หากใครยังจำ Tactus ได้ นี่คือผู้พัฒนาหน้าจอสัมผัสแบบเปลี่ยนร่างได้ โดยหน้าจออาจมีปุ่มนูนขึ้นมาและยุบหายไปได้ ขึ้นอยู่กับภาพที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอในขณะนั้น ซึ่งเทคโนโลยีนี้ ถูกนำมาโชว์มาเป็นระยะเวลานานแล้ว หากแต่ยังไม่มีการนำไปต่อยอดผลิตเป็นสินค้าในเชิงพาณิชย์แบบจริงจังเสียที ทว่าล่าสุด Tactus ได้พันธมิตรใหม่ที่มาร่วมลงทุนกับเทคโนโลยีนี้ของตน ซึ่งก็คือ Wistron และมีแผนที่จะพัฒนาสินค้าตัวแรกด้วยเทคโนโลยีนี้ออกวางขายภายในปีนี้
Wistron คือบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนที่แยกตัวออกมาจาก Acer ในปี 2000 ซึ่งเคยร่วมงานกับผู้ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ยักษ์ใหญ่มากหน้าหลายตา ซึ่งรวมทั้ง Microsoft, Apple และ BlackBerry ด้วย และตอนนี้ Wistron ก็ได้ตัดสินใจเข้าร่วมงานกับ Tactus โดยสนับสนุนเม็ดเงินลงทุน และจะผลักดันให้เกิดการสร้างผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่อาศัยเทคโนโลยีของ Tactus ออกวางขายจริง ประเดิมชิ้นแรกด้วยเคสของ iPad mini ที่จะเริ่มวางขายภายในปีนี้
ตัวเคส iPad mini ที่ว่าจะติดแผ่นฟิล์มบางบรรจุด้วยของเหลวเพื่อการสร้างปุ่มนูนตามแบบฉบับเทคโนโลยีของ Tactus โดยผู้ใช้สามารถเปิดใช้งานฟังก์ชั่นปุ่มนูนของ Tactus ได้จากการเลื่อนสวิตช์เปิดที่ด้านข้างของเคส ซึ่งในสภาวะปกติที่ไม่ได้เปิดใช้งานฟังก์ชั่นดังกล่าว ผู้ใช้ก็จะมองเห็นเป็นเพียงแผ่นฟิล์มที่ปิดทับปกป้องหน้าจอตามธรรมดาเท่านั้น
ก็ได้แต่หวังว่าจะมีผลิตภัณฑ์ของ Tactus อออกมาสู่ท้องตลาดเพิ่มมากขึ้นในเร็วๆ นี้
ที่มา - TechCrunch
Comments
เจ๋งครับ ไม่ต้องออกเป็นอุปกรณ์แต่ออกเป็นอุปกรณ์เสริมแบบนี้แนวโน้มดีกว่ากันเยอะเลย
มันจะบริโภคแบตเยอะมั้ยล่ะนั่น
งี้ต้องตรวจจับตำแหน่งของ keyboard ด้วยสิครับถ้าเราเลื่อน keyboard ไปไว้ตรงอื่น มันจะตามมาบวมให้ตรงนั้นด้วยมั้ยเนี่ย
ถ้า layout keyboard ไม่เปลี่ยน อาจจะ fix ไว้ก็ได้นะ แค่รับข้อมูล orientation ของเครื่องก็พอ
แต่ถ้ามาเจอ android นี่คงต้องมี app keyboard เฉพาะตัวด้วยหรือเปล่า
บังเอิญว่าหลายๆ ครั้งผมเลี่ยนคีย์บอร์ดขึ้นไปกลางจอให้พิมพ์ง่ายขึ้นน่ะสิครับ
มหัศจรรย์ !!
เป็น ตะปุ่ม ตะป่ํา หยึย หยึย
ไม่มีใครพูดถึง 18+ เลย อิอิ
สารภาพว่า เป็นอย่างแรกที่อ่านข่าวแล้วคิดถึงเลยครับ
มันจะนูนออกมาได้ขนาดไหน 555
คิดไม่ถึงจริงๆว่าเอาเป็นเคสก็ได้ตอนแรกนึกว่าจะออกแนวมาแทนจอกระจกปกติซะอีก
ย่อหน้าสุดท้ายiPad min > iPad mini
คนตาบอดน่าจะได้ใช้สมาร์ทโฟนกันละทีนี้
@SlingShot ปัจจุบันคนตาบอดก็ใช้สมาร์ตโฟนกันอาจจะเรียกว่าเป็นส่วนใหญ่แล้วนะครับ (เพราะฟีเจอร์โฟนที่ไม่ใช่จอสัมผัสมันมีน้อยลงเยอะ) อีกอย่าง การนูนระดับของจอตัวนี้ ผมคาดว่ามันน่าจะยังไม่ละเอียดพอที่จะนำมาใช้การแสดงผลให้เป็นจุดอักษรเบรลล์ได้นะครับ ไม่แน่ใจว่ามันนูนขึ้นมาได้เล็กสุดขนาดเท่าไหร่เหมือนกันแฮะ
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
ในตัวอย่างก็ไม่เคยทำให้ดู มีแต่ไซส์ปุ่มคีย์บอร์ด ดูจากตัวอย่างตรงขอบนูน เล็กสุดคงสักเม็ดถั่วเขียวเลยมั้งครับ คงช่วยได้ตรงที่อย่างน้อยก็พอคลำได้ว่าเลื่อนไปถึงปุ่มไหนแล้วได้เร็วขึ้น
ออก อ่างเกินมาใบครับ
@hisoft ระดับถั่วเขียนนี่น่าจะยังไม่พอนะครับ เท่าที่หาข้อมูลได้ การแสดงผลเป็นจุดเบรลล์นี่ คงต้องละเอียดได้ระดับครึ่งมิลลิเมตรกันเลยทีเดียว อ้างอิง Size and Spacing of Braille Characters.pdf
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.