วันที่ 13 ส.ค. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประกาศกฎหมายลูกของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. 2564 ลงราชกิจจานุเบกษา มีข้อกำหนดเพิ่มเติมหลายเรื่อง และแบ่งแยกประเภทผู้ให้บริการรูปแบบใหม่ๆ อย่าง Clubhouse และ Telegram ด้วย
ประกาศฉบับนี้เป็นการอัปเดตจาก ประกาศฉบับเดิมเมื่อปี 2007 ที่ออกตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับแรก
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส)
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ระบุให้ผู้ให้บริการต้องเก็บล็อกที่สามารถระบุรายละเอียดผู้ใช้บริการเป็นรายบุคคลได้ (Identification and Authentication) เช่น ลักษณะการใช้บริการ Proxy Server, Network Address Translation (NAT) หรือ Proxy Cache หรือ Cache Engine หรือบริการ Free Internet หรือ Wi-Fi Hotspot มาแต่แรก แต่ประกาศฉบับใหม่นี้เพิ่ม มาตรฐานการเก็บข้อมูลจราจรเข้ามาในภาคผนวก ข. มีเงื่อนไขหลายประการเพิ่มเติม เช่น รายละเอียดการใช้บริการในระบบคอมพิวเตอร์, ข้อมูลตัวอุปกรณ์ที่เข้าใช้งาน (system ID), รายงานการล็อกอินต้องระบุถึงการล็อกอินที่ไม่สำเร็จ, ไปจนถึงรายละเอียดธุรกรรมที่กำลังใช้งาน
ประกาศฉบับนี้ยังเพิ่มหมวดหมู่ผู้ใ้หบริการเพิ่มเติมเข้ามาอีกสองหมวด ได้แก่ บริการสื่อสารและแอปสโตร์ ที่รวมถึง เช่น App Store, Google Play, Clubhouse และ Telegram โดยเรียกว่า "ผู้ให้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์, แอปพลิเคชัน ที่ให้บุคคลทั่วไปสามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลถึงกันได้ (Online Application Store)" ในขณะที่แพลตฟอร์มหลักอย่าง Facebook, YouTube, WhatsApp, LINE, Instagram ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ "ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์รวมถึงผู้ให้บริการในฐานะสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะมีระบบบอกรับสมาชิกหรือไม่ก็ตาม"
สำหรับกรณีที่เป็นผู้ให้บริการร้านอินเทอร์เน็ตก็ต้องจัดเก็บข้อมูล จะต้องติดตั้งกล้องวงจรปิดและบันทึกรายละเอียดการเข้าใช้งานของผู้ใช้บริการหรือลูกค้าในร้านของตนที่สามารถระบุตัวตนได้ และทำบันทึกที่เกี่ยวข้องกับการเข้าใช้บริการของลูกค้าของตนในแต่ละวันเพื่อให้ใช้เป็นหลักฐานที่ตรวจสอบได้ในภายหลัง
ที่มา - ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม , ไทยรัฐพลัส
Comments
เพิ่มต้นทุนให้ร้านค้าอีกละ
แล้วต่อไปร้านกาแฟไหน จะมี free Wifi ให้ใช้ละนี่
เท่าทีาเจอมาร้านกาแฟ หรือแม้รีสอร์ท เล็กๆ ถึงกลาง
ส่วนใหญ่ยังไม่เก็บอะไรทั้งนั้น
การต่อ wifi ก็เป็น share key ตรงๆจาก router
ทำไม่ไหวหรอกครับ ยิ่งนาทีนี้ยิ่งมีร้านที่ลงทุนไหวไม่เยอะ ต้องใหญ่จริงๆ
ก่อนหน้านี้เคยจะบังคับใช้กฎหมายนี้ก็ต้องถอยไปแล้วทีนึง
lewcpe.com , @wasonliw
ทุกวันนี้ร้านเน็ตแทบจะสาบสูญแล้วนะ เจอกฎนี้เข้าไปอีกคงวุ่นวายกันน่าดู
ไม่น่าจะวุ่นมากหรอกครับ
เงียบสนิท (เลิก) หมดมากกว่า
หลังจากนี้คงใส่ VPN ตลอดแล้วให้ลูกค้าต่อเอาเลย ง่ายดี ประหยัดกว่าเป็นทุ่ง
ไม่น่าจะช่วยไรนีี่ครับ ลูกค้ามาใช้เน็ทเราเราก็ต้องบันทึกละ vpn ไปไม่ถือว่าลูกค้าไปใช้งานที่ ตปท. เพราะ Physical อยู่ไทย เราให้บริการเน็ท
แต่ถ้า VPN ครอบทั้งร้านเค้าก็จะตามไปสุดที่แค่ server ต่างประเทศแล้วมาไม่ถึงร้านเราก็จะไม่มีเรื่องวุ่นวายว่าต้องเอาหลักฐานให้ว่าวันไหนกี่โมงใครเป็นคนมาใช้เน็ตร้านเราครับ
ออลืมคิดไปถ้าไล่จากไอพีก็ได้อยู่ครับ แต่ไม่รู้มีกรณีแบบสุ่มตรวจร้านไหม ถ้ามีเราจะผิดตรงนี้
มันจะเกิดปัญหาถ้าเกิดคดีใกล้ๆแล้ว มาขอตรวจน่ะสิครับ ถ้าเจอว่าไม่มี อาจโดนปรับหนักจากพรบ.คอมฯมากกว่าด้วยซ้ำ
แบบพวกคดีวัยรุ่น ตร.มักจะไปหาข้อมูลจากร้านเนท ซึ่งส่วนใหญ่ก็มีวงจรปิดกันอยู่แล้ว
+1
ไม่น่าประหยัดขึ้นครับ เพราะลงท้ายแล้วยังต้องทำกระบวนพวกนี้อยู่ดี ถ้าไม่ทำแล้วเค้ามาตรวจหน้าร้านก็ gg ครับ
น่าสนใจตรงที่ ไม่เคยมีเคสใหนตามรอยจาก vpn ได้แล้วไปตรวจสอบจาก isp จนถึงปลายทางที่มีการแชร์เน็ตแต่ จะตามรอยจาก socail แล้วไปเคาะประตูหน้าบ้านของคนโพสเลย...
ผมเลยคิดว่าถ้าเปิด vpn แล้วอาจจะไม่โดนตามถึง router ก็ได้นะ...อาจจะปลอดภัยก็ได้...
ถ้าตำรวจหาตัวคนโพสได้จากเบาะแสอืนๆ แล้วคนโพสให้การว่ามาใช้อินเตอร์เน็ตที่ร้านโพสข้อความที่เป็นคดี ตำรวจก็มาขอหลักฐานที่ร้าน แต่ที่ร้านไม่มีให้ จะโดนคดีไม่เก็บข้อมูลได้นะ
ทำไม Clubhouse หรือ Telegram ถึงโดนจัดอยู่ในหมวด Online Application Store หว่า
ต่อให้เราเปลี่ยน DNSพี่แกก็ยังจะเก็บอยู่ดีหรอ ว่าเราใช้ DNS ไหน
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ?
เป็นภาระกับประชาชน
ถ้าไม่มีกฎหมายแล้วใครจะเสียหายบ้าง
เป็นคำถามที่ดีเลย...กฎหมายนี้เอาไว้ปกป้องใครกันแน่
ออกกฏหมายทำลายธุรกิจไม่ได้สร้างสรรค์แล้วยังจะขัดขวางประชาชนทำมาหากิน ว่างคิดอะไรแบบนี้ก็ช่วยว่างคิดหาเงินด้วยตนเองหน่อยที่กู้ๆไปจะเอาที่ไหนจ่าย
มันตั้งใจทำลายธุรกิจคนไทยแล้วครับ เพราะรัฐรู้ว่ากู้ภาพลักษณ์ผู้ใหญ่บ้านไม่ได้แล้ว ภารกิจตอนนี้คือทุบสถานะทางการเงินคนไทยให้เป็นคนชั้นล่างทางสังคมโดยทั่วกัน จะได้ไม่มีปากเสียงหรือบทบาทได้มาก นายทุนก็รอรัฐดันกฎหมายขายอสังหาให้ต่างชาติ อีกหน่อยคนจีนจะเข้ามาอยู่กันเยอะ เพราะอสังหาไทยซื้อแล้วได้กรรมสิทธิ์ คุณภาพดีกว่า เผด็จการเหมือนกันอยู่ล่ะ นายทุนได้กำไร รัฐก็ได้คนเข้ามากลืนชาติ คนจีนก็ไม่ค่อยมีปากเสียงกับรัฐ ทำงานเลี้ยงรัฐ รัฐชอบ ไม่ต้องง้อสนใจคนไทยอีกต่อไป ถึงวันนั้นสลิ่มก็จะรู้ว่าตัวเองโดนหลอกใช้ แต่ก็สายไปเสียแล้ว
สลิ่มเค้าสนใจด้วยหรอครับ เขาสนแค่ไม่ใช่ตระกูลชินวัตร หรือธนาธร หรือคนอื่นมาเป็น เพราะคนอื่นขายชาติ ไม่รักชาติ แต่ลุงสิรักชาติตัวจริง เป็นคนดีไม่โกง
อยากได้ระบบ Logแต่ไม่ช่วยออกเงิน....
อะหืม ตัวจริงหรือครับนี่การลงทุนตรงนี้ก็หนักหน่วงมากแล้ว ไม่ไหวแน่ๆ
ตัวจริง
กระทรวง DE = friewall
กระทรวงDE เพื่อ มอนิเตอร์ ปชช
ทุกวันนี้ DES ตั้งแต่จำแลงร่างมามีการลงทุนอะไรที่ช่วยพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานหรือวงการดิจิทัลไทยบ้างครับ ไม่นับงานรูทีน กับการลงทุนของ NT นะ อันนั้นถือเป็นการลงทุนของ รส. ถ้ามีอะไรเด่นๆจะได้เลิกด่าซะทีเห็นเป็นข่าวแต่ละทีมีแต่ข่าวเรื่องเซ็นเซอร์กับจะมอนิเตอร์อินเทอร์เน็ต
คำว่าร้านอินเตอร์เน็ตจะโดนเหมารวม กับร้านที่ให้บริการฟรี wifi ไปด้วยไหมนะ
DoH ข้าม ISP ไปก่อน ที่เหลือที่ไปตามลากขอ IP จากแพลตฟอร์มเอาเอง ซึ่ง DE น่าจะลำบากอยู่ บางแพลตฟอร์มเล่นไม่ให้เลยอย่าง Twitter เนี้ยะแหละ ส่วน Telegram ยิ่งไม่ต้องพูดถึง ?
DoH ไม่ได้ทำให้หลบได้ทั้งหมด
ยังไง ISP ก็รู้ว่าเราวิ่งจาก IP ของเค้า (IP ที่เค้าแจกให้เรา) ไปยัง IP อะไรที่อยู่ปลายทางครับ
แล้วทำไมประเทศการจะใช้อินเทอร์เน็ตสาธารณะมันยากจัง
ดูแล้วความยุ่งยากนี้ไม่ได้ใช้เพื่อปกป้องประชาชนเลย
แต่ใช้ปกป้องคนละดับบนๆทั้งนั้น
ไม่ปิดเน็ตขี่เกวียน จุดตะเกียง
ให้รู้แล้วรู้รอดไป
ปล. แนะนำแก้รัฐธรรมนูญเอาคำว่าเสรีภาพและอำนาจอธิปไตยไปออกที
หรือเปลี่ยนเป็นสังคมนิยมให้จบๆไป พูดออกมาอย่าง แต่ตัวเองทำอีกอย่าง
คนทำมันยังไม่ยอมรับเลยว่ามันทำตรงกันข้าม
กฏหมายนี้ครอบคลุมถึง Carrier Pigeon Internet Protocol ไหมครับ
ยิ่งวัน อะไรๆ ให้สลิ่มเชียร์ยิ่งหมดไปเรื่อยๆ ค่อยๆ เงียบไปจนอดตาย ประเด็นที่จะให้เถียงแทนก็ค่อยๆ พิสูจน์ความจริงว่าไม่มีมูล (เช่น โรงพยาบาล สวนสาธารณะให้ประชาชนแถวๆ ใจกลางเมือง)
แต่ที่แน่ๆ ตัวอย่างผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์มี MSN Messenger หลุดมาด้วย จะบ้าตาย สมงสมองไม่อัพเดทมาเป็นทศวรรษเลย รัฐบาลนี้
VPN คือคำตอบสุดท้ายครับ
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
สมันนี้แทบจะไม่เหลือร้านอินเตอร์เน็ตแล้ว มีแต่ Wifi free ตามคาเฟ่
เอาสมองที่ใช้คิดควบคุมประชาชน มาสนับสนุนอุตสาหกรรม it บ้างก็ดี
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
สมมติว่าต้องขออนุญาตเปิดร้านประเภทนี้ (ร้านกาแฟ,เน็ตคาเฟ่,อะไรก็ตามที่แจก wifi) โดยลงทะเบียนขอเปิดแล้วทางรัฐบังคับเช่าตัวเก็บ log เดือนละ 500 อุปกรณ์รัฐสนับสนุนและติดตั้ง เลิกก็คืนรัฐ ประกัน LT โดยรัฐ อัพเดทบำรุงรักษาโดยรัฐ แบบนี้โอเคไหมครับ เพราะว่าเวลามีปัญหามันก็ช่วยได้ส่วนนึง ส่วนกล้องก็มีให้ 1 ตัวบังคับติดเช่นกัน
ิย่างน้อย รัฐควรจะมีการสนับสนุน อย่างเช่นถ้าไม่ ซัพพอตเรื่อง เงิน เรื่องอุปกรณ์ก็ ควรจะมี ซอฟแวร์ดีดีเช่น
ออก DD-WRT มาสักรุ่น และทำ Device list กับรุ่นในตลาด...ทุนอุปกรณ์ ร้านออกเอง Custom software มาจากรัฐบาล เปิดเครื่อง register เล็กน้อยแบบนี้
DE ที่ย่อมาจาก Destroy Economy นี่เอง
เดี๋ยวก็คงมีบังคับใช้บราวเซอร์ไทยชนะ
กระทรวงนี้ เขาน่าจะทำอะไรที่มันเป็นนโยบาย ที่สอดคล้องกับปัญหาโควิดในประเทศบ้างนะครับ เช่น ช่วยกระทรวงศึกษาสร้าง platform สำหรับการเรียน Online สำหรับนักเรียน นักศึกษา
ดีกว่ามาทำเรื่องไร้สาระ อะไรแบบนี้นะครับ ทำเหมือนกับคุณกำลังจะเป็น Cyber police ซะงั้น
ถ้า ดีอีเอส จะออกกฎอะไรมา ก็น่าจะมี Tools หรือ Software พื้นฐานง่ายให้ใช้ในวงกว้างได้นะส่วนเจ้าไหนจะไปใช้ software แพงๆสวยๆ ก็เรื่องของเค้าไป
แบบนี้ร้านเล็กๆตายสนิท
กลับไปช่วยที่บ้านขายทองดีกว่านะครับท่าน
อย่างงี้ไม่เก็บข้อมูลในเกมออนไลน์ด้วยเลยอะ เพราะมันก็ติดต่อพูดคุยกันทั้งนั้น
ดูจากกฎที่วางแล้ว น่าจะต้องใช้เวลา implement พอ ๆ กับ PDPA