ปัจจุบัน 5G ถูกพูดถึงมากขึ้นในช่วงหลายปีมานี้ เนื่องจากเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นอีกก้าวของการสื่อสารที่จะสานต่อ 4G ที่ใช้กันอยู่ทั่้วโลก เป็นโครงข่ายโทรคมนาคมแห่งอนาคตที่มีความทันสมัย ช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์เพื่อยกระดับศักยภาพการดำเนินธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งภายในงาน Blognone Tomorrow ผู้ให้บริการเครือข่ายอย่าง dtac ได้นำเสนอแนวคิดในการผลักดัน 5G และความพร้อมที่จะก้าวสู่ยุคถัดไปของเทคโนโลยีการสื่อสาร
5G ดีกว่า 4G อย่างไร
ดร.เอก จินดาพล ผู้อำนวยการและผู้เชี่ยวชาญพิเศษฝ่ายกลยุทธ์เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารของ dtac กล่าวถึง ประสบการณ์จาก 5G ที่จะดีขึ้นกว่า 4G แบ่งเป็น 3 เรื่อง ได้แก่
- แบนวิดท์สูงกว่า 4G ถึง 10 เท่า : ความเร็วของ 5G นั้นจะอยู่ในระดับ Gbps ซึ่งหนึ่งในประโยชน์ด้านความเร็วในการใช้งาน ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสตรีมมิงวีดีโอความละเอียดระดับ 4K ได้ภายในระยะไม่กี่วินาที
- latency ต่ำ : ด้วยคุณสมบัติของเทคโนโลยี 5G ทำให้การตอบสนองต่อการสื่อสารหรือรับส่งข้อมูลทำได้รวดเร็ว
- ปริมาณเชื่อมต่อ : จุดสำคัญของ 5G คือการเตรียมรองรับอุปกรณ์ที่คาดว่าในอนาคตจะมีปริมาณสูงมาก 5G ออกแบบให้เสาสัญญาณแต่ละต้นรองนับจำนวนอุปกรณ์ได้มากแต่แรก
องค์ประกอบสำคัญของ 5G
จุดเด่นสำคัญของ 5G คือ ทำให้ประสบการณ์การใช้อินเทอร์เน็ตรวดเร็วขึ้น แต่การพัฒนาให้ใช้งานได้จริงเกิดขึ้นจริงได้ไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องมีองค์ประกอบสำคัญอีกหลายด้าน ได้แก่
- Connection Management : อุปกรณ์ที่รองรับกับอินเทอร์เน็ตที่มีจำนวนมากกว่าจำนวนประชากร ฉะนั้นการบริหารจัดการระบบการเชื่อมต่อต่างๆ, การรับส่งสัญญาณให้มีความราบรื่น จำเป็นต้องมีตัวกลางในการจัดสรรสิ่งเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Advanced Radio : การส่งสัญญาณวิทยุเพื่อรองรับ 5G ต้องใช้เทคนิคใหม่ๆ หลายอย่าง เช่น beam-forming เทคนิคการจัดการกับสัญญาณรบกวน ที่ทำงานคล้ายกับหูฟังแบบลดเสียงรบกวน การทำ beam-forming มีประสิทธิภาพดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อคลื่นความถี่สูงขึ้น ที่ผ่านมาคลื่นโทรศัพท์มักใช้ย่านความถี่ไม่เกิน 6GHz แต่ใน 5G คิดไปถึง 20-30GHz แล้ว
- Virtualization : ระบบการจัดการเก่าๆ มักมีระบบแยกกันหลายระบบ แต่ละระบบมีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เป็นของตัวเอง แต่หลังจากนี้เทคโนโลยี Virtualization จะรวบฮาร์ดแวร์ให้เหลือตัวเดียว และซอฟต์แวร์ทำงานบนฮาร์ดแวร์ชุดเดียวกัน ลด latency ของระบบลง
การพัฒนาต้องมีแผนจัดสรรคลื่นความถี่ (Spectrum roadmap) ที่ชัดเจน
ดร.เอก ย้ำว่า 5G เกิดขึ้นอย่างแน่นอนและรวดเร็ว ซึ่งแนวทางที่จะผลักดัน 5G ให้เกิดขึ้นได้จะต้องมีแผนจัดสรรคลื่นความถี่ที่ชัดเจน โดยความถี่หลักๆ ของ 5G ที่จะเกิดขึ้น ประกอบไปด้วย
- ความถี่ต่ำกว่า 1GHz คลื่นที่สามารถเข้าถึงตามตึกต่างๆ, ใช้ได้กับ IoT และตามพื้นที่ห่างไกล
- ความถี่ 1-3GHz ที่ใช้ทั่วไปกับ 2G/3G/4G ในปัจจุบัน
- ความถี่เกิน 20GHz ขึ้นไป ยิ่งความถี่สูง ยิ่งช่วยให้สัญญาณวิทยุที่ถูกส่งออกจากเสาสัญญาณ ไปถึงภาครับได้ชัดเจนที่สุด
ความพร้อมของ dtac เพื่อก้าวสู่ 5G
สำหรับ dtac ปัจจุบันได้มีการเตรียมความพร้อมสู่ 5G ด้วยการทดสอบเทคโนโลยีภายใต้คลื่น 2300 MHz, มีการนำ IoT ไปใช้ร่วมกับภาคเกษตรกรรม, ใช้ซอฟต์แวร์ในการควบคุมฟังก์ชันต่างๆ ของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ผ่านบริษัทสตาร์ตอัพ ในโครงการ dtac accelerate
นับเป็นการวางรากฐานของ dtac ในการก้าวสู่เทคโนโลยี 5G ที่ถือได้ว่าเป็นการเพิ่มศักยภาพ และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และให้ความสะดวกสบายมากขึ้นผ่านบริการรูปแบบใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
Comments
DTAC ไม่มีคลื่นความถี่ต่ำกว่า 1GHz เลย ปัญหาใหญ่เรื่องการคลอบคลุม
มีค่ายมือถือค่ายไหนที่ถือคลื่นความถี่มากกว่า 1000 MHz ด้วยเหรอครับ?
อันนี้ผมไม่เคยรู้ ไม่มีข้อมูลมาก่อนเลยครับ
เนื่องจากเมนต์แรกพูดถึงความถี่คลื่น ไม่ใช่แบนด์วิทธ์ ผมจึงขอตอบว่า “มีทุกค่าย” ครับ เพราะทุกค่ายมีคลื่น 1800-2100 Mhz อยู่ในมือ
ขอบคุณครับ แอบแปลกใจว่าทำไมผมตกม้าตายเอง
ตำว่า 1 GHz น่าจะหมายถึง คลื่น 850, 900 MHz มากกว่านะครับ
เน้นวิสัยทัศน์
แล้ว 4G พร้อมหรือยัง
dtac คงเตรียมความพร้อมไว้ลุยศึก 5G ทีเดียวเพราะดูแล้ว 4G น่าจะแพ้ขาดไปแล้วแต่ปัญหาจริง ๆ ของดีแทคมันมากกว่าการไม่มีคลื่นความถี่ ดีแทคขยายโครงข่ายช้ากว่าอีกสองค่ายมาก แล้วยังเรื่องบางจุดก็ยัง No Service อยู่เลย อย่างAIS ตอนมีแค่ 2100 เขายังลงเสาถี่ยิบ ดีแทคนี่ยังตามห่างจากเอไอเอสเท่าตัวเข้าใจละว่าเป็นเรื่องของเงินทุนด้วย
4G ยังเน่าขนาดนี้
5G ใครจะกล้าใช้ละครับเนี่ย ฮ่าๆ
ผมว่าปัญหามาจากไม่ประมูลสู้ครับค่ายอื่นสู้เสร็จก็ปักเสาได้อย่างสบายใจ
DTAC ติดเงื่อนไขสัมปทานเดิม ที่ปักไปเท่าไหร่ หมดสัมปทานต้องมอบให้รัฐ ซึ่งเหลือไม่กี่ปี กลายเป็นว่า
-ปักไปคือเสียฟรีให้รัฐ
-ไม่ปักสัญญาณก็เน่า สู้ใครเขาไม่ได้
ประมูลสู้? ปั่นไปขนาดนั้นจะให้ไปสู้อะไรละครับ? ไหนจะเงื่อนไขบวม ๆ ของกสทช.ที่ไม่ยอมทำการประเมินราคาคลื่นใหม่แต่ใช้ราคาเดิมไปเลยอีก
ในเมื่อไม่สู้เมื่อหลายปีก่อนผ่านมาหลายปี เจ้าอื่นผุดเสาขึ้นเป็นดอกเห็ด แต่ dtac ไม่กล้าวางเสา สัญญาณมันก็เน่าแบบนี้้ ผมพูดผิดตรงไหน?
ส่วนสิ่งที่เจ้าอื่นแบกคืออัตราส่วนหนี้/ทุน ที่สูงขึ้นเยอะมาก
เรียกว่ามันเป็นทาง 2 แพร่งของการประมูล
-ถ้าสู้ = มีศักยภาพในการแข่งขัน+แบกหนี้
-ไม่สู้ = หมดศักยภาพแข่งขัน แต่อัตราส่วนหนี้น้อยกว่า
การไม่สู้ผลของมันคือ
ถ้า dtac สามารถหาคลื่นที่ปลดล๊อคเงื่อนไขเสาได้ด้วยราคาที่ถูกกว่า = dtac ตัดสินใจถูก = ได้เปรียบคู่แข่ง
แต่ถ้าหาไม่ได้ คลื่นจะเน่า ลูกค้าหนี = จบกิจการได้เหมือนกัน
high risk, high return
เรื่องวางเสานี้เห็นว่าเป็นนโยบายลงทุนของ บ.แม่ ที่วางแผนเป็นรอบ ๆ ไปไม่ได้ปรับให้ยืดหยุ่นเข้ากับสภาพในปัจจุบัน
dtac กดประมูลคลื่น 900 ถึง 70,000ล้านบาทนะครับ? คือสู้แล้วครับ แต่ไม่สามารถสู้จนหน้ามืดตามัวขนาดนั้นได้ครับ ซึ่งจากการประมูลคลื่นสองรอบล่าสุดนี่ก็น่าจะทำให้อะไร ๆ ในรอบก่อนหน้าชัดเจนขึ้นมาแล้วนะครับ ส่วนเรื่องไม่วางเสานี่หลัง ๆ เร่งสปีดขึ้นมาหน่อยแล้วครับแต่ยังคงอีกนานกว่าจะทันอีกสองเจ้า เพราะอีกสองเจ้าเข้าไปงานเก็บรายละเอียด อุดมุมอับกันแล้ว ดีแทคยังลงให้ครอบคลุมไม่ได้เลย
เอาจริง ๆ ดีแทคก็สามารถหาคลื่นราคาถูกได้จริง ๆ อย่างที่เขาหวังละครับ (2300) แต่ทีนี้เขาจะขยายได้เร็วแค่ไหนนี่สิครับ
จริงๆแล้วเงื่อนไข ประมูลแบบใหม่เนี่ย ถูกกว่าสมัยสัมปทานเยอะนะครับ
ลำพังแค่จำนวนเงินต่อปีที่ส่งให้รัฐ ถ้านับทั้งหมดรวมกัน ก็ถูกลงไปเยอะมาก ไม่รวมเงื่อนไขเสา
ลำบากแค่ปีต้นๆ ที่ต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ๆไป หลังจากนั้นคือ กำไรเนื้อๆ
ตอนจบประมูลแต่ละเจ้ายังบอกเลยว่าคุ้ม
แต่มันเริ่มจะไม่คุ้ม ถ้าคู่แข่งอย่าง dtac ไปหาคลื่นที่ถูกกว่าได้ เท่านั้นเอง
เกมนี้ dtac เป็นฝ่ายเริ่มก่อน
โดยยอมเสี่ยง คลื่นเน่า+ลูกค้าหาย กับ ได้คลื่นราคาที่ถูกกว่าคู่แข่ง
กสทช ก็เลือกไม่เล่นด้วยที่จะลดฐานราคาประมูลลง ซึ่งจะเข้าทางเกม dtac
ส่วน dtac ก็มีท่าไม้ตาย 2300 กับ TOT
แต่ทีนี้เท่าที่เข้าใจ บ.เสา มันร่วมทุนกัน แต่ TOT ไม่ค่อยจะลงตังค์
dtac ต้องเป็น theแบก อยู่ฝ่ายเดียว คงเร็วสู้คู่แข่งไม่ได้
เป็นต้นทุนที่ dtac ต้องจ่ายจากการเลือกเดินทางนี้
ดังนั้น ไม่มีความจำเป็นต้องด่า กสทช ที่ไม่ลดฐานราคาประมูลลง
และ ไม่มีความจำเป็นต้องเห็นใจ dtac ที่หยุดสู้ไปตอน 70,000ล้านทุกอย่างเป็นธุรกิจที่เรียกว่า "ทันกัน" ทั้งสองฝ่าย
เราผู้บริโภค ก็แค่หาโปรที่เหมาะกับเรามาใช้ ก็เท่านั้น
เอาอะไรมาวัดว่า “ถูกกว่า” ครับ? คือสมัยสัมปทานนี่ค่าบริการแพงกว่านี้นะครับ หรือเอาใกล้ ๆ กันก็ได้ครับสมัย 3G ค่าบริการก็แพงกว่า 4G ครับ ไม่ได้ต่อต้านการประมูลคลื่นนะครับ แค่ต้องการให้ราคามันสมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้น คุณบอกราคาตอนนี้กสทช.ไม่จำเป็นต้องลดแล้ว ดูสิครับมีเจ้าไหนบ้าเข้าไปกดมาบ้าง? 1800 ก็เอาไปคนละหย่อม AIS ไปเสริมของเดิม dtac เอาไปรักษาฐานลูกค้า 2G TRUE ไม่เข้าประมูลด้วยซ้ำ 900 ขนาดดีแทคที่ว่าสนใจ ๆ เจอเงื่อนไขของกสทช.เข้าไปยังต้องเบรคเลยครับแล้วใครนำพาทุกอย่างมาจนถึงจุดนี้ครับ ถ้าไม่ใช่กสทช.? คลื่นที่ดีแทคไปเอามาใช้ของ TOT ก็กสทช .นะครับ ให้TOT อัพเกรดไปให้บริการดาต้าได้ แทนที่จะเรียกคืนมาประมูล แล้วราคาตั้งต้นรอบใหม่ที่สูงก็เพราะไปสัญญากับผู้ชนะรอบที่แล้วว่าราคาจะไม่ถูกลง สรุปกสทช.สร้างปัญหาเองวนเป็นงูกินหางอะครับ จะโทษดีแทคก็ไม่ได้เพราะรอบที่แล้วกสทช.ไม่ได้บอกตั้งแต่ก่อนประมูลว่าราคาประมูลรอบนั้นจะเอาไปอ้างอิงรอบหน้า กสทช.บอก “หลัง” การประมูลสิ้นสุดไปแล้วนะครับ
???
คุณคิดว่า ประโยคที่ผมเขียนว่า
"ประมูลแบบใหม่เนี่ย ถูกกว่าสมัยสัมปทานเยอะนะครับ"
คือ แบบเก่าถูกกว่า?
เกรงว่าคุณจะมีปัญหาเรื่องการอ่านละครับ
คนที่พาให้เรามาถึงจุดนี้? กสทช?
โน่นเลยครับ คนที่เริ่มแนวคิด เปลี่ยนจากสัมปทานเป็นประมูล คือ ทักษิณโน่น
ประมาณว่า เข้ามาถึงก็แปลงสัมปทานให้ บ.มือถือจ่ายถูกลงแล้วก็ยังไม่พอใจ
ไปตั้งแผนแม่บทให้เปลี่ยนจากสัมปทานที่รัฐได้ตกรวมปีละ 40,000ล้านบาท
(ถ้าคูณ 15ปี ก็ 600,000ล้านบาท)
กสทช เป็นแค่ผลผลิตจากแผนแม่บทเท่านั้นเอง
ผลที่ได้คือ ขนาดราคาประมูลที่ build อารมณ์กันว่า ประมูลมาแพงบ้าเลือด/ไม่สมเหตุสมผล
ยังรวมทุกเจ้าน่าจะตกราวๆ 200,000ล้าน/15ปี เท่านั้นเอง
นั่นคือ เหตุผลว่า แต่ละเจ้าที่ออกจากห้องประมูลตอนนั้นถึงบอกว่า "คุ้ม"
ส่วนเรื่องการไม่บอกว่า ราคาใช้อ้างอิงรอบหน้า
ไม่ได้เป็นความผิด กสทช เลย คุณ build ขึ้นมาเองเพื่อให้ กสทช ผิด
แต่ละรอบเขาก็ออกกฎของรอบนั้นๆ โดยไม่ขัดกับที่ตกลงก่อนหน้าก็พอแล้ว
ไม่ใช่ ไม่บอกก็ต้องไม่ทำด้วย
คิดแบบนี้ เพี้ยน
อ่านไม่แตกหรอครับ? ผมบอกว่าสมัยสัมปทานค่าบริการแพงกว่าตอนนี้หมายถึงค่าบริการที่เก็บจากผู้ใช้บริการครับซึ่งมันถูกลงมามากเมื่อเทียบกับปัจจุบัน ดังนั้นคุณจะไปหวังให้ได้ 600,000ล้านบาท/15 ปีแบบสมัยสัมปทาน “มันเป็นไปไม่ได้” ครับ อีกอย่างสมัยสัมปทานก็ไม่ได้การันตีรายได้แน่นอนขนาดนั้นนะครับ จากสัมปทาน CAT-dtac ปีท้าย ๆ จ่ายน้อยกว่าปีแรก ๆ ครับ(คงเพราะว่าคนใช้บริการ Voice ลดลงด้วย)
ผมไม่ได้บอกเองครับ กสทช.นั้นละบอกว่าถ้าประมูลถูกจะโดนฟ้อง แล้วTDRI ก็ออกมาพูดอีกทีว่ากสทช.ไปสัญญากับผู้ให้บริการที่ชนะการประมูลรอบที่แล้ว สรุปคุณรู้อะไรบ้างครับ?
ถ้าคุ้มทำไมไม่เข้าไปกดมาเพิ่มอีกซัก 20MHz ละครับ 5555555
คุณคิดมั่วซั่ว เพื่อให้ กสทช ผิดให้ได้ชัดๆ
กสทช ต้องคิดถึงว่าค่าบริการต้องถูกๆมั๊ย?
ใช่หน้าที่เหรอ? เขามีอำนาจแค่ตั้งกำหนดแบบคร่าวๆเอง สุดท้ายค่ายมือถือก็ซิกแซกกัน
ถ้าจะให้ค่าบริการถูกๆก็แจกคลื่นฟรีไปเลยตามฐานจำนวนผู้ใช้ดิ
ไม่ต้องมีหรอกรายได้เข้ารัฐ เพราะมันจะเป็นต้นทุนให้ค่าบริการแพง
แต่หน้าที่ของ กสทช คือ จัดประมูลหาเงินเข้ารัฐให้มากที่สุด
ประมูลได้แพงๆคือทำหน้าที่ได้ดี ยังบิดให้เขาผิดให้ได้
แล้วผมบอกไปแล้วว่ามันเป็นสิทธิของ กสทช ที่จะตั้งราคาจากการประมูลรอบที่แล้วคุณยังพยายามจะหาว่าไม่มีสิทธิ ที่ทำเพราะไปตกลงงุบงิบกับคนชนะรอบก่อน?
งวดนี้ที่เค้าไม่กด เพราะคลื่นมันพอ+หนี้มันเยอะแล้วรู้จักคำว่า liquidity ในการบริหารธุรกิจบ้างมั๊ย?
สไตล์เถียงแบบพยายามยกมาตรฐานลอยจากอากาศมาแล้วมาบอกว่า กสทช ไม่ได้ตามมาตรฐานที่อ้างมาลอยๆ ดังนั้น ผิดๆๆๆ
สมงสมองไปหมดแระ
ตรงนี้วัดว่าถูกได้ไหมครับ
ผมไม่รู้ว่าคุณทำงานอะไรอยู่ใน dtac หรือเปล่านะครับ เห็นทุก tag ของ dtac มีคอมเมนคุณทุกข่าว
ถ้าจะเชียร์ dtac ผมไม่มีสิทธิ์ว่าอะไรนะครับ แต่ดูจากการใช้เหตุผล เหมือน bias ไปกับ dtac มากเกินไป
ถ้าตามทุกอ่านทุกข่าวจริงจะเห็นว่าไม่ bias ครับ ลองย้อนไปดูกระทู้งบ Q161 ดีแทคสิครับ ยังนั้งแกะอยู่เลยว่าทำไมสามเดือนเสาขึ้นใหม่แค่ไม่กี่ร้อยต้น
ส่วนที่ยกมานั้นมันเป็นเหตุการณ์สมมติครับ ถ้า กับน่าจะ เห็นไหมครับ? อีกอย่างถ้าผมบอกว่า "ถูก" แปลว่าคลื่นถูกหรอครับ? ผมเป็นใครครับ? เป็นกสทช. เป็น CEO AIS เป็น CEO dtac ? ส่วนเรื่องคลื่นแพงนี่ไปหาอ่านเถอะครับ มีเต็มไปหมด CEO AIS เองก็ออกมาพูดว่า 900 แพงไป แล้วจากการประมูลคลื่นสองรอบหลังก็น่าจะพิสูจน์ชัดแล้วครับว่ามันแพงไปจริง ๆ
ผมอ่านภาษาไทยออกครับ ตีความได้ว่า
if buy=200000;
then print "ก็ถูกอยู่";
คำว่า "ก็ถูกอยู่" เป็น fact ที่คุณสรุปครับ ต่อให้ไม่มีการสมมติ คุณก็สรุปความจริงดังกล่าวว่ามันราคาถูกถ้าสิ่งที่คุณบอกว่า ก็ถูก แปลว่าไม่ถูก ไปเรียน logic มาใหม่ครับ
งั้นเอางี้นะครับ ถูกอยู่ ภายใต้เงื่อนไข "แบ่งจ่าย 15 ปี" แต่กสทช.จะเอาภายใน 3-4 ปี (1800 50/25/25 กับ 900 8,XXX/4,XXX/4,XXX/ที่เหลือ) แบบนี้แปลว่า ภายใต้เงื่อนไขของกสทช.แล้วมัน "แพง" ได้หรือยังครับ?
เป็นวิถีการถกเถียงที่ทุเรศมาก
พูดเรื่องค่าสัมปทาน ก็เถียงด้วยค่าบริการพูดเรื่องเงินเข้ารัฐทั้งหมด ก็เถียงด้วยการจ่ายเป็นก้อน
พูดเรื่องคำตอบคุณมันย้อนแย้งกับคำตอบของตัวคุณเองในอดีต ก็เถียงขอคำตอบเรื่องค่างวดจากอีกฝ่าย
ถ้าคู่สนทนาอยู่ๆก็เงียบไป
ไม่ใช่เพราะคุณชนะ/เหตุผลคุณดีกว่าจนเขาหายไปหรอก
แต่รูปแบบการถกเถียงมันทุเรศเกินกว่าจะเสียเวลากับคนแบบคุณต่างหาก
เราไม่ตอบคุณแล้วอะ เราเจอคุณบอกหน้าที่กสทช.คือหาเงินเข้ารัฐเยอะ ๆ เราไปต่อไม่ถูกเลย 555 คือเหมือนจะผิดวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกสทช.ไปไกล ลองไปหาอ่านดูที่เค้าเขียนกันนะ ผมไม่รู้จะพูดอะไร mindset คุณมันพิลึกวะ แนะนำให้ไปดูของเกาหลีอะ เค้าจัดประมูลคลื่น 3.4-3.5GHz กับย่าน 20Ghz ขึ้นไป เพื่อรองรับ 5G เค้ากำหนดราคาขั้นสูงสุดที่จะบืดได้ไว้ด้วยนะ เพราะเค้ากลัวผู้ให้บริการบิดกันเพลินจนหนี้ท่วม
คุณว่าราคามันถูกลงกว่าสมัยสัมปทาน มันมองได้ 2 แบบนะครับคือราคาตอนนี้มันถูกหรือว่าราคาสมัยก่อนมันแพง ซึ่งการมองทั้ง 2 ทางนี้ก็ยังไม่สามารถระบุได้ว่าราคา ณ ตอนนี้สมเหตุสมผลหรือไม่ นี่ยังไม่นับว่าการเอาราคาปัจจุบันไปเทียบกับสมัยก่อนโดยไม่ดูบริบทรอบด้าน ณ เวลานั้นร่วมด้วย ไม่ใช่รูปแบบการเปรียบเทียบที่ดีเท่าไรนัก
ถ้าพูดถึงเรื่องราคาอย่างเดียว ทองคำสมัยก่อนราคาบาทละ 4,000 - 5,000 บาทเท่านั้นเอง เมื่อเทียบกับราคาปัจจุบันที่บาทละ 18,xxx - 20,000 บาท มองตัวเลขดุ้น ๆ ก็อาจจะคิดว่าราคาทองแพงขึ้นมามาก แต่ถ้าเทียบกับมูลค่าเงินสมัยก่อนควบคู่ไปด้วย ราคาที่ต่างกันมากก็อาจจะไม่ได้ต่างกันมากอย่างที่มองตัวเลขอย่างเดียว
ส่วนตัวผมคิดว่าราคาค่าคลื่นบ้านเราแพงไปมาก ผมไม่ได้เทียบกับเหตุการณ์สมัยก่อน แต่ผมเทียบกับราคาคลื่น ณ ปัจจุบันของประเทศอื่น ๆ หลายประเทศค่าเงินค่าครองชีพแพงกว่าประเทศไทย กลับมีค่าประมูลคลื่นที่ต่ำกว่า ลองไปหาข้อมูลดูเพิ่มเติมก็ได้ว่าราคาคลื่นสัญญาณบ้านเราแพงเป็นอันดับที่เท่าไรของโลก ผมเคยเห็นว่ามีคนทำ infographic เปรียบเทียบเอาไว้ให้ดูแล้ว เมื่อสมัยประมูลคลื่นรอบก่อน
การมองเฉพาะสิ่งที่ตัวเองได้ผลกระทบขั้นต้น เช่น ราคา promotion ของแต่ละค่ายที่เหมาะกับตัวเอง ก็เป็นสิทธิ์ของคน ๆ นั้น แต่การที่คนอื่นจะมองไปมากกว่านั้น เช่น การหาจุดสมดุลของการแข่งขันในตลาดเพื่อไม่ให้ผู้บริการรายใดรายหนึ่งมีอำนาจเหนือตลาดมากเกินไป ก็เป็นสิทธิ์ที่คน ๆ นั้นจะคิดเช่นกัน
That is the way things are.
ใช่ครับ คำว่า "ราคาสมเหตุสมผล" มันเป็นนามธรรม ซึ่งมันจะอ้างอิงกับอะไร?
จะอ้างอิงกับราคาสัมปทานในอดีต?
จะอ้างอิงกับราคาประมูลเพื่อนบ้าน?
จะอ้างอิงกับค่าครองชีพที่เปลี่ยนไป?
ฯลฯ
แต่การอ้าง
"ค่าประมูลให้ถูกๆ แล้วค่าบริการจะถูก"
อันนี้ไม่สมเหตุสมผลเท่าไหร่
ตอนสมัยลดค่าสัมปทาน แต่ค่าบริการก็ไม่ได้ถูกลงเท่าไหร่
ขณะที่ 3G/4G ที่อ้างว่าประมูลมาแพง แต่โปรถูกลงและแรงขึ้นเรื่อยๆ
รวมถึงฝรั่งบางประเทศเหมือนผ่านๆตาว่า ประมูลถูกกว่าบ้านเราแต่ค่าบริการกลับแพงกว่าก็มี
การชูประมาณว่า ถ้าเราในฐานะผู้บริโภคอยากได้โปรถูกๆ ก็ให้ไปกดดัน กสทช ให้ประมูลถูกๆ จึงไม่สมเหตุสมผล
ไม่รวมกับคำพูดในกระทู้เก่าของเจ้าตัวเขียนเองชัดๆว่า "จัดว่าถูก"
มากระทู้นี้จะยืนยันว่าแพงให้ได้
มันสะท้อนระบบความคิดที่"มั่วซั่ว"อยู่ภายในได้เป็นอย่างดี
ถูกภายใต้เงื่อนไข ก ข ค ง จ ครับ ไม่เขียนว่าถูกลอย ๆ ล่าสุดสทช.ก็มีแนวคิดจะให้ผ่อนจ่าย 8-10 ปีแล้วนะครับ รู้ยัง?
เมื่อช็อปคลื่นที่มีราคาที่โอเคมาได้เยอะ แล้วเหลือใช้มาก
ผู้ให้บริการก็ต้องอัดโปรโมชั่นเพิ่มปริมาณเน็ตให้ลูกค้า(ราคาเดิมได้เยอะขึ้น เมื่อเอาราคาหารปริมาณที่ได้เพิ่มเทียบกัน ก็ถือว่าถูกลง)
หรือไม่ก็อัดโปรลดราคาที่หนักกว่ากรณีคลื่นไม่พอใช้ (คลื่นไม่พอใช้ อาจฮั้วกันไม่ทำโปรแรง ขืนคนใช้เน็ตเยอะเกิน เน็ตเน่าลูกค้าหนีรายได้ลดเอาได้ หากไม่หนีก็ลดโปรลงแค่พอใช้ หรือเลิกใช้ไปเลย เจอไวไฟค่อยเล่นค่อยใช้)
เอกชนต้องการกำไรให้มากที่สุด เมื่อเห็นว่าเครือข่ายของเขายังเหลือใช้มาก แล้วการลดราคาหรือเพิ่มปริมาณเน็ต จะสามารถเพิ่มรายได้และกำไรได้อีก ทำไมเอกชนจะไม่ทำละครับ..
คนที่มีมือถือ แล้วใช้เล่นเน็ตเฉพาะตอนเจอไวไฟมีพอสมควรเลยนะ สังเกตจากคนรอบข้าง คนกลุ่มนี้อนาคตเจอโปรเน็ตมือถือราคาถูกอาจเปลี่ยนใจมาใช้ได้
คนที่ใช้อยู่แล้วก็อาจซื้ออุปกรณ์ใช้เน็ตมือถือเพิ่ม แล้วซื้อซิมมาใช้เน็ตเพิ่มอีกได้
อีกนิด ลดราคาสัมปทาน แล้วคลื่นได้เท่าเดิมไหม?ลดค่าบริการมาก แล้วคนใช้เยอะเกินเครือข่ายเน่า ไม่คุ้มกันนะครับ ขายราคาเดิม ได้ส่วนต่างกำไรจากค่าสัมปทานที่ลดลงไปดีกว่า
ถ้าจะพูดถึงเรื่องนี้จริงๆ ยังมีตัวแปรอีกเยอะครับ
สภาพการแข่งขันของค่ายมือถือ?จำนวนผู้ประกอบการในประเทศ?
จำนวนผู้ใช้งานมือถือในย่านคลื่นความถี่นั้น?
คำว่า ไม่คุ้ม มันแพง แบบเดียวกับเจ้าของ BTS ที่ออกมาพูดหรือเปล่าครับถ้าย้อนเวลาได้ AIS, True คงไม่ประมูลราคานี้?
คลื่นมันแพงไป แต่ไม่ใช่ไม่ก่อให้เกิดกำไร คนซื้อไปขายต่อนั้นมีกำไรจากราคานี้จึงกล้าซื้อ
แต่คลื่นแพงนี้ต่อไปนี้ หากไม่ปรับปรุงจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าค่าเสียโอกาส ต่อส่วนต่างๆ หากปรับราคาให้เหมาะสมกว่านี้ผมคิดว่าค่าเสียโอกาส ที่ผมคิดมันจะลดลงมา ธุรกิจแต่ละส่วนเติบโตกว่านี้
รัฐอาจเก็บภาษีได้เพิ่มมากกว่าราคาประมูลที่ลดลงไป
(ที่พูดถึงผู้แข่งขัน หากเหลือผู้ให้บริการ 2 ราย จากการโดนบีบขายราคาโหด กำไรได้น้อย เลยถอดใจขายธุรกิจไปลงทุนประเทศอื่นดีกว่า กำไรดีกว่าผมว่าคงไม่ดี หวังว่าคงไม่เกิดขึ้น เหลือ 2 ราย คราวนี้ การแข่งขันก็แผ่ว ไม่เป็นผลดีต่อประชาชนและเศรษฐกิจ)
ความเห็นผมนะ
ค่าเสียโอกาส เป็นสิ่งที่จัดว่าแพงต่อผู้เสียโอกาส ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใคร
หากคลื่นขายไม่ออก ใครเสียโอกาสบ้าง
1.รัฐบาลเอง แทนที่จะได้เงินเข้ารัฐแม้จะน้อยลงมาบ้าง ก็ดีกว่าไม่ได้ เมื่อขายได้เอกชนนำไปใช้ได้ มีผู้ใช้งานเติบโตดีจากความเร็วที่ดีขึ้น ได้กำไรมากรัฐก็ได้ส่วนแบ่งภาษีเงินได้เยอะขึ้นอีกเด้ง2.เอกชน มีคลื่นไม่เพียงพอให้ใช้ อืดจนไม่สามารถใช้ปริมาณเน็ตในเพ็จเกจสูงได้หมด คนก็จะไม่สมัครใช้เพ็จเกจราคาสูงๆ เพราะสมัครไปก็ใช้ไม่ถึง เพราะอืดเกิน ใช้ไวไฟที่ทำงาน หรือกลับถึงบ้านค่อยไปเล่นไวไฟดีกว่า
เน็ตมือถือเร็วขึ้นดีขึ้น ถูกลง คนใช้ก็อาจซื้ออุปกรณ์ที่ใช้เน็ตหลายชิ้นและซื้อซิมสมัครเน็ตไว้ทุกอุปกรณ์ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วบริษัทจะทำรายได้และกำไรได้เพิ่มขึ้น
3.ธุรกิจที่อาจเติบโตได้มากจากอินเตอร์เน็ตที่เร็วขึ้นดีขึ้น เช่น เช่น กล้องวงจรปิดที่ใช้เครือข่ายมือถือส่งข้อมูล กล่อง iptv ที่ทำงานบนเครือข่ายมือถือ IOT อื่นๆ ซึ่งอาจเติบโตได้ดีตามเครือข่ายมือถือที่ดีขึ้น รัฐก็จะได้ประโยชน์ จากการเก็บภาษีบริษัทเหล่านี้
4.ประชาชนบางคนทนเน็ตมือถือที่ช้าและแพงไม่ไหว จึงต้องติดเน็ตบ้านเพิ่ม หากเน็ตมือถือเร็วขึ้นและถูกลง เน็ตมือถืออย่างเดียวก็อาจพอต่อการใช้งานสำหรับเขาแล้วก็ไม่ต้องไปติดเน็ตบ้านอีก กล้องวงจรปิดเครือข่ายมือถือ ที่อยากเอาไปติดที่ไหนก็ได้สร้างความอุ่นใจให้คนติด ติดที่ไร่สวนได้ ขอแค่มีไฟฟ้า โอกาศเน็ตมือถือเข้าถึงมากกว่าเน็ตบ้านรัฐ(ตำรวจ) ก็มีโอกาสได้หลักฐานไปหาตัวคนร้ายได้ง่ายขึ้น และอื่นๆ นึกไม่ออก
-สิ่งที่เป็นเทคโนโลยี ต้องเอาสิ่งปัจจุบันเทียบกับสิ่งปัจจุบันด้วยกัน จะเอาปัจจุบันไปเทียบกับอดีตนั้นไม่เหมาะ
-โทรศัพท์สมัยก่อนทำได้แค่โทรออก รับสาย ข้อความ มีราคาหลักหมื่นนั้นอาจไม่แพงเมื่อเทียบกับรุ่นอื่นสมัยนั้นแต่ถ้าเดี่ยวนี้โทรศัพท์ที่ทำได้แค่โทรออก รับสาย ข้อความ ราคา 5000บาท ก็จัดว่าแพงมากเมื่อเทียบกับรุ่นอื่นในสมัยนี้
dtac เคยเป็นเป็ดที่ดี ตอนนี้เป็นเป็ดที่ค่อนไปทางแย่ แต่สำหรับผมก็ยังดีกว่า true
จ่ะ
ขยายพื้นที่ก่อนไหม อยู่ในเขตหมู่บ้าน No Service ออกไปอยู่กลางทุ่ง 4G มาเต็ม ตรรกะอะไรเนี่ย
คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ
ก่อนจะไป 5G ทำ 3G/4G ให้ครอบคลุมทั่วประเทศและสัญญาณไม่เน่าก่อนเถอะครับ แค่เจอภูเขาหรือเขตอุทยานฯ ก็ไม่มีสัญญาณแล้วครับ แต่ของทรูกับ AIS คลื่นเต็ม ต้องลงทุนและเร่งวางเสาอย่างด่วนเลยครับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ของทรูมีคลื่นทุกที่แต่คุณภาพห่วยนะครับ ผมใช้ DTAC ผมก็คิดว่าห่วยแล้ว ไปเจอทรูนี่ voice data ยังห่วย เน็ตไม่ต้องพูดถึง
ผมขอเถียง ที่ไหนมี AIS ที่นั่นมี True แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมี Dtac
ผมบอกแล้ว ผมไม่ได้พูดถึงความครอบคลุมนะครับ ทรูนี่มีทุกที่ แต่คุณภาพห่วยครับ
ทุยมีก็เหมือนไม่มีึบางที่
+1 True เนี่ย มีหลายที่จริงๆแต่การใช้งานห่วยแตก ขึ้นNo Service ยังจะรู้สึกดีกว่า
จากประสบการผม Dtac ห่วยกว่า True มากครับในเรื่องเน็ต
เหมือนกันเลยครับ
เคยย้ายมา DTAC กะว่า คลื่นที่กว้างงงงง ที่สุด จะลื่นนนนน ที่สุด
อยู่ DTAC ได้โปรเน็ต 30 GB ไม่เคยใช้เกิน 13 GB
กลับไปอยู่ TRUE ใช้ทะลุ 20 GB ตลอด
จากประสบการณ์ย้ายค่ายไปๆมาๆ DTAC > TOT > TRUE > DTAC > TRUEอยู่ TRUE ดีที่สุดแล้ว
แล้วแต่จุดครับ ผมขับรถเที่ยวกับเพื่อนเส้นทางแบบ ถนนชั้นใน พวกเขตตำบล หมู่บ้าน มีภูเขาเป็นระยะ แบบเนี่ย
ผมใช้ทรู เพื่อนใช้เอไอเอส ผลัดกันมีสัญญาน ผลัดกันดับ แต่ทั้งนี้ ก็สัญญานก็หายไม่นาน
เพื่อนอีกคน ใช้ดีแทค ดับตั้งแต่เริ่มเข้าเขตภูเขา หาคลื่นเจออีกที นู่น เข้าเมืองไปแล้ว
ของดีแทคนี่ อยู่อ่อนนุช สัญญาณเต็ม แต่เน็ตไม่วิ่งเลย
+1 "เพื่อนอีกคน ใช้ดีแทค ดับตั้งแต่เริ่มเข้าเขตภูเขา หาคลื่นเจออีกที นู่น เข้าเมืองไปแล้ว"ไปเที่ยวภูทับเบิก ระหว่างทางที่จะไปภูลมโล ไปกันหลายคน มีทั้ง dtac AIS true จะบอกว่า dtac สัญญาณหายไปก่อนเจ้าอื่น ตามด้วย AIS แล้วก็ true ยอมรับเลยว่า true ทุนหนาตั้งเสาเยอะ เพราะในหุบเขาบางพื้นที่ true ยังมีคลื่นมาแบบ มา ๆ หาย ๆ ส่วน dtac กว่าจะเจอคลื่นอีกที ลงจากเขาแล้ว
เขตอุทยานยอมรับจริงๆ ais ก่ะ true ไปปักเสาไว้เยอะอยู่ เช่น อินทนนท์ ตามซอก ตามเขา ตามน้ำตก ตามไปครอบคลุมหมดแต่ถ้าใครทีชอบไปค่ายอาสา ตามป่าตามดอย หมู่บ้านชาวเขาแบบผม จะสัมผัสได้เลยว่า AIS พี่แกทำมาดี ตามไปทุกที่เลยครับ ส่วน DTAC คลื่นหายตั่งแต่กำลังขึ้นดอยละครับ เจออีกทีก็จุดยอดนิยมบนยอดดอยทีเดียวเลย
DTAC เค้าอยากให้คุณดื่มด่ำกับธรรมชาติหน่ะครับ
ที่ๆผมอยู่,ทำงาน และเดินทางผ่าน 90% สัญญาณ True คุณภาพดีกว่า Dtac นะครับ
เน้นแต่วิสัยทัศน์ แต่ไม่เน้นลงทุน
เน้นเทคโนโลยี แต่ไม่เน้นคุณภาพ
ผมใช้ทรูสัญญาณดีมากทั้งโทรและเน็ต
อืมม 4g ช้ามากแล้วช่างเทคนิกบอกให้ใช้ 3g ไปก่อนแต่ก็แก้ปัญหาได้ดี
ขายฝันอย่างกับ mlm เลย
พื้นที่ผมชนบทใช้ทรูครับ มีคลื่นทุกทีเลย AIS DTAC อย่างละขีดมาๆ หายๆ
ใช้ dtac อยู่เหมือนกัน บอกเลยว่าต้อง"ทำใจ"ครับ, dtac เขาไม่ค่อยสนใจคนต่างจังหวัดหรอกครับ(หลัก ๆ สนแต่กรุงเทพ มีบ้างปริมณฑล) แค่อยุธยากลับบ้านทีไร คลื่นมี 1 ขีด(พื้่นที่ก็ไม่ได้ห่างไกลเลย) เวลานั่งรถกลับบ้านถ้าเล่นเนตหรือดูหนังออนไลน์นี่รู้เลยว่าเข้าเขตอยุธยาแล้ว เพราะเริ่มสะดุดกลับบ้านไปทีไร แฟนผมก็โทรไปแจ้ง/บ่น call center dtac เรื่องสัญญาณโทรศัพท์เนตช้า(0.1 0.3 0.7 Mbps ได้แค่นี้) ผ่านไปเป็นปี เสาสัญญาณก็ไม่เพิ่ม จนตัดสินใจตัดความรำคาญไปติด เนตบ้าน เล่น wifi สบายใจกว่า
เท่าเทียมกันนะแถวสีลมบางจุดก็สัญญาณ 2 ขีดเองครับ -.-
ตีดสินใจได้ดีนะครับ ติดเน็ตบ้านแทนย้ายค่าย แหม...:-P
ปัจจุบันใช้ DTAC 4g แล้วเน็ตช้า ติดต่อ CC ได้รับการแก้ปัญหาโดยการให้ไปใช้ 3G แทน
ในอนาคตใช้ 5G แล้วช้าก็คงโดนไล่กลับมา 4G หรือไม่ก็ 3G เหมือนเดิม
อย่าอวยทรูมาก เดี๋ยวย้ายมากันเยอะ จะทำให้เน็ตผมช้า
ได้ Feedback กลับไปเพียบ
แค่กระทู้ในพันธ์ทิพย์ตอนนี้ ก็เดือดเป็นไฟล่ะครับ กระทู้เดียวคนแจ้งปัญหาและจะย้ายค่ายไป 8-9 หน้าแร่ะ
เอาจริงๆ ขอแค่ 3G เสาเต็มวิ่งได้เต็มจริงก็พอสำหรับการใช้งานประจำวันละจะ 4G 5G 6G หรือ 100G แต่ใช้จริง เสาเต็มวิ่งไม่ถึง Max ของ3G มีไปก็เท่านั้น
(เฉพาะคนที่ใช้เนทไม่จำกัดสปีดน่ะนะ ส่วนคนใช้ไม่จำกัดปริมาณแต่จำกัดสปิดคงไม่รู้สึกอะไรอยู่แล้ว)
ผมมีข้อสงสัยอยากถามครับ ทำไมเสาแต่ละค่าย ต้องตั้งใกล้กัน ถ้าใกล้ขนาดนั้น ทำไมไม่ใช้ร่วมกัน แบ่งเป็นชั้น ๆ หรือเป็นเพราะต้องแข่งขันกัน บางพื้นที่ไม่มีสัญญาณแจ้งขอตั้งเสาแต่โดนปฏิเสธ บางทีอยากจะซื้อมาตั้งเอง ทำคล้ายแบบเซเว่น มีรายได้จากการใช้เสาสัญญาณ มีทางเป็นไปได้มั้ย
หลายเหตุผลครับ เช่นอยากวางตัวปล่อยสัญญาณที่ความสูงเท่านี้ แต่เจ้าของเสาไม่ให้ บลา ๆ หรืออาจจะตำแหน่งเสาไม่ได้ หรือค่าเช่าที่วางแพงกว่าไปตั้งเสาใหม่แล้วจ่ายให้เจ้าของที่อะไรแบบนั้นครับ
DTAC โซนกรุงเทพตะวันออก แย่มากสัญญาณเต็มแต่เนตไม่วิ่ง
ไม่สนครับ ไม่ว่าจะเป็น 4G หรือ 5G ตราบที่ยังโหลด torrent ไม่เร็วขึ้นผมก็ไม่สนใจครับ ยังต้องการใช้เน็ตลากสายแบบเดิมต่อไป
สะใจข่าวนี้ ในฐานะคนใช้ดีแทค ผมชอบมากที่มีคนมารุมยำดีแทคแบบนี้ อยากรู้ว่าถ้าผู้บริหารของดีแทคมาเห็นข่าวนี้ แล้วจะทำอะไรกับแผนการตลาด และทิศทางการให้บริการของตนเองบ้าง
ผมว่าผลของการที่ DTAC ไม่ประมูลสู้เมื่อหลายปีก่อน ก็เป็นสิ่งที่ตอบได้แล้วว่า DTAC ขี้ขลาดแค่ไหน และมันส่งผลต่อการบริการและคุณภาพ รวมถึงความน่าเชื่อถือในปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ
ขนาดผมใช้ DTAC ตั้งแต่มัธยมต้น ยังไม่เคยเปลี่ยนเบอร์และย้ายค่าย ผมก็ด่าเหมือนกันกับบริการและสัญญาณห่วยแตก ที่ยังแพ้ True กับ CAT เนี่ย
ถ้าผมเป็นผู้บริหารบริษัทแม่ Telenor ผมไล่ผู้บริหาร DTAC ตั้งแต่แพ้ประมูลแล้ว และให้เงิน DTAC ไปปรับปรุงกับขยายเสาสัญญาณตั้งนานแล้ว ส่วนประมูลครั้งที่ผ่านมา คงเลือกประมูล 1800 อย่างเดียวไปอุดช่องโหว่ แต่จะดีมากหาก DTAC ชนะประมูลครั้งที่แล้ว ผลเสียที่เกิดจะไม่มากมายขนาดนี้ มีแต่จะเกิดผลดีโดยรวมด้วย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ผู้บริหารที่ผ่านมาสองคนของดีแทค ผมว่าทำงานแบบไม่เข้าใจคนไทย อาจเป็นเพราะผมติดอยู่กับซิกเว่ก็เป็นได้ครับ ซิกเว่นี่ยิ่งกว่า สส. อีก ทำงานดี เข้าถึงใจคนไทย
จากประสบการณ์ของทั้ง 4 ค่าย Ais , True คุณภาพใกล้เตียงกันในจังหวัดผม
รองมาก็ My
ห่วยสุดยกให้ Dtac ห่วยแบบไม่มีปรับปรุง ห่วยแบบไม่เกรงใจใคร
พร้อมพงศ์ อโศก นานา สัญญาณ 4G ยังห่วยอยู่เลย โหลดไม่ขึ้น
แถมที่บ้าน 4G ไม่มี 3G ก็อืด
ถ้าไม่ติดว่าเป็น Blue Member นี่ย้ายไปนานแล้ว