Samsung เปิดประตูเทคโนโลยีบานใหม่อีกครั้ง ด้วยการนำเสนอจอ LED ใช้ในโรงภาพยนตร์ที่ทำงานได้โดยไม่ต้องพึ่งโปรเจคเตอร์ แต่ใช้การเปล่งแสงจากหลอดอิเล็กตรอนแทนการยิงภาพโปรเจคเตอร์ ถือเป็นครั้งแรกของโลกก็ว่าได้
เมื่อไม่กี่วันก่อน มีการเปิดตัวการใช้งานจอที่ว่าที่โรงหนัง Lotte Cinema World Tower เกาหลีใต้ ตัวจอรองรับความละเอียด 4K ใช้พลังเสียงจากบริษัท Harman ผู้ผลิตลำโพงชั้นนำของโลก ความกว้างหน้าจอ 10.3 เมตร ทางบริษัทระบุว่าจอ LED นี้จะให้ภาพคอนทราสต์ดีกว่าจอปกติ และให้สีสันสดใสกว่าถึงสิบเท่าด้วย
ภาพจาก Samsung Newsroom
ที่มา - Asia Nikkei Review
Comments
พวกหนัง 3D คงต้องเปลี่ยนแว่นด้วยใช่มั้ยครับ แล้วเรื่องที่ฉายระบบ High frame rate มันจะฉายได้เนียนเท่าฟิล์มมั้ยหว่า
ผมว่าต้องเปลี่ยนระบบโรงใหม่ รวมถึงออกแบบที่นั่งใหม่ด้วยซ้ำไป เรื่องแว่นเปลี่ยนใหม่คงเรื่องเล็ก 5555
ยังต้องทดสอบกันด้วย "เวลา" อีกเยอะครับ
เช่น ฉายตั้งแต่ สิบโมง ถึง เที่ยงคืน ตีหนึ่ง ติดกันทุกวัน ตลอดสัปดาห์
ตัวจอจะอยู่ได้นานแค่ใหน ถ้าพังใช้เวลาแค่ใหน ในการเปลี่ยนชิ้นส่วน
ถ้าเป็น projector พวก Barco, IMAX, Sony
เค้ามีชั่วโมงการใช้งานกำกับ ที่ตัวหลอด แยกแต่ละสี หรือ ใช้หลอดเหมือนกัน 3-4 หลอด
แล้วใช้ filter สี บังเอา ว่าถึงชั่วโมงที่เท่านี้
ถอดเปลี่ยนเลย เพราะสีจะเริ่มเพี้ยน หรือ แสงจะเริ่มสว่างลดลง
เค้าถึงใช้ projector กัน เพราะมันมาถูกงานนะครับ
นั่นสิ ส่วนมาก Samsung ทำอะไรได้ก็เน้นโชว์ไว้ก่อนเลย แต่จริงๆ ยังต้องดูอีกเยอะ
อืมพออ่านความเห็นนี้แล้ว เห็นด้วยเลยครับ จอ led คงไม่เหมาะกับโรงหนังจอพัง คงต้องปิดโรงไปเลยอาจจะเป็นสัปดาห์หรือเดือน
ผมว่าถ้าจะทำ scale ระดับที่ใช้งานอุตสหากรรมขนาดนั้นคงออกแบบให้ซ่อมง่ายด้วยละครับ เป็นโมดูลงี้ถอดออกง่ายๆ
นั่นสิครับ ถ้าเสียแล้วเรื่องใหญ่เลย ยิ่งมาตรฐานของ Samsung นี่พังแล้วไม่ต้องซ่อม แถมมักจะพังหลังหมดประกันไม่นาน
ถ้าเกิด DeadPixel จะเคลมยังไงน้อ...
เสน่ห์ของหนังฉายโรงมันอยู่ที่ แสงไม่เข้าตาโดยตรงจากแหล่งกำเนิดแสงแต่เป็นแสงยิงเข้าฉากดูหนังโรงตาคุณล้าน้อยกว่า นั่นทำให้ดูหนังในโรงหนังสนุกกว่ามาก
แต่หลังๆ ด้วยคุณภาพของโรงหนังที่่ต่ำมากและไม่ดูแลรักษาอุปกรณ์กันเท่าที่ควร ก็ทำให้ผมแทบไม่เข้าโรงหนังอยู่แล้ว
แต่ถ้าเข้าโรงหนังแล้วใช้ระบบแหล่งกำเนิดแสงตรงจากจอเหมือนที่บ้านทุกประการแค่จอใหญ่กว่า ผมคงเลิกเข้าโรงหนังถาวร
เอ้อ น่าสนใจ ... ผมไม่ได้คิดเรื่องนี้เลยแฮะ ว่าแต่มันก็จริงๆนะ แค่จอใหญ่กว่าบ้าน ดูที่บ้านดีกว่า 555
ก็เหลือ เรื่องรอออกแผ่นช้า หลายเดือน
ระบบเสียง
เห็นด้วยเรื่องแสงไม่เข้าตาโดยตรงครับดูแบบปัจจุบันสบายตากว่าเยอะลองไปจ้อง TV จอใหญ่ในที่มืดๆ แสงมันจ้ามากๆเลย
ตาล้าน้อยกว่าจริงๆ หรอครับ? ผมว่ามันควรจะไม่ต่างกันระหว่างเอาไฟฉายส่องหน้า กับ เอาไฟฉายส่องกระจกสะท้อนเข้าหน้า ปัจจัยจริงๆ คือความเข้มแสงรึเปล่า
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ผมก็คิดงั้น ถ้าลดความเข้มแสงลงให้พอๆ กัน มันก็ไม่ล้าหรือเปล่า
ต้องเทียบระหว่างไฟฉายส่องหน้ากับ ไฟฉายส่องกระดาษสะท้อนมาที่หน้าครับ(สมมุติให้กระดาษเป็นฉาก)
เรื่องเดียวกับ e-ink (ทั้งหลายผมไม่ทราบชื่อกลางมัน) vs tablet ทั่วๆไป อะครับ
ส่งกระดาษสะท้อนมาที่หน้า แต่จะให้เห็นสีได้สว่างเท่ากัน source ก็ต้องสว่างมากกว่า เพื่อให้แสงที่สะท้อนกลับมาเข้าตาพอๆ กัน ผมก็สงสัยเหมือนกันว่ามันล้าหน่อยกว่าจริงหรือ ผมว่าไม่เหมือน e ink นะ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
อ้าผมว่าคิดอีกทีไม่เหมือน e-ink แฮะ ขออภัย
เหมือนพวกจอ backlit ของ e-book หรือเปล่าครับ ใช้วิธีเดียวกัน ฉายแสงไปสะท้อนที่จอกลับมาอีกที อันนี้รู้สึกได้เลยว่าแสงไม่จ้าบาดตาแบบจอมือถือ โดยเฉพาะตอนปิดไฟเล่น
เจ้าของธุรกิจโรงหนังถาม ใช้ไปนานๆ จอจะม่วงมั้ย?
จะระเบิดไหม ... 3
my blog
โรงหนังก็ไม่จำเป็นต้องมืดอีกต่อไป
ผมมีความรู้สึกว่าการดูแสงสะท้อนจากจอภาพ ดีกว่าการดูจากหลอดไฟส่องเข้าตาเราตรงๆ..
ผมมีความรู้สึกว่าการดูแสงสะท้อนจากจอภาพ ดีกว่าการดูจากหลอดไฟส่องเข้าตาเราตรงๆ..
อย่าเรียก Light-emitting diodes (LED) ว่าหลอดอิเล็กตรอน เลย มันพาให้นึกไปถึงปืนอิเล็กตรอนที่ใช้ในจอ CRT ฟังดูสับสน :p
iPAtS
ผมนึกไปถึงหลอดสูญญากาศเลยครับ XD
Jusci - Google Plus - Twitter
เชื่อว่า ล่ม เพราะค่าไฟแพงมาก หลายเท่าของปัจจุบัน ลงทุนก็สูง บำรุงรักษาก็แพง ทุกวันนี้ธุรกิจโรงหนังยังหืดขึ้นคอ
ผมสงสัย ทำไมหนังใหม่ๆ ถึงไม่มีขาย online อย่าง play store หรือ iTunes ล่ะครับ
อยากนั่งดูที่บ้านมากกว่า เพราะมีลูกเล็ก ไม่อยากพาไปโรงหนังแล้วก็ส่งเสียงรบกวนคนอื่น
จริงๆมันมี process authorise เพื่อทำเป็น format ที่จะดูบน dvd หรืออะไรก็ตาม ซึ่ง process นี้มักจะทำหลังจากที่หนังออกจากโรงแล้ว ซึ่งฝรั่งจะทำละเอียด ไทยจะทำชุ่ย แต่ไม่ใช่ประเด็นหลัก แต่เสริมไว้ว่า ไอ้ที่ฉายในโรงมันไม่เหมาะจะเอามาฉายธรรมดาได้ ไอ้ authorise process นี่ถ้าเป็นเพลงก็คือ mastering คล้ายๆกัน ไม่เหมือนกันนะ เอาแค่พอเห็นภาพ ว่ามันต้องมีอีก process หนึ่ง
ส่วนเหตุผลหลักคือการทำเงินใน box office มันทำได้มากกว่า การขายแผ่น ฉะนั้นเขาจึงต้องสับเวลา แล้วรวมถึงหนังที่ ฉายทั่วโลกไม่พร้อมกัน ก็ยังมีไล่กันจน ฉายกันหมดแล้ว ถึงจะออกแผ่น หรือว่าให้เช่าดูได้หนะครับ เพื่อจะได้ไม่ไปแย่งส่วนแบ่งตลาดกัน
คือเชื่อว่า ถ้าวางพร้อมกัน ยอดโรงหนังดำดิ่งแน่นอนครับ
ปล. แล้วหลังจากนั้นถึงมีการขายลิขสิทธิ์ให้ ทีวีฉายได้ เพื่อให้ไม่ไปแย่งตลาดของการขาย dvd หรือว่าขาย online อีกทีหนึ่ง
Netflix พยายามทำ แต่ผลคือโรงหนังหลายๆเจ้าเค้าไม่เอาด้วย ส่วนตัวผมว่าถ้ามันไม่อะไรมากก็รอนิดนึงก็ได้ครับ เดี๋ยวนี้หนังลงแผ่นเร็วมากๆ ยิ่งดูสตรีมมิ่งนี่บางเรื่องเดือนเดียวก็มาละครับ โดยเฉพาะ iTunes นี่เร็วมาก