Samsung คงดีใจเมื่อนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดทำตัวดับไฟขนาดเล็กบรรจุในแบตเตอรี่ลิเธียม และจะทำงานอัตโนมัติด้วยการปล่อยสารหน่วงไฟออกมาเมื่ออุณหภูมิในแบตเตอรี่สูงเกินขีดจำกัด
ผลงานวิจัยปรากฏอยู่ในวารสาร Science Advances รายละเอียดเกี่ยวกับวัสดุตัวดับไฟเป็นลิเธียม ที่เคลือบด้วยโพลีเมอร์อีกชั้น ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวคั่นระหว่างแบตเตอรี่กับสารหน่วงไฟ ถ้าอุณหภูมิสูงแตะ 160 องศาจะทำให้โพลีเมอร์ละลาย และสารหน่วงไฟจะทำงาน จากการทดลองปฏิบัติพบว่าตัวดับไฟนี้สามารถดับความร้อนในแบตเตอรี่ลงได้ภายใน 0.4 วินาที
ผลงานวิจัยมีเป้าหมายที่ความปลอดภัยของแบตเตอรี่ลิเธียมบนยานพาหนะ แต่ก็เห็นได้ชัดว่าการระเบิดก็เกิดขึ้นได้บนโทรศัพท์มือถือเช่นกัน คณะวิจัยระบุว่าแบตเตอรี่สมัยนี้มีความหนาแน่นสูงขึ้น ปัญหาความปลอดภัยที่มาพร้อมแบตเตอรี่ก็เพิ่มขึ้นด้วย
ภาพจาก Science Advances
ที่มา - ZDnet
Comments
"น่าจะเจอกันมาตั้งนาน ก่อนที่เธอจะเป็นของใคร อยากให้มันมีปาฎิหารย์ให้ตัวฉันย้อนเวลากลับไป" ซัมซุงไม่ได้ร้องไว้
เรามาถึงจุดที่แบตมือถืออันตรายจนต้องมีระบบรักษาความปลอดภัย หรือต่อไปจะเป็นสิ่งจำเป็นในมือถือแบบเดียวกับที่รถต้องมีถุงลม
แบตลิเธียมไม่ได้ใช้แต่ในมือถือนะครับ ผมว่าแบตรถยนต์ก็อันตรายไม่แพ้กัน
มีใช้ในเครื่องบินด้วยนะครับ ที่ Boeing 787 แบตของเครื่องบินไหม้จนต้องลงจอดฉุกเฉิน ก็แบตลิเทียมนี่แหละ
ถ้าเข็น product ออกมาได้ไวก็ดีนะจะรู้สึกอุ่นใจในแบตรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น
พื้นที่ ความจุลดลงเพราะต้องเพิ่ม ตัววัสดุตัวดับไฟ สินะ
ลิเธียม => ลิเทียม
160 องศา (เซลเซียส หรือ ฟาเรนไฮต์ )
แล้วต่อไป ก็มีปัญหาตัวมันเองที่แตกเองโดยที่อุณหภูมิไม่ถึง ก็ต้องมีตัวอื่นมาป้องกันเพิ่ม