ศาลฎีกามีคำพิพากษาตัดสินลงโทษจำคุก 3 แฮกเกอร์ที่เข้าไปแก้ไขวงเงินค่าโทรในระบบบัตรเติมเงินของ TrueMove โดยตัวการหลักโดนโทษ 50 ปี
สำหรับการกระทำผิดของกลุ่มแฮกเกอร์นี้ มีการเข้าไปแก้ไขตัวเลขค่าโทรของผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือของ TrueMove โดยมีการขโมยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเพื่อเข้าไปทำการแก้ไขตัวเลขในระบบให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 105 ล้านบาท ก่อนจะทำบัตรเติมเงินปลอมออกจำหน่ายได้เงิน 12 ล้านบาท โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2548 ในช่วงวันที่ 5 เมษายน ถึง 21 กรกฎาคม ทาง TrueMove พบการกระทำผิดและได้เข้าแจ้งความจนนำไปสู่การจับกุมผู้ต้องหาในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการดำเนินคดี จนในที่สุดได้มีคำตัดสินของศาลฎีกาเมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา
โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งถูกตัดสินว่าผิดฐานปลอมแปลงบัตรและจำหน่ายบัตรปลอมดังกล่าว ถูกตัดสินมีความผิด 48 กรรม จำคุกกระทงละ 2 ปี รวมเป็น 96 ปี ก่อนลดโทษ 1 ใน 3 เหลือ 64 ปี แต่กฎหมายกำหนดโทษจำคุกสูงสุดเพียง 50 ปี จึงพิพากษาตามโทษสูงสุดนั้น
ส่วนจำเลยที่ 2 ถูกตัดสินว่าร่วมกระทำผิด 16 กรรม โทษกระทงละ 2 ปี รวมเป็น 32 ปี ก่อนลดโทษ 1 ใน 3 เหลือ 21 ปี 4 เดือน และจำเลยที่ 3 ถูกตัดสินฐานร่วมจำหน่ายบัตร 4 กรรม กระทงละ 2 ปี ก่อนลดโทษ 1 ใน 3 เหลือโทษจำคุก 5 ปี 4 เดือน
การลดโทษลง 1 ใน 3 ให้แก่จำเลยทั้ง 3 รายนั้น มาจากการให้ความร่วมมือในการสอบสวนและไต่สวนในชั้นศาล จึงได้มีการลดโทษดังกล่าวมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนมาถึงศาลฎีกา
ที่มา - ประชาชาติธุรกิจ
Comments
คดีปี 2548 นี่ยังไม่โดน พรบ.คอมใช่มั้ยเนี่ย....
จำปีไม่แม่นอ่ะคับ แต่ผมคิดว่า พรบ.คอมฯ ตอนนั้นยังไม่น่าจะมีนะ (เวลาเขาตัดสิน เขาดูจากกฎหมายในช่วงเวลาที่เกิดการกระทำผิดสินะ)
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ศาลฎิกา => ศาลฎีกา
โหดมาก แต่เป็นบรรทัดฐานจะได้ไม่มีใครกล้าทำ
แล้วที่เค้าโกงกันหลักหมื่นล้าน แสนล้าน ล้านล้าน นี่เค้าติดคุกกันกี่ปี ?
เค้าน่ะใคร? หลักฐานชัดแจ้งเหมือนคดีนี้หรือเปล่าครับ หรือแค่"เค้าว่ากันว่า"?
เห็นประโยคนี้บ่อยเหมือนกัน อดสงสัยไม่ได้ว่าชีวิตนี้ไม่เคยมีเพื่อน ญาติพี่น้องซักคนdealงานกับราชการเลยหรอครับ ถึงเชื่อกันได้สนิทใจเหลือเกินว่าcorruptionไม่มีจริง ไม่ได้หมายถึงรัฐบาลไหนรัฐบาลหนึ่งแล้วที่เหลือเป็นคนดีนะฮะ ที่จริงไม่ใช่แค่ประเทศไทยด้วยซ้ำแม้แต่ประเทศเจริญแล้วก็มีเต็มไปหมด แถมประเทศเจริญแล้วทำแบบเนียนจนเกือบๆถูกกฏหมายด้วยซ้ำ(อย่างระบบCampaign Contribution หรือ Revolving Glass Doorทั้งหลาย)
พวก Campaign Contribution หรือ Revolving Glass Door นี่อธิบายเพิ่มเติมหน่อยได้ไหมครับ
Campaign Contribution ก็ตรงตัวแหละฮะ พรรคการเมืองปรกติไม่สามารถหาเงินด้วยตัวเองตรงๆได้อยู่แล้ว เพราะงั้นก็ต้องอาศัยเงินบริจาค ทีนี้คนบริจาคหลักๆก็มักจะเป็นบริษัทที่ต้องการผลักดันนโยบายใดนโยบายหนึ่ง (โดยรูปแบบจริงๆแล้วไม่ใช่บริษัทตรงๆ แต่จะผ่านพวก Lobbyist ทั้งหลายที่สามารถระดมเงินบริจาค ให้พรรคการเมืองได้) โดยหลักการของการLobby จริงๆแล้วก็ถูกต้องคือ ประชาชนควรจะมีสิทธิที่จะรวมกลุ่มเผื่อผลักดันวาระต่างๆให้เป็นไปตามที่ตัวเองต้องการได้ แต่กฏหมายเมกาดันมองเห็น(จริงๆก็จงใจแหละ)ให้บริษัทเป็นเสมือนประชาชนคนนึง เลยได้สิทธิในการLobbyกันไป ในทางปฏิบัติเลยกลายเป็นบริษัทจ่ายตังให้พรรคการเมือง รอรับผลประโยชน์ไป ไม่ได้ต่างจากการจ่ายใต้โต๊ะเท่าไหร่ แค่ถูกต้องตามกฏหมาย คดีล่าสุดก็รอดู Tranpacific Partnership ฮะ ต่างประเทศเริ่มโวยวายกันแล้ว แต่ Publicist ทำงานกันดีเหลือเกิน วันที่ผ่านfast track "บังเอิญ" ตรงกับวันที่เล่น Facebook สีรุ้งกันนั่นแหละฮะ ข่าวก็เลย "บังเอิญ" โดนกลบไปเฉยๆ แถมบางเว็บอย่าง Reddit "บังเอิญ" censor คำว่า TPP ขึ้นมาเฉยๆอีก
ส่วน Revolving Door นี่มีหลายแบบ แต่รูปแบบที่ชัดสุดคือการที่บริษัทรับเข้าทำงานหลังเกษียณอายุราชการ ประมาณว่า เป็นข้าราชการอยู่ FDA(คล้ายๆอย.บ้านเรา) หลังเกษียญอายุไปนั่งกินเงินเดือนบริษัทยาเงินเดือนหลายสิบล้านโดยที่ไม่ต้องทำงานเฉย ตามกฏหมายก็ไม่มีอะไรพิสูจน์ได้ "มีใบเสร็จ" ให้เห็นกันชัดๆด้วยซ้ำ 55 ทำเป็นอ้างว่า "ซื้อประสบการณ์" ซึ่งก็จริงเป็นบางส่วนแต่หลักๆก็ ผลประโยชน์ต่างตอบแทนธรรมดา
แถมนิดนึงบ้านเรามองภาพญี่ปุ่นไว้ว่าสวยหรู นักการเมืองมีความรับผิดชอบสูงเอะอะลาออก แต่จริงๆแล้ว revolving door นี่ทำกันเยอะมากถึงกับมีคำศัพท์ขึ้นมาไว้เรียกเฉพาะเลย Amakudari (天下り, "descent from heaven")
จริงๆมีอีกหลายรูปแบบฮะ แบบกึ่งๆจะโกงตรงๆก็มี คือนักการเมืองไปตั้งมูลนิธิมาอันนึง บริษัทบริจาคเงินเข้ามูลนิธิ นักการเมืองก็ตั้งเงินเดือนตัวเองจากมูลนิธีตามใจ
ทั้งหมดนี้หลายๆประเทศก็เริ่มแก้กฏหมายกันเรื่อยๆแหละฮะ แต่ก็ยังมีช่องให้ทำเรื่อยๆ
Revolving Door เมืองไทยก็มี แต่ก็ไม่ค่อยให้ตำแหน่งตรงๆในภาคเอกชนเท่าไร ส่วนใหญ่ใช้วิธีให้"หุ้นลม"ครับ
หรืออย่างบ.พวกรปภ. ก็จะมีรายชื่อกรรมการเป็นสีเขียวๆ ทั้งๆที่เจ้าของตัวจริงๆ ที่ลงทุนจริงๆอาจไม่เกี่ยวกับสีเขียวเลย แต่"ยืมชื่อ"มาใส่ เพื่อหวังผลอิทธิพลทางอ้อม
ปัญหาจริงๆ คือคุณ MaxxIE กล่าวขึ้นมาแบบลอยๆ โดยที่ไม่มีหลักฐานครับ ซึ่งนอกจากไม่เกิดประโยชน์แล้วยังเป็นการหมิ่นประมาทได้ด้วยครับ
เข้าใจแหละฮะ ก็คิดว่าเป็นวัฒนธรรมที่ดีของที่นี่ด้วยซ้ำ แค่เห็นบ่อยๆหลายๆที่ เลยนึกอยากถามขึ้นมาพอดี 55
"หมิ่นประมาท" นี่ต้องมีเจ้าทุกข์หรือผู้ถูกกล่าวหา ไม่ใช่เหรอครับ?
ถ้าไม่สามารถระบุเจาะจงหรือสามารถทำให้สืบได้ว่าใครเป็นผู้ถูกกล่าวหา และไม่ถูกผู้นั้นดำเนินคดี ก็ไม่น่าถือเป็นการหมิ่นประมาทนะครับ อย่างเช่นที่นสพ.ชอบพาดหัวกัน เช่น ดาราชื่อขึ้นต้น ต.น. ทำอย่างนั้นอย่างนี้จน ต.ม. ทนไม่ไหว (ยกเว้นกรณีดาราชื่อ ต.น. ทุกคนรวมกันฟ้องครับ)
"เค้า" นี่ใครครับ?
อ้างอิง : Thai Media Law
อ้างอิง : ธรรมนิติ
ไม่สร้างสรรค์ นี่ไม่เถียงครับ
ผมนี่แหละดีลกับข้าราชการ มีสารพัดวิธีเลยละ แล้วพวกนักการเมืองท้องถิ่นก็ใช่ย่อยจะสร้างอะไร ต้องมีส่วนแบ่งให้ด้วย แล้วนักการเมืองระดับประเทศคงไม่ต้องพูดถึง
+1 จะโลกสวยไปไหน
โกงกี่บาทไม่เกี่ยวครับ เกี่ยวกับความพยายามที่จะทำผิดซ้ำๆกี่ครั้งครับลักทรัพย์ 10 บาท 10 ครั้ง โทษหนักกว่า ลักทรัพย์ 100,000 บาท 1 ครั้ง
เค้าคนนั้นโดน 50 กระทงเหมือนคดีนี้ไหมครับ ?
เอาแบบไหนละครับ
-แค่ส่อ
-เห็นแต่เสา
-น้ำท่วมหาย
-สันติ
อืมมมไม่รู้ว่าหลักหมื่น แสน ล้านเป็นไงเอาเป็นคดีระดับพันไปก่อนกับคดีฉ้อโกงเงินประชาชน 4,043,997,795 ของนางชม้อย ทิพย์โส
ศาลตัดสินไปก็คุก 36,410 ปี
แต่โชคดีที่ คดีแบบนี้ ค่า max ที่ลงโทษได้คือ 20 ปีแถมทำดีมีลด แม่ชม้อย เลยได้ลดโทษสองครั้งเหลือ 7 ปี 11 เดือน 5 วัน
ไหนๆ ก็เอาช่าวมาจากประชาชาติไม่ลงให้ครบๆ ไปเลยล่ะครับ ชื่อผู้กระทำผิดก็มี ศาลตัดสินไปแล้วว่าผิดจริง ผมว่าลงไปก็ไม่เสียหายนะ
ผมว่าอย่างนี้ก็ดีแล้วเหมือนกันนะครับ
ยังไง ๆ เว็บนี้ก็เป็นเว็บข่าว IT ชื่อคนคงไม่จำเป็นสำหรับผม แค่อยากรู้ว่าตัดสินโทษยังไง
ส่วนใครผิดผมก็ดูที่มาเอา
เคยได้ยินว่าเค้าเคยเป็นhacker อัน 3 ของโลก จริงไหมอะใครเป็นคนจัดอันดับเนี่ย
คิดถึงเรื่อง Catch Me If You Can น่าจะมีหน่วยงานรัฐไปเสนองานให้แกดูแลเรื่องพวกนี้
ต้องชดใช้อะไรให้ทรูมั้ยครับ?