ทีมนักวิจัยของกูเกิลออกมาเผยความคืบหน้าของการใช้ ควอนตัมคอมพิวเตอร์กับงานวิจัยด้าน AI หลังจากในปี 2013 กูเกิลจับมือกับ NASA ซื้อ คอมพิวเตอร์ของบริษัท D-Wave ไปใช้งาน
D-Wave เคยประกาศความสำเร็จในการพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์ แต่ในวงการวิจัยเองกลับมีข้อโต้เถียงกันมากว่า D-Wave ใช้งานได้จริงแค่ไหน (อ่านรายละเอียดใน ข่าวเก่า )
ผลการวิจัยของกูเกิลพบว่าในโจทย์บางประเภทที่มีตัวแปรเกือบ 1,000 ค่า ระบบของ D-Wave ทำงานได้เร็วกว่าอัลกอริทึมแบบเดิมๆ ทั้ง simulated annealing และ Quantum Monte Carlo มาก บางครั้งทำงานเร็วกว่ากันถึง 10 8 เท่าด้วยซ้ำ ซึ่งทางทีม Quantum Artificial Intelligence ของกูเกิลจะเดินหน้าพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ เพื่อพัฒนาวงการควอนตัมคอมพิวเตอร์ต่อไป
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยด้านควอนตัมคอมพิวเตอร์บางรายก็ยังตั้งข้อสังเกตกับผลการวิจัยของกูเกิล รายละเอียดอ่านได้จาก Phys.org
ที่มา - Google Research Blog
Comments
ความรู้ทางนี้ก้าวหน้าแบบค่อนข้างปิดเงียบ
รัน GTA V แรงมั้ยครับ
เกรียน
เอาจริง ๆ ในชีวิตจะได้ใช้ Quantum Computer ในมือถือมั้ยเนี่ย?
ในมือถือน่าจะไม่มีโอกาสเป็นไปได้เลยครับ การควบคุมอะตอมต้องทำที่อุณหภูมิใกล้0สัมบูรณ์
อนาคตอะไรก็ไม่แน่ครับ ;)
+1 ครับ ผมก็คิดแบบนี้0 สัมบูรณ์ ผมทราบนะครับ แต่ผมเห็นถาพ harddisk ขนาด 5mb ของ ibm ที่ต้องใช้รถบรรทุกขน กับ micro sd ขนาด 200gb ในปัจจุบัน ผมก็อยากจะหวังน่ะครับ
สมัยก่อนคอมพิวเตอร์เครื่องนึงก็ขนาดเท่าห้องหนึ่งห้องเหมือนกันราคาเป็นสิบๆล้าน แต่ความเร็วในการประมวลผล ก็สู้มือถือเครื่องละ 3000 ในปัจจุบันไม่ได้
ใช่ครับ เมื่อก่อนคนยังคิดว่าบินบนฟ้าไม่ได้ด้วยซ้ำ หรือเดินทางด้วยความเร็วมากกว่า 60 กิโลแล้วร่างจะกระจาย//วิทยาศาสตร์ไม่มีคำว่าเป็นไปไม่ได้ มีแต่คำว่า "ยังเป็นไปไม่ได้" ผมถูกสอนมาให้คิดแบบนี้ตลอด
ข้าขอทรยศต่อคนทั้งโลก ดีกว่าให้ใครมาทรยศข้า
Why are you so sure!?
Quantum Computer รันได้แต่เกมส์ Quantum Break เท่านั้นครับ
ปล. เชื่อผม ผมเรียนมา
เอามา จัดระบบ การจราจรควบคุมการคมนาคมได้ทั้งระบบ ในเวลาเดียว กัน แก้ปัญหารถติดได้เพราะใช้การจัดเรียงคิว และการตัดสินใจ ที่มีคุณภาพ
ปล. จริงเอาไปใช้ได้ หลายอย่าง แต่ที่ น่าสนใจ ตรงการขนส่ง เพราะเป็นแปรสำคัญกับทุกสังคมและธุรกิจ
แบบนี้ถึงเรียกนวัตกรรมได้เต็มปาก มากกว่าบริษัทแฟชั่นที่สาวกชอบอวยว่าเป็นผู้นำ(?)ด้านนวัตกรรมเยอะ
นวัตกรรมมีหลากหลายด้านครับ
แบบนี้คือตัวอย่างที่เรียกว่า Haters gonna hate หรือเปล่า
What you said may true, but how you spoke is not right.
แล้วข้อมูลเข้ารหัสที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ก็โดนแกะได้สบายๆเลยสิ?
ยังไม่ค่อยเข้าใจหลักการทำงานของควอนตัมคอมพิวเตอร์เลย ตกลงมันใช่cpuปกติที่ทำจากซิลิคอนป่าวครับ
kitty.in.th
ขอบคุณครับ
ยอมรับว่าพยายามหาอ่านมาหลายครั้งทั้งภาษาไทยภาษาอังกฤษ ตัวทฤษฎีก็เข้าใจพอสมควรแล้ว อันนี้เป็นตัวที่อ่านและเข้าใจง่ายตัวนึงเลย แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังคงไม่เข้าใจว่าเอามันมาใช้งานได้ยังไง - -"
สมการหรือข้อมูลที่มีความซับซ้อนมากที่คอมพิวเตอร์ต้องใช้เวลาประมวลเป็น พันปี แต่ควอนตัมคอม ทำได้ในเวลาไม่ถึงชั่วโมง ผมว่านักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ คงมีอีกหลายอย่างที่อยากรู้แต่ทำไม่ได้ จนกว่าจะมีควอนตัมใช้จริงๆนั่นแหละครับ ใครจะไปรู้นักฟิสิกส์อาจจะใช้ควอนตัมคอมพิวเตอร์คำนวณหาสมการสร้าง Time machine ได้ก็เป็นได้ (มโนล้วนๆ 555)
ไม่ครับ ที่ผมว่าไม่เข้าใจคือไม่เข้าใจว่าเอาตัว qubit มาใช้งานได้ยังไง
ผมก็ว่าที่กูเกิล/นาซ่าทำอยู่เป็นปีนี่ก็คือ หาวิธีว่าจะเอามาใช้งานได้ยังไงนี่แหละมั้งนะ คือ ไปถามใครก็ไม่มีใครรู้แม้แต่คนสร้างเองก็ไม่รู้ว่ามันจะทำอะไรได้มั่ง
คือไม่ใช่ตรงนั้นน่ะครับ งงตรงมันอ่านสถานะออกมาจาก qubit นู่นเลยครับ
ตอนมันคำนวน ตัว Qubit มีสถานะเป็น Superposition
คือสามารถเป็นได้ทุกความน่าจะเป็น ตามคุณสมบัติของอนุภาค Quantum
แต่พอเราต้องการข้อมูลจากมัน หรือไปตรวจสอบมัน (access qubit register)
มันจะเหลือค่าแค่ชุดเดียว ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบ Quantum algorithm
นี่แหละ การเอามาใช้งาน... มั๊ง!?
ส่วนกลไกการคำนวน คือมันคำนวนแบบขนาดตั้งแต่ในระดับ qubit เลย
มีกี่ความเป็นไปได้ มันก็คำนวนมาทั้งหมด (ตามศักยภาพของ Quantum Processor)
ซึ่งต่างจาก Processor ทั่วไปที่ คำนวนเป็นรอบ ถ้าจะให้ได้ปริมาณข้อมูลที่คำนวนแล้วเท่ากัน
ก็ต้องเพิ่มจำนวนรอบเข้าไป (ซึ่งจำเป็นต้องคำนวนนานกว่า หรือใช้ Processor เยอะกว่า)
ตรงนี้คือการใช้งานที่ได้เปรียบ
...
มั๊ง!?
ครับ ผมสงสัยตรงที่ "มั้ง!?" นี่แหละมั้งครับ 55555
ใส่ "มั๊ง" เพราะไม่กล้าออกตัวแรงว่ารู้จริงครับ
เพราะอ่านมา ดูมา คงไม่ต่างกันเท่าไหร่
ชี้แจงได้ก็แค่มุมที่ผมเห็น ซึ่งก็คร่าวมากๆ
เอาจริงๆ จะมีสักกี่คนที่ "รู้จริง" ในเรื่องนี้
^___^
*** แก้ไขข้อความนิดนึง ตรง "มันคำนวนแบบขนาด" -> "มันคำนวนแบบขนาน"
สนใจทางนี้ ตาม link นี้ ไปเลยครับปรกติ ผมไม่ให้ใครบ่อยนะครับ link นี้
https://plus.google.com/+QuantumAILab/posts
ชัดเจน แจ่มแจ้ง แดงแจ๋ครับ...
ขอบคุณครับ สนใจอย่างมาก ยอดเยี่ยม คารวะ หมดจอก
ประมาณว่ามี bit อยู่ตัว เวลาจะคำนวณค่าที่เป็นไปได้ปกติต้องทำสองครั้งใช่ไหมครับแต่ถ้าเป็น qubit ก็คำนวนทีเดียวได้ 2 ค่าเลย
ขอบคุณครับอ่านแล้วหัวร้อนเลย แต่เหมือนจะไม่ค่อยเข้าใจทั้งหมด
ที่เข้าใจก็ประมาณว่า สามารถคำนวนค่าออกมาได้พร้อมกันเป็นจำนวนมากใน 1 ลูป ผิดกับในปัจจุบันที่คำนวนค่าได้แค่ 1 ค่าใน 1 ลูป (แต่อาศัยพัฒนาความเร็วลูปเอา)
แต่การที่จะคำนวนค่าได้แบบนั้นต้องพัฒนาอัลกอริทึมใหม่ เหมาะกับการคำนวนที่ต้องการหาค่าใดค่าหนึ่งเฉพาะเจาะจง เช่น ถอดรหัสต่าง ๆ แต่ไม่ใช่ว่าจะเร็วกว่าการคำนวนในแบบปัจจุบันในทุกกรณี (ขึ้นอยู่กับอัลกอริทึม)
ปัจจุบันยังสามารถใช้แค่คำนวนงานที่เฉพาะทางมาก ๆ มีอัลกอริทึมที่ออกแบบมาสำหรับ Quantum Computer แค่ไม่กี่ตัว ต้องใช้เวลาอีกสักพักที่จะนำมาใช้ในการคำนวนทั่วไปได้
คงอีกนานเลยกว่าเราจะได้เห็นเทคโนโลยีนี้บนมือถือ
ส่วนตัวเท่าที่คิด ตอนนี้มันมีโทษมากกว่าประโยชน์แหะ เอามาถอดรหัสได้ง่าย ๆ เลย ถ้า NSA เอาไปใช้นี่หวานเลย
อ่านแล้วบางเรื่องยังขัดแย้งกันเองแปลกๆ เช่น "โฟตอน “หนึ่ง” ตัวนั้นวิ่งไปทั้ง “สอง” ทาง – ทั้งสะท้อนและทะลุกระจก – ไปปรากฏทั้งที่ A และ B ในเวลาเดียวกัน"
แบบนี้ในกรณีปกติ แสงที่กระทบ beamsplitter แล้วไปแสดงที่ A และ B ก็ต้องสว่างเท่ากันซิครับ
ถ้าเป็นจริงเรายิงเลเซอร์ ไปที่ beamsplitter แล้วแยกแสงออกมาเป็นกี่ลำแสงก้ได้โดยที่ความเข้มไม่ลดลง (เพราะลำแสงมันไปโผล่หลายที่ได้ในเวลาเดียวกันได้)
มันจะคิดและตัดสินใจเองทุกอย่างร่วมทั้ง จะรู้ว่าอะไรคือภัยคุกคาม มันอาจจะสั่งยิงนิวเคลียร์ใส่จีนก็เป็นได้
คหสต.เหมือนมันจะเป็น parallel computing ระดับ qubit
Processor ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้อาศัย Hardware Interrupt ในการทำ Parallel, Multitask ผมก็เลยสงสัยว่าจะให้เรียกมันว่าทำงานแบบ Parallel ได้เต็มปากก็คงไม่ใช่
ผมว่าถ้ามนุษย์สามารถนำคอมพิวเตอร์ควอนตัมมาใช้ในอุตสาหกรรมได้
มันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่มากๆ เที่ยบได้กับกับยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเลยนะ
ผมว่ายิ่งกว่าอีก
คงต้องรอ ดาวหางฮัลเล่ย์ วนมาอีกรอบคงได้เห็นในอุปกรณพกพา
Dr. Lloyd คนคิด ควอบิท ที่ MIT ชอบลากไป
คุณสมบัติของตัว quantum
ซึ่งการอธิบายแบบนี้ยิ่งพูดยิ่งงง
จริงๆ ต้องบอกว่า เดิมเราประกอบ logic gate
ด้วย เส้นลวด กับ ตัวอุปกรณ์ เช่น or, nor gate
ซึ่งทำงานแล้วได้ผลลัพออกมาคือ 1,0
แต่ quantum logic gate หลังคำนวน แล้วแยก bit
ออกมาด้วย filter poralization ได้ผลลัพออกมา
เป็นชุด เช่น 1010 ไปเลย
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Quantum_logic_gate
ถ้าต้องการอ่าน หรือค้นหาวิธีการทำงาน
ต้องหาด้วยคำนี้ครับ quantum logic gate
นะ ไม่เข้าใจ แต่ขอให้ทำมาใช้งานได้เร็วๆละกันอยากเล่นเกมที่กราฟฟิคสมจริงแบบเหมือนเป๊ะๆอ่ะ
Quantum computing ก็มีข้อดีของมันนะครับ เพียงแต่เรื่อง general purpose แบบ CPU ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี่ยังไม่มีคนคิดค้นวิธีได้(หรือเปล่า?) และถึงทำได้ก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะมี performance/efficiency/reliability มากกว่า CPU ในปัจุบันครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกก็ราวๆ 50-60 ปีที่แล้ว(ไม่แน่ใจเหมือนกัน) ขนาดก็เท่าๆ D-wave ในข่าวนี่แหละครับ ถ้าจะให้ Quantum Computer เล็กและราคาพอที่จะเอามาเล่นเกมส์ได้ก็บวกไปอีก 50-60 ปีต่อจากนี้ครับ ถึงตอนนั้นเราคงไม่อยากเล่นเกมส์แล้วมั้งครับ
D-Wave นี่เครื่องนิดเดียวเองนะครับ ;)
กูเกิลแสดงภาพภายในคอมพิวเตอร์ควันตัม D-Wave
จริงครับ ใหญ่ที่ระบบป้องกันกับความเย็นนี่เอง
Quantum Television "Choose Wisely Live Well"
คนที่สนใจ คอมพิวเตอร์ ควันตัม ลองอ่านงานวิจัยของคนไทยดู เมื่อสามปีที่แล้ว แสดงการเขียนโปรแกรมให้ คอมพิวเตอร์ ควันตัม เร็วขึ้นเยอะเป็นทวีคูณนะ
Yingchareonthawornchai, S., Aporntewan, C., and Chongstitvatana, P., "An Implementation of Compact Genetic Algorithm on a Quantum Computer," Int. Joint Conf. on Computer Science and Software Engineering (JCSSE), 30 May - 1 June 2012, pp.131-135.
http://www.cp.eng.chula.ac.th/~piak/paper/2012/jcsse-quantum-cga.pdf
มันจะทำให้ผมเล่น path of exile แบบ 60 fps เวลาลง map 6คนกับสาย coc,dis ได้หรือเปล่าครับ #เดี๋ยวนะๆ
The Last Wizard Of Century.