จากที่ก่อนหน้านี้ ศบค. เปิดตัวแพลตฟอร์ม "ไทยชนะ" ซึ่ง นายกฯ มีส่วนร่วมในการตั้งชื่อ และดูแลโดยธนาคารกรุงไทย เพื่อให้ร้านค้าใช้รับลงทะเบียนลูกค้าในการเข้า-ออกในช่วงผ่อนคลายมาตรการตาม ข้อกำหนดฯ ที่ประกาศไปเมื่อวานนี้ ล่าสุด เว็บไซต์ www.ไทยชนะ.com (หรือ www.thaichana.com ) ก็เปิดให้เข้าชมได้แล้วตั้งแต่เมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา
เมื่อสำรวจในเว็บไซต์ ณ ขณะนี้ (ช่วงค่ำวันที่ 16 พ.ค.) พบว่ามีเพียงประกาศกำหนดการเปิดใช้งานระบบฯ ในวันที่ 17 พ.ค. เวลา 06:00 น. และ คู่มือการใช้งานโดย ศบค. โดยสรุป ระบบดังกล่าวจะให้ร้านค้าลงทะเบียนประเภทร้านค้า ชื่อ ที่ตั้ง ข้อมูลผู้ติดต่อ (มีการตรวจสอบเลขประจำตัวประชาชนและรหัสประจำบัตรคล้ายกับโครงการเราไม่ทิ้งกัน) และมีแบบประเมินความพร้อมในการให้บริการของร้าน เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วน ระบบจะสร้าง QR code และข้อมูลโดยสังเขปพร้อมรหัสประจำร้านเพื่อให้ลูกค้าใช้โทรศัพท์มือถือเข้าถึงระบบฯ ต่อไป
สำหรับลูกค้าผู้ใช้บริการ จากการทดลองใช้งาน ลูกค้าสามารถสแกน QR code ที่สร้างจากระบบ เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ไทยชนะ แล้วกดเข้าร้าน เมื่อกรอกหมายเลขโทรศัพท์ของลูกค้าเสร็จ จะขึ้นหน้าจอแสดงยืนยันการเข้าร้านระบุเวลาลงทะเบียน และเมื่อจะออกจากร้าน ลูกค้าจะต้องสแกน QR code เดิม เลือกออกจากร้าน ระบบจะให้ประเมินร้าน โดยระบุเวลาที่ใช้บริการ และการทำตามมาตรการฯ ของร้านค้า เมื่อประเมินเสร็จ ระบบจะแสดงผลการประเมินพร้อมระบุเวลาออกเช่นกัน
แผนผังแสดงกระบวนการในการใช้งานระบบไทยชนะ (จากคู่มือการใช้งานฯ ซึ่งเผยแพร่ในเว็บไซต์)
Comments
FYI:
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
QR Code ใช้ชื่อเว็บอังกฤษhttps://www.instagram.com/p/CARt2j3nlhh/?igshid=10lt3y2l2edx5
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
ข่าวนี้เขียนก่อนจะมีการใช้งานอย่างเป็นทางการ และตามข่าวก็พูดถึงเป็นชื่อภาษาไทยอย่างเดียว เลยระบุใน FYI เป็นแบบนั้นน่ะครับ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
อ้าว ถ้าผู้ใช้ไม่มีแอพ แล้วเราจะตามตัวกันยังไงคะเนี่ย
ให้ลงเบอร์โทรศัพท์ แต่ก็ไม่มีการ verifyนะ ส่วนไม่มีมือถือให้จดชิ่อลงสมุด
มีการลงชื่อเข้าใช้บริการด้วยลายมือ ก่อนใช้
ไม่ใช้นะครับ App นี้ ใครจะใช้ก็ใช้
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
ไปโลตัสมาเจอบังคับให้scan qrทุกคนตอนเข้าออก แต่ยังดีที่ใช้ผ่านเวบแค่ลงเบอร์โทรศัพท์ ไม่เก็บข้อมูลเยอะเหมือนผ่านแอพตอนแรก ใครไม่มีมือถือหรือไม่มีเนทก็ลงชื่อในสมุด แต่วันแรกคิวยาวมาก จนท. ก็งงๆแถมมีคนใหญ่คนโตมาตรวจพร้อมสื่ออีก
ป.ล. โลตัส ตจว.ไม่เคยปิด
ของผมก็มีเช่นกันที่โลตัส และที่ร้านอาหารอย่าง MK ก็สะดวกดีครับ สแกน QR กรอกเบอร์โทร ง่ายกว่ากรอกลงสมุดอีกครับ สอนที่บ้านให้ลองใช้แล้วก็ผ่านไปได้ด้วยดีครับ
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
ก็ยังคงไม่เข้าใจ ว่าทำไมไม่ upgrade ให้ใช้ใน app หมอชนะ ที่เดียว แค่เพิ่ม function scan check-in ร้านค้าเอง
App ไทยชนะ นี่เพิ่มความ งง ให้คนสุด ๆ แถมยังไม่เปิดให้โหลดอีก จนตอนนี้มีมิจฉาชีพ ส่งต่อทางไลน์ผู้สูงอายุ ว่าให้เข้าไปโหลดจาก account line นึงแล้วเนี่ย
หงุดหงิด ๆ ๆ ๆ ทำบ้าอะไรกันอยู่
แก้ไขเพิ่มเติมครับ
วันนี้บังเอิญได้ลองใช้มา มัน ok แฮะ มันง่ายมาก
ไม่ต้องมีั application อะไรให้วุ่นวาย แค่เปิด app กล้อง
จ่อ qrcode กดเข้า link จบ แถมเร็วด้วย
คิดว่าน่าจะ merge หมอชนะ เข้ามาได้ในอนาตต
เก็บแค่เบอร์โทรก็โดนด่า ไม่เก็บก็โดนด่า
คนไทยเอาใจยากหรืออคติมันบังตา
มันก็ควรจะมีประกาศที่ชัดเจน ว่าเก็บไว้อย่างไรกี่วัน มีมาตรการป้องกันที่เข้มแข็งไหม ในเมื่อเลื่อนกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลออกไปไม่กี่วันก่อนการใช้แอพ มันก็น่าสงสัยว่าทำอะไรให้ชัดเจนโปร่งใสไม่ได้หรือ?
เวลาประกันโทรหาเรา ยังรำคาญใจ ว่าแอบเอาเบอร์โทรเราไปจากไหน แล้วทำไมจะต้องไว้วางใจการจัดเก็บข้อมูลของรัฐที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครองอะไรเลย?
อีกอย่างระบบไม่มีการverify ข้อมูล ถ้าผมไม่ให้ความร่วมมือก็แค่ กรอกเบอร์มั่วๆไป ไปโดนเบอร์คนอื่นก็ไม่รู้นะ วันหลังคุณอาจจะโดนเรียกไปตรวจเชื้อ เพราะมีคนกรอกเบอร์มั่วตรงกับเบอร์คุณก็พอดีก็ได้
เรื่องหลายเรื่องไม่เจอกับตัวเองก็จะไม่เข้าใจง่ายๆ
ใช้ครับ คนไทย ... มันมีเยอะ พวกกรอกข้อมูลมั่วนี้ ทำคนอื่นลำบาก เพราะงั้นต้องด่าามันให้ตายๆไปเลยพวก ... เนี่ย
นั่นแปลว่าคนออกแบบระบบ ทำไม่รัดกุมเองหรือเปล่า?
ผมไม่ได้ปฎิเสธกระบวนการควบคุมป้องกันโรคนะครับ แต่ต้องทำอย่างโปร่งใส มีมาตรฐาน มีกฎหมายรองรับ ไม่ใช่ให้ใช้ใจทำ หรือคิดโลกสวยว่า ทุกคนจะทำเป็นอย่างดีโดยไม่ต้องออกกฎเกณฑ์ มันไม่ได้แก้ไขปัญหาอะไรเลย
โดยเฉพาะถ้ามาทำตอนที่ตัวเลขมันเหลือน้อยมากๆ มันก็ชวนให้คิดว่า ทำไปเพื่ออะไรกันแน่ ป้องกันโรค หรือเพื่อติดตามประชาชน เพื่อเก็บข้อมูลร้านค้าส่งสรรพากร?
คุณก่นด่า คนที่กรอกข้อมูลมั่ว แล้วมันแก้ไขหรือป้องกันได้ไหม? กลับกันผมก่นด่า คนที่ลักลอบนำข้อมูลจากรัฐไปขาย เพราะไม่มีกฎหมายคุ้มครอง มันแก้ไขหรือป้องกันอะไรได้ไหม?
ไม่ต่างจากตู้ปันสุขครับ เพราะจุดเริ่มต้นจากตปท.มันมีเงื่อนไขจำกัดและใช้ในชุมชนเล็กๆ ซึ่งถ้าปรับไปใช้วงกว้างหรือสังคมเปิด มันก็จะไม่มีประสิทธิภาพ มันก็คาดหวังผลลัพธ์ที่ดีในวงกว้างได้ยาก ต่อให้ตั้งกล้องถ่ายประจานใคร มันก็ไม่ได้แก้ปัญหาอะไรสักนิดเดียวนอกจากเปิดช่องให้คนก่นด่ากันเอามัน
ป.ล.หวังว่าผู้ดูแลระบบ จะไม่คิดแบบคุณนะครับ คือคาดหวังว่าจะไม่มีคนเลว เลยไม่ป้องกันอะไร(สมมติตั้ง password =1234 เพราะมองโลกในแง่ดีกว่าคงไม่มีใครมา hack) ถ้ามีอะไรพลาดมาก็ ให้มาก่นด่าโจรกันแทน ส่วนคนที่ควรจะคิดระบบให้รัดกุม ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร?
"โดยเฉพาะถ้ามาทำตอนที่ตัวเลขมันเหลือน้อยมากๆ มันก็ชวนให้คิดว่า ทำไปเพื่ออะไร…" ก็ทำไปเพื่อไม่ให้ตัวเลขมันกลับมาสูงอีกไงครับ -_-
อ่านความเห็นนี้แล้วแบบ โอ้โห....
โลกนี้สามารถอยู่เป็นพาหะกับคนที่แข็งแรงได้นานมากคนที่เดินข้างคุณอาจจะป่วยอยู่แล้วคิดว่าเป็นหวัดธรรมดาไม่ยอมรักษาตัวให้หายปล่อยให้มีเชื้อในตัวไปเรื่อยๆอยู่ได้อีกนานยังเห็นข่าวอยู่ว่าป่วยเป็นเดือนกว่าจะไปหาหมอ
จะว่าเขาก็ไม่ถูก ถ้าป่วยเหมือนเป็นไข้หวัดธรรมดา ถึงไปเขาก็ไม่ตรวจโควิดให้ เขาก็ตรวจแบบปกติ รักษาแบบปกติอยู่ดี ต้องป่วยถึงเกณฑ์ที่กำหนดถึงจะตรวจ
ต้องแยกระหว่างวิธีควบคุม กับป้องกันนะครับ
การtracing หาคนแวดล้อมผู้ติดเชื้อ เป็นการควบคุมการระบาด ซึ่งจำเป็นมากในช่วงแรกของการระบาดใหญ่ครับ ตอนนี้มันลดลงเยอะแล้ว ความจำเป็นก็น้อยลงไป
สิ่งสำคัญตอนนี้คือการป้องกัน เพราะมันจะมีกลุ่มที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ หรือหายด้วยตัวเอง แต่ยังเป็นพาหะได้อยู่ กลุ่มนี้แหละ ที่ใช้หลักการควบคุมได้ยาก ต้องใช้การป้องกัน ก็คือสุขอนามัยพื้นฐาน หรืออีกวิธีคือ active search ซึ่งก็ได้ยินว่าทำในบางพื้นที่(ได้งบมาสามพันล้าน ตรวจฟรีเฉพาะที่รพ.ลงพื้นที่)
ทุกวันนี้คนในกทม.ได้รับ เจลล้างมือหรือหน้ากากอนามัยครบทุกคนหรือยัง? มันคือสิ่งจำเป็นในการป้องกันสุขอนามัยขั้นพื้นฐานเลยครับ
ส่วนเรื่องแอพ ผมก็ไม่ได้ปฎิเสธ แต่แสดงความคิดเห็นเรื่องช่องโหว่ของระบบ รวมไปถึงการที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครอง มันก็ไม่ได้สร้างความมั่นใจได้เลยว่า ผู้ที่รวบรวมข้อมูลไป จะไปใช้ในทางดีอย่างเดียว? มันไม่ใช่ระยะเวลาเร่งด่วนจนอ้างว่า ไม่มีเวลาคิดเผื่อกระบวนการที่รอบคอบนะครับ
ซ้ำ
ถ้าไม่พร้อมให้ความร่วมมือ แนะนำให้อยู่บ้าน
กฎระเบียบออกมา มันก็ต้องถกเถียงกันได้ ว่ามันเหมาะสมหรือไม่ ถ้าถกเถียง แสดงความคิดเห็นไม่ได้ อันนี้เราเรียกว่าเผด็จการ
ถ้าตัวเองโอเครับสิ่งที่ออกมา ก็โอเคไป ส่วนคนอื่นเค้ามีความเห็นที่แตกต่าง ก็ควรจะให้เค้าแสดงความคิดเห็นไป ถ้ามันดี และมีประโยชน์ ปรับแก้ให้มันเหมาะสมมากขึ้น มันดีกว่าหรือเปล่า
อะไรคือความร่วมมือ?
จะบอกให้่ว่าที่ตจว.ไม่มีการปิดห้างค้่าปลีกค้่าส่งนะครับ โลตัสนี่ก็ไม่เคยปิด แต่จู่ๆเมื่อวานนี้ก็มีมาตรการบังคับให้ลงทะเบียนผ่านเวบทุกคน
โดยที่ไม่ได้มีคำสั่ง หรือประกาศอะไรจากทางการเลยก็ว่าได้ (ผมหาไม่เจอนะ เน้นว่าคำสั่งหรือประกาศที่มีอำนาจตามกฎหมายนะครับ)
อีกอย่างผมก็ให้ความร่วมมือไปแล้ว แต่ชี้ให้เห็นช่องโหว่ของระบบ และเรื่องที่ว่าไม่มีกฎหมายคุ้มครองครับ
ผมก็ไม่พร้อม แล้วก็อยู่บ้านด้วย แต่ผมก็มีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์มั้ยครับ ยิ่งระบบที่ไม่ได้มีการป้องกันอะไรรัดกุมสักด้านเลยแบบนี้ก็คือห้ามวิจารณ์อยู่ดี เพราะเป็นประเทศเผด็จการ?
คิดว่าเพราะไม่มีกฎหมายรองรับเขาถึงต้องใช้วิธีนี้ แล้วใช้วิธีขอความร่วมมือ ทั้งๆที่มีวิธีตรวจสอบที่ดีกว่านี้การใช้บัตรประชาชน ไม่เหมือนกับเคอร์ฟิวที่สามารถใช้ภาวะฉุกเฉินมาควบคุมได้ และระบบก็ต้องให้คนข้างนอกเข้ามาทำในระยะเวลาที่สั้นขนาดนี้การันตีความปลอดภัยและความพร้อมน่าจะยาก
ส่วนใหญ่ที่เคยเจอมาหลายๆครั้งพวกประกันจะได้ข้อมูลมาจากการสมัครบัตรของร้านค้าเช่น the one card โทรมาบ่อยมาก หรือพวกขายของออนไลน์ที่ต้องกรอกเบอร์โทรที่อยู่ตอนส่งของ แล้วเอามาใช้ขายโปรโมชั่นอีกทีซึ่งถ้ามองในมุมมองเดียวกันข้อมูลที่ให้รัฐบาลก็เป็น หนึ่งในความเสี่ยงในความเสี่ยงจำนวนมาก
จัดไปเลย โรคหายไวไทยมีสิทธิ์ผงาด ก็ได้ ฮ่า ๆ
ถ้าไม่ได้เหนือบ่ากว่าแรงหรือไม่ได้ทำให้ชีวิตมันเสี่ยงขึ้น ก็จะช่วยใช้เพื่อชาติครับ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ชอบรัฐบาลก็เถอะ อาจจะออกมาช้าแต่ดีกว่าไม่มีอะไรเลย
เพิ่งนึกออกว่า นอกจากไม่ verify เบอร์โทรแล้ว(ที่อาจมีคนกรอกเบอร์มั่วๆหรือเบอร์คนอื่น) ยังเปิดช่องให้กลั่นแกล้งร้านค้า โดยคู่แข่ง หรือเด็กมือบอนได้ ด้วยการcheck-in ปลอมๆแล้ว ตอน check-out กดคำตอบด้านแย่ x ทุกข้อ แบบนี้ ร้านนั้นจะโดนเล่นงานเพราะโดนรายงานว่าไม่ทำตามมาตรฐานหรือไม่? ถ้าทำหลายๆคนกระจายเบอร์ไป โดยไม่ทำถี่จนให้ดูเป็น spam จนท.จะเข้าไปตรวจร้านค้าไหม? แล้วจะใช้หลักฐานอะไรว่าเกิดความผิดจริง?
ป.ล. ผมชี้ช่องโหว่ของกระบวนการที่ไม่รัดกุมนะ คงไม่มีใครมาโทษว่าผมเป็นคนชี้นำให้คนทำผิดกฎหมาย
บางคนจะบอกกรอกเบอร์คนอื่นทำไมถ้าเกิดไปที่ๆมีคนติดเชื้อมันก็ไม่ได้รับแจ้งสิ แต่ผมว่ามันต้องมีคนที่ไม่กรอกเบอร์ตัวเองเพราะไม่ไว้ใจรัฐแน่ๆอยู่แล้ว
ที่ผมคิดอย่างแรกเลยไม่ต้องใช้เบอร์เลยก็ได้ ตอนลงแอปก็สร้างเป็น Token ขึ้นมา แจ้งก็แจ้งในแอป ถึงมันจะเป็นแค่ Pseudo anonymous ก็เถอะ
ถ้า Advance หน่อยก็ทำให้เก็บข้อมูลในเครื่องตัวเองแบบไม่ต้องพึ่งศูนย์กลางแบบของ Apple, Google
เราห่วงข้อมูลส่วนตัวเราไม่ใช่เพราะทำอะไรผิด แต่เพราะเราควรสงสัยว่าผู้ที่ถือข้อมูลเราอาจจะทำ โดยเฉพาะองค์กรที่มีอำนาจมากอย่างรัฐ
ผมเข้าใจเจตนาดีนะ แต่ก็คงต้องระวังเรื่อง privacy ของข้อมูล
คิดเล่นๆ เกิดเบอร์หลุดไปที่อื่น ปชชคงรับสายขายของกันสนุกละครับ
ทำไม domain ภาษาอังกฤษ ใช้ thaichanaใช้ thaiwin ไปเลยสิ (ดักแก่กันไป)
เสียอย่างเดียวครับ ตอนขาเข้าซุปเปอร์มาร์เก็ตให้เช็คอินก็ไม่มีอะไร
ตอนหอบของกลับ (ซื้อตุนเป็นรอบๆ ลดความถี่ออกนอกบ้าน) เต็มมือจัดๆ กว่าจะหยิบมือถือมาเช็คเอ้าท์ ทุลักทุเลจนไม่อยากตอบแบบสอบถามไล่หลังครับ ข้ามเลย :P