ดัดแปลงจากคำกล่าวเปิดงาน Blognone Tomorrow 2019 - 9 กันยายน 2019
หากเราย้อนเวลากลับไปเกือบ 200 ปี ในปี ค.ศ. 1853 ชาวญี่ปุ่นที่ใช้ชีวิตอย่างสงบในยุคโชกุน-ซามูไร ก็พบกับสิ่งที่น่าตระหนก เมื่อมี "เรือดำ" จำนวน 4 ลำแล่นเข้ามาในอ่าวโตเกียว
"เรือดำ" หรือ black ships เป็นชื่อที่คนญี่ปุ่นใช้เรียกเรือกลไฟเหล่านี้ ทั้งจากปัจจัยว่าตัวเรือมีสีดำ และมีควันสีดำจากถ่านหินของเครื่องยนต์ไอน้ำในเรือ ลอยพุ่งขึ้นมาสู่ท้องฟ้า
ภาพวาดเรือดำในยุคหลัง (สมัยรัฐบาลเมจิ) ภาพจาก Fujiarts
คนที่เคยอ่านการ์ตูนหรือดูซีรีส์ญี่ปุ่นแนวย้อนยุคมาบ้าง คงพอทราบกันดีว่าเมืองหลวงของญี่ปุ่นในอดีตคือ "เกียวโต" และภายหลังย้ายมาเป็น "โตเกียว" (หรือเอโดะ) ซึ่งยุคสมัยที่ย้ายเมืองหลวงมายังโตเกียว เป็นช่วงเวลาที่โชกุนจากตระกูลโตคุงาวะ (Tokugawa Shogunate) ปกครองประเทศเป็นเวลาเกือบ 300 ปี (1600-1868)
โตคุงาวะ อิเอยาสุ โชกุนคนแรกของตระกูลโตคุงาวะ เป็นผู้รวบรวมญี่ปุ่นที่แตกเป็นเสี่ยงๆ กลับมาเป็นปึกแผ่นอย่างมั่นคง แต่หลังจากนั้นไม่นาน โชกุนในตระกูลโตคุงาวะก็ตัดสินใจปิดประเทศ ไม่ทำการค้าขายหรือติดต่อใดๆ กับต่างชาติเลย หลังจากเกิดเหตุการณ์กบฎที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาคริสต์
สังคมญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคโดดเดี่ยวไม่สนใจโลกภายนอกมาเป็นเวลานานถึง 200 กว่าปี โชกุนแต่ละรุ่นในตระกูลโตคุงาวะสร้างสังคมศักดินาที่มีชนชั้นไดเมียวและซามูไร ปกครองประเทศมาอย่างช้านาน ชีวิตของผู้คนในยุคสมัยนี้ผ่านไปเรื่อยๆ โดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก ก่อนหน้านี้เป็นอย่างไร วันพรุ่งนี้ก็คงเป็นเช่นนั้น
จนกระทั่ง "เรือดำ" ปรากฏตัวขึ้นที่อ่าวโตเกียว
ภาพวาดเรือดำในปี 1853 จากมุมมองของสหรัฐอเมริกา ภาพจาก MIT
เรือดำเหล่านี้คือกองเรือรบของสหรัฐอเมริกา ประเทศใหม่ที่กำลังแผ่อิทธิพลทางการเมืองในโลกยุคนั้น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาต้องการค้าขายกับญี่ปุ่น จึงมอบหมายให้พลเรือแมธธิว เพอร์รี (Matthew C. Perry) เดินเรือครึ่งโลก นำเรือรบเข้ามาเจรจาให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศ และเขาได้รับอนุญาตให้ใช้อาวุธหากรัฐบาลญี่ปุ่นไม่ยินยอม
ประวัติศาสตร์หลังจากนั้นคือ ญี่ปุ่นยอมเปิดประเทศทำการค้ากับต่างชาติอีกครั้ง ความเปลี่ยนแปลงหลั่งไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว และเป็นเหตุให้ระบอบโชกุนล่มสลายลงอย่างเป็นทางการในปี 1868 หลังจากเรือดำปรากฏตัวขึ้นเพียง 15 ปี
ภาพวาดเรือดำปี 1854 ที่มาของภาพจาก MIT
เรือดำถือเป็นสิ่งแปลกปลอมทางประวัติศาสตร์ในมุมมองของคนญี่ปุ่นยุคนั้น เพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ปรากฏตัวขึ้นอย่างฉับพลัน และมาพร้อมกับความเป็นปฏิปักษ์ ส่งสัญญาณที่เป็นอันตรายต่อสังคมศักดินาของระบบโชกุน
สิ่งนี้สะท้อนออกมาในภาพเขียนที่คนญี่ปุ่นยุคนั้นวาดขึ้น ภาพที่มีชื่อเสียงเป็นภาพพิมพ์ไม้ที่วาดช่วงปี 1854 ถ่ายทอดมุมมองของคนญี่ปุ่นต่อเรือดำออกมาเป็น "ปีศาจ" ที่น่าเกลียดน่ากลัว ตัวเรือสีดำมีควันพวยพุ่ง หัวเรือเป็นสัตว์ร้ายที่มีเขาแหลมยาว ส่วนท้ายเรือก็มีสายตาเหมือนปีศาจคอยจับตาคนญี่ปุ่นอยู่ตลอดเวลา
ระบอบโชกุนที่ยิ่งใหญ่เลือกที่จะต่อกรกับเรือดำ แต่ก็ประสบความพ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว เพราะเทคโนโลยีด้านการรบไม่สามารถทัดเทียมกันได้ ดาบซามูไรหรือจะสู้ปืนใหญ่ยิงจากเรือ ระบอบโชกุนจึงถูกบีบให้เซ็นสัญญาเปิดประเทศ หลังจากนั้นก็แพ้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากความขัดแย้งภายในประเทศเอง จนต้องล่มสลายลงไปในระยะเวลาหลังจากนั้นไม่นาน
ศูนย์ฝึกทหารเรือนางาซากิ ภาพจาก Wikipedia
แต่ไม่ใช่คนญี่ปุ่นทุกคนที่ต่อต้านเรือดำ พลันที่เรือดำปรากฏตัวขึ้นมาในอ่าวโตเกียว บางคนรู้ทันทีว่านี่คือโอกาส
คัตสึ รินทาโร่ หรือที่ทุกวันนี้เรารู้จักเขาในชื่อ "คัตสึ ไคชู" คือหนึ่งในบุคคลเหล่านั้น เขาเกิดในตระกูลซามูไรชั้นต่ำที่เอโดะ แต่กลับหลงใหลในอารยธรรมต่างชาติมาโดยตลอด เขาศึกษาภาษาดัตช์เพื่อเข้าถึงความรู้และเทคโนโลยีของต่างชาติ และเมื่อโอกาสมาถึงจากเรือดำ เขาก็เป็นหนึ่งในผู้ร่วมผลักดัน "ศูนย์ฝึกทหารเรือ" แห่งแรกของญี่ปุ่นที่เมืองนางาซากิ โดยอาศัยเทคโนโลยีด้านการเดินเรือ-ต่อเรือจากดัทช์เป็นหลัก
ศูนย์ฝึกทหารเรือแห่งนี้มีนโยบายที่เปิดกว้าง เปิดรับนักเรียนจากทุกชนชั้น ไม่จำกัดเฉพาะลูกหลานตระกูลซามูไรชั้นสูงเท่านั้น ในเวลาไม่ช้านาน ญี่ปุ่นก็สามารถต่อเรือกลไฟลำแรกของตัวเองได้สำเร็จ และคัตสึ ไคชู ก็เป็นกัปตันเรือเดินทางไปยังซานฟรานซิสโกเพื่อเจรจาการทูตกับสหรัฐอเมริกา
ผลผลิตของศูนย์ฝึกทหารเรือนางาซากิ กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นมหาอำนาจทางทะเลในระยะเวลาต่อมา และยิ่งใหญ่เกรียงไกรถึงขั้นรบชนะรัสเซียในยุคมหาอำนาจ หรือเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 อย่างที่เราทราบกันดี
เรื่องราวของ "เรือดำ" เป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเกิดขึ้นเสมอในประวัติศาสตร์ เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างมาก แต่ก็ขึ้นกับทัศนคติของคนว่าจะรับมือกับมันอย่างไร ในขณะที่บางคนหวาดกลัว บางคนก็เข้าหา เรียนรู้ และใช้งานมัน
Embrace!
สถานการณ์ของประเทศไทยในปี 2019 ก็ไม่ต่างกันนัก ถึงแม้ยุคสมัยเปลี่ยน เทคโนโลยีแตกต่างจากในอดีตมาก แต่ภาพรวมของเหตุการณ์กลับคล้ายกัน นั่นคือเรากำลังตื่นขึ้นมาจากสังคมอนุรักษ์นิยมแบบ "ไทยๆ" มาเจอกับ "เรือดำ" จากต่างชาติเต็มไปหมด
ปฏิกิริยาจากหลายคนคือการต่อต้านหรือคร่ำครวญว่ากำลังถูกต่างชาติเข้ามาคุกคาม แต่ผู้กล้าหาญแห่งยุคสมัยมีอยู่เสมอ เราก็เชื่อว่ามีคนไทยจำนวนมากมองว่านี่คือโอกาส และกำลังถอดรื้อเรือดำเหล่านี้เพื่อเรียนรู้ โดยหวังว่าจะสร้างกองเรือดำของตัวเองขึ้นมา
Comments
เปลืองงบครับ ดักคอก่อนละกัน
เรือดำครับ
คือยังไงครับ
ยอมรับว่า แวบแรกเห็นหัวข้อข่าวเป็น "เรือดำน้ำ 2019"
+1 แวบแรกเหมือนกัน
อะไรที่ดีก็รับไว้อะไรที่ไม่ดีก็กีดกัน
ถึงบทความจะว่ายังงั้น แต่ญี่ปุ่นก็ยังคงความเป็นญี่ปุ่นที่ต่างชาติไม่มีเอาไว้อย่างเหนียวแน่นใช่ว่ารับเขามาหมดจนไม่เหลือรากเหง้าซะที่ไหน
ความต่างอย่างนึงคือเค้าไม่ได้ทำแบบแตะต้องไม่ได้ครับ ใครจะอนุรักษ์ไว้เต็มที่ก็ทำไป ใครไม่เหลือไว้เลยก็ทำไป ใครจะเอามาประสานกันออกมาเป็นแบบไหนก็เชิญตามสะดวก ซึ่งเอาจริงๆ ผมว่ามันทำให้รักษาของดั้งเดิมไว้ง่ายกว่าด้วยซ้ำนะ เห็นของที่ประสานกันแล้วมันดึงดูดให้ไปศึกษาต้นฉบับจริงๆ แม้จะไม่ใช้ก็ตาม
ไม่เลยครับ
ญี่ปุ่นเองก็มีสิ่งที่แตะต้องไม่ได้อยู่เหมือนกันครับมันแล้วแต่ว่าเขาให้ความสำคัญกับอะไร
อีกอย่าง "คน" ก็เป็นส่วนสำคัญด้วย คนญี่ปุ่นมีความทระนงตนในความเป็นญี่ปุ่นสูง (อย่างน้อยก็คนรุ่นๆ ก่อน)และรู้ว่าอะไรควรไม่ควรด้วยอีกอย่าง
ขอเป็นความรู้สักอย่างสองอย่างได้ไหมครับ ผมรู้จักแค่ผิวเผินที่เห็นผ่านโลกออนไลน์ทั่วไป
จริงครับ
ใช่ครับ แต่ปัจจุบันผมว่าลงไปพอสมควรแล้วนะแม้ว่ายังสูงระดับนึง
พูดกว้างมากจนไม่รู้ว่าจะสื่ออะไรเลยครับ
เอาแค่ประโยคแรก
เปลี่ยนจากคำว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศอื่นๆ ก็ยังครอบคลุมอยู่ คือมันกว้างมากจนครอบคลุมแทบจะทุกสิ่งทุกอย่าง จนเหมือนไม่ได้ให้ความเห็นอะไรเลยครับ
ถ้าจะให้ดี ลองยกตัวอย่างมาจะช่วยให้เห็นชัดได้มากขึ้นครับ
ผมเอาเรื่องศาสนาละกัน
ญี่ปุ่นนับถือชินโต กับพุทธ เป็นหลัก
ถามว่าเทพชินโตแตะได้ไหม... อ่านคุจากุดูครับ
ก็ไม่เห็นมีใครด่า
บ้านเราแค่วาดพระพุทธรูป หัวอุลตร้าแมนก็ดิ้นจะเป็นจะตายแล้ว
ถ้าให้นึกสิ่งที่แตะไม่ได้น่าจะไอด้อลมั้ง 55
ว่าแล้วว่าต้องมีคนเอาประเด็นนี้มา ( กำลังดังนี่นะ )
ญี่ปุ่นจริงๆ ผมแทบจะบอกได้ว่า เป็นประเทศไร้ศาสนา เลยนะ ( อาจจะพูดหนักไป แต่ลองอ่านดูแล้วกัน )
ญี่ปุ่นนับถือพุทธกับชินโตเป็นหลักก็จริงครับ
แต่เดิมทีก็เป็นนิกายที่ไม่ได้เคร่งอะไรอยู่แล้ว พระญี่ปุ่นสามารถดื่มเหล้าได้แต่งงานได้
แถมหลายสิบปีมานี่ จะเรียกว่ารับถือก็คงไม่เชิง
ถือจะเรียกว่าไม่ได้นับถือเป็นพิเศษก็ได้ คริสมาสต์ก็ฉลองไก่ทอด ปีใหม่ก็ไปวัด
แต่ถามว่าคุณญีปุ่นรู้จักอะไรกับศาสนาบ้าง ? อย่างน้อยเพื่อนญี่ปุ่นผมทั้งห้อง 30 กว่าคน ( อายุราว 30 แล้ว ) ก็ไม่ได้รู้อะไรมากไปกว่าที่ศาลเจ้ามีโทริอิ มีวัดมีพระพุทธรูป ไปเมื่อท่องเที่ยว ไม่ก็วันปีใหม่หรือเทศกาลฤดูร้อน แล้วก็ซื้อเครื่องลางสารพัดกลับมาแค่นั้น
ศีล 5 อย่าว่าแต่ทำเลย ไม่รู้เลยดีกว่าว่าจะรู้จักกันไหมด้วยซ้ำ
เพราะฉะนั้น อย่าเรียกว่านับถือจะดีกว่า
ศาสนาคริสต์มีบ้าง แต่พวกคริสชนญี่ปุ่นท่าทางจะเคร่งมากกว่าพุทธอยู่หน่อย
เพราะฉะนั้น จะเอาศาสนามาเล่น ใครล่ะจะสนใจมากไปกว่า "มันสนุกหรือเปล่า ?" หรือ "ขายได้ไหม"
ไอ่เรื่องเซนต์โอนี่ซังนี่ ผมยังไม่อ่าน เพราะมันก็แค่เอา 2 ศาสดามาแสดงตลกให้ดู ความรู้ที่มี ก็แค่ "เซ็ตติ้งตัวละคร" เอง เทียบกับผลงานเรื่องพุทธเจ้า หรือฮิโนะโทริ ของเท็ตสึกะโอซามุไม่ได้แม้ขี้ฝุ่น
แล้วในสังคมที่กดดันสูง แทบยังแทบไม่รู้จักกับศาสนาอย่างดีพอ
เวลาใครสักคนมันแอบอ้างสร้างลัทธิขึ้นมา มันถึงได้หลงหัวปักหัวเปายิ่งกว่าธรรมกายบ้านเรา
คือธรรมกายบ้านเรา มันคือศาสนาพุทธที่บิดเบือน เพราะงั้นใครที่รู้จักพุทธไม่ดี โง่แต่มีเงิน หรืออยากขึ้นสวรรค์แบบเอาง่าย ก็จะหลงไปนับถือ
แต่ลัทธิฝยญี่ปุ่นนี่คือ ใครก็ไม่รู้ เป็นศาสนาใหม่ตั้งขึ้นมาเอง
แค่รูปหน้าปกมีรูปเจ้าลัทธินั่งลอยอยู่กลางอากาศ ( เราดูแว๊บแรกก็รู้ว่ามันนั่งแล้วเหมือนเด้งตัวให้ลอยขึ้นมาจากพื้นแล้วถ่ายรูปในจังหวะที่ลอยอยู่เองอะ ) แค่นี้เรียกสาวกเข้าลัทธิได้เป็น 10 เป็น 100 !!! ก็คิดกันดู
( ที่ยกมานี่คือ โอมชินริเคียว ลัทธิดังเมื่อ 2 - 30 ปีก่อน )
ส่วนเรื่องประวัติศาสตร์ อ่ะ ยุคที่ถูกเอามาเขียนมากที่สุดคือ เซ็นก๊กกุ หรือสงครามกลางเมือง ซึ่งทุกฝ่ายต่างก็ทำสงครามกัน ไม่มีผิด หรือถูก แล้วแต่ว่าจะมองมุมไหน แต่ที่สำคัญก็คือ ญี่ปุ่นไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้น แค่นีก็พอ
เรื่องที่ผมว่าคนญี่ปุ่นไม่แตะกัน หรือแตะกันน้อยมากๆ
1. เรื่องสงครามโลกครั้งที่ 2 ในแง่ที่เป็นฝ่ายรุกราน
ต่อให้เป็นการ์ตูนมังกะ ถ้าเล่นประเด็นนี้ก็จะไม่เขียนในเชิงญี่ปุ่นผิด ( ทั้งที่ทั้งโลกตราหน้าไว้เยี่ยงนั้น ) หรือเขียนเรื่องที่ญี่ปุ่นกระทำโหดร้ายกับประเทศคู่สงคราม
ปกติคิงส์กับควีนจะไม่ค่อยมีราชกรณีจกิจอะไรมากนัก ภัยพิบัติทีก็จะออกเยี่ยมประชาชนบางแค่นั้น
ยิ่งถ้าเทียบกับอังกฤษที่เล่นข่าวฉาวในสถาบัน หรือกับบ้านเราในช่วงปีที่ผ่านมาแล้วนี่ ญี่ปุ่นไม่มีอะไรแบบนั้นเลย
หรือถ้ามี ก็ในวงเล็กๆ แคบมากๆ เท่านั้น
กลับไปเรื่องศาสนา ก็คิดๆ พิจารณากันดูนะครับ
จริงๆ ผมก็ไม่ได้เห็นด้วยกับตัว นศ ที่เขียน แต่ก็รู้สึกรำคาญสื่อ+ผู้หลักผู้ใหญ่ ที่เอามาตีข่าวซะเหลือเกินเอาเป็นว่า ถ้าไปเล่นประเด็นนี้ในพม่า หรือตะวันออกกลาง หัวคนขาดไปหลายคน
บ้านเรายังไม่เท่าไรหรอก คนพร้อมจะสนับสนุนก็มี แต่เล่นกับศรัทธาของคน มันก็ต้องทำใจครับ
เรื่องสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นความพยายามปิดบังความผิดตัวเองครับ ไม่ใช่ประเด็นอ่อนไหว แตะต้องไม่ได้ที่แตะแล้วประชาชนจะแสดงความไม่พอใจ รัฐบาลญี่ปุ่นเองก็พยายามปิดเรื่องนี้จนถึงขั้นถอกออกจากหลักสูตรด้วยซ้ำ เพราะมันเป็นตราบาปที่หนักหนามาก แถมแพ้สงครามอีก
เรื่องสถาบันฯ เค้าแค่ไม่เล่นกันเฉยๆ แต่ถ้ามีใครเล่นผระเด็นขึ้นมาก็จะไม่มีใครมาคอยห้ามหรือมีเหตุการณ์แผ่นดินลุกเป็นไฟ ประชาชนแยกเป็นฝั่งฝ่ายแบบของไทยครับ
ผมว่าประเด็นที่คุณยกมามันอ่อน (ที่แปลว่าไม่หนักแน่น ไม่แน่นหนา, ไม่ใช่อ่อนด้อยหรือปัญญาอ่อน) มากครับ
สองประเด็นที่ยกมา ผมว่ามันอ่อนมากขนาดที่ว่าคนพูดเสียงดังในรถไฟ หรือคนโน้มกิ่งซากุระยังน่าจะโดนด่ามากกว่าอีก
นี่ผมพูดประเด็นตามหัวข้อบทความล่ะนะครับไม่เกี่ยวแบบประเด็นแมนเนอร์ในสังคมแต่อย่างใด
และผมก็ไม่เคยเห็นคนเล่น 2 ประเด็นที่ยกมา มันเลยไม่รู้หากมีคนหยิบเอามาเล่นจริงๆ แล้ว บ้านเมือง - ประชาชนคนญี่ปุ่นจะมีความคิดอย่างอย่างใดอะนะครับ
แต่อย่างที่ผมพูดไปแรกสุด คนญี่ปุ่นรู้ตัวกันอยู่พอประมาณ ว่า "อะไรควร อะไรไม่ควร"
แต่คุณบอกว่ามันเป็นประเด็นที่แตะต้องไม่ได้ไงครับ มันห่างไกลกับเรื่องควรไม่ควรมากเลยนะ
ถ้าแตะต้องคือเล่นปุ๊บมีปัญหาปั๊บ แต่ควรไม่ควรนี่เล่นแล้วไม่ทีปัญหา ไม่ถูกจับมาเสียบประจานครับ
อย่างประเด็นสงครามโลกนี่คนญี่ปุ่นส่วนนึงไม่มีความรู้เลยด้วยซ้ำ ส่วนประเด็นสถาบันฯ นี่ไม่มีอะไรให้เล่น แต่ก็มีคนวิจารณ์และเขียนถึงเป็นบทวิเคราะห์ต่างๆ แม้ในประเทศเอง อย่างตอนสละราชสมบัติเองก็มีสำนักข่าวทำสกู๊ป เขียนบทวิเคราะห์กันปกติ
ส่วนในเมืองไทยมีใครกล้าเขียนบ้างครับ?
นั่นแหละครับ ผมถึงแย้งว่ามันไม่ตรงกับที่คุณบอกว่ามีประเด็นที่แตะต้องไม่ได้เลยนะ มันห่างมากเลย
เช่นนั้นก็ขออภัยด้วยแล้วกันครับ
Anti-monarchism in Japan
Emperor Akihito’s abdication reanimates anti-emperor protest movement in Japan
ผมขอแย้งนิดนึง เรื่องศาสนาเนื่องจากคนญี่ปุ่นไม่ยึดถือ ไม่ใช่ว่าไม่นับถือนะ
ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าคนญี่ปุ่นที่ไปเที่ยวต่างประเทศเขานับถือทุกศาสนานะที่ผมสัมผัสมาแต่ไม่ยึดถือว่าตัวเองต้องเอาแต่นิกายนี้ (ไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ที่จะเป็นตามที่ผมบอกก็เถอะ)
เนื่องจากไม่ได้ยึดถือ ดังนั้นจะทำอะไรก็ได้ แค่ไม่รบกวนผู้อื่นถือเรื่องส่วนรวมเป็นอันดับหนึ่งก็เพียงพอ นี่คือสิ่งที่คนญี่ปุ่นถูกสอนมาตั้งแต่เด็กๆ ครับ
เรื่องแต่งงานศาสนาจะเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะเรื่องสังคมบริบทเหมือนกัน ที่ต้องมีบ้างให้เชิดหน้าชูตาหน่อย
ส่วนเรื่องประเทศไม่บัญญัติศาสนาเป็น ศาสนาประจำชาติ เนื่องจากศาสนาในประเทศญี่ปุ่นมีเยอะมากถ้าดูแผนผังแค่ศาสนาพุทธ แตกได้เป็นสิบๆ นิกาย ดังนั้นถ้าตั้งเป็นศาสนาประจำชาติ
อาจจะทำให้เกิดความแตกแยกได้ (ความเห็นส่วนตัว)
ลองแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ครับขอบคุณครับ
ญี่ปุ่นเปลี่ยนตัวเองตลอดเวลาครับ
เมื่อก่อนผมก็คิดว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ไม่เปลี่ยน ผ่านไปนานแค่ไหนก็เหมือนเดิม
แต่จากการไปเที่ยวที่ห่างกันเกือบ 15 ปี พบว่า ต่างกันหน้ามือเป็นหลังเหวเลยครับ
เขารู้จัก adapt และผสมผสานครับ ร้านอาหารที่ญี่ปุ่นมีขนมฝรั่งมากมาย ร้านชานมไข่มุกเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด (แต่ไม่อร่อยนะ บ้านเราอร่อยกว่า ไข่มุกเขาแข็ง กินมาหลายร้านล่ะ)
ร้านชาก็ยังมี ทำแบบดั้งเดิม ก็มี เกอิชาแบบดั้งเดิมก็มี
จริงครับ อัลบัมแจ๊สดีๆ ของญี่ปุ่นนี่ดีแบบดีโคตรๆ หาคนไทยทำแบบเดียวกันแทบไม่ได้
ญี่ปุ่นยังเป็นที่กำเนิดแนว Kei ซึ่งเป็นสายย่อยของแจ๊สด้วย
ย้อนกลับไปหลายสิบปีก่อน ญี่ปุ่นก็ทำเพลงละตินแจ๊สดีๆ มาให้ทุกคนซึมซับโดยไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ อย่างเพลงของมาริโอหลายๆ เพลงนี่ก็ละตินแจ๊สชั้นดีเลย
อย่างอนิเมะ หรือมังงะ เหล่านี้ก็ไม่ได้กำเนิดจากญี่ปุ่น แต่ญี่ปุ่นทำให้มันบูมมากๆ
จะว่าไปประเทศที่ conservative มากๆ ทั้งญี่ปุ่นและอินเดีย ก็มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นประเทศแรกๆ ด้วยซ้ำไป ใครบอกว่าคนไทยไม่พร้อมเพราะไร้วินัยหรือเหตุผลอื่นๆ ก็น่าจะดูอินเดียได้ครับ
ชอบความ contrast ระหว่างภาพเรือดำวาดโดยอเมริกันกับญี่ปุ่น
มันยังมีช่องทางอีกเยอะ รอบนี้ใครขึ้นเรือทัน ก็มีโอกาสพลิกนวัตรกรรมได้ จริงๆ แล้วประเทศไทยติดอันดับโลกในหลายๆ เรื่อง ที่ต่อยอดธุรกิจได้ เพียงแค่เติมไอเดียหน่อย อย่าลอกอย่างเดียว เพราะลอกอย่างเดียวเราก็ยังเป็นได้แค่ผู้ตาม ต้องเปิดน่านน้ำใหม่ของตัวเอง มันเป็นช่วงเปลี่ยนยุคอุตสาหกรรมยังไม่มีใครแพ้ ชนะชัดเจน
Content ต่อจาก "Hyperloop ไม่ใช่แค่การเดินทาง แต่จะพัฒนาประเทศไทยแบบก้าวกระโดด" สินะ
เป็นสงครามการค้าไม่ค้าขายกับฉัน ฉันยิง
ที่ผมยังสิงอ่านข่าวของเว็บนี้บอก ตรงๆเลยคือ ทัศนคติและความคิดเป็นแบบหัวก้าวหน้า
รอแปป รอยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีผ่านพ้นไปก่อน
ทำไมหลายคนตีความไปทางไฮเปอร์ลูปกันหมด ผมอ่านแล้วคิดถึงแกร็บกับอูเบอร์ก่อนเลย เทคโนโลยีอื่นอีกเยอะแยะที่เรามัวไปต่อต้านก็ตาย สู้เกาะไปพร้อมคนอื่นดีกว่า จะให้ดีสุดก็ศึกษาแล้วดัดแปลงมาต่อยอดให้เหมาะกับเราเอง ผมว่าเค้าต้องการพูดทำนองนี้มากกว่านะ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
คิดเหมือนผมครับ อีกอันที่ผมคิดคือ 5g ของหัวเว่ย แต่บริบทมันจะออกไปนอกประเทศไทย แต่ก็ยังถือว่าเทียบเคียงได้อยู่ยะ
อาจตีความจากท่าทีในทวิตเตอร์ของ... ครับ
มีความพยายามผลักดันเบาๆแต่ท่าทีของเพื่อนสมาชิกยังก้ำกึ่ง
ไม่ไปในทางเดียวกัน ยังมีการตั้งคำถาม
หนังเอวีญี่ปุ่น สนุกครับ และก็ดำกันทุกคนครับ อย่าคิดมาก
เป็นมุมมองที่ดีครับ มีอีกเรื่องนึงที่ผมสังเกตเองว่าน่าจะเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ไทยไม่ค่อยมีอะไรพัฒนา เพราะว่าเราคิดว่าคนอื่นต้องทำ เช่น เกษตรกรมองว่ารัฐต้องช่วย, อยากให้ทหารประดิษฐิ์คิดค้นอาวุธได้ทหารต้องทำ แต่ทั้งๆ ที่ทหารก็ต้องอาศัยเอกชนในการประดิษฐิ์อะไรขึ้นมา เอกชนก็คือฝ่ายประชาชนนี่แหล่ะ
มันเลยทำให้เหมือนรอกันไปรอกันมาจนไม่ได้เขยิบไปไหน
พอถึงเวลาต้องทำจริง ๆ ก็ทำแค่ให้มันผ่าน ๆ ไม่วางแผนระยะยาว ไม่มีการเก็บองค์ความรู้ไปต่อยอด และหน่วยงานรัฐชอบทำใครทำมัน ซ้ำซ้อน ไม่แชร์ข้อมูลกัน
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
เรื่องไม่แชร์ข้อมูลกันนี่อยากให้ปรับปรุงเร็วๆ เหลือเกิน
รับเทคโนโลลยีของจีน มาตั้งศูนย์เรียนรู้การสร้างรถไฟความเร็วสูงในไทยก็คล้าย ๆ กันนะครับ
ความร่วมมือระหว่างจีน-ไทย ในการร่วมก่อตั้ง “สถาบันรถไฟความเร็วสูงหลู่ปัน”
นอกจากได้ศูนย์วิจัยแล้ว ยังได้สร้างรถไฟควบคู่ไปด้วยกันได้ด้วยและ ทุกอย่างอยู่ใน งบประมาณแผ่นดิน แบบ ปกติ อีกต่างหาก
ตอนนี้สิ่งที่รัฐพยายามผลักดัน
ถ้าเกิดทุกคนเข้าใจ และช่วยผลักดันไปด้วยกัน
มันจะต้องออกมาดีมากแน่ ๆ
แต่ตอนนี้คนไม่ค่อยให้ความสนใจกับเรื่องพวกนี้เลยหลาย ๆ คนเห็นผ่าน ๆ ตา กดปิดและไม่ยอมรับรู้ซะงั้น
การทำความร่วมมือในโครงการและงานต่างๆ มันก็ดี แต่จะดีถ้าหลังจากนั้น เราสามารถพึ่งตนเองโดยไม่ต้องพึ่งจีนหรือชาติอื่นเลย มันจะยั่งยืนมากกว่าพึ่งต่างประเทศหรือซื้อเทคโนโลยีมาใช้อย่างเดียว หรือต่างคนต่างพัฒนาแต่ไม่เผื่อแผ่ความรู้ หรือแม้แต่แบบแผนอะไรเลย ผลก็เละเหมือนเดิม
หวังว่าเมื่อได้คความรู้มาจะสามารถสานต่อ ต่อยอด และผลิตหรือออกแบบได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องให้หาชาติอื่น ประหยัดงบของชาติได้อีกเยอะ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ก็นี่แหละครับ การตั้งศูนย์วิจัยรถไฟความเร็วสูงก็คือการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ไทย
และไทยสามารถทำเองต่อไปได้ และสามารถต่อยอดได้ในอนาคตโดยไม่ต้องพึ่งต่างชาติมาก (ผมก็ไม่กล้ายืนยันว่าจะทำได้เองทั้งหมด)
อาจจะไม่เกี่ยวเท่าไหร่ แต่พอดีอ่านความเห็นนี้แล้วนึกขึ้นได้ สมัยเราสร้างดาวเทียมธีออสส่งขึ้นไป ก็มีข่าวทำนองนี้ ว่าเราได้ปั้นคนเก่ง ๆ ของเรา เขาจะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ จนวันนี้ผมยังไม่เห็นข่าวดาวเทียมดวงต่อไปของเราเองจริง ๆ เลย
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
วลี 'ถ่ายทอดองค์ความรู้' ที่มาพร้อมกับทุกการลงทุนของต่างชาติ 555
All we are is dust in the wind.