ.. ซึ่งเรื่อง ITR นี่เค้าก้อประชุมย่อยกันมาหลายรอบละ ทั้งไปประชุมกับเค้าที่ ตปท หรือแม้กระทั่งมาประชุมกันที่ไทย โดย ITU ก้อแจ้งเชิงแนะนำมาหลายเดือนแล้ว ว่าให้ตัวแทนของแต่ละชาติเอา ITR ไปคุยกันในชาติของตนด้วย แล้วไหงพึ่งจะมาออกข่าวเอาตอนนี้ (เค้ากำลังทำอะไรกันเนี่ย งงอย่างยิ่งยวด รึเราเข้าใจไรผิดหว่า?)

ปล. สมมติคนไทยซื้อของจาก amazon .. ใครพอจะช่วยแจงได้บ้าง ว่ามี party ไหนในไทยที่ได้รายได้จากธุรกรรมอันนี้บ้าง (ที่นึกออกก้อมี 'ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน' กับ 'ค่าส่งพัสดุ' ซึ่งโดยมากเหมือนผู้ซื้อจะเปนคนจ่ายในส่วนนี้ แล้วผู้ขายอ่ะมีรายได้ส่วนไหนแบ่งกลับมาที่ไทยบ้างหว่า?)

By: kamthorn
Contributor Android Ubuntu
on 22 October 2012 - 11:59 #494498

http://www.itu.int/ml/lists/nomenu/arc/wcit-public/2012-08/msg00002.html

ผมว่าอันนี้ชัดเจนนะครับITRs ฉบับที่กำลังร่างนี้ ใช้กำกับเฉพาะการสื่อสารระหว่างประเทศแบบเดิมๆ เช่นโทรฯ และแฟ็กซ์

ไม่รวมถึง Internet


--

By: tontpong
Contributor
on 26 October 2012 - 19:13 #496945 Reply to:494498

คิดว่าเจอข้อความเจ้าปัญหาเกี่ยวกับเรื่องค่าใช้จ่ายนี่แล้วมั้ง (ข้อความนี้มีใน ITR ที่ทาง ITU เผยแพร่ผ่าน web อยู่เช่นกัน) .. http://www.circleid.com/posts/20121021_the_etno_proposal_unintended_consequences/

แต่โพสบนอาจจะเอียงๆ หน่อย แค่ข้อความเจ้าปัญหาก้อตัดมาไม่ครบแล้ว อาจจะทำให้เข้าใจผิดได้ ไงลองเอาข้อความมาคุ้ยที่ ETNO แจงไว้อีกที (หัวข้อเรื่องค่าใช้จ่ายนี่คือเสี้ยวนึงเอง มีหัวข้ออื่นๆ อีกเยอะเลย) .. http://www.etno.eu/home/topics/itu-matters

หลังได้อ่านทั้งคู่ ใครสรุปได้เช่นไร อันนี้แล้วแต่ทัศนะของแต่ละคนละ.. แต่อ่านยังไงๆ ก้อไม่เจอส่วนที่สรุปได้ทำนองว่า "คลิกปุ้บ จ่ายปั้บ" เลยอ่ะ หรือว่ามีเอกสารอื่นอีก :?

ปล. แอบคิดว่านี่คือเกมที่เราเผลอไปรับลูกต่อมาจาก ISOC เมืองนอกแหะ O.o?

By: tontpong
Contributor
on 28 October 2012 - 06:48 #497499 Reply to:496945

จากเท่าที่ลองหาๆ ดู ต้นตอของคำว่า pay-per-click ในกรณีนี้ น่าจะมาจากบทความที่เขียนลง WSJ โดย Robert McDowell ซึ่งอยู่ใน FCC ..

โดยอิงตามข้อความข้างล่างนี้ ซึ่งตัดตอนมาจากบทความใน CNET .. ทั้งนี้ ได้ตัดตอนไปถึงคำแก้ต่างจากทาง ITU ด้วย (อย่างไรก้อตาม ขอแนะให้อ่านต้นฉบับทั้งหมดด้วย เผื่อกันความเข้าใจคลาดเคลื่อนอันอาจเกิดจากการตัดตอนข้อความมา, ทว่า ขอให้ระลึกไว้ด้วยเช่นกัน ว่าบทความต้นฉบับคือบทความในลักษณะแสดงความคิดเหนจากหลายๆ บุคคล ซึ่งเมื่อเทียบเนื้อหากับข้อเท็จจิงแล้วอาจมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนหรือไม่สมบูรณ์ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ ดังนั้นหากจะนำไปใช้เปนข้อมูลอ้างอิง ควรหาข้อเท็จจิงจากแหล่งอื่นมาประกอบเพิ่มเติมด้วย)

Robert McDowell, a Republican member of the Federal Communications Commission who wrote an article ( PDF ) in the Wall Street Journal in February titled "The U.N. Threat to Internet Freedom," appeared to reference the ETNO's proposal for Internet taxes during last week's congressional hearing.

Proposals that foreign governments have pitched to him personally would "use international mandates to charge certain Web destinations on a 'per-click' basis to fund the build-out of broadband infrastructure across the globe," McDowell said. "Google, Tunes, Facebook, and Netflix are mentioned most often as prime sources of funding."

They could also allow "governments to monitor and restrict content or impose economic costs upon international data flows," added Ambassador Philip Verveer, a deputy assistant secretary of state.

ITU spokesman Paul Conneally told CNET this week that:

There are proposals that could change the charging system, but nothing about pay-per-click as such. There isn't anything we can comment about this interpretation because, as stated before, member states are free to interpret proposals as they like, so if McDowell chooses to interpret as pay-per-click, that is his right and similarly it is he who should provide pointers for you.

ที่มา..

U.N. could tax U.S.-based Web sites, leaked docs show

Global Internet tax suggested by European network operators, who want Apple, Google, and other Web companies to pay to deliver content, is proposed for debate at a U.N. agency in December.

by Declan McCullagh and Larry Downes .. June 7, 2012 11:58 PM PDT [Last updated at 9:30 a.m. PT on June 8 ]

http://news.cnet.com/8301-1009_3-57449375-83/u.n-could-tax-u.s.-based-web-sites-leaked-docs-show/

By: tontpong
Contributor
on 29 October 2012 - 19:36 #498116 Reply to:497499

อย่างไรใครที่สนใจและติดตามเรื่องนี้ ลองพยายามหาข้อมูลประกอบเยอะๆ ด้วยนะครับ.. หากมีข้อมูลพาดพิงถึงใคร ให้ลองหาข้อมูลต้นทางจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องหรือหา fact ที่รองรับข้อมูลนั้นๆ อีกทีด้วย เนื่องจากพื้นหลังของเรื่องนี้คือเรื่องทางการเมืองสำหรับบางประเทศไปแล้ว ทำให้อาจมีข้อมูลเชิงกล่าวหาหรือ discredit กันออกมาค่อนข้างมาก ซึ่งถ้าเข้าไปร่วมวงเสวนาโดยยังไม่เข้าใจดีพอ นอกจากจะเสียเวลาแล้ว ยังจะพลอยเปรอะหรือได้แผลติดตัวมาด้วยอีกต่างหาก

ไม่ใช่แค่เรื่อง pay-per-click นี่นะครับ จะว่าไปแล้วเรื่องนี้แทบถือได้ว่าคือแค่เสี้ยวนึงเท่านั้น แกนของเรื่องหลักๆ คือเรื่อง IG นู่นเลย ซึ่งมีข้อขัดแย้งในเรื่องนี้กันมาหลายปีแล้ว.. ส่วนใครที่สนใจมากๆ นอกจากวาระที่ดูไบในช่วง ธค แล้ว ในช่วงเดียวกันนั้นทาง ITU ยังมีอีกวาระที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เช่นกัน โดยวาระดังกล่าวถูกจัดในไทยนี่เอง ใครที่สนใจในเรื่องนี้ก้อลองติดตามข่าวกันนะครับ (แล้วต้น พย ยังมีอีกวาระที่เกี่ยวข้องซึ่งจัดโดย ITU เช่นกัน หากจำไม่ผิด เข้าใจว่าวาระนี้จะจัดแถวๆ แอฟริกา)

By: kamthorn
Contributor Android Ubuntu
on 22 October 2012 - 12:26 #494510

https://www.cdt.org/files/pdfs/CDT-ITU_WCIT12_background.pdf

อันนี้อ่านแล้วเข้าใจภาพรวมของปัญหามากขึ้น


--

By: tontpong
Contributor
on 14 November 2012 - 08:37 #505922

แปะข่าวดักไว้ซะหน่อย เผื่อใครหลงมา.. ตอนใกล้ๆ งานจะได้ลดเสียงลือว่า "เงียบจัง" ลงไปบ้าง

http://www.thaigov.go.th/th/news-ministry/2012-08-15-09-45-26/item/72637-กไอซีที-ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจัดงาน-itu-telecom-world-2013.html