แม้เรื่องความชอบทางเพศ (sexual orientation) จะเป็นเรื่องส่วนบุคคล และในทางวิชาการสังคมศาสตร์ มีการถกเถียงกันอยู่เป็นระยะว่าเป็นเรื่องของสังคมสร้าง (social construction) หรือเรื่องทางชีววิทยา (biological determine) แต่งานวิจัยชิ้นล่าสุดที่กำลังจะตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Journal of Personality and Social Psychology ชี้ให้เห็นว่าระบบประสาทเทียมระดับลึก (deep neural network) ที่ใช้เป็นฐานของระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระบุว่าคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกความชอบทางเพศได้ โดยใช้เทคนิคการสแกนภายใบหน้าเพียงครั้งเดียว
งานวิจัยดังกล่าวนี้ดำเนินการโดย Yilun Wang และ Michal Kosinski จาก Graduate School of Business (เทียบเป็นไทยคือ บัณฑิตวิทยาลัยธุรกิจ) ของมหาวิทยาลัย Stanford โดยใช้ซอฟต์แวร์อย่าง Face++ เข้ามาช่วย และสแกนภาพใบหน้ากว่า 35,000 ภาพ จากนั้นจึงเข้าระบบอัลกอริทึมเพื่อจำแนกเพศ โดยพบว่าระบบสามารถจำแนกเพศระหว่างคนที่มีความชอบทางเพศเป็นเกย์กับคนที่มีความชอบทางเพศแบบดั้งเดิม (heterosexual) ได้อย่างแม่นยำในภาพเดียว มีค่าความแม่นยำที่ 81% สำหรับเพศชาย และ 71% ในเพศหญิง และเพิ่มขึ้นเป็น 91% และ 83% ในกรณีที่มีภาพของคนเดียวกันแต่จากมุมอื่นๆ เข้ามาเสริมเป็น 5 ภาพ
คณะผู้วิจัยระบุว่า การรับรู้เรื่องความชอบทางเพศของมนุษย์ (human perception) มีอยู่อย่างจำกัด และอาจเป็นการบ่งบอกถึงที่มาของเพศสภาพในแต่ละบุคคลนั้นได้ รวมไปถึงความเสี่ยงที่ระบบการรับรู้ใบหน้า (facial recognition) อาจสร้างปัญหาในความเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะในเรื่องเพศด้วย
ร่างเปเปอร์มีให้ดาวน์โหลดแล้ว แต่ตัวเปเปอร์จริงอาจต้องรอผ่านการตรวจสอบ (peer-review) อีกระยะหนึ่งกว่าจะตีพิมพ์ได้ ใครสนใจไปกดอ่านได้
ที่มา - เปเปอร์งานวิจัย ผ่าน The Next Web
ภาพจากเปเปอร์ในงานวิจัย
Comments
555 ตรวจด่วนๆ
ถ้าให้วิเคราะห์น้ำเสียงกับกริยาด้วยน่าจะยิ่งแม่นกว่านี้นะครับขนาดแค่หน้าตายังแม่นขนาดนี้
เท่าที่อ่านในบทความ ผมเข้าใจว่าบทความพูดถึง "เพศวิถี (Sexuality)" หรือ "ความชื่นชอบทางเพศ (Sexual Orientation)" ไม่ใช่ "เพศสภาพ (Gender)" นะครับ
เมื่อพูดถึงเรื่องเพศ เวลาที่เราพูดถึง "เพศสภาพ" จะหมายถึงเพศที่บุคคลนั้นๆ มองตัวเองว่าเป็น (หรืออยากเป็น) เพศไหน เช่น นาย A มีเพศกำเนิดเป็นชาย แต่คิดว่าตัวเองเป็นหญิง ชอบแต่งตัวเป็นผู้หญิง หรือไปผ่าตัดแปลงเพศเลย นี่คือมีเพศสภาพเป็นหญิง
ส่วนอีกมุมคือ "เพศวิถี (Sexuality)" หรือ "ความชื่นชอบทางเพศ (Sexual Orientation)" หมายถึงว่าบุคคลนั้นๆ ชอบเพศไหน ซึ่งอาจจะไม่ได้สอดคล้องกับเพศสภาพด้วยก็ได้ เช่นกรณีนาย A ข้างบน ถึงไปผ่าตัดแปลงเพศแล้ว แต่ก็อาจจะชอบผู้หญิงก็ได้ หรือในบ้านเรา กลุ่ม "เกย์รุก/รับ แมนๆ" ในบ้านเราก็มีเพศสภาพเป็นชายแท้ๆ แต่มีความชอบทางเพศเป็น Homosexual ก็เป็นได้ครับ
ปล. สรุปคือคิดว่า น่าจะแก้คำว่า "เพศสภาพ" เป็นคำอื่นเช่น "เพศวิถี" หรือ "ความชอบทางเพศ" มากกว่าครับ ดูตามที่มาก็พูดถึงสองคำนี้
ในข่าวนี้เลยพยายามใช้คำในทางวิชาการภาษาไทยว่า "เพศสภาพ" (gender) แทนที่ "เพศ" (biological sex) เฉยๆ ครับ เพื่อพยายามเลี่ยงปัญหาความไม่สม่ำเสมอของคำแบบที่คุณกล่าวข้างต้นแหละครับ โดยใช้นิยามในความหมายที่ใกล้กับ Judith Butler ใช้ในงาน Gender Trouble ครับ
ทั้งนี้ ขอผมพิจารณาอีกทีหนึ่งแล้วจะแก้ไขครับ เรื่องคำนี้ในภาษาไทยยังไม่มีการตกลงกันเป็น finite answer ครับ
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
งั้นผมขอขอแย้งแบบนี้ครับว่า ในต้นทางบทความที่คุณยกมา กับงานวิจัย (ผมอ่านแต่ Abstract นะ ไม่ได้อ่านใส้) เขากล่าวว่า
มันคืองานวิจัยวิเคราะห์ "sexual orientation" ของบุคคลจากหน้าตา ไม่ใช่วิเคราะห์ "Gender" นะครับ ในเมื่อคุณเองเขียนตั้งแต่ย่อหน้าแรกว่า รวมถึงในเม้นท์นี้ว่า ""เพศสภาพ" (gender)" แปลว่าคุณเอา Gender มารวมกับ sexual orientation ซึ่งไม่ใช่ประเด็นของงานวิจัยนี้แล้วล่ะครับ อันนี้ไม่ได้พูดถึงภาษาไทยใดๆ นะครับ
ประเด็นคือในงาน ผมกำลังหนักใจว่ามันมีการใช้ทั้งคำว่า sexual orientation, gender อยู่ร่วมกัน ซึ่งถ้าผมต้องการ consistency ในข่าวภาษาไทย มันเลยยากตรงนี้ ผมเลยใช้ฐานจากงานของ Judith Butler คือ Gender Trouble ในการหาคำครับ
ถ้าคิดว่า sexual orientation ตรงกว่า เดี๋ยวผมจะดำเนินการให้นะครับ แต่ผมคงต้องกล่าวตรงนี้ว่า ผมก็อาจจำเป็นต้องคัดคำอื่นที่เกี่ยวข้องหรือแย้งกันออกไปนะครับ ซึ่งผมคงไม่สามารถแก้ไขเพื่อเอาใจทุกคนได้ครับ และทำดีที่สุดเท่าที่จะอ่านและตีความบทความฉบับนี้ได้แล้ว
ทั้งนี้ผมไม่เห็นด้วยกับการใช้คำว่า "sexuality" แน่ๆ กับข่าวนี้ อ่านบทความต้นทางแล้วผมก็ไม่เห็นด้วยที่จะจับวาง (placement) คำนี้ลงไปในข่าวนี้ครับ
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
ภายใบหน้า => ภาพใบหน้า
ถ้าตรวจผ่านหน้าตาได้ แสดงว่าเกย์อาจไม่ใช่เพียงรสนิยม แต่เพศวิถีนี่อาจจะต้องลงลึกถึงระดับยีนกันเลยทีเดียว นั่นหมายความว่าคุณถูกโปรแกรมมาตั้งแต่ต้นแล้ว
ลึกซึ้ง เป็นประเด็นที่ดีครับ
ส่วนตัวผมเชื่อว่าวัฒนธรรม การเลี้ยงดู นิสัยใจคอ ฯลฯ มันปรากฎบนหน้าตาครับ
ฝรั่งที่เติบโตในไทยและสังคมแบบไทยๆ (ไม่ได้เรียนอินเตอร์ ไม่ได้อยู่แต่กับสังคมชาวต่างชาติ) มีลักษณะใบหน้าไม่เหมือนกับฝรั่งที่โตในประเทศของตนเอง
ผมว่า AI ก็น่าจะทำตรงนี้ได้นะครับ
ผมว่า การแสดงอารมณ์บนสีหน้าตอนถ่ายรูปนะที่บ่งบอกบางคนพยายามทำหน้านิ่งๆ ตอนถ่ายรูป ยังดูเกย์เลย เพราะมันไม่นิ่งจริงๆ 55555
ช่วยสาวๆ ได้มากเวลาจะเลือกใครมาแต่งงาน
ขั้นต่อไปขอเรดาร์ตรวจจับหญิงแท้กับหญิงเทียม มาช่วยหนุ่มๆบ้าง
ต่อไป AI จะดูโหงวเฮ้งได้แม่นกว่าซินแส!!
ผมมีเพื่อนเป็นเกย์ 3 คน อ่านข่าวนี้แล้วให้เอะใจ เออหน้าเพื่อนเราถ้าสแกนดูจริงๆ มันก็ดูออกนี่หว่า 55+
ลูก - พ่อ! ผมเป็นเกย์
พ่อ - พ่อรู้ตั้งนานแล้วล่ะลูกลูก - ??? มันเป็นใคร? ใครบอกพ่อ!?
พ่อ - ...
งานวิจัยหลายๆ ชิ้น ก็เชื่อว่าเป็น genetic นะ
แม้กระทั่งฝาแฝด ถ้าคนนึงเป็น อีกคนก็เป็นในระดับ 70%
ถ้าดูงานชิ้นนี้ก็เสริมไปในทางเดียวกัน
เคยศึกษาเรื่อง micro expression มานิดนึง จำได้ว่ามี 2 แบบที่สามารถสังเกตได้ อันแรกคือคิ้วแบบในข่าว(มุมขวาบน)เหมือนคนตื่นอะไรสักอย่าง อย่างที่สองคือคิ้วขมวดลง(เหมือนพระเอก transporter 4)
สรุปหักมุมกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเกย์แต่งหน้าทาปากสักคิ้วหกมิติ (คิ้วมีมิติเยอะกว่าเรื่อง Interstellar อีก)
ที่ผู้หญิงบอกว่า ผู้ชายคนนี้หล่อจัง แต่น่าเสียดายที่เป็นเกย์
แสดงว่าผู้หญิงไม่ได้ชอบผู้ชายหน้าตาหล่อ แต่ชอบผู้ชายหน้าตาเกย์
แล้วบอกว่าหล่อสินะนี่...