Tags:
Node Thumbnail

การใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยนั้นมีกันมาหลายปีแล้ว ทั้งในขั้นงานวิจัย และการใช้งานจริง แต่ที่ผ่านมาทั้งหมดยังต้องทำควบคู่กันไปกับการวิเคราะห์อาการโดยเแพทย์ผู้ชำนาญการ เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัยโดยปัญญาประดิษฐ์นั้นว่ามีความถูกต้องเชื่อถือได้มากเพียงไหน แต่ล่าสุด FDA (องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ) ได้รับรองให้สามารถใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อวินิจฉัยอาการป่วยได้โดยไม่ต้องอาศัยการตรวจทานโดยแพทย์เฉพาะทางแล้ว

การรับรองนี้มีให้สำหรับการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชื่อ IDx-DR เพื่อวิเคราะห์ภาพถ่ายดวงตาแล้ววินิจฉัยอาการป่วย ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ซึ่งหมายถึงอาการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป จนส่งผลให้เส้นเลือดฝอยด้านหลังดวงตาเสียหาย อาจส่งผลให้ถึงตาบอดได้ โดยการทดสอบทางคลินิกที่ผ่านมา ซึ่งใช้ภาพถ่ายดวงตากว่า 900 ภาพ IDx-DR สามารถตรวจพบผู้มีอาการป่วยได้ถูกต้อง 87% และวินิจฉัยว่าไม่ป่วยถูกต้อง 90%

No Description

ในการใช้งานจริง แพทย์หรือพยาบาลจะทำการถ่ายภาพดวงตาของผู้ป่วยด้วยเครื่องถ่ายภาพจอประสาทตา จากนั้นก็อัพโหลดภาพถ่ายเข้าโปรแกรม IDx-DR ซึ่งมันจะเริ่มจากการตรวจสอบคุณภาพของภาพถ่ายก่อนว่าชัดเจนละเอียดเพียงพอที่จะใช้เพื่อการวินิจฉัยโรคหรือไม่

หากภาพถ่ายใช้การได้ มันก็จะทำการประเมินว่าผู้ป่วยมีภาวะเบาหวานขึ้นจอตาหรือไม่ ซึ่งทั้งหมดนี้แพทย์หรือพยาบาลสามารถทำงานด้วย IDx-DR ได้โดยไม่ต้องรอจักษุแพทย์มาวิเคราะห์ภาพถ่ายอีกครั้ง ซึ่งทั้งหมดนี้เอื้อให้ผู้ป่วยสามารถรับการตรวจวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยได้สะดวกขึ้น เพราะไม่ต้องรอคิวจักษุแพทย์

ในอนาคตเราน่าจะเห็นการรับรองให้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการวิเคราะห์อาการเจ็บป่วยแทนแพทย์แพร่หลายมากยิ่งขึ้น เพราะหลายครั้งก็ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าปัญญาประดิษฐ์สามารถทำงานนี้ได้ดีกว่าแพทย์ด้วยซ้ำ เช่น การตรวจหาโรคลูคีเมียแบบพิเศษ หรือ การคาดการณ์อาการหัวใจวาย หรือ การวินิจฉัยโรคปอด เป็นต้น

ที่มา - The Verge

Get latest news from Blognone

Comments

By: srps
iPhone Windows
on 12 April 2018 - 12:40 #1043638

โรคจอตาเหตุเบาหวาน (Diabetic Retinopathy)?ปกติถ้าใช้คำว่า เบาหวานขึ้นจอประสาทตา หรือ เบาหวานขึ้นตา มันถึงจะเก็ตมากกว่า

By: ตะโร่งโต้ง
Writer Android Windows
on 12 April 2018 - 12:52 #1043644 Reply to:1043638
ตะโร่งโต้ง's picture

ผมเห็นในวิกิพีเดียเรียอกอย่างนี้เลยเอาตามเค้าน่ะครับ


ช่างไฟสมัครเล่น (- -")

By: uthan
Contributor iPhone Android Windows
on 12 April 2018 - 16:41 #1043692 Reply to:1043644

นอกวิกิพีเดียไม่เห็นมีใครเรียกแบบนี้เลย จนสงสัยว่าเขียนผิดหรือเปล่า ขนาดทางเวปศิริราช หรือเวป แพทย์ม.เชียงใหม่ก็เรียกว่า ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ทั้งคู่เลย

By: ตะโร่งโต้ง
Writer Android Windows
on 12 April 2018 - 23:20 #1043740 Reply to:1043692
ตะโร่งโต้ง's picture

ผมเปลี่ยนตามที่เสนอมาครับ


ช่างไฟสมัครเล่น (- -")

By: wisidsak
Android In Love
on 12 April 2018 - 13:32 #1043655
wisidsak's picture

แพทย์อนาคต ถ้าไม่เรียนเฉพาะทาง จะตกงานเพราะ Big Data หรือไม่นะ

By: Hadakung
iPhone Windows Phone Android Windows
on 12 April 2018 - 14:04 #1043660 Reply to:1043655

ลบ

By: pawinpawin
Writer
on 13 April 2018 - 19:18 #1043835 Reply to:1043655

รอแพทย์ที่เรียน Big Data ดีกว่าครับ \0/

By: 7
Android
on 12 April 2018 - 14:30 #1043666
7's picture

เรื่องนี้เชียร์ AI เต็มที่ เพิ่งไปตรวจเบาหวานตาประจำปีพอดี ตรวจไม่กี่นาที แต่รอหมอครึ่งวัน

อาจมีคนว่า AI จะสู้หมอได้อย่างไร ต้องเจอว่าเป็นโรคที่หาหมอหลายๆคนก็รักษาไม่ได้ บอกโรคก็ผิด

กว่าจะเจอหมอที่รักษาได้ ก็แทบจะฆ่าตัวตาย ทั้งๆที่พอเจอหมอที่รักษาได้บอก มันเป็นเรื่องที่รู้กับไม่รู้เท่านั้น

ถ้าเป็นเรื่องรู้กับไม่รู้ แล้วมี AI ช่วย คงรักษาได้ตั้งแต่หมอคนแรกแล้ว ไม่ต้องเสียเงินเวลาและความทรมานไปเปล่าๆ หรือบางทีอาจจะถึงชีวิตก็ได้

By: mrdd on 12 April 2018 - 15:10 #1043671

เกือบตาย เพราะโรคหลอดเลือดสมองตีบ
หมอโรงพยาบาลแรก อ่านฟิลม์ MRI แล้วบอกปกติดีทุกอย่าง ทั้งๆที่อาการเข้าข่าย stroke 100% นอน รพ.14วัน ตั้งแต่เดินได้พูดได้ จนวันสุดท้าย เดินไม่ได้ พูดไม่ได้ แขนขาขยับไม่ได้ อ่านหนังสือไม่ออก ฟังคนพูดไม่รู้เรื่อง หมอหมดปัญญารักษา จึงทำเริ่องส่งต่อมาจุฬาฯ
มาจุฬาสั่งเจาะเลือดใหม่และเอาฟิลม์ MRI เก่ามาดูแค่สามชั่วโมงฟันธงเปรี้ยง หลอดเลือดฝอยอุดตัน สั่งฉีดยาละลายลิ่มเลือดทันที ผ่านไปสามวันลุกจากเตียงเองได้
แต่ก็โชคร้าย เนื้อสมองตายไปหลายส่วน ปัจจุบันสูญเสียความสามารถการควบคุมอวัยวะซีกขวาไป30% ต้องมาหัดใช้มือใหม่หัดเดินใหม่เหมือนเด็ก สมองส่วนจินตนาการภาพสามมิติ เสียหายไปครึ่งนึง(โง่ลงนั่นแหละ คือคิดเลขไม่ได้ ทำความเข้าใจหรือเชื่อมโยงสมการทางคนิตศาสร์ต่างๆไม่ได้) แต่ยังโชคดียังกลับมาอ่านหนังสือได้ พูดได้ เขียนได้(แต่ลำดับสระพยันชนะผิดพลาดตลอด แต่ถ้าพิมพ์จะผิดน้อยกว่าเขียน)
หมอบอก ถ้าเอาฟิลม์มาพบหมอเร็วกว่านี้ซักอาทิตย์นึง เราก็มีโอกาสหายเป็นปกติ100% แต่ถ้าช้ากว่านี้อีกครึ่งวัน ถ้าไม่ตาย ก็กลายเป็นผักไปตลอดชีวิต
สรุปคือหมอประสาทวิทยาโรงพยาบาลแรก(อายุมากแล้ว) ดูฟิลม์ไม่เป็นอาศัยอ่านผลเอาตามรายงานของเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ประจำเครื่อง MRI(หน้าเด็กมาก อายุยี่สิบกว่าๆ) คือเขาเขียนรายงานมาว่าปกติ หมอแกอ่านรายงานแล้วแกก็บอกปกติ
ถ้าตอนนั้นสามารถอัปฟิล์ม MRI เข้าเครือข่ายแล้วให้ AI ข่วยวิเคราะห์ได้ สภาพร่างกายเราคงกลับมาได้ปกติมากกว่านี้

By: akira on 12 April 2018 - 16:31 #1043687 Reply to:1043671

ครับนี่เป็นจุดแข็งของ AI จริงๆ วงการแพทย์น่าจะเป็นวงการแรกที่่ใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์ภาพ และการใช้หุ่นยนต์จริงจัง จะช่วยลดเคสการอ่านข้อมูลผิดพลาดที่เกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ได้เยอะ แต่ก็อาจมีบางเคสที่ยังอาจไม่เคยพบมาก่อน แต่ก็คงน้อย เมืองไทยก็น่าจะเริ่มทำบ้าง จะได้ลดภาระอาจารย์แพทย์ในโรคที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญสูง กรณีของคุณเป็นตัวอย่างที่ดี โดยเฉพาะโรคที่ต้องอ่านแปลผลจากภาพ ผมว่าเมืองไทยน่าจะมีฟิมส์เก็บทุกเคสไว้อยู่แล้ว เพียงแต่หาคนมาจัด Pattern

By: Jaddngow
Android Ubuntu Windows
on 13 April 2018 - 07:46 #1043759 Reply to:1043671
Jaddngow's picture

เจ้าหน้าที่เทคนิกการแพทย์อ่านฟิล์มได้ด้วยเหรอครับ

By: srps
iPhone Windows
on 13 April 2018 - 14:51 #1043800 Reply to:1043759

นั่นสิครับ
คนถ่ายภาพคือเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์
คนอ่านและวินิจฉัยภาพคือรังสีแพทย์ครับ

By: mrdd on 13 April 2018 - 23:41 #1043864 Reply to:1043800

เป็นเจ้าหน้าที่ที่อยู่หน้าจอคอมพ์ เห็นเขาพิมพ์ผลการแสกนเองกะมือ เพราะตอนนั้นเราสติดี เดินได้พูดได้ อ่านหนังสืออก ส่วนจะเป็นแพทย์รังสีเทคนิคหรือเปล่าไม่ทราบ รู้แต่ว่าพิมพ์ผลเสร็จปรินท์ออกมากแนบกับซองฟิลม์เลย ไม่ยอมเซ็นต์ชื่อในรายงานผลด้วย(หรือมันด่วนก็ไม่รู้ แต่หมอกำกับในใบคิวงานว่าด่วนเป็นสีแดงซึ่งไปถึงห้องก็ข้ามคิวไปหลายคนเลย และเห็นบางคนบ่นบอกจองคิวล่วงหน้ามาตั้งสองอาทิตย์โดนเราแซงเฉยเลย) แต่ศูนย์ MRI ทีทำการแสกนไม่ใช่เป็นของรัฐหรือของโรงพยาบาล แต่เป็นของเอกชนที่ไปตั้งอยู่ในโรงพยาบาลรัฐที่เป็นโรงพยาบาลศูนย์ย่านจังหวัดแถบภาคตะวันออก(ไม่ขอออกนามดีกว่า) ที่โรงพยาบาลแห่งนี้มีแพทย์เฉพาะทางประสาทวิทยาอยู่สามคน และศัลย์ฯสมองอีกสอง

By: srps
iPhone Windows
on 14 April 2018 - 11:09 #1043935 Reply to:1043864

อันนี้ความคิดเห็นส่วนตัวนะ
1. เป็นรังสีแพทย์ อย่างที่คุณว่าอาจจะประสบการณ์การอ่านผลน้อยอยู่ ทำให้เกิดความผิดพลาดในการวินิจฉัยภาพถ่าย MRI2. ไม่ใช่รังสีแพทย์ อันนี้ถือว่ามีความผิดแน่ ๆ ทั้งคนวินิจฉัยที่ไม่มีสิทธิ์และหน้าที่ในการอ่านผล ทั้งแพทย์ศัลยกรรมประสาทวิทยาที่ไม่ได้ทบทวนผลการวินิจฉัย ทั้งศูนย์ MRI ที่ประมาทเลินเล่อที่ปล่อยให้บุคลากรที่ไม่ใช่ผู้มีใบประกอบโรคศิลป์ทางรังสีอ่านผลวินิจฉัย
ส่วนเรื่องคิว MRI ไม่ต้องสนใจคนที่บ่นว่าโดนแซงครับ Stroke อันตรายถึงตาย ต้องให้ได้รับการตรวจก่อนเป็น Emergency Case อยู่แล้ว

By: pawinpawin
Writer
on 13 April 2018 - 19:23 #1043836 Reply to:1043671

ปัญหาของสมัยนี้ส่วนหนึ่งคือ ศาลไม่ฟังคำอ่านที่หมอที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญรังสีวิทยาอ่านครับ เพราะมีกรณีที่ฟ้องกันมาแล้ว ทำให้หมอหลายๆ ท่าน ไม่อยากอ่านฟิล์มเอง โรงพยาบาลเอกชนก็ต้องมีหมอที่จบรังสีวิทยามาอ่านให้ (ซึ่งหมอที่จบรังสี หลายครั้งไม่ได้เจอคนไข้เอง) ดังนั้นฟิล์มอ่านจากผู้เชี่ยวชาญรังสีวิทยามาอย่างไร หมอที่รักษาก็ต้องอ่านไปตามนั้นครับ เจ้าหน้าที่เทคนิค อ่านฟิล์มไม่เป็นนะครับ คนที่เขียนรายงานถึงจะหน้าเด็ก แต่น่าจะเป็นหมอรังสีอ่านครับ

By: uthan
Contributor iPhone Android Windows
on 12 April 2018 - 16:33 #1043689

ค่าตรวจสุขภาพประจำปี ค่ารักษา อีกหน่อยน่าจะถูกลง น่าจะส่งผลกระทบกับ โรงบาล ประกัน แล้วตามด้วยแพทย์ พยาบาล น่าจะมีค่าตัวถูกลง ประกันนี่โดนสองเด้งเลย รถไร้คนขับก็ทำให้ค่าประกันรถถูกลง ถ้าค่ารักษาถูกลงด้วย มีหวัง ประกันก็ต้องถูกลงตาม จนอาจทำให้คนทำประกันลดลง

By: paween_a
Android
on 12 April 2018 - 16:43 #1043695 Reply to:1043689
paween_a's picture

ถูกลงแล้วคงไม่ทำประกันมากขึ้นเหรอ?

By: uthan
Contributor iPhone Android Windows
on 13 April 2018 - 01:04 #1043747 Reply to:1043695

โอกาสที่จะรถชนมันน้อย จนไม่อยากทำ หรือ ค่าใช้จ่ายทางด้านรักษามันต่ำมาก หรือ มีการตรวจโรคเป็นประจำที่บ้านอยู่แล้วจนรู้ว่าเป็นโรคตั้งแต่เนิ่นๆ จนทำให้รักษาง่าย ค่าใช้จ่ายถูก จนไม่อยากประกัน เพราะไม่คุ้ม ประกันก็ต้องปรับตัว ลดราคาลง หรือมีผลประโยชน์มากขึ้น

By: Jaddngow
Android Ubuntu Windows
on 13 April 2018 - 07:45 #1043758 Reply to:1043689
Jaddngow's picture

ทำไมถึงคิดว่าภูกล่ะครับ ค่าลิขสิทธิบานแน่ถ้ามันใช้ได้ผลดี

By: uthan
Contributor iPhone Android Windows
on 13 April 2018 - 10:59 #1043778 Reply to:1043758

ก็คงเหมือน software ระยะแรกผู้เล่นน้อยราย ค่าลิขสิทธิก็แพง แต่ระยะยาวมีผู้พัฒนามากขึ้นก็น่าจะถูกลงจนฟรีแต่ไปหารายได้ทางอื่นแทน

By: srps
iPhone Windows
on 14 April 2018 - 11:14 #1043937 Reply to:1043778

หรืออีกอย่างคือทำ Software ให้เช่า รายได้ดี เพราะต้องเช่าทุกปีหรือเปลี่ยนระบบใหม่ของที่ทำงานผม Software PACS สำหรับเก็บผล X-RAY, CT SCAN, MRI, Ultrasound เช่าปีละล้านปลาย ๆ ครับ