Amazon S3
Maciej Pocwierz วิศวกรซอฟต์แวร์รายงานถึงเหตุที่เขาถูกคิดเงินค่าใช้งาน S3 ที่เขาสร้างขึ้นโดยไม่ได้ใส่ไฟล์อะไรลงไปถึงวันละ 1,300 ดอลลาร์หรือประมาณ 50,000 บาท ล่าสุด Jeff Barr ผู้บริหาร AWS ออกมาระบุว่าจะแก้ปัญหานี้
Supabase ระบบ backend-as-a-service แบบโอเพนซอร์สประกาศฟีเจอร์ใหม่เพิ่มเติมคือระบบการเข้าถึงไฟล์ด้วยโปรโตคอล S3 จากเดิมที่มี API เฉพาะทางของตัวเอง
Supabase Storage เป็นโครงการย่อยภายใต้กลุ่ม Supabase และเป็นหนึ่งในไม่กี่โครงการที่สามารถใช้โปรโตคอล S3 ได้ในตัว โดยก่อนหน้านี้ Minio เป็นโครงการยอดนิยม แต่ก็มีแนวทางของตัวเองที่จะเป็นระบบสตอเรจเต็มรูปแบบต้องการ etcd เพื่อเก็บ metadata ขณะที่ Supabase ต้องการใช้ PostgreSQL
AWS เปิดตัวบริการสตอเรจ Amazon S3 Express One Zone ที่ช่วยเร่งความเร็วการเข้าถึงข้อมูลสูงสุด 10 เท่า เมื่อเทียบเทียบกับ S3 Standard รุ่นปกติ
AWS บอกว่า Amazon S3 Express One Zone ออกแบบมาเพื่องานที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลจำนวนมากๆ อย่างรวดเร็ว เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล, machine learning โดยยังคงความเข้ากันได้กับ S3 API ทั้งหมด
เหตุผลที่ส่งข้อมูลได้เร็วเป็นเพราะข้อมูลทั้งหมดในสตอเรจจะถูกเก็บไว้บนฮาร์ดแวร์ที่อยู่ใน Availability Zone เดียวกัน (ตามชื่อ One Zone) ช่วยลด latency ในการเรียกข้อมูลลงได้มาก
AWS ปรับกระบวนการเก็บข้อมูลของบริการ Amazon S3 ใหม่โดยค่าเริ่มต้นจะเปิดใช้การเข้ารหัสแบบ server side encryption (SSE) ที่ใช้กุญแจของ S3 เอง กลายเป็นกระบวนการเก็บข้อมูลแบบขั้นพื้นฐาน มีผลกับออปเจกต์ใหม่เท่านั้น
เมื่อเดือนกันยายน 2021 Cloudflare ได้ เปิดตัว R2 Storage บริการเก็บข้อมูลแบบ object storage แบบเดียวกับ Amazon S3 แต่ไม่คิดค่าแบนด์วิดท์นำข้อมูลออก และเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาก็ได้ เปิดให้ทุกคนใช้งาน แล้ว โดยตอนเปิดตัวบอกว่าจะมีเครื่องมือสำหรับไมเกรตจาก S3 ให้ใช้ด้วย
หนึ่งในเรื่องน่าปวดหัวของการใช้คลาวด์คือ "ค่านำข้อมูลออก" หรือ egress fee ที่ผู้ให้บริการคลาวด์แต่ละเจ้าเก็บเงินตรงนี้ และหลายองค์กรที่ใช้คลาวด์จริงจังพบว่าค่าใช้จ่ายส่วนนี้สูงเกินจะรับไหว ล่าสุด Cloudflare ได้เปิดตัว R2 Storage บริการเก็บข้อมูลที่ไม่มีค่านำข้อมูลออก
Cloudflare เป็นผู้ให้บริการ CDN และ DNS ที่ต่อต้านการเก็บเงินค่านำข้อมูลออกมาโดยตลอด ก่อนหน้านี้ได้ก่อตั้ง Bandwidth Alliance ขึ้นมาเพื่อให้ลดค่าแบนด์วิดท์ระหว่างคลาวด์ลง แต่ AWS ไม่ยอมเข้าร่วม ทำให้ Matthew Prince ผู้ร่วมก่อตั้ง Cloudflare วิจารณ์ AWS ว่าทำกำไรจากค่าแบนด์วิดท์เป็นสิบเท่าจากต้นทุน
AWS ประกาศปรับราคาบริการสตอเรจ S3 Intelligent-Tiering บริการปรับโหมดการเก็บข้อมูลอัตโนมัติตามการใช้งานที่เปิดตัวเมื่อปี 2018 จากเดิมที่มีค่าบริการขั้นต่ำ 30 วันกลายเป็นไม่มีค่าบริการขั้นต่ำ ทำให้ใช้งานทดแทน S3 มาตรฐานได้ง่ายขึ้น เนื่องจากไม่มีกรณีที่ค่าใช้จ่ายแพงกว่า S3 มาตรฐานเลย
S3 Intelligent-Tiering จะมอนิเตอร์การใช้งานออปเจกต์ และหากพบว่าไม่ได้ใช้งานนานก็จะปรับรูปแบบการเก็บเป็นแบบที่ช้าลงเรื่อยๆ จาก Frequent Access Tier, Infrequent Access Tier, Archive Access Tier, และ Deep Archive Access Tier โดยค่าพื้นที่สตอเรจชั้นสูงสุดกับต่ำสุดนั้นห่างกันถึง 23 เท่าตัว
นักวิจัยจาก vpnMentor เว็บไซต์เปรียบเทียบ vpn และลงข่าวข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต เปิดเผยว่าเข้าไปพบ AWS S3 bucket ที่คอนฟิกผิด และมีข้อมูลผู้ใช้แอปหาคู่ 9 แอป เช่น แนวเสี่ยหาเด็กเลี้ยงแบบ SugarD, หาคู่สำหรับผู้หญิงอายุเยอะกว่า CourgarD, แอปหาคู่เกย์สายหมี Gay Daddy Bear, แอปหาคู่ของคนที่เป็นโรคเริม Herpes Dating (อิหยังวะ) และอีกมากมาย ที่คาดว่ามีผู้พัฒนารายเดียวกัน
ข้อมูลที่หลุดประกอบไปด้วยรูปภาพแนว 18+ ข้อมูลการสนทนา ข้อมูลบัญชีธนาคาร ไฟล์บันทึกเสียง และข้อมูลที่ใช้ระบุตัวตนผู้ใช้ได้ มากว่า 845 GB จำนวนประมาณ 20 ล้านไฟล์ คาดมีข้อมูลของผู้ใช้ ราว 100,000 คน แต่ข้อมูลก็ถูกล็อกไปแล้วตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา หลังผู้ค้นพบแจ้งหนึ่งในเว็บไซต์ที่ข้อมูลหลุดไป
AWS เปิดตัวบริการ AWS Transfer for FTP และ FTPS เพิ่มเติมหลังจาก เปิดบริการ SFTP ไปเมื่อปี 2018 แม้ว่าโปรโตคอลทั้งสองจะค่อนข้างเก่าแล้ว แต่ซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลและซอฟต์แวร์วิทยาศาสตร์ยังใช้งาน FTP อยู่ ขณะที่ซอฟต์แวร์ด้าน ERP หรือ CRM บางตัวก็ยังรองรับเฉพาะ FTPS เท่านั้น
ในบรรดาการเชื่อมต่อทั้ง 3 แบบ FTP อันตรายที่สุดเนื่องจากไม่มีการเข้ารหัสใดๆ ทำให้ AWS ไม่อนุญาตให้เชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ต แต่ต้องเชื่อมต่อผ่าน VPC เท่านั้น ส่วน FTPS นั้นยังอนุญาตให้เชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตได้
ค่าใช้งานเท่ากับ SFTP ทุกประการ อยู่ที่ 0.30 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง และอัตราการส่งข้อมูลเข้าออก 0.04 ดอลลาร์ต่อกิกะไบต์เท่ากัน
ปัญหาลืมปิด Bucket ของสตอเรจบนคลาวด์ (เช่น กรณี Amazon S3 ที่เคยเป็นข่าวในบ้านเรา ) ยังถือเป็น ต้นเหตุสำคัญของกรณีข้อมูลหลุดหลายครั้ง
ปีที่แล้ว AWS ออกเครื่องมือชื่อ Amazon S3 Block Public Access เพื่อตั้งค่าไม่ให้เปิด S3 เป็นสาธารณะได้อีกต่อไป (คลิกเดียวปิดทุกอย่าง) ปีนี้ AWS ออกเครื่องมือที่ช่วยให้เราตรวจสอบสิทธิการเข้าถึง S3 ได้ละเอียดมากขึ้น ในชื่อว่า Access Analyzer for S3
Amazon ได้เปิดให้ใช้งานสตอเรจคลาสใหม่ Amazon S3 Glacier Deep Archive ที่ออกแบบมาเพื่อเน้นเก็บข้อมูลระยะยาวอย่างคงทนและปลอดภัย โดยเน้นกลุ่มลูกค้าที่ต้องเก็บข้อมูลไว้ในระยะยาวมากและแทบไม่ได้เรียกใช้เลยนานหลายปี หลังจาก เปิดตัว มาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว
สำหรับการเก็บข้อมูลของ S3 Glacier Deep Archive คือจะเก็บข้อมูลไว้ที่ 3 Availability Zones หรือมากกว่า และเรียกข้อมูลได้ภายใน 12 ชั่วโมงหรือน้อยกว่า โดยสตอเรจคลาสนี้ออกแบบมาเพื่อทดแทนการเก็บข้อมูลลงเทป (tape drive) โดยผู้ใช้จะได้ไม่ต้องยุ่งยากในการจัดการ หรือไมเกรตข้อมูลไปยังสื่อใหม่ ๆ
AWS ประกาศรวม Amazon Glacier บริการแบ็คอัพและเก็บข้อมูลระยะยาวราคาถูก เข้ากับ S3 เป็นบริการเดียวกันเพื่อให้ใช้งานสะดวกขึ้น โดยให้เหตุผลว่าในมุมของผู้ใช้งานก็มอง Glacier เป็นสตอเรจคลาสหนึ่งของ S3 อยู่แล้ว และลูกค้าส่วนใหญ่ของ Glacier ก็แบ็คอัพข้อมูลมาจาก S3 อยู่แล้วเช่นกัน
Amazon Glacier จึงถูกยุบรวมเข้ากับ S3 และใช้ชื่อใหม่ว่า Amazon S3 Glacierส่วนในแง่การใช้งาน การเรียก API ต่างๆ ยังเหมือนของเดิม ผู้ใช้ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร
ปกติแล้ว S3 จะมีประเภทการเก็บข้อมูลต่างๆ ตามลักษณะการใช้งาน เช่น ถ้าใช้งานไม่บ่อยก็สามารถเลือกประเภทที่ค่าจัดเก็บถูกลง แต่มีค่าบริการเรียกข้อมูล (retrieval fee) ได้ เช่น S3 Standard-IA หรือ Amazon Glacier ที่เป็นสตอเรจสำหรับเก็บข้อมูลระยะยาว
ล่าสุด AWS เปิดบริการใหม่ S3 Intelligent-Tiering เป็นสตอเรจคลาสใหม่ที่ช่วยให้เราเลือกประเภทการเก็บข้อมูลได้อัตโนมัติ สลับจาก S3 แบบปกติ (frequent access) เป็น S3 แบบเข้าถึงไม่บ่อย (infrequent access) ให้อัตโนมัติ เมื่อสตอเรจแบบปกติไม่ถูกเรียกใช้งานนานกว่า 30 วัน แถมยังไม่เสียค่าเรียกข้อมูล เมื่อมีการเข้าถึงก็จะปรับกลับทันที โดยคิดค่าบริการเพิ่มเติมตามจำนวนไฟล์ที่เก็บไว้
AWS เปิดตัวบริการ AWS Transfer for SFTP สำหรับ S3 โดยสามารถใช้ client SFTP ทั่วๆ ไป เช่น Filezilla หรือ WinSCP อัพโหลดไฟล์ขึ้น S3 ได้เลย
ค่าบริการอยู่ที่ $0.30 ต่อชั่วโมงที่เปิดใช้ และ $0.04 ต่อข้อมูล 1GB ที่ส่งเข้าออก เพิ่มจากค่าบริการของ S3 และ data transfer ตามปกติ
ที่มา: What's new in AWS
ปัญหา Amazon S3 โดนแฮก
คอนฟิกผิดจนกระทั่งเปิดออกสู่สาธารณะเป็นปัญหาเรื้อรังที่หลายบริการเจอในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แม้ทาง AWS จะพยายามปรับหน้าจอหรือการแจ้งเตือนเพื่อให้ผู้ใช้รู้ตัวเร็วขึ้นแล้วก็ตาม ตอนนี้ทาง AWS ก็เปิดฟีเจอร์ใหม่ Amazon S3 Block Public Access การตั้งค่าบัญชีไม่ให้เปิด S3 เป็นสาธารณะได้อีกต่อไป
การปรับค่ามีให้เลือก คือ บล็อคการตั้ง ACL ให้อนุญาตให้คนภายนอกสามารถอ่านและเขียนไฟล์ได้ และบล็อคการตั้ง bucket เป็นสาธารณะ ทั้งสองแบบมีทั้งการบล็อคการสร้างออปเจกต์หรือ bucket ใหม่ในอนาคต และการลบสิทธิ์สาธารณะเดิมที่เคยเปิดไว้
เมื่อสั่งบล็อคแล้ว การสร้าง bucket ใหม่หรือเปิดสิทธิ bucket เดิมให้เป็นสาธารณะก็จะทำไม่ได้อีกต่อไป
Jonathan Bouman นักวิจัยความปลอดภัยไซเบอร์รายงานถึงการทดลองสแกนหา S3 bucket ที่คอนฟิกผิดพลาดโดยเจาะจงโดเมนของแอปเปิลโดยเฉพาะ และพบว่าโดเมน live-promotions.apple.com นั้นเป็น AWS S3 ที่เปิดสิทธิให้ใครเขียนไฟล์ก็ได้ นับเป็นความผิดพลาดร้ายแรง
กระบวนการหาช่องโหว่นี้ Bouman โดยสแกนหาโดนเมนย่อยของ apple.com จากนั้นตรวจสอบ หาโดเมนย่อยของแอปเปิลทั้งหมด แล้วกรองเฉพาะเว็บที่มี header X-Amz-Bucket-Region
ซึ่งแสดงว่าจริงๆ ภายในเป็น S3 จากนั้นตรวจดูว่าการเข้าเว็บจะเกิดอะไรขึ้น
ประเด็นข้อมูลหลุดของ iTruemart บน S3 ยังเป็นที่สนใจของบ้านเรา แต่เคสแบบนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเกิดขึ้นมาแล้วบ่อยครั้ง
ล่าสุดมีนักวิจัยความปลอดภัย Chris Vickery จากบริษัท UpGuard ค้นพบสตอเรจบน S3 ที่เปิดเป็น public bucket และมีข้อมูลส่วนบุคคลเยอะถึง 48 ล้านบัญชี ขนาดไฟล์รวม 1.2TB
ข้อมูลนี้เป็นของบริษัทข้อมูลชื่อ Localbox ที่แทบไม่มีใครรู้จัก แต่ทำธุรกิจด้านเก็บสะสมข้อมูลผู้ใช้จากโซเชียลยี่ห้อต่างๆ เช่น Facebook, Twitter, LinkedIn รวมถึงเว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ Zillow ด้วย โมเดลธุรกิจของ Localbox ชัดเจนว่านำข้อมูลไปขายเพื่อการโฆษณา และหน้าเว็บไซต์ของบริษัทระบุว่ามีอีเมลของผู้ใช้งาน 650 ล้านอีเมล ที่ยืนยันตัวตนได้ว่าเป็นใคร
หมายเหตุ:บทความนี้เป็นการอธิบาย Amazon S3 ที่กำลังเป็นข่าวอยู่ในตอนนี้ สำหรับผู้ที่ไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อนหรือไม่คุ้นเคยกับมันมากนัก ใครที่คุ้นเคยกับ S3 อยู่แล้วข้ามไปได้เลยครับ
Amazon S3 ย่อมาจากคำว่า Simple Storage Service มันคือบริการเก็บข้อมูลบนคลาวด์ของ Amazon Web Services (AWS) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการคลาวด์อันดับหนึ่งของโลก นอกจากนี้ S3 ยังถือเป็นบริการตัวแรกสุดของ AWS ด้วย โดยเปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2006 หรือ 12 ปีก่อน
AWS ประกาศลดราคาบริการสตอเรจ S3 และ สตอเรจเก็บข้อมูลระยะยาว Glacier ลง 16-28% ในเกือบทุกภูมิภาค
สำหรับราคา S3 ในเขต Asia Pacific ที่คนไทยน่าจะใช้กันเยอะ ราคาเริ่มต้นลงมาเหลือ 0.025 ดอลลาร์ต่อ GB ต่อเดือน (กรณีใช้ 0-50TB) และถ้าใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมากเกิน 500TB ราคาจะเหลือ 0.023 ดอลลาร์เท่านั้น
ส่วนราคาของ Glacier ก็ลดลงจาก รอบก่อน 0.007 ดอลลาร์ เหลือแค่ 0.004 ดอลลาร์ต่อ GB ต่อเดือน (ลดลง 43%)
นอกจากนี้ AWS ยังปรับวิธีคิดราคาการเรียกคืนข้อมูล (Retrieval) จาก Glacier ใหม่ โดยแบ่งเป็น 3 ระดับราคาตามความเร่งด่วน
- Read more about AWS ลดราคาสตอเรจ S3 และ Glacier ลงอีกรอบ
- 5 comments
- Log in or register to post comments
ช่วงหลังๆ มานี้ เรามักเห็นข่าวบริษัทหลายแห่งย้ายระบบจากศูนย์ข้อมูลเดิม มาใช้คลาวด์แทนแบบ 100% (เช่น Netflix และ Zynga ที่เช่า AWS ทั้งคู่)
แต่ในทางกลับกัน ก็มีบริษัทที่ต้องเปลี่ยนจากการเช่าคลาวด์ AWS มาทำศูนย์ข้อมูลของตัวเองแทน บริษัทนี้คือ Dropbox ที่ล่าสุดออกมาประกาศว่าย้ายลูกค้ากว่า 90% มาอยู่ในศูนย์ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
Amazon เพิ่มการเก็บข้อมูลแบบใหม่ในชื่อ S3 Standard IA (ย่อมาจาก Infrequent Access) สำหรับงานที่ต้องการความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูล แต่เรียกใช้ไม่บ่อยนัก
ก่อนหน้านี้การเก็บข้อมูลบนกลุ่มเมฆของ Amazon ปกติจะมี 2 ทางเลือกคือ S3 สำหรับข้อมูลที่ถูกเรียกใช้บ่อยๆ ต้องการความรวดเร็ว และ Glacier สำหรับเก็บข้อมูลประเภทนานๆ ใช้ที เช่น แบ็คอัพข้อมูลต่างๆ ราคาถูกกว่า S3 แต่มีค่าใช้จ่ายตามจำนวนข้อมูลที่ดึงออกมา
สำหรับ S3 Standard IA นี้จะอยู่ระหว่างทั้งสองแบบ คือเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วระดับเดียวกับ S3 ปกติ (ระดับมิลลิวินาที) แต่ก็จะคิดค่าใช้จ่ายตามจำนวนข้อมูลที่ส่งแบบ Glacier และมีข้อจำกัดว่าต้องเก็บข้อมูลไว้ขั้นต่ำ 30 วัน
Amazon Web Services ประกาศปรับราคาพื้นที่เก็บข้อมูลทั้งแบบ S3 และ Elastic Block Store (EBS) ลงอีกรอบ ราคาใหม่จะมีผลวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้
- S3 ราคาลดลงระหว่าง 6-22% (ขึ้นกับปริมาณพื้นที่ที่ใช้งาน) โดยราคาถูกที่สุดที่เป็นไปได้คือ 0.043 ดอลลาร์ต่อ GB ต่อเดือน (ต้องใช้งาน 500TB ขึ้นไป)
- EBS หั่นราคาลดลงครึ่งหนึ่ง จากเดิม 1GB ต่อเดือนอยู่ที่ 0.1 ดอลลาร์ก็ลดลงเหลือ 0.05 ดอลลาร์, ค่า I/O request ลดลงจากเดิม 1 ล้าน request ต่อ 0.1 ดอลลาร์ ลดลงเหลือ 0.05 ดอลลาร์เช่นกัน
นอกจากนี้ Amazon ยังปรับแพ็กเกจ EC2 ประเภท M3 instance ใหม่ โดยเปลี่ยนพื้นที่เก็บข้อมูลเป็น SSD และเพิ่มขนาดใหม่อีก 2 ขนาดด้วย
- Read more about Amazon ประกาศลดราคา S3 และ EBS ลงอีกรอบ มีผล 1 ก.พ. นี้
- Log in or register to post comments
เมื่อวานนี้เป็นงาน re:Invent ของอเมซอน โดยตัวงานรวมเป็นงานสำหรับนักพัฒนาที่ใช้บริการ AWS จุดสนใจหลักไปอยู่ที่บริการ S3 ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากไตรมาสที่แล้วที่มีออปเจกต์ใน S3 ทั้งหมด 905 พันล้านออปเจกต์ ไตรมาสที่สามที่ผ่านมาตัวเลขนี้ก็เติบโตขึ้นเป็น 1.3 ล้านล้านออปเจกต์แล้ว
ในงานเดียวกันอเมซอนประกาศลดราคาค่าส่งข้อมูลจาก S3 ลง 25% ทำให้ราคาเริ่มต้นต่อกิกะไบต์ในสหรัฐฯ อยู่ที่ 0.095 ดอลลาร์ต่อกิกะไบต์
ตัวเลขการใช้งานที่อเมซอนเปิดเผยอีกอย่าง คือ บริการ Elastic Map Reduce ที่ตอนนี้มีคนสร้างคลัสเตอร์มาใช้งานในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาถึง 3.7 ล้านคลัสเตอร์
บริการที่อเมซอนไม่ยอมเปิดเผยตัวเลขมาโดยตลอดคือ EC2 ที่ยังไม่มีทั้งจำนวนเครื่องและยอดการใช้งาน
Amazon ออกมาเผยสถิติของบริการเก็บข้อมูลบนกลุ่มเมฆ S3 ประจำไตรมาสแรกของปี 2012
- ตอนนี้มีข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่บน S3 รวมแล้ว 9.05 แสนล้านชิ้น
- จำนวนรีเควสต์ต่อวินาที peak load อยู่ที่ 6.5 แสนครั้ง (บางครั้งอาจมากกว่านี้)
S3 ย่อมาจาก Simple Storage Service ถือเป็นบริการที่ประสบความสำเร็จมากตัวหนึ่งของ Amazon โดยมีเว็บไซต์และบริการออนไลน์หลายแห่งเรียกใช้งาน S3 อีกต่อหนึ่ง เช่น Twitter, Dropbox, Tumblr เป็นต้น
ที่มา - Amazon Web Services Blog
เรื่องราวการทะเลาะกันของสองบริษัทไอทีโดยมีแอปเปิลเป็นหัวโจกคงจะไม่จบง่ายๆ ถ้าใครยังไม่เข้าใจหรือยังไม่เก็ตในเรื่องนี้ (เพราะปกติมันจะเป็นข่าวการกัดกันไป กัดกันมาของซัมซุงมากกว่า) ก็จะขอย้อนอดีตคร่าวๆ ละกันนะครับ คือดราม่านี้มันเริ่มต้นจากการที่ แอปเปิลเป็นฝ่ายเริ่มฟ้องเอชทีซี ว่าฝ่ายเอชทีซีละเมิดสิทธิบัตร ซึ่งเบื้องต้น ITC ตัดสินว่าผิดจริง ฝ่ายเอชทีซีจึงแก้เกมด้วย การเข้าซื้อ S3 Graphics จาก VIA แล้วเอามาฟ้องอีกรอบ และก็ทำให้ แอปเปิลพ่ายแพ้ไปในที่สุด แต่ยังทิ้งท้ายว่าฝ่ายเอชทีซีเองก็ยังยินดีเจรจา