สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูล (data science) เป็นสาขาที่ได้รับความนิยมสูงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่คนภายนอกอาจจะนึกไม่ออกนักว่ามันใช้ทำอะไรได้บ้าง ล่าสุดสิงคโปร์เผยแพร่กระบวนการหาสาเหตุของรถไฟฟ้าขัดข้องที่รบกวนประชาชนสิงคโปร์มาหลายเดือน
รถไฟฟ้าสิงคโปร์สาย Circle Line มีปัญหาขัดข้องอยู่เนืองๆ มาหลายเดือนจากการที่ระบบเบรกฉุกเฉินทำงานโดยหาสาเหตุไม่ได้ จุดเกิดความขัดข้องกระจายไปตามสถานีต่างๆ ขบวนรถที่ได้รับผลกระทบ และกระจายไปตามช่วงเวลา ทำให้ไม่แน่ชัดว่ามีระบบที่ส่วนใดบกพร่องกันแน่
ทีมวิเคราะห์พบว่าที่จริงแล้ว การบกพร่องมีแนวทางการ "เคลื่อนที่" ไปตามสถานีเรื่อยๆ ทีมวิเคราะห์จึงตั้งสมมติฐานว่าอาจจะมีขบวนรถไฟที่บกพร่อง ทิ้งสัญญาณรบกวนไปตามเส้นทาง ก่อปัญหาให้กับรถขบวนถัดๆ ไป การตั้งสมมติฐานแล้วนำข้อมูล "รถต้นเหตุ" มาเทียบกับเหตุการณ์จริง ทีมงานพบว่าเหตุการณ์ 73% เข้ากับสมมติฐานรถต้นเหตุ และคาดว่าจะมีรถเพียงขบวนเดียว
ทีมงานหารถต้นเหตุและพบว่ารถ PV46 เข้ากับข้อมูล หลังจากนั้นจึงทดสอบเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา และยืนยันได้ว่า PV46 เป็นสาเหตุจริงๆ
โค้ดทั้งหมดที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล อยู่บน GitHub
ที่มา - blog.data.gov.sg
Comments
สัญญานรบกวนที่กล่าวถึง เป็นแบบไหนครับ
ข่าวไรหนิให้ตามไปอ่าน งงจริง
แปลก เครื่องจักรระดับนี้ทำไมไม่มี sensor สำหรับตรวจสอบ (งานของผมทั้งอัด sensor แล้ว ping สัญญาณตลอดเวลา)
(ไม่มีสาระ) สงสัยรถไฟจะวิ่งแบบนี้ https://www.youtube.com/watch?v=uaqZoph265U
วิ่งได้ขนาดนี้หมดห่วงเรื่องดีเลย์ เรื่องตกขบวนไปได้ดลยครับ
วิทยาศาสตร์ สะกดผิด
data visualization ช่วยได้มากจริงๆ เขาใช้ clustering algolithm อย่างง่ายเท่านั้นเอง สุดยอดมากๆ
หัวข้อข่าวน่าสนใจ แต่อ่านเนื้อหาไม่เข้าใจ หรือมันเฉพาะทางเกินไป -.-
ความสามารถสำคัญของการเรียนรู้คือต้องบอกได้ว่า "ไม่เข้าใจตรงไหน" ครับ
มาบอกว่าไม่เข้าใจลอยๆ จะหาคนช่วยยาก ผมเองอยากเขียนให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คงเขียนยาก
lewcpe.com , @wasonliw
ลองดูตัวอย่างการจัดการภัยพิบัติของประเทศญี่ปุ่น ที่ใช้ศาสตร์ด้านData Science (Big Data)ในการแก้ปัญหาตามลิ้งค์นี้เป็นสารคดีของ NHK อาจช่วยให้เข้าใจมากขึ้นครับ
https://www.youtube.com/watch?v=uTvjmxOo6IQ
ในข่าวคือ เขาพยายามหาสาเหตุของปัญหารถไฟฟ้าใต้ดินที่เสียไม่ได้ เพราะมันไม่มีอุปกรณ์เสียและเป็นได้กับทุกขบวนทุกที่ ทุกแห่ง เขาจึงได้ตั้งสมมติฐานว่า จะต้องมีอะไรส่งสัญญาณรบกวน เขาเลยเอาวิทยาศาสตร์ข้อมูล มาวิเคราะห์ปัญหา และรวบรวมผล จนเจอ ต้นตอของปัญหา ครับ
ตามไปอ่าน blog ต้นทางถือว่าโชคช่วยด้วยส่วนนึงครับ
"From the data science perspective, we were lucky that incidents happened so close to one another. That allowed us to identify both the problem and the culprit in such a short time. If the incidents were more isolated, the zigzag pattern would have been less apparent, and it would have taken us more time — and data — to solve the mystery."
สำหรับคนที่อ่านภาษาไทยแล้ว งงๆ แนะนำให้กดเข้าไปอ่าน blog ต้นทาง รับรองเข้าใจแน่นอนครับ อธิบายละเอียดมาก
ผมอยากบอกว่ามาเรียนหรือทำงานสายวิจัย ดูเหมือนเน้นที่ใช้ความรู้ความสามารถเยอะ แต่เอาเข้าจริงใช้โชคเยอะมากครับ แม้ความรู้ก็สำคัญไม่แพ้กันก็ตามที สายนี้ใช้โชคตั้งแต่เลือกหัวข้อ ตั้งสมมติฐาน ใช้ยาวๆ ไปจนจบงาน ถ้าโชคร้ายก็แห้วเรียนไม่จบกันซะที -_-
SPICYDOG's Blog
คือขออนุญาตเล่าที่มาที่ไปหน่อยหนึ่งครับ
คือประเทศสิงค์โปร์นั้นเป็นประเทศที่ระบบคมนาคมสาธารณะดีเยี่ยมประเทศหนึ่ง (ซึ่งประเทศแถวๆนี้ควรจะเอาเป็นเยี่ยงอย่าง) มีคนใช้งานตกราวสองถึงสามล้านคนต่อวัน
เส้นที่มีปัญหาคือเส้นรถไฟฟ้าใต้ดินเส้นที่เรียกว่า Circle Line ยาว 30 สถานี วางตัวเป็นวงแหวนผ่าน CBD ช่วยกระจายคนที่รับมาจากเส้นเหนือ-ใต้, ตะวันออก-ตะวันตก เข้าย่านชั้นใน ในช่วงปีที่ผ่านมา เส้น Circle Line มีปัญหาค่อนข้างบ่อย รถไม่เข้าสถานีตามเวลา รถหยุดกลางสถานี เกิดได้ทุกเวลา ทุกที่ เป็นได้ทุกขบวน ไม่ว่าจะเป็นกลางชั่วโมงเร่งด่วน หรือจะเวลาที่คนใช้งานน้อยอย่างบ่ายๆวันทำงาน เบาๆ อาจจะช้าไป 10-15 นาที ถ้าเจอแจ็คพ็อตรถเสียชั่วโมงเร่งด่วน อาจจะไปทำงานสายไป 2 ชั่วโมง
ไอ้ครั้นจะออกมาเรียกใช้บริการระบบขนส่งทางเลือก อย่าง แท็กซี่, Uber หรือ Grab จังหวะนั้นก็หารถยากมากหรือไม่ก็โดน surcharge แพงเว่อร์ เพราะมีเพื่อนร่วมชะตากรรมและคิดแบบเดียวกันเยอะมาก ทำให้คนที่สิงค์โปร์บ่นกันอย่างมาก เพราะมันกระทบกับการใช้ชีวิตเค้า
ปัญหาคือ มันเกิดขึ้นไม่ถี่แบบทุกครั้งให้จับได้ แต่จะมาแบบกระปริบกระปรอย เอาแน่เอานอนไม่ค่อยได้ มีความพยายามมากมายในการหาสาเหตุ ไล่ตรวจสอบระบบระบบอาณัติสัญญาณจนตลอด ก็ยังจนปัญญาหาสาเหตุที่แท้จริงไม่พบ เคยถึงขนาดขอความร่วมมือกับผู้ให้บริการมือถือ ทดลองตัดสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งเส้นเป็นเวลาสองสัปดาห์ เพื่อหาว่าปัญหาที่เกิด มาจากการรบกวนของสัญญาณมือถือหรือไม่ (ซึ่งแน่นอนว่าล้มเหลว)
ที่ผมว่ามันเจ๋งคือการประยุกต์ใช้งาน data science ที่ใกล้ตัว จับต้องได้ โดยหน่วยงานของรัฐพยายามแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และใช้ data science เข้าช่วยในการทำ visualize ปัญหา เพื่อหาความสัมพันธ์และรูปแบบของปัญหา จนกระทั่งหาผู้ต้องสงสัยได้หนึ่งขบวนถ้วน และมีการเผยแพร่ระเบียบวิธีคิด พร้อมแจกโค้ดที่ใช้ประมวลผลข้อมูลให้ผู้สนใจไปทดลองได้ นั่นต่างหากที่ยอดเยี่ยม
ขอบคุณมากครับ
Ton-Or
ไม่ว่าจะว่าอย่างไร อย่างน้อยที่สุด รัฐบาลเค้าก็ทำกรณีนี้เป็นแรงบันดาลใจให้กับเด็กรุ่นใหม่ของเค้าว่า เฮ้ย data science มันเป็นเรื่องใกล้ตัวนะ เค้าเอามาทำแบบนี้ได้ แก้ปัญหาชีวิตจริงๆได้ ไม่ใช่แค่รู้จักตามตำรา แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเรียนไปทำไม ไม่มี passion ไม่มีแรงบันดาลใจที่จะศึกษาต่อยอดออกไป
ไม่ต้องไปมองถึงขนาด Thailand 4.0 หรอกครับ เอาแค่ให้ผู้ใหญ่ในบ้านในเมืองมีเจตคติที่ดีต่อเรื่องเทคโนโลยี และมี IT/security/privacy mindset เพื่อรองรับการเติบโตของบริษัทเกิดใหม่ในบ้านเรา ทำให้บ้านเราพร้อมที่เป็นแหล่งฟูมฟัก เพื่อพร้อมที่จะไปสู้กับคนอื่น ไม่ใช่ฉุดรั้งและปล่อยให้เฉาตาย รอคนภายนอกสยายปีกเข้ามากอบโกยทำกำไรจากความไม่รู้จักพร้อมเสียทีของเราก็พอ
จริงอย่างว่าเลยครับ ถ้าเห็นว่ามันทำอะไรได้มันก็น่าสนใจขึ้น
เห็นด้วยครับ
ช่วงตัดสัญญาณมือถือนี่ลำบากมากพอรถไฟค้าง จะไลน์บอกเพื่อนว่าไปสายหน่อย ก็ทำไม่ได้เพราะไม่มีสัญญาณ ="=
ขอบคุที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ
สงสัยที่บ้านเราเสียบ่อยนี้คืออาการเดียวกันไหมครับ
คราวที่เสียซ่อมนานๆคือประแจสับรางครับ
ผม forward เรื่องนี้ให้เพื่อนที่ทำงาน BTS เผื่อเค้าเจอปัญหาบ้างครับ