ความเข้าใจที่ว่า "เราเป็นเจ้าของสิ่งที่เราซื้อ" คงจะไม่จริงเสมอไปสำหรับลูกค้า Kindle หลังจากที่ทางอเมซอนได้ทำการถอดถอนหนังสือของ George Orwell เรื่อง Animal Farm กับ Nineteen Eighty-Four ออกจากร้านขายหนังสือของ Kindle และเครื่อง Kindle ทุกเครื่อง โดยได้ทำการคืนเงินให้กับลูกค้าทุก ๆ คนที่ได้ทำการซื้อหนังสือเล่มดังกล่าวไปแล้ว
สำหรับต้นเหตุของปัญหานี้คือเกิดขึ้นจากการที่อเมซอนเปิดให้ผู้ที่ต้องการจะขายหนังสือทำการอัพโหลดหนังสือเข้าร้านขายของ Kindle ได้เอง โดยหนังสือสองเล่มนี้ MobileReference ได้เป็นผู้อัพโหลดเข้าไปเพื่อขายหนังสือสองเล่มนี้ แต่ผู้ที่ครองสิทธิของหนังสือสองเล่มนี้จริง ๆ ได้ทำการแจ้งกับอเมซอนให้ดึงหนังสือสองเล่มนี้ออก ทำให้อเมซอนไม่มีทางเลือกแต่จะดึงหนังสือออกแล้วคืนเงินให้กับลูกค้าเท่านั้น
ดูเหมือนว่าอเมซอนคงจะต้องหาวิธียืนยันความเป็นเจ้าของของหนังสือก่อนยินยอมให้บริษัทต่าง ๆ ทำการอัพโหลดหนังสือขึ้นเสียแล้ว ส่วนผู้ใช้ Kindle เองก็คงรู้แล้วว่าพวกเขาไม่ได้เป็นเจ้าของหนังสือที่เขาซื้อมาซะทีเดียว
ที่มา - Engadget
Comments
ผมว่า คืนเงินไปแล้วกย่าจะ ok นะครับ
ช่วยไม่ได้เจ้าของหนังสือจริงๆไม่ยอมให้ขายซะนี่
ปัญหาที่สำคัญกว่า คือ กลายเป็นเวลาเราซื้อหนังสือ หนังสือไม่ได้กลายเป็นของเราจริง เวลาต้องการใช้งานขึ้นมากลับกลายเป็นว่าอาจจะโดนเจ้าของลบทิ้งไปได้ทุกเมื่อมันไม่เหมือนกับหนังสือทั่วไปที่เป็นกระดาษ ที่เมื่อเราซื้อมาเราจะเอามาอ่านเมื่อไหร่ก็ได้ถ้ามันไม่ขาดไปซะก่อน แล้วต่อให้มันมีปัญหาอะไร ก็ยังเป็นสิทธิ์ของเราจะที่เก็บไว้หรือเปล่าหรือจะส่งคืนสำนักพิมพ์ไป
กลายเป็นว่า E-Book จริงๆ แล้วไม่ได้ซื้อหรอก แต่เป็นยืมสำนักพิมพ์มาอ่าน โดยมีค่าหยิบยืมจ่ายครั้งเดียวที่เท่ากับราคาซื้อหนังสือ เพราะสิทธิ์ในการจัดการกับสำเนาไม่ได้เป็นของเรา สำนักพิมพ์กับ Amazon จะลบมันทิ้งไปเมื่อไหร่
เป็นบทความใน PCWorld ซึ่งให้ความเห็นกับเรื่องนี้ตามที่ผมพิมพ์ (พูดง่ายๆ อ่านบทความนี้แล้วเห็นด้วยอย่างแรง เลยยกมาให้ดูครับ)
PCWorld - Amazon Removes E-Books From Kindle Store, Revokes Ownership
+100
ผมละเกลียดเรื่องแบบนี้จริงๆ เลย มาลบทิ้งกับของที่ซื้อขาดอย่างนี้ถือว่าก้าวก่ายมาก ถือว่า Kindle ไม่น่าใช้อย่างแรง แอมาซอนเลือกที่จะโชว์จุดบอดของเครื่องนี้แล้ว
แต่ก็ดีแล้วที่แอมาซอนสำนึกผิดได้ คราวหน้าคงจะไม่มีอีก หรือหาทางออกที่ดีกว่านี้
+1
LongSpine.com
กำเลย เจ้าของจริงๆก็น่าจะขายต่อไปเลยเน๊อะสงสัยโกรธที่คนอื่นเอามาขาย
เพิ่มเติมครับ
บล็อกของผม: http://sikachu.com
บล็อกของผม: http://sikachu.com
Feedback ของลูกค้าแรงกว่าที่คิดไว้แฮะ อ่านข่าวตอนแรกก็ไม่คิดว่าจะแรงอย่างนี้นะ ...สมมุติว่าคุณเป็นผู้บริหาร Amazon แล้วสามารถเลือกใหม่ได้ จะใช้วิธีไหนแก้ปัญหาละครับ ลองคิดกันเล่นๆไหม...
...ถ้าเป็นผม อาจจะลองวิธีส่งอีเมล์มาบน Kindle ถึงเฉพาะคนที่ซื้อหนังสือเล่มนี้ไป ให้เขาเลือกรับเงินคืนพร้อมคูปองชดเชยค่าเสียอารมณ์ หรือยืนยันจะยังเก็บหนังสือไว้ก็ได้...
ไม่ทราบว่าท่านอื่นมีความเห็นอย่างไรบ้างครับ
\(@^_^@)/
M R T O M Y U M
ปัญหานี้จริงๆ มันมาจากความสะเพร่าของ Amazon ซะมากกว่าที่ไม่ยอมตรวจลิขสิทธิ์ในตัวหนังสือให้เรียบร้อยซะก่อน แล้วพอเกิดเรื่องขึ้นมาก็เล่นใช้วิธีกลบหลักฐานด้วยการลบทิ้งทั้งหมด
ถ้าเอาแบบที่ผมชอบ ก็อยากให้เก็บหนังสือไว้ได้(จริงๆ มันควรจะต้องเก็บเลยล่ะ เพราะถือว่าละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเหมือนกันที่อยู่ๆ จะมาทำอะไรกับเครื่องอ่านของเราก็ได้) แล้ว Amazon ก็ไปเอาเรื่องกับคนอัพโหลดหนังสือแทน เพราะกรณียังงี้ลูกค้าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสักนิดเลย แล้วทำไมต้องมารับเคราะห์จากความสะเพร่าของ Amazon ด้วยล่ะ
ถ้าเป็นผม ผมจะพยายามอย่างสุดความสามารถ ที่จะต่อรองกับเจ้าของหนังสือตัวจริง อาจจะยกค่าหนังสือที่เคยขายลง Kindle ทั้งหมดให้ แล้วทำสัญญาใหม่กับเจ้าของหนังสือนั้น
แล้วก็ฟ้องร้องเอาเงินค่าเสียหายจากไอ้คนที่เอามาขายแต่แรกนั่นแหละ ตัวปัญหาของจริง
ผมคิดว่าคนที่อุตส่าห์เขียนหนังสือ คงไม่ใจแคบถึงขนาดจะตกลงสัญญาใหม่กันไม่ได้
ผมว่าควรให้บริษัทที่เป็นเจ้าของหนังสือฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย (ค่าหนังสือที่ขายได้) กลับมาจากบริษัทที่แอบอ้างดีกว่า ถ้า Amazon กลัวโดนบริษัทเจ้าของหนังสือด่าก็เป็นคนดำเนินการให้เองเลยจะดีที่สุด Happy ทั้งบริษัทเจ้าของหนังสือ และ User ก็ไม่ต้องยุ่งอะไรด้วย
My Blog -> http://paiboonpa.wordpress.com
อ้าว!!!! ทำไมเป็นแบบนี้หล่ะครับ
ของที่ผมใช้เงินซื้อมาแล้ว มันก็ต้องเป็นของผมสิ
นิยามของ "ความเป็นเจ้าของ" มันกำลังถูกท้าทายจากโลกดิจิทัลไงครับ กรอบความคิดแบบเดิมกับสิ่งที่ทำได้ในทางปฏิบัติ มันเริ่มไปด้วยกันไม่ได้แล้ว (ดูกรณีค่ายเพลงกับ P2P เป็นตัวอย่าง)
ชอบประโยคนี้จัง
http://tomazzu.exteen.com
มันมีปัญหาตรงบังคับคืนเนี่ยแหละครับ ที่จริง Amazon ต้องยอมจ่ายค่าหนังสือแทนคนที่เค้าไม่อยากคืนด้วยซ้ำ
The Phantom Thief
ไม่แปลกที่หนังสือจะโดนลบไป
ในเมื่อมันเป็นการซื้อที่เจ้าของไม่ยินยอม
(คล้ายๆ กับไปซื้อแผ่นพันธุ์ทิพย์นั่นแหละ)
และถ้าทำได้
ผมว่า ไมโครซอฟท์และเจ้าของลิขสิทธิ์ application ทั้งหลาย
ก็อยากจะล้วงเข้ามาลบโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์ในเครื่องเราๆ ท่านๆ ได้เหมือน Amazon นี่เลยหละ
ไม่ยินยอมได้ไง Amazon เอามาขายเอง,จ่ายเงินไปแล้ว
จะเอาไปเทียบกับแผ่นผีได้ไงครับ อันนี้หนังสือของแท้ๆ Amazon ขายเองกับมือ
เรื่องสัญยงสัญญา ลูกค้าไม่รู้ด้วยหรอก เป็นเรื่องของ Amazon กับ เจ้าของหนังสือเอง
ถ้าเทียบกับแผ่นผี ต้องกลายเป็นว่าคนซื้อไปแล้วไม่ผิดสิครับ คนขายผิด แล้วปรับจากคนขาย ไม่ Amazon ก็คนเอาหนังสือมาลงนั่นแหละ
The Phantom Thief
"ผมว่า ไมโครซอฟท์และเจ้าของลิขสิทธิ์ application ทั้งหลาย ก็อยากจะล้วงเข้ามาลบโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์ในเครื่องเราๆ ท่านๆ ได้เหมือน Amazon นี่เลยหละ"
เหมือนเคยอ่านผ่านๆ คุ้นๆ ว่าถึงคิดอยากก็จริง แต่จะลบข้อมูลในเครื่องของบุคคลอื่นไม่ได้เลยนะครับ ถ้าทำ จะผิดกฏหมายทันที ถือว่าละเมิดอะไรซักอย่างเนี่ยแหละ หรือทำให้เกิดความเสียหาย.... ถ้าอยากจะจัดการต้องผ่านกระบวนการทางกฏหมายแทน แต่ไม่มีสิทธิ์ไปยุ่งเครื่องของบุคคลอื่นเด็ดขาด
เคยได้ยินแบบงูๆ ปลาๆ ใครพอทราบบ้างไหมครับว่าจริงเท็จยังไง รายละเอียดเป็นยังไง
ผมว่าไม่แฟร์ ถึงจะคืนเงินก็ตาม
อยากขาย e-book ให้ได้เหมือนหนังสือ ก็ต้องขายแบบหนังสือซิ
หนังสือเป็นเล่มๆลูกค้าซื้อไปแล้ว พนักงานจะไปตามซื้อคืนถึงบ้านหรือป่าว??
และลูกค้าก็มีสิทธิ์ไม่ยอมให้คืนด้วย
Amazon แก้ปัญหาไม่ถูก...เสียคะแนนนิยมอ่ะแบบนี้
ถ้าเจออย่างงี้ก็เซ็งเหมือนกันครับ น่าจะมีวิธีที่ดีกว่านี้
linux laptops
ฟ้องร้องได้หรือเปล่าเนี่ย
หรือว่าอยู่ในสัญญาอยู่แล้ว
น่ากลัวเหมือนกันนะ วันดีคืนดีก็ลบทิ้งซะงั้น
ปล.ถ้าเป็นหนังสือจริงๆamazonไม่ส่งพนังงานขึ้นเครื่องมาเอาหนังสือคืนจากที่บ้านหรือนี่
จริงๆ ทางอเมซอนกับบริษัทผู้จัดจำหน่ายรวมถึงเจ้าของหนังสือเอง น่าจะตกลงกันข้างนอกนะครับ
เพราะไหนๆ ลูกค้าก็ซื้อหนังสือมาแล้ว หมายความว่าลูกค้าเองก็มีความสนใจในหนังสือเล่มนั้นๆ
ลบออกกันดื้อๆ แบบนี้เป็นผมก็เซ็งครับ