Sony บริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นเอง ก็มีสายการผลิตของอุปกรณ์ e-reader ในตระกูล PRS เช่นกัน แต่ยอดขายตั้งแต่ทำการตลาดมา 7 ปี มีอยู่เพียง 500,000 เครื่องเท่านั้น จากผลการศึกษาของ R.R. Bowker พบว่า จำนวนตัวเลขของผู้ที่ครอบครอง e-reader มีเพียง 8% เท่านั้น เทียบกับตัวเลขในตลาดอเมริกา ที่มีอยู่ 20% นอกจากนี้ 72% ของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นไม่เคยลอง และไม่คิดจะลองอ่าน e-book เลย
Robin Birtle สำนักพิมพ์ที่จัดทำ e-book ให้ความเห็นไว้ว่า รสนิยมของชาวญี่ปุ่นจะแตกต่างออกไป เพราะชาวญี่ปุ่นต้องการอะไรที่มันจับต้องได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่อธิบายได้ว่า แม้ในประเทศที่มีความเร็วอินเทอร์เน็ตเร็วที่สุดในโลกอย่างญี่ปุ่นนั้น เรื่องของบรรจุภัณฑ์, หรือ DVD ก็ยังเป็นที่ต้องการในปัจจุบัน
อีกบทความหนึ่งจาก Good E-Reader ให้ความเห็นไว้ว่า เรื่องของตลาดที่เล็ก อาจจะไม่ใช่เพราะคนญี่ปุ่นไม่ต้องการอ่าน e-book เพียงแต่ปัจจุบัน หนังสือ e-book ภาษาญี่ปุ่นยังมีอยู่น้อยมาก เพียง 40,000 เล่มเท่านั้น แต่เนื่องจากสำนักพิมพ์ส่วนใหญ่ ยังคงไม่ยอมเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ตลาด e-book เพราะต้องใช้พลังงานในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภาษาญี่ปุ่น ที่อ่านหนังสือจากบนลงล่าง และขวาไปซ้ายนั้น ยังไม่มีมาตรฐานไฟล์ใดๆ ที่รองรับ สมาคมผู้จัดทำสิ่งพิมพ์ในญี่ปุ่น ยังเคยพยายามเริ่มสร้างมาตรฐาน E-Books สำหรับภาษาของตนเอง แต่ด้วยความยุ่งยาก และจะทำให้ e-book กลายเป็นระบบปิด ก็เลยไม่ได้รับความสนใจมากนัก นักอ่านส่วนใหญ่จึงหาทางออกด้วยการแสกนหนังสือตัวเองเป็นรูปภาพและจัดทำเป็น PDF จนเกิดเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จข้ามคืนอย่าง Bookscan ที่รับแปลงหนังสือเป็นไฟล์ PDF
อย่างไรก็ตาม ตลาด e-book ของญี่ปุ่นเริ่มเป็นที่น่าสนใจขึ้นในปัจจุบัน เพราะการมาของมาตรฐาน EPUB 3 ซึ่งเป็น format เปิดเพียงตัวเดียวที่รองรับภาษาญี่ปุ่น และยังมีการบุกตลาดของ Amazon Kindle และ Kobo โดย Rakuten ที่เปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้วนั่นเอง จะยิ่งสร้างความร้อนแรงเพิ่มขึ้นทุกวันๆ และตลาดในปีหน้า อาจจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดเจน
ส่วนตัวผมมองว่า ภาษาไทยเอง ก็มีปัญหาคล้ายๆ กับ ตลาดญี่ปุ่น เพราะเรามีภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ เท่าที่ผมหาข้อมูลมา ภาษาไทยเป็นภาษาเดียวที่ต้องมีการตัดคำ ซึ่งหากขาดการตัดคำนี้ไป จะอ่านไม่รู้เรื่อง อาจจะเป็นหนึ่งในอุปสรรคที่ทำให้การแปลงหนังสือเป็น e-book มีความยากลำบากครับ
ที่มา: Fortune , Good E-Reader
Comments
ผมว่าไม่น่าใช่น่ะ propriety E-Books reader กับ electronic media น่าจะคนละอย่างกัน
มือถือฟีเจอร์โฟนที่ญี่ปุ่นเค้าก็ท่องเว็บได้มานานแล้ว (i-Mode) ผมเชื่อว่าเค้าน่าจะมีการขายนิยาย (eManga, eBooks, Cell phone novel) บนนั้นมานานแล้ว แต่ที่มันไม่เกิดในมุมมองชาติตะวันตกที่พยายามเจาะตลาด อาจจะไม่เข้าใจพฤติกรรมตลาดญี่ปุ่นที่เฉพาะตัวมาก บางทีเค้าอาจจะไม่อยากพกอุปกรณ์พกพาขนาด 6-7 นิ้ว ที่ทำหน้าที่เพื่ออ่านหนังสือได้เพียงอย่างเดียวมากกว่า (มือถือที่โน่นส่วนใหญ่เป็นฝาพับมานานมาก) และเมื่อซื้อก็ไม่สามารถอ่านได้จากอุปกรณ์อื่นๆ โดยเฉพาะบนมือถือฟีเจอร์โฟนในญี่ปุ่น
เท่าที่ทราบตลาด eBook ที่โน่น หนักไปทางมือถือมากกว่าพีซี (6:1) และประเภทของ eBook ที่ซื้อกันบนมือถือคือ Manga (82%)
น่าจะต้องการทำบ้านตลาดหนังสือฯ การตลาด รวมถึงการปรับ store front ให้เหมาะกับจริตคนที่นั่นด้วย
ส่วน Sony น่ะ รายนั้นอย่าไปคิดมาก มีอุปกรณ์ที่ดีจริง แต่ไม่สามารถสร้าง eco-system ได้ อย่างกรณีตลาดเพลงดิจิตอล รายนั้นไม่สามารถสร้างขึ้นมาเหมือน iTunes Store ได้อย่างที่ Apple ทำ
เค้าอ่าน e-book มาก่อนอเมริกาอีกไม่ต่ำกว่า 10 ปีครับ แต่เค้าอ่านผ่านมือถือ ด้วยระบบ i-mode ในช่วงแรก ต่อมาเป็นแบบ foma และปัจจุบัน อ่านผ่านระบบ Xi - Crossy ครับ
นั่นมันเน็ต foma คือ 3g xi คือ lte เป็นชื่อเรียกของ docomo
ขอบคุณครับ ได้ความรู้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเยอะเลย เนื่องจากผมไม่ค่อยทราบความจริง เลยแปลตามเนื้อข่าวนะครับ แหะๆ
“Life is like a journey, every experience matters.”
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
แก้ไขแล้วครับ
“Life is like a journey, every experience matters.”
อินเตอร์เน็ต => อินเทอร์เน็ต
แก้ละครับ
“Life is like a journey, every experience matters.”
แก้ละครับ
“Life is like a journey, every experience matters.”
ต้องมาดูก่อนว่าประโยชน์ของ ebookคืออะไร
1.พกง่าย
pocket bookของญี่ปุ่นพกง่ายอยู่แล้ว เล็กกว่าด้วยแต่หนากว่า
2. ซื้อง่าย
ร้่านหนังสือมีทุกสถานีีรถไฟ ซื้อง่าย ใช้เงินสดซื้อได้ด้วย ถ้าไม่รึบอ่านสังผ่านamazonเดี๋ยวส่งให้ถึงบ้าน
3. ใส่ได้หลายร้อยหลายพันเล่ม
อ่านเวลาเดินทางคือในรถไฟ เล่มเดียวพอ ที่เหลือค่อยอ่านที่บ้านถ้ามีเวลา
4. ไม่เปลืองที่จัดเก็บ
เห็นด้วย บ้่านแคบๆไม่อยากให้รกด้วยหนังสือ
ใครสนใจประเด็นไหนถามได้เลยครับ
ในยุคที่สมาร์ตโฟน=ซิมเบียน ฟีเจอร์โฟนของญี่ปุ่นมีฟีเจอร์มากกว่าที่ซิมเบียนทำได้เยอะเลยครับ เพิ่งมาช่วงหลังๆตั้งแต่ยุค iphone 3gs นี่เองที่ฟีเจอร์ของสมาร์ตโฟนเริ่มจะตามฟีเจอร์ของฟีเจอร์โฟนญี่ปุ่นทัน คนญี่ปุ่นถึงค่อยๆเริ่มเปลี่ยนมาใช้สมาร์ตโฟนกัน
อย่างเรื่องบนลงล่าง ขวาไปซ้ายที่ในบทความมองเป็นประเด็น ในฟีเจอร์โฟนเค้าก็เปลี่ยนเป็นซ้ายไปขวา บนลงล่างแทน ทำให้ถึงหน้าตาจะไม่เหมือน แต่คอนเทนต์ก็เหมือนเดิม
ภาษาลาวไม่ต้องตัดคำแบบไทยหรอครับ?
May the Force Close be with you. || @nuttyi
จริงด้วยครับ ภาษาพม่าก็น่าจะเหมือนกัน
“Life is like a journey, every experience matters.”
ญี่ปุ่นถือเป็นโลกอีกโลกนึงครับ
ใช่เหรอครับ? ผมนึกว่าเกาหลีใต้
แล้วตลาด E-book ที่ว่าไม่รุ่งผมว่าเฉพาะพวกจอ E-ink ที่เป็นอุปกรณ์เฉพาะทางหรือเปล่าครับ เห็นนิยายโทรศัพท์ก็ขายดิบขายดี การ์ตูนก็ทำฉบับภาพสีล้วนลงขายใน Vita & Android Tablet อยู่
ไปญี่ปุ่นทุกสถานีรถไฟมีร้านหนังสือ แถมมีหลายๆ ร้านด้วย ที่แปลกมากคือมีถังขยะหนังสือด้วย เป็นถังที่เอาไว้ทิ้งหนังสือโดยเฉพาะ ไม่ต้องแปลกใจที่ทำไมอัตราการอ่านหนังสือของญี่ปุ่นสูงมาก
เคยดูสารคดี คนญี่ปุ่นเวลาอ่านหนังสือการ์ตูนเสร็จก็ทิ้งไว้บนรถไฟฟ้าเลยครับ
ก็มันถูกมากเมื่อเทียบกับค่าครองชีพเค้าที่โน่นอ่ะ โดยเฉพาะพวกรายสัปดาห์นะ ที่โน่น กินอาหารหนึ่งจานนอกบ้าน 800-1000 เยน ขึ้นไป (ราเมงเปล่าๆก็ตกราวๆ 500 เยนน่าจะน้อย) ซึ่งเกินค่าหนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ไปเยอะ
800-1000 เยน ขึ้นไป อันนี้เวอร์ไป ถูกกว่านี้ก็มีให้เลือกเยอะ
เหมือนเคยฟังในเรื่อง change ว่าค่าอาหารกลางวันชาวโตเกียวเฉลี่ยอยู่แถวพันเยน
ถ้าจำไม่ผิด อาจารย์เคยบอกไว้ว่า มูลค่าเงินที่หมุนเวียนอยู่ในวงการสื่อสิ่งพิมพ์ของญี่ปุ่น 1 ปีนั้น
มีมูลค่าสูงถึง 4 ล้าน ล้าน เยน