เป็นประเด็นกันมานานมาก ถึงความน่าเชื่อถือของอุปกรณ์สวมใส่ประเภท Fitness Tracker ในแง่ของความถูกต้องของข้อมูลด้านสุขภาพที่ตรวจจับและแสดงผลออกมา ซึ่งงานวิจัยล่าสุดจากนักวิจัย Stanford ก็ชี้ไปในทิศทางลบว่า ตัวเลขแคลอรี่ที่ Fitness Tracker แสดงนั้นไม่มีความแม่นยำเลย
งานวิจัยชิ้นนี้ถูกจัดทำขึ้นโดยศาสตราจารย์ด้านเวชศาสตร์เกี่ยวกับระบบไหลเวียน (Cardiovascular Medicine) จากมหาวิทยาลัย Stanford ซึ่งเก็บข้อมูลจาก Apple Watch, Basis Peak, Fitbit Surge, Microsoft Band, Mio Alpha 2, PulseOn และ Samsung Gear S2 กับอาสาสมัคร 60 คน
ผลคือการแสดงค่าของแคลอรี่ไม่มีอุปกรณ์ใดแสดงผลได้ถูกต้องเลย โดยค่ามีเดียนของ error rate ที่ต่ำที่สุดคือ 27% จาก Fitbit Surge ขณะที่ PulseOn สูงถึง 93% โดยเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดจะยิ่งสูงในกลุ่มผู้ใช้ ผิวเข้ม มีค่า BMI สูงและทำกิจกรรมที่ออกแรงไม่มากอย่างการเดิน
อย่างไรก็ตามในแง่ของการตรวจจับอัตราการเต้นของหัวใจ งานวิจัยชี้ว่าค่อนข้างมีความแม่นยำมากกว่ามาก โดย Apple Watch เป็นอุปกรณ์ที่จับอัตราการเต้นของหัวใจออกมาได้แม่นยำที่สุด ขณะที่ Gear S2 รั้งท้าย
ที่มา - The Register
Comments
เห็นด้วยนะ แคลลอรี่คำนวณไม่แม่นเลย...
Coder | Designer | Thinker | Blogger
Cardiovascular Medicine ครับ
ทีแรกก็แปลกใจที่อุตส่าห์ไปขุด Microsoft Band มาวัดด้วยแล้วแปลกใจขึ้นไปอีกที่เป็นรุ่นแรกซะด้วย - -" ดูจากที่ Gear ก็เป็น S2 สงสัยวิจัยนานแล้วแต่เพิ่งได้ตีพิมพ์
อยากรู้ว่า Garmin หรือแบรนด์ที่เน้นทำอุปกรณ์ออกกำลังกายอื่นๆ อย่าง suunto, polar มี % ความแม่นยำมากแค่ไหน
ยากครับ คือคนแต่ละคนขยับเหมือนกันหมดมันก็เบิร์นไม่เท่ากัน ขณะที่อุปกรณ์พวกนี้มันประเมินได้แค่คร่าวๆ เอาคนเพศเดียวกันอายุเท่ากันรูปร่างเหมือนกันมาวัดผลก็เหมือนกันแล้ว
ถ้าวัดแบบเดียวกันก็น่าจะได้นะครับ อย่างกรณีนี้ก็มีผลออกมาเป็น 27% ได้ คือผมอยากรู้ว่าในการทดลองแบบเดียวกัน นาฬิกาจากกลุ่มที่ผมพูดถึงจะมีค่า error เท่าไหร่เมื่อเท่ียบกับอันที่อยู่ในข่าว
เหมือนเคยเห็นในโพสนี้ https://www.blognone.com/node/79437
เปอร์เซ็ต ?