จากกรณีที่ กสทช. ขีดเส้นตาย 22 ก.ค. ให้เว็บที่เข้าข่ายอย่าง Google/Facebook มาลงทะเบียนผู้ให้บริการโครงข่าย ล่าสุด น.ส. สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. ที่ประกาศยุติการปฏิบัติหน้าที่อยู่ในขณะนี้ ทวีตลงแอคเคาท์ส่วนตัวว่าการลงทะเบียน Google และ Facebook เป็นบริการแบบ OTT อาจขัดพ.ร.บ. ประกอบกิจการโทรทัศน์
เธอระบุว่า พรบ. ประกอบกิจการโทรทัศน์ระบุชัดเจนว่าห้ามบริษัทต่างชาติทำธุรกิจโทรทัศน์ในไทยอยู่แล้ว ขณะที่การที่ กสทช. อ้าง พ.ร.บ. ประกอบกิจการโทรทัศน์ ในการเรียกร้องให้ Google และ Facebook มาลงทะเบียนนั้นอาจขัดกับ พ.ร.บ. ข้างต้น รวมถึงเป็นการเปิดทางให้บริษัทต่างชาติทำกิจการทีวีในไทยได้
น.ส. สุภิญญาระบุด้วยว่า การที่ กสทช. จะกำกับดูแลสื่อออนไลน์เป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจ แต่การตีความว่าสื่อออนไลน์เป็นสื่อทีวีนั้น จะก่อให้เกิดความยุ่งยากด้านกฎหมาย เพราะไม่เข้ากับตัวบทกฎหมายที่มีอยู่
ที่มา - @supinya
กสทช.อาจจะใช้คำเรียกว่าOTTแต่ก็คือสื่อออนไลน์นั่นล่ะ ซึ่ง พรบ.กสทช.ยังไม่ได้เขียนรองรับไว้ ถ้ามาตีความให้เข้ากรอบสื่อทีวีดั้งเดิม จะยุ่งมาก
— Supinya Klangnarong (@supinya) July 4, 2017
ถ้าเขายอมมาลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการทีวีในไทย ดังนั้นต่อไป เขามาซื้อหุ้นช่องทีวีไทยก็สามารถทำได้แล้วใช่ไหม เพราะถือเป็นผู้ประกอบการทีวี
— Supinya Klangnarong (@supinya) July 4, 2017
กสทช.บอกว่า fb/google และ OTT เข้าข่ายเป็นทีวีแบบไม่ใช้คลื่นฯ ตาม พรบ.โทรทัศน์ ซึ่งต้องห้ามไม่ให้ต่างชาติมาขอ แล้วเขาจะมาขอได้อย่างไร pic.twitter.com/WLZOuDpZ9u
— Supinya Klangnarong (@supinya) July 4, 2017
ประเด็นข้อ กม.คือพรบ.ประกอบกิจการโทรทัศน์มีกฎสำคัญห้ามต่างชาติถือหุ้นในกิจการทีวีเกินร้อยละ25 ดังนั้นถ้าตีความสื่อออนไลน์OTTเป็นทีวีจะยุ่ง
— Supinya Klangnarong (@supinya) July 4, 2017
การที่รัฐหรือ กสทช.จะกำกับดูแลสื่อออนไลน์ อาจไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ แต่การไปตีความให้สื่อออนไลน์เป็นสื่อทีวี มันจะไม่เข้ากับตัวบทกฎหมายที่มี
— Supinya Klangnarong (@supinya) July 4, 2017
ที่ผ่านมามีบริษัทในเกาหลีใต้อยากมาลงทุนทำเคเบิลทีวีในไทย ยังทำไ่ม่ได้เลย เพราะ กม.ไทยห้ามต่างชาติมาประกอบกิจการทีวี เป็นต้น
— Supinya Klangnarong (@supinya) July 4, 2017
อันนี้คือตัวบทของ พรบ.ประกอบกิจการโทรทัศน์ ที่ห้ามต่างชาติถือหุ้นกิจการทีวีเกินร้อยละ 25 ดังนั้น กม.ห้าม fb/google มาทำทีวีในไทยอยู่แล้ว pic.twitter.com/YPjjoUyrIH
— Supinya Klangnarong (@supinya) July 4, 2017
สมมติว่าในที่สุดถ้าเขายอมมาลงทะเบียนกับ กสทช.นั่นหมายความว่า กสทช.จะรับรองว่าบรรษัทข้ามชาติสามารถประกอบกิจการโทรทัศน์ได้ตามกฎหมายไทยแล้วหรือ
— Supinya Klangnarong (@supinya) July 4, 2017
การที่ กสทช. ชิญชวนให้ FB มาจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการทีวีในเมืองไทย ก็อาจขัด กม.ที่มีอยู่ และเป็นการเปิดทางให้ต่างชาติทำกิจการทีวีไนไทยได้
— Supinya Klangnarong (@supinya) July 4, 2017
Comments
สุภิญญา กล้านรงค์ => นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์
//ในเนื้อข่าวยังไม่แก้นะครับบล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
คุณสุภิญญา อดีตกรรมการนะครับ เลขาธิการยังอยู่ครับ คุณฐากรไง
อืม ประเด็นน่าสนใจ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
อ้าว กสทช. มีอะไรจะแถ-ลงต่อไหมครับ
ใช้ ม.44 ได้ครับ ไม่เห็นต้องเกรงใจใคร
รู้สึกว่า กสทช. พยายามจะขยายอำนาจของตัวเองอยู่รึเปล่า
เพราะ youtube facebook ไม่ใช่ กิจการโทรทัศน์ หรือ กิจการกระจายเสียง
แต่มันคือเว็บไซค์
กรณีนี้ ขำไม่ออกเต็มๆ เพราะ YouTube / Facebook เป็น Website ในโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งให้ประโยชน์มากกว่าโทษ อย่างแท้จริงครับ
ตีความในแง่บรอดแคส เนื่องจากสามารถสดได้ทั้งบน FB, YT ดังนั้น จะมองว่าเป็นผู้ประกอบการทีวีก็ได้
แต่ถ้าตีความจะแบบนี้ จะกลายเป็นว่า วิดีโอใน YT, FB ก็คือออกอากาศเถื่อนทั้งหมด ต้องไล่บล็อกกันระนาว
อันนี้ ต้องแก้กฎหมายให้ความต่างระหว่างการออกอากาศภาคพื้นดิน ออกอากาศทางอินเตอร์เน็ต และมีกฎบังคับกับการออกอากาศจากต่างประเทศที่นอกเหนือการควบคุมอยู่ในปัจจุบัน ต้องแก้กฎหมายเลย จะได้เก็บภาษีได้เต็มอิ่ม
การตีความแบบนี้ ดูแล้ว ไม่ขำของจริง เพราะจริงๆ แล้ว สื่ออย่าง YouTube / Facebook เป็นจุดที่ได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน เช่น วิดีโอแบบ 360 องศา / ความละเอียด 4K-8K เป็นต้นครับ
ถ้าเอาความหมายของการกระจายเสียง หรือ Broadcasting เนี่ย เขาว่าประเด็นอยู่ที่ลักษณะการกระจายข้อมูล กรณีของ Internet ในปัจจุบัน Internet Protocal ยังไม่รองรับการกระจายข้อมูล ที่ทำ ๆ กันอยู่ เป็นการส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง (P2P - Point to Point)
เคยได้ยินว่ามีการวิจัยเกี่ยวกับการกระจายข้อมูลอยู่เช่นกันแต่ตอนนี้ยังไม่ได้ใช้งานจริงจัง
ที่ยกตรงนี้มาคือ เข้าใจว่าการกระจายเสียงนั้นสามารถใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลแบบฉุกเฉิน แบบ ถ้าเกิดน้ำท่วมฉับพลัน ก็สามารถประกาศภาวะฉุกเฉินให้คนหนีได้เลย เพราะเป็นการผลักข้อมูลทางเดียว ผู้รับไม่มีสิทธิเลือกข้อมูล เมื่อเทียบกับการส่งข้อมูลแบบจุดต่อจุดแล้ว ผู้รับจะเป็นคนร้องขอว่าจะดูอะไรแล้วผู้ส่งถึงจะส่งให้ได้ (แถมต้องส่งทีละคนด้วย) ถ้าเกิดจะทำการประกาศภาวะฉุกเฉินผ่านอินเตอร์เนตจะทำไม่ได้ เพราะคุณไม่สามารถไปแทรกอยู่ตรงกลางแล้วส่งข้อมูลทับให้ผู้รับได้เช่น
เห็นว่าในสภาวะฉุกเฉิน หลาย ๆ ประเทศก็แนะนำให้เปิดทีวีหรือวิทยุทิ้งเอาไว้ก็เพราะเหตุผลนี้ครับ คนดูไม่ต้องเลือกว่าจะดูอะไร คนประกาศเลือกให้เอง
ดังนั้นการควบคุมสื่อแบบกระจายเสียงจะสามารถสร้างอำนาจได้ระดับหนึ่ง (เช่น ประกาศว่ามีปฎิวัติ เป็นต้น พวกสถานีโทรทัศน์ก็เลยโดนก่อนเพื่อนทุกที) ถ้าเกิดเราต้องการประกาศอะไรให้คนรับทราบ คนรับมีทางเดียวที่จะเลี่ยงได้คือปิดเครื่องรับ (ซึ่งเผอิญว่าคนเปิดก็น้อยลง ๆ ทุกวัน) ในขณะที่ถ้าเป็นแบบการส่งจุดต่อจุดจะต้องใช้วิธีการขอร้องให้คนเปิดเข้ามาดูซึ่งมีประสิทธิภาพต่ำกว่า
ที่พูดมาทั้งหมดคืออยากให้มองว่า Internet Video เป็นบริการประเภท On-Demands ไม่ใช่ Broadcasting ดังนั้นก็ควรจะปฎิบัติให้แตกต่างกัน
ส่วนเรื่องภาษีคิดว่า กสทช. ควรอยู่เงียบ ๆ แล้วให้สรรพากรที่มีความชำนาญมากกว่าออกมาทำงานเอง (เหมือนในหลาย ๆ ประเทศครับ)
ขยายความนิดนึ่งว่า Broadcasting ในเครือข่ายสามารถทำได้และทำกันอยู่แพร่หลาย แต่ทำเพื่อบริหารระบบเครือข่าย เช่นการร้องขอไอพีก็จะถูก กระจายไปที่ไอพีสุดท้ายของวงนั้นๆ เช่นวงซับเน็ตมาร์คที่ 255.255.255.0 ก็จะเป็น x.x.x.255 การ broadcasting ไม่เป็นที่นิยมการใช้ส่งข้อมูลเพราะมันรับได้ทุกคน แต่ทุกคนก็เลือก Ignore มันได้ซึ่งไม่ต่างจากส่งแบบหนึ่งต่อหนึ่งที่ผู้รับสารต้องการรับอยู่ดี ก็ทำหนึ่งต่อหนึ่งให้คนต้องการรับง่ายกว่า
ตามความคิดของ คุณ pexza
สามารถอธิบายการใช้กฏหมายไทย ได้ดีและเห็นภาพชัดเจนมากครับ
ถ้าให้ชัดเจนมากขึ้น ก็เหมือนกัน การที่
"ตำรวจโบกมอเตอร์ไซ แล้วเดินดูรอบคัน พลางคิดไปด้วยว่าวันนี้ตูจะ ยัดข้อหาอะไรมันดี"
หรือ ตั้งธงไว้ก่อนว่าผิดแน่ๆ แล้วเอา ข้อกฏหมายทุกข้อ ไปยัดใส่มือมัน
จะเพื่อหวังยอใบสั่ง หรือ สินบน ก็สุดแท้แต่
พอมีกล้อง ไม่ผิดจริง โดนแค๊บลงเนท ก็เดินหน้ามึนๆ เข้าป้อมตำรวจไป
ไม่ข้อโทษ ไม่โดนลงโทษ ทำเหมือนไม่เคยมีเหตุการณ์ ยัดข้อหาเกินขึ้น
ถ้าบ้านเมืองปรกติ ผมอยากล่ารายชื่อซัก 50,000 คนแล้วยื่นถอดถอน กสทช.
นำไปก่อนเลย จะวินิจฉัย ทีหลังว่าจะถอดไม่ถอด ก็อีกเรื่องนึง
ถ้า Youtube FB ถือเป็นกิจการโทรทัศน์ คนที่จะอัพโหลดคลิปตัวเองขึ้นเว็ปต้องส่งให้ กบว.ตรวจก่อนไหมอะ แล้วต้องทำเรทด้วยไหม
เราไม่มี กบว. มาเป็นสิบปีแล้วครับ แต่ละช่องเซนเซอร์กันเอกตามดุลยพินิจทั้งนั้น
I need healing.
พรบ. => พ.ร.บ.
งงกับผู้บังคับใช้กฎหมาย ที่ไม่รอบคอบหรืออย่างไร เป็นกฎหมายที่คลุมเคลือในการตีความจริงๆ
แต่ถ้าจำไม่ผิด ทั้ง youtube และ Facebook ตั้ง สนง.ในไทยแล้ว และยังมี youtube.co.th ที่เป็น Domain ของไทยอีกด้วย ส่วนจะถือหุ้นสักส่วนเท่าไหร่ไม่ทราบ กรรม Thailand 0.44
ผมไม่แน่ใจว่าเรื่องภาษีระหว่างประเทศที่เซ็นๆ กันไว้ไม่กระทบกันใช่ปะ พวกกรณีภาษีซ้ำซ้อน
เละตุ้มเป๊ะ ถึงขนาดมีคนเคยกล่าวไว้ว่านี่น่ะ คือ "นวัตกรรมทางกฎหมาย"
อันที่จริงแล้วจะเรียกกว่ากฎหมายยังไม่รู้ว่าจะได้รึเปล่าเลย เหลวไหลไร้สาระทั้งนั้น
ขัดแย้งกันเองไปมา เพราะจริงๆแล้ว ก็แค่อยากจะได้้ตามธงก็แค่นั้น
กฎเกณฑ์ อะไรก็ไม่แน่นอน เรียกเขาเข้ามาเซนต์อะไร เนื้อแท้แล้วกลวงทั้งนั้นสิ่งที่ต้องการคือ
"
ผมขอประกาศว่าจะเป็นเด็กดี อยู่ในโอวาส และจะรักษาวัฒนธรรมอันดีของไทย
จึงพร้อมจะให้ความร่วมมือต่อรัฐไทยทุกประการ เหมือนดั่งที่ช่องทีวีไทยทำโดยพร้อมเพรียง
ลงชื่อ
มาร์ค,
เซอเก้,
แลรี่
"