เนื่องจากวันพรุ่งนี้ (9 ตุลาคม 2561) เป็นวันกำหนดยื่นคำขอเข้าร่วม ประมูลใบอนุญาตคลื่น 900MHz รอบใหม่ ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายเริ่มออกมาแถลงข้อสรุปว่าจะเข้าร่วมหรือไม่ โดยล่าสุด ทรู คอร์ปอเรชั่น ก็ได้ชี้แจงผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วว่า บริษัทจะไม่เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตคลื่น 900MHz นี้
ทั้งนี้ ทรูไม่ได้ชี้แจงสาเหตุที่ตัดสินใจไม่เข้าร่วมการประมูล แบบที่ เอไอเอสอธิบาย ตอนนี้ก็เหลือดีแทคว่าจะมีข้อสรุปอย่างไรออกมา
กรณีมีผู้ยื่นเข้าร่วมการประมูล 1 ราย หรือไม่มี กสทช. จะขยายระยะเวลาออกไปอีกประมาณหนึ่งสัปดาห์ ทำให้กำหนดวันประมูลจะเลื่อนออกไปเป็น 28 ตุลาคม 2561
ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Comments
รอคำแถลงของ DTAC สาธุขอให้ไม่มีใครเข้าประมูล
แบบนี้กสทชก็ไม่มีผลงานสิ คราวก่อนประมูลสามสี่จีได้เงินมาเยอะก็เคลมว่าฝีมือเค้าคราวนี้จะเอาอะไรละ ค่ายมือถือนี้ไม่ช่วยเลย
เดาว่า DTAC น่าจะตามน้ำ ไม่เข้าประมูลเหมือนกัน เพื่อรอเงื่อนไขที่ดีกว่าเดิม
3bb เสียบ ???
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะเหตุเบี้ยวหลายปีก่อนด้วย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
อยากให้เสียบจริงๆ เลย จะดูว่ามีปัญญาทำมั้ย คลื่นกระจึ๋งนึง
3BB ไม่มานะครับ
ที่มา ryt9
สรุปรอบที่แล้วน่าจะมาป่วนดันราคาให้สูงจริงๆ ตอนนี้กลายเป็นว่า กสทช. หาทางลงไม่ได้ ถ้าลดราคาลง อาจจะไม่เป็นธรรมกับ AIS เนื่องจากคู่แข่งได้ทรัพยากรมาจากแหล่งเดียวกันในราคาที่ถูกกว่า ทำให้ AIS เสียเปรียบเห็นๆ แล้วกสทช.จะเยี่ยวยา AIS ยังไงครับ? ตัวเลขที่จะเยี่ยวยาจะเป็นยอมรับกับทั้งสามฝ่ายหรือไม่?(แค่ทุกวันนี้ ตัวเลขค่าใช้จ่ายช่วงมาตราการเยี่ยวยาคลื่นยังวุ่นไม่เลิกอยู่เลย) ถ้าไม่ลดก็อาจจะไม่มีใครเอาคลื่นก้อนนี้ครับ มีให้เลือกเห็นๆ สองทางครับ
ทำไมต้องเยียวยา AIS ในเมื่อเป็นราคาประมูลและยอมรับไปเอง อีกอย่างก็ซื้อก่อนใช้ก่อน
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ครับ
เค้าจะเยียวยารึเปล่า หรือ AIS ต้องการเยียวยารึเปล่าอันนี้อีกเรื่องครับแต่ คิดแบบนี้....... RIP ตรรกะ
ตรรกะเป็นยังไงเหรอครับ ผมอยากฟังหลายๆ มุม
ถ้าเราได้ของชิ้นเดียวกันจากเจ้าเดียวกัน แต่คู่แข่งได้ของราคาถูกกว่าเรา พอไปถามคนขาย คนขายบอกช่วยไม่ได้คุณอยากจ่ายเอง จ่ายก่อนก็ได้ใช้ก่อน ใครไม่โวยวายก็แปลกแล้วครับ ถ้า JAS จ่ายแต่แรกจะไม่ว่าเลยอันนี้เหมือนมาปั่นราคาเล่นๆแล้วก็ไป โทษก็เบาเหลือเกิน
ผู้ที่ได้คลื่นทั้งสองจากประมูลครั้งนั้นก็จ่ายแพงด้วยกันทั้งคู่นะครับ ทั้งทรูและเอไอเอสที่รับต่อแทน JAS (ผมจำไม่ผิดใช่มั้ย) การประมูลรอบถัดไปมันก็ไม่เกี่ยวกับครั้งก่อนหน้าอยู่แล้ว ราคาประมูลในครั้งนั้นเองก็ไม่ได้เริ่มต้นแพง
รู้ว่าของจะมีขายรอบหน้า ถ้าไม่รีบจะรอรอบหน้าก็ได้ครับ ถ้าจะใช้ตอนนั้นก็ต้องจ่ายตอนนั้น ถ้าไม่อยากเสี่ยงกับเงื่อนไขและเวลาที่ยังไม่รู้ของรอบหน้าก็ต้องจ่ายตอนนั้น ไม่มีใครบังคับให้ AIS (ที่ เสนอตัวเข้าไปเอง ) จ่ายที่ราคานั้นเพื่อรับคลื่นรอบนั้นครับ
ถ้าความต้องการมันมี (ในรอบนี้) ราคามันก็พุ่งไปเท่ารอบนั้นได้ครับ
ท้ายที่สุดแล้วผู้จัดประมูลผิดที่กำหนดเงื่อนไขไว้ไม่ครอบคลุม บทลงโทษเบาเกินไปและอื่นๆ แต่นั่นก็ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกัน
ที่พูดมาก็ถูกครับ แต่การแข่งขันมันก็มีเรื่องกลยุทธ์ที่เค้าต้องวางแผนไว้ เป็นร้อยเป็นพันเหตุผลที่ต้องกดราคาแข่งกัน ถ้าไม่มี jas มันอาจจะไม่ถึง 75k ก็ได้ หรืออาจจะเกินก็ได้ ท้ายที่สุดถ้าแข่งกันแบบทุกอย่างเป็นไปตามกฏจะเกิดอะไรขึ้นราคามันจะไปถึง 100k ก็ต้องยอมรับตามนั้นเพราะเป็นมูลค่าจริงๆ แต่อันนี้ดันมีคนทำงามหน้าเอาไว้ ล็อตสอง Dtac เลิกกดไปตั้งแต่ 70k เหลือ ais กับ jas แข่งกันจนดันไป 75k ถ้าไม่มี jas มันก็ควรจะจบไปตั้งแต่ 70k แล้วหรือเปล่า กลายเป็น ais ได้ของแพงกว่าปกติเพราะความผิดพลาดจากการประมูลหรือเปล่า แต่อย่างของทรูคงไม่เรียกว่าแพงเกินจริงเพราะความถี่นั้นก็แข่งกับ ais ไปจนถึง 75k ได้ ถึงจะ AIS จะยอมจ่ายแต่ราคามันก็ไม่เป็นธรรมกับ AIS อยู่ดี
ใช่ครับ แต่ราคาเมื่อครั้งนั้นกับราคาครั้งนี้มันไม่ควรจะเกี่ยวเนื่องกันถ้าในเงื่อนไขครั้งที่แล้วไม่ได้ระบุไว้ว่าให้มันเกี่ยวเนื่องกันนะครับ
การประมูลแล้วได้ราคาซื้อต่างกัน มันไม่เหมือนกับตัวอย่างที่คุณยกมานะครับ การประมูลมันเสนอราคาแข่งกันว่าใครเสนอราคาได้สูงกว่า ใครเสนอได้สูงสุดก็ชนะไปตามหลัก demand / supply ครับ
ตัวอย่างที่คุณยกมามันเป็นการถูกเสนอขายด้วยราคาที่ต่างกัน ซื้อเกมตอน Day 1 กับตอนลดราคา ราคาก็ไม่เท่ากันนะครับ
จะโวยวายก็ได้แหละเป็นสิทธิ แต่ด้วย common sense แล้วผมว่ามันแปลกๆ ครับ
RIP ตรรกะ
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ฝั่งของการให้เยียวยา ในแง่นึงคือมันไม่ใช่งานประมูลเดี่ยวน่ะสิครับฝั่งของการไม่ต้องเยียวยา ก็ถูกแล้วครับ ของประมูลมันคนละล็อตกัน
ถ้าอยากได้คลื่นจริงๆ คงประมูลเลยครับ เพราะไม่มีคู่แข่งแล้ว
ถ้าสมมติกสทช.เปลี่ยนราคาประมูล คราวนี้ทั้ง AIS, True ก็คงจะเข้าร่วมประมูลด้วย ถ้าเป็นแบบที่ผมคิด DTAC มีกระอักครับ
ยกเว้นว่าลดเพดานราคาลงมาเยอะ จนประมูลได้แล้วยังต่ำกว่าราคาปัจจุบัน แถมไม่ต้องตามเยียวยาระบบป้องกันสัญญาณ ก็คงทุ่มอยู่ครับ
ผมเป็น DTAC ก็ไม่ประมูลครับ รอรีกฏรอบหน้ายังไงก็ได้ถูกกว่าต่อให้ ทุกค่ายเข้าประมูล ราคาก็ไม่เท่ารอบนี้แน่นอน เพราะถ้าเท่า AIS TRUE ก็คงรว่มรอบนี้ไปแล้ว
เย้ ผมเดาถูก
ไปเรียก JAS มาเอาสิ คนปั่นราคาไว้รอบก่อนอ่ะ 555
ถ้าตอบมุมการเมืองก็ไม่อยากให้ Dtacถ้าตอบมุมลูกค้า ก็อยากให้รีบๆ เอามาเพิ่มเถอะ ทุกวันนี้รอแค่หาเวลาว่างแทบจะทำเรื่องย้ายค่ายแล้ว
JAS รอบก่อนอาจจะโดนเป่าหูให้มาปั่นเพื่อผลประโยชน์ของชาติรึเปล่าคะ
ปั่นแล้วหุ้นตัวเองขึ้นครับ
คิดว่าทั้ง AIS, TRUE คงไม่เอาแล้ว และคงเก็บเงินไว้ 5G เลยทีเดียว
ไม่ประมูลแล้ว งั้นเอามาทำ iOT, smart meter ,smart city หรือรถไฟความเร็วสูงแทนละกัน
เดี๋ยวก็เหมือน TOT 3G/4G คลื่น 2300 ที่ไม่มีอะไรเลยจนกระทั่ง Dtac ทำสัมปทานหรอกครับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ประเด็นน่าสนใจ ถ้าการไฟฟ้ารับคลื่นไปใช้ทำ Smart Meterแต่คิดว่าคงไม่ เช่าเอาง่ายกว่า จะไปลงทุนตั้งเสาให้ลำบากทำไม
ควรจะคืนให้รถไฟไปแหละ ที่จริงทางคมนาคมก็ขอไว้ 10 MHz ตั้งแต่แรกแล้ว