Tags:
Node Thumbnail

จากกรณีเหตุปะทะระหว่างกลุ่มนิยมคนขาวแบบสุดโต่งกับกลุ่มต้านการเหยียดผิวเกิดขึ้นที่ชาร์ล็อตต์วิลล์จนทำให้ วงการไอทีออกตัวต่อต้านชัดเจน ทั้ง GoDaddy, Google, Discord, Facebook, Twitter, Apple, Spotify ฯลฯ พร้อมใจกันระงับการใช้งานเว็บนาซีใหม่ (neo-Nazi) หรือ Daily Stormer กันเต็มที่ แม้จะมีทนายความอาวุโสจาก EFF เคยให้สัมภาษณ์กับ The Verge ว่า GoDaddy มีสิทธิที่จะไม่ให้บริการโดเมนแก่เว็บใดๆ ก็ย่อมได้

ล่าสุด EFF (Electronic Frontier Foundation) ผู้สนับสนุนให้มีการบริการคอนเทนต์อย่างเป็นกลาง ชี้แจงผ่านบทความการต่อสู้กับนาซีใหม่และอนาคตของเสรีภาพในการแสดงออก พูดถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่ามีทั้งอารมณ์ ตรรกะ และการบิดการใช้กฎหมายผสมผสานกัน แต่ก็ต้องยอมรับว่าในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้แทคติกใดๆ ก็ได้ที่ทำให้เสียงของเหล่า neo-Nazi เงียบลง ขณะเดียวกันฝั่งที่เราเห็นด้วยก็อาจจะได้รับผลกระทบในไม่ช้า

No Description
ภาพจาก EFF

EFF เห็นว่า การปกป้องเสรีภาพในการพูด (free speech) ไม่ใช่เพราะเห็นว่าทุกคำพูดเราต้องปกป้อง แต่เพราะเชื่อว่าไม่มีใคร หรือหน่วยงานรัฐใด หรือองค์กรเอกชนใดๆ ควรจะตัดสินใจได้ว่าใครควรจะพูดหรือใครไม่ควรพูดโดยยกเหตุการณ์ของเว็บไซต์ Daily Stormer ที่เป็นของกลุ่มนาซีใหม่ที่เผยแพร่บทความที่ทำร้ายความรู้สึกและล่วงละเมิดผู้อื่นอย่าง Heather Heyer หญิงสาวที่เสียชีวิตจากการถูกคนจากกลุ่ม white supremacy ขับรถพุ่งชนกลุ่มที่ต้านการเหยียดผิว จากนั้น GoDaddy ก็ยุติการให้บริการ ตามด้วย Google และ Cloudflare

EFF ปกป้องสิทธิที่คนจะสามารถพูดอะไรก็ได้ตามที่ บทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ระบุไว้ว่า สภาคองเกรสจะไม่ผ่านกฎหมายใดๆ ที่บั่นทอนเสรีภาพในการพูด การพิมพ์ ซึ่งเป็นไปตาม กฎหมายว่าด้วยการติดต่อสื่อสาร มาตรา 230 ที่มีมาตั้งแต่ปี 1996 เป็นกลไกในการปกป้องเสรีภาพในการแสดงออกและนวัตกรรมทางอินเทอร์เน็ต

GoDaddy, Google และ Cloudflare ได้ทำสิ่งที่อันตราย เพราะผู้เป็นสื่อตัวกลางในการให้บริการทางอินเทอร์เน็ต (Internet intermediaries) โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีผู้แข่งขันน้อยราย การตัดสินใจควบคุมเสรีภาพในการพูดจะส่งผลกระทบไปทั่วโลก สื่อตัวกลางจะอยู่ระหว่างคนเขียนหรือคนโพสต์และคนอ่านคอนเทนต์ ซึ่งรวมถึง ISP ที่เป็นผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตด้วย เหตุผลที่ทำให้คนสนับสนุนความเป็นกลางทางอินเทอร์เน็ตเป็นล้านๆ ราย ก็เพราะเขากังวลกับการเซ็นเซอร์

No Description
ภาพจาก EFF, Manila Principles

EFF เห็นว่าผู้ทำหน้าที่เป็นสื่อตัวกลางดังกล่าว ควรมีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน ไม่คลุมเครือ แม้ว่าจะมีคอนเทนต์แบบใดก็ตามที่ทำให้ผู้เป็นสื่อตัวกลางต้องปฏิเสธการเผยแพร่ ไม่ว่าจะถูกกำหนดโดยเงื่อนไขในการให้บริการ ไปจนถึงการกดดันโดยรัฐเพื่อให้มีการเซ็นเซอร์อย่างลับๆ EFF เสนอให้ทำตามแนวทางหลักการมะนิลาว่าด้วยความรับผิดของสื่อตัวกลาง Manila Principles on Intermediary Liability เพื่อบรรเทาความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อปกป้องเสรีภาพในการแสดงออกและบาลานซ์ความต้องการระหว่างรัฐบาล ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กลุ่มประชาสังคมต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วโลก เพื่อให้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและกรอบกฎหมายระหว่างประเทศอื่นๆ

Manila Principles หรือหลักการมะนิลาระบุว่า

  • สื่อตัวกลางควรได้รับความคุ้มครองจากการรับผิด ที่มาจากเนื้อหาของบุคคลที่สาม
  • เนื้อหาต้องไม่ถูกกำหนดให้ควบคุมใดๆ เว้นแต่จะมีคำสั่งจากศาล
  • การเรียกร้องให้ควบคุมเนื้อหาต้องมีความชัดเจน ไม่คลุมเครือ เป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมาย
  • กฎหมายและคำสั่งในการควบคุมเนื้อหารวมทั้งการปฏิบัติต้องเป็นไปตามความจำเป็นและเหมาะสมตามครรลองของสังคมประชาธิปไตย
  • นโยบาย หลักปฏิบัติ และกฎหมายในการควบคุมเนื้อหาต้องเคารพหลักสิทธิมนุษยชน
  • นโยบาย หลักปฏิบัติ และกฎหมายในการควบคุมเนื้อหาต้องโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้

ที่มา - EFF , Manila Principles

Get latest news from Blognone

Comments

By: tekkasit
Contributor Android WindowsIn Love
on 20 August 2017 - 16:33 #1003184
tekkasit's picture

Cloufflare -> Cloudflare รึเปล่าครับ

By: panurat2000
Contributor Symbian Ubuntu In Love
on 20 August 2017 - 19:04 #1003217 Reply to:1003184
panurat2000's picture

ตามที่บทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมขอรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ระบุไว้ว่า

ขอรัฐธรรมนูญ ?

By: tekkasit
Contributor Android WindowsIn Love
on 20 August 2017 - 16:34 #1003185
tekkasit's picture

รู้สึกว่าหลักการมะนิลาจะไม่ทำงานแถวๆประเทศหนึ่งนะ

By: Gored on 20 August 2017 - 20:15 #1003230
Gored's picture

ถ้าบอกแบบนี้เว็บ เพจ Youtube Channel ของผู้ก่อการร้ายก็ไม่ควรถูกบล๊อกสิครับ

By: zerost
Android Windows
on 20 August 2017 - 22:21 #1003245 Reply to:1003230
zerost's picture

ก็ต้องดูเป็นเรื่องๆไปอะครับ ว่าในประเทศการก่อการร้ายเป็นเรื่องห้ามเผยแพร่รึเปล่า มีสิทธิเผยแพร่ไหม สมมติว่าถ้าในไทยเผยแพร่การก่อการร้ายไม่ได้ สื่อนั้นก็ควรต้องบล๊อกคอนเท้นการก่อการร้ายในประเทศ​ไทย​ตาม ก.ม. อะครับ หลักการมนิลามันก็ว่าอยู่ชัดเจนนะครับว่าให้ยึด ก.ม.

เฉกเช่นเดียวกัน ก็ต้องดูว่าคอนเท้นของนีโอนาซีที่ว่าผิด ก.ม.อเมริการึเปล่า ถ้าไม่ สื่อนั้นๆก็ไม่ควรบล๊อกคอนเท้นดังกล่าวครับ

By: ash_to_ash
Android Windows
on 20 August 2017 - 22:46 #1003247

ต้องถามก่อนว่า EFF ใช้คำว่าเสรีภาพแบบไหน?
เพราะกรณีเหยียดผิวมันก็ก้ำกึ่งระหว่างกฎหมายหลายๆตัว
ถ้า EFF อ้างเรื่องกฎหมายเสรีภาพในการแสดงความเห็น
แล้วสมมติคนเชื้อสายยิว กับ ผิวสีเค้ายึดว่าการแบ่งแยกเค้าเป็น
การประทุษร้ายที่ทำให้ได้ความกระทบกระเทือนทางจิตใจหละ?
มันก็ผิดกฎหมายในอีกมาตราหรือเปล่า?
ดังนั้นก็พอจะพูดได้ว่าเป็นโซนสีเทาที่กึ่งๆเซฟพอดี

ปล1. อับราฮัม ลินคอร์นในหลุมคงมือสั่นไปหมดแล้ววว
"การปกครองโดยประชาชน เพื่อประชาชน"
รัฐธรรมนูญผมว่ามีบัญญัติความหายของคำว่าประชาชนนะ

By: Thaitop_BN
Windows Phone Ubuntu Windows
on 20 August 2017 - 23:04 #1003251 Reply to:1003247
Thaitop_BN's picture

ผมว่าที่ EFF ต้องการสื่อคือ จะถูกหรือผิด จะบล็อกหรือไม่บล็อกควรให้ศาลเป็นคนตัดสิน(ซึ่งตัดสินตามกฎหมาย) ไม่ใช่ให้ผู้ให้บริการเป็นคนตัดสิน(ซึ่งตัดสินจากอะไรก็ไม่แน่ใจ)

By: whitebigbird
Contributor
on 21 August 2017 - 09:39 #1003286 Reply to:1003251
whitebigbird's picture

ประเด็นคือหลายๆ รายที่โดนบล็อกไปมันก็ชัดเจนด้วยพฤติกรรม และพฤติการณ์น่ะครับ

บางอย่างที่มันชัดเจนแล้วสังคมไม่มีส่วนร่วมในการต่อต้าน จะรอศาลตัดสินอย่างเดียวมันก็ดูเก้ๆ กังๆ ไปครับ

ผมว่าเปลี่ยนแนวไปเป็น "ถ้าคิดว่าโดนบล็อกไม่มีเหตุผล ก็ไปฟ้องเอา" แบบนี้ดีกว่า

อย่างกูเกิลนี่มีแนวทางที่ค่อนข้างชัดเจน แม้ว่าในบ.กูเกิลจะเปิดเสรีการพูด แต่กูเกิลบอกเลย ไม่ใช่ว่าเราจะปล่อยให้พูดโดยไม่ทำอะไรเลย

By: KavkaZ
Contributor Android Ubuntu Windows
on 20 August 2017 - 23:32 #1003253
KavkaZ's picture

เสรีแบบไม่มีขอบเขตก็จะเจอปัญหาเรื่อง Paradox of tolerance


ลายเซ็นยาวเกินไปครับ

By: zyzzyva
Blackberry
on 20 August 2017 - 23:36 #1003255

เนื้อหาต้องไม่ถูกกำหนดให้ควบคุมใดๆ เว้นแต่จะมีคำสั่งจากศาล

อุ๊ย นี่แอบด่า service provider ว่าเป็นศาลเตี้ยรึเปล่า หรือด่าตรงๆเลยแต่อย่างไรก็ดี บางคอนเทนต์ต้องถูกแบนอย่างว่องไว ที่ต้องไวกว่าระยะเวลากว่าคำสั่งของศาลจะมาตามปกติ อันที่จริงข่าวเมื่อวานเรื่องศาลไซเบอร์ของจีนก็เป็นทางออกที่ดีนะ

By: menu_dot on 21 August 2017 - 04:49 #1003263

ผมว่า บ้างสิ่ง ก็จำเป็นต้องมีการควบคุม
โลกจริงๆ มันไม่สวยเหมือนจินตนาการของเรา
เช่นเราหวังให้ทุกคนเป็นคนดี แต่โลกจริงๆไม่มีใครดีหรือเลว 100% พฤติกรรมเลวจึงควรถูกควบคุมไว้

By: itpcc
Contributor iPhone Red Hat Ubuntu
on 21 August 2017 - 07:18 #1003265
itpcc's picture

ผมไม่แน่ใจว่า Supreme Court เคยมีประเด็นชี้ขาดเกี่ยวกับเนื้อหาของพวก Neo Nazi หรือ White supremacist แล้วยังนะครับ้ามีแล้ว การที่ ผบก. จะบล็อกไปตามการตีความเทียบเคียง​ตามคำสั่งฯ ก็น่าจะทำไปก่อนได้ แต่ต้องมีกระบวนการอุทธรณ์​คำสั่งได้ด้วย ผมมองว่า ผบก. ยังขาดกระบวนการ​อุทธรณ์​นี่ล่ะ


บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P

By: waroonh
Windows
on 21 August 2017 - 07:37 #1003266

อ่ะ งั้นลบทุกอย่างเกี่ยวกับ Hitler ออก
Jews Holocaust ไม่มีอยู่จริง
โลกมีแต่ม้ายูนิคอน วิ่งในทุ่งลาเวนเด้อ ดูสวยงามไปหมด

By: Fourpoint
Windows Phone Android Symbian
on 21 August 2017 - 08:03 #1003267

หาจุดกึ่งกลางยาก

ผมจะยกตัวอย่าง บางคนอยากนับถือผีเพราะพ่อแม่เขาปลูกฝังมาแบบนั้น อยากนับถือระบบชนชั้น(ผี)ซึ่งมีแนวคิดมองคนไม่เท่ากัน(ทุกคนต้องยอมผีห้ามสงสัย ห้ามเถียง) และกดขี่คนอื่น(ต้องบูชาผี ใครไม่บูชาจะโดนทำร้ายหรือกดดันจากสังคมคนเชื่อผี) แต่มันก็เป็นสิทธิ์ของเขาไหมที่จะคิดแบบนั้น?

เขาก็น่าจะมีสิทธิ์พูด หรือเผยแพร่ความเชื่อของตัวเองในที่ใดๆ?

แต่เขาจะไม่มีสิทธิ์ถ้าเอาความนับถือนั้นไป"ละเมิด"คนอื่นโดยตรง

ทีนี้มันแยกยากระหว่างการนำเสนอความเชื่อ หรือว่าเป็นการปลุกระดม ให้คนเชื่อไป"ละเมิด"คนอื่น

อีกอย่าง ถ้ายกว่าห้าม เพราะมีแนวคิดส่งเสริมการละเมิดคนอื่น ความเชื่อหรือลัทธิที่"นิยม"กันในปัจจุบันหลายอันเอง ก็แฝงแนวคิดชนชั้นหรือกดขี่ไม่ต่างกัน โดยเฉพาะแนวคิดที่ต้องกำจัด/ทำร้ายคนที่ไม่เชื่อเหมือนตัวเอง เพียงแต่ด้วยกฎหมายที่เข้มงวด เลยทำให้ความคิดละเมิดคนอื่นเหลือเป็นแค่แนวคิดฝังไว้ลึกๆ ยกเว้นเกิดเหตุจลาจล แนวคิดถึงเปลี่ยนเป็นการกระทำ...ไม่ต้องไปดูไหนไกลหรอก...แนวคิดประเภทยอมทำเลวเพื่อความดี(?)มีกันเพียบ

By: thedesp
Writer Android Windows
on 21 August 2017 - 09:29 #1003281
thedesp's picture

Devil's advocate 4.0?

By: readonly
iPhone
on 21 August 2017 - 09:38 #1003285
readonly's picture

ปัญหาของหลักการมะนิลาคือ
- ตัวกฏหมายเองมีความชัดเจนเพียงพอที่จะตัดสินว่าความคิดใดเป็นภัยคุกคามหรือไม่ หรือต้องอาศัยวิจารณญาณของผู้พิพากษาเป็นกรณีไป
- การอาศัยศาลเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดแต่เพียงผู้เดียวนั้นรวดเร็วเพียงพอหรือไม่ ในขณะที่ปกติก็มีคดีความรอคิวพิพากษาเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว
- เป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการเนื้อหาเองด้วยหรือไม่ที่จะระงับยับยั้งเนื้อหาที่นำไปสู่ความรุนแรง หรือการคุกคามในอนาคต
- เสรีภาพในการพูดนั้นควรจะมาพร้อมกับความรับผิดชอบที่ไม่น้อยไปกว่ากันหรือไม่

โลกสวยมันก็มีอยู่แค่ในจินตนาการแค่นั้นแหละ

By: put4558350
Contributor Android Ubuntu Windows
on 21 August 2017 - 17:20 #1003395 Reply to:1003285
put4558350's picture

สื่อทุกอย่างเมื่อโดนบิดเบือนมีผลต่อการตัดสินใจของผู้คน และมันง่ายมากที่คนที่มีอำนาจจะปรับอำนาจเพื่อตัวเอง

... เค้าแค่ระวังไม่ให้ usa กลายเป็น เกาหลีเหนือนั้นแหละครับ ...


samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: iStyle
Contributor iPhone Android Symbian
on 21 August 2017 - 10:31 #1003296
iStyle's picture

บริษัทมีเสรีภาพในการบล็อกเว็บที่ไม่ชอบใจไหม เอ๊ะผมเริ่มงงคำนี้ - -


May the Force Close be with you. || @nuttyi

By: Pearseak on 21 August 2017 - 11:52 #1003319

free speech or hate speech

By: tomyum
Contributor Android Windows
on 21 August 2017 - 13:15 #1003344
tomyum's picture

สิทธิมนุษย์ชน Free speach มันต้องมาก่อน อยู่เหนือ Hete speach อยู่แล้วครับ คือต้องแยกแยะว่า Hate speach มันไม่ใช่ Free speach นะครับ อย่าปนกัน บล๊อกอะถูกต้องแล้ว

By: Architec
Contributor Windows Phone Android Windows
on 21 August 2017 - 19:48 #1003426

1st amendment มันเป็นอะไรที่ลูกผีลูกคนมาก อย่างพวกปลุกระดมให้ก่อเหตุรุนแรงหรือสนับสนุนการก่อการร้ายไม่คุ้มครองแน่นอน

แต่เดี๋ยวก่อน...... พวก Hate Speech กับการตีความนั้นมันแปลกสุดๆ

  • ถ้าคุณด่าหรือประท้วงในงานจัดงานของบางรัฐคุณมีสิทธิ์ทำได้ (ฟ้องศาลชนะมาแล้ว)
  • แต่...บางคนด่า จนท.รัฐแค่ไม่กี่ประโยคก็มีสิทธิ์ไปนอนคุกได้
  • หรือไม่กี่ปีก่อนที่ชาวผิวขาวสองคนยกพวกพร้อมปืนไปป่วนงานวันเกิดเด็ก(ผิวสี) รับไปเลยครับ 28 ปีเหนาะๆ(บีบน้ำตาในศาลไปก็ไม่ช่วยอะไร)
  • บางทีก็ไม่คุ้มครองสวัสดิภาพของพนักงาน..... อดีต CEO ของ Chick-Fil-A จากเศรษฐีด้วยหุ้นออปชันกลายเป็นคนเอาคูปองอาหารไปแลกเพราะต่อต้านความคิดเห็นของเจ้าของบริษัทที่เหยียดกลุ่ม LGBT (ที่ตกงานคือโพสคลิปที่ตัวเองโวยพนักงานหน้าร้านว่าทำไมไม่กล้าออกมาสู้กับความเห็นสุดโต่งของเจ้าของบริษัท)
  • กลุ่ม Hells Angels (ที่รับแต่คนขาวเข้ากลุ่มและชอบก่อเหตุรุนแรง) โดนคำสั่งของรัฐแบนกลุ่ม ก็ไปจ้างทนาย(ที่เคยว่าความให้ไมเคิล แจ๊คสัน)ว่าการตั้งกลุ่มนั้นมันไม่ผิด(เอาผิดก็เอาผิดรายคนสิ เรามีสิทธิ์อะ) แล้วก็ชนะคดี (ทีกลุ่มมาเฟีัยละก็บังคับใช้กฎหมาย RICO ดี๊ดี)

ย่อดีกว่า : หลักการมะนิลา(ขึ้นต้นเป็นมะลิซ้อนฯ....) มีไปก็ไม่ช่วยอะไรเพราะไม่ใช่กฎหมายบังคับ แต่คำถามคือเขาทำผิดอะไรใน 1st amendment ที่ถึงขั้นแบน(ไปทั่ว)?

ps. ผมไม่ใช่ racist นะครับ ดูตามกฎหมายล้วนๆ

By: McKay
Contributor Android WindowsIn Love
on 21 August 2017 - 20:25 #1003435 Reply to:1003426
McKay's picture

จริงๆไม่เกี่ยวกันกับ 1st amendment เลยนะครับ 1st amendment ใช้ในกระบวนการตามกฎหมายตามปกติขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล

คือคน'ทำผิดกฎหมายต้องได้รับโทษจากระบบของรัฐ' อันนี้เป็นเรื่องปกติ

แต่นอกจากกระบวนการทางกฎหมายแล้ว เรายังมีบรรทัดฐานทางสังคมอื่นๆอีก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการลงโทษจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ซึ่งกรณีนี้ผมเข้าใจว่า 'การปฏิเสธการให้บริการต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง'นั้น ไม่น่าผิดกฎหมายนะครับ เพราะไม่ได้ไปทำร้ายใครหรือเสรีภาพของใคร คนเหล่านั้นยังแสดงออกได้ปกติเพียงแต่ว่าคงต้องไปแสดงออกที่อื่น อย่าง Blognone เองก็จัดอยู่ในกลุ่มผู้ให้บริการด้วย การบล็อกบัญชีผู้ใช้ก็เป็นเรื่องปกติ

เรื่องนี้ผมมักจะพูดเสมอๆว่า free speech หรือการกระทำที่ไม่ผิดกฎหมายไม่ได้หมายถึงว่าเราจะไม่ได้รับ consequences อะไรเลย เราแค่ไม่ได้รับโทษทางกฎหมาย แต่โทษทางสังคมมันมีอยู่แล้วทั้งทางตรงและทางอ้อมครับ อย่างเสื้อเหลืองเสื้อแดงในไทยก็อาจจะโดนสังคมรังเกียจ ปฏิเสธการให้บริการ ปฏิเสธการเข้าใช้บริการเป็นเรื่องปกติ เช่นร้านก๋วยเตี๋ยวเสื้อแดงอาจขายไม่ออกจนเจ๊ง แบบนี้เป็นต้น

กรณีนี้ที่มันเป็นเรื่องขึ้นมาก็แค่บริการเหล่านี้เป็นบริการที่ใหญ่ครับ ผู้ให้บริการทำผิดกฎหมายไม๊อันนี้คงไม่(ไม่งั้นเว็บต่างๆคงทำผิดกฎหมายกันหมด) ทำถูกใจผู้ใช้บริการไม๊ อันนี้สุดท้ายแล้วผู้ใช้บริการเองมีสิทธิ์เลือกครับ หากผู้ใช้ไม่ชอบก็แค่เลือกไม่ใช้บริการกับผู้ให้บริการไป


Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)