GIGABYTE เปิดตัวเมนบอร์ดพีซีขนาดเล็กรุ่น GA-SBCAP3450 ขนาด 146 x 102 มม. รองรับ Windows 10 64-bit
เมนบอร์ดรุ่นนี้มากับซีพียู Intel Celeron N3450 แบบ Quad-Core, ใส่แรม DDR3L แบบ SO-DIMM สูงสุด 8GB, SATA 6Gbps สองพอร์ท, mSATA/mPCIe หนึ่งช่อง, มีพอร์ท HDMI 1.4 รองรับภาพ 4K ที่ 30 Hz, กิกะบิทแลนสองช่อง, USB 3.1 Gen 1 สองพอร์ท, USB 2.0 สี่พอร์ท
ส่วนราคาและวันวางขายยังไม่มีการเปิดเผยในเวลานี้
ที่มา : CNX-Software , Fanless Tech
Get latest news from Blognone
Follow @twitterapi
Comments
ลูกครึ่ง dual/quad เหรอครับ
เห็นเหมือนมีช่องใส่ซิมด้วย?
ผมว่าน่าจะ MicroSD Card นะครับ มี 4 Pin โผล่ แต่ SIM มีแค่ 3 Pin ตามความกว้าง
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
อืมมมม MicroSD ก็ไม่ใช่ 4 Pin อยู่ดีนะครับ + รอยบากมันหันคนละด้านกัน (ด้านขอบมีขาเข้า 8 ขาเท่า MicroSD แต่มันเรียงแยกเป็นสองแถวนี่สิ)
แต่ตามสเปคมันก็ไม่มีทั้ง SIM ทั้ง MicroSD ?
ป.ล. แต่ด้านล่างของช่องมันเขียนว่า U_SIM ครับ แฮ่
อ้อ พึ่งสังเกตเห็นแฮะ ขอบคุณมากครับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ใส่ซิมได้ครับแต่อยากออกเน็ตต้องหา 4G miniPCIe มาต่อเองครับ...
ขอบคุณครับ
เอาไปลง pfsence
ลง freenas น่าจะแจ่ม
++
CPU อยู่ตรงไหนเนี่ย ผมมองไม่เห็นเองหรือมันเล็กมากหวังว่าคงไม่ได้อยู่ใต้บอร์ดนะ 555
ถูกต้องครับ อยู่อีกด้านนึงที่มีแผ่นโลหะปิด น่าจะใช้เป็นตัวช่วยระบายความร้อน
CPU อยู่อีกด้านหนึ่งhttps://www.gigabyte.com/Motherboard/GA-SBCAP3450-rev-11#ov
ผมไม่เชื่อน้ำยา Intel Embedded Motherboard แล้ว
ออกมาแต่ละครั้ง แม้แต่ Board ของ Intel เองแท้ๆ ไม่ทนซักกะรุ่น
จากประสบการณ์แต่ละรุ่นซึ่ง Implement ไม่น้อยกว่า 10 ตัว (แล้วแต่ MOQ)
ตั้งแต่ราวปี 50 เริ่มจากยุค ATOM มาถึงปัจจุบัน ผมยังเหลือค้าง Stock เพียบเลยครับ
พอผ่านไปสักปีก็ทยอยเดี๊ยงกันเป็นแถว ไม่พ้นต้องเปลี่ยนเป็น ARM อยู่ดี ทน ถึก ผิดกันเลย
ทำไมต้องมี usb2.0
Ooh
ถ้าเป็น 3.1 ทั้งหมด ต้นทุนเพิ่มครับ
Chip แพงกว่า ใช้พื้นที่ PCB มากกว่า และใช้ไฟเลี้ยงมากกว่า
พาลไปถึงวงจรแหล่งจ่ายไฟให้ Chip ก็ต้องเพิ่มต้นทุนด้วยครับ
Circuit ในงานออกแบบของผมทั้งหมด ยังใช้แค่ USB 2.0 เพราะเหตุนี้เหมือนกัน
เนื่องจากยังไม่มีความจำเป็นในงานชิ้นไหนที่ต้องการความเร็วมากกว่า 480Mbps