เป็นอีกมหากาพย์ของวงการคลาวด์สหรัฐมาตั้งแต่ปี 2019 หลัง ไมโครซอฟท์ชนะโครงการ JEDI Cloud มูลค่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ทำให้ ผู้แพ้ AWS ต้องฟ้องศาลว่ากระบวนการคัดเลือกไม่เป็นธรรม และสุดท้าย กระทรวงกลาโหมต้องยกเลิกโครงการ JEDI ไปเมื่อกลางปีนี้
โครงการใหม่ที่มาแทน JEDI มีชื่อว่า Joint Warfighter Cloud Capability (JWCC) โดยแก้จุดอ่อนของโครงการ JEDI ที่มี "ผู้ชนะกินรวบ" เพียงรายเดียว เป็นการกระจายงานให้บริษัทคลาวด์หลายๆ เจ้าแทน อย่างไรก็ตาม JWCC ยังไม่ประกาศมูลค่ารวมของโครงการว่าเท่าไร
ล่าสุดกระทรวงกลาโหมได้ประกาศเชิญบริษัทคลาวด์ 4 รายใหญ่คือ AWS, Microsoft, Google Cloud, Oracle มายื่นข้อเสนอแล้ว ซึ่ง Thomas Kurian ซีอีโอของ Google Cloud ก็ประกาศไว้ล่วงหน้า ว่าจะเข้าร่วมยื่นข้อเสนอ หากได้รับคำเชิญ ส่วน Oracle ก็มีหน้าเว็บระบุถึงข้อดีที่ Oracle จะเข้าร่วม JWCC ด้วยเช่นกัน
ที่มา - ZDNet , ภาพจาก Facebook Department of Defense
Comments
ใครๆ ก็อยากได้โครงการ มันไม่ใช่แค่มูลค่าโครงการ แต่เป็นอนาคตของระบบเครือข่าย และโครงข่ายโลกเสมือนที่ซ้อนทับบนโลกจริง ดูเหมือน Amazon จะป่วนไปซะทุกงานเลย เดี๋ยวก็โดนตอกหน้าหงายด้วยราคาต่ำสุดๆ แบบของ NASA หรอก งานนี้รัฐได้เปรียบเห็นๆ น่าจะมีบางเจ้าสู้ราคาแบบกำไรบางเฉียบเหมือนโครงการของ NASA
เดาว่ายังไงส่วนที่เป็นอุปกรณ์น่าจะถูกแยกออกไป แล้วควบคุมด้วย TOR เพื่อสุดท้ายให้ Microsoft ยังคงได้งาน เพราะกรอบแนวคิดของกลาโหมก็มาจาก Holo Len แล้วก็ไม่มีเจ้าอื่นพร้อมเท่าในเวลาที่จำกัด ส่วนที่เป็นเครือข่ายก็คงแยก TOR ให้เปิดกว้างออกไปให้เจ้าอื่นได้เข้าร่วมประมูลด้วย ส่วนนี้ที่น่าสนใจคือระบบความปลอดภัย และความคงทนในสภาวะแวดล้อมที่ไม่ธรรมดา ที่จะต้องเชื่อมต่อได้ตลอดเวลากับอุปกรณ์ที่อยู่ในสภาวะที่หลากหลาย ร่วมถึงเทคโนโลยีไร้สายผ่านดาวเทียมที่จะต้องรองรับการทำงานของโลกเสมือนด้วย หนักหน่วงกว่า Meta เยอะ แบบว่าโครงการนี้เสร็จแทบจะเป็นการเปลี่ยนโลกเหมือนสมัยที่ Internet ทำได้
"ยินดีต้อนรับเข้าสู่โลกเสมือนบนเครือข่าย Internet ไร้สายความเร็วสูงผ่านดาวเทียม"
Microsoft มี HoloLens ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบอย่างมากในดีลนี้
ยกเว้นจะมีใครไปดีลกับ Meta มาเป็น Partner แต่ถ้าเป็นแบบนั้นก็จะกลายเป็นข้อเสียเปรียบไปด้วยเพราะชื่อเสียงของ Meta นั้นย่ำแย่เกินกว่าที่กลาโหมสหรัฐจะกล้าเสี่ยงนำมาใช้ในการทหาร
ถ้าให้แบบรอมชอมคือให้ Microsoft ชนะโครงการส่วนใหญ่ แล้วให้เจ้าอื่นได้บางส่วนไปแทนเพื่อกันถูกฟ้องร้อง
อะแฮ่ม นี่มัน Cloud Infrastructure ฮะ ต้นทางไม่มีอะไรพูดถึง AR/VR สักนิดเลยครับ
มันมีภาพใหญ่อยู่ลองไปหาดูครับ ข่าวไอทีอาจไม่มีอาจต้องไปหาข่าว military
ถ้าจะกรุณา แปะทางมาให้หน่อยได้ไหมครับ นี่ไปดูที่ทาง SAM.gov เอง ไม่ทราบว่า AR อยู่ตรงไหนในนิยาม "Required Capabilities"
ต้นเรื่องมันมาจากกองทัพบกสหรัฐมีโครงการชื่อ Multi Domain Operation ซึ่งเป็นภาพใหญ่ของโครงการทั้งหมด โดยมีความต้องการเชื่อมโยงเครือข่ายของทุกกองทัพเข้าด้วยกันด้วยระบบเครือข่ายความเร็วสูงผ่านดาวเทียม มันจึงจำเป็นต้องมี Cloud Infrastructure มารองรับข้อมูลที่ถูกส่งมาจากเหล่าทัพต่างๆ เลยเกิดโครงการ JEDI ขึ้นมา ซึ่ง Microsoft ประมูลได้ในรอบแรก แล้วโดนล้มประมูลไปhttps://www.youtube.com/watch?v=0veKALRh6n4
การนำข้อมูลมาใช้งานในส่วนกองทัพบก จะนำมาใช้งานผ่านโครงการทดแทนหมวกที่เป็นแว่นตา Infrared เดิม โดย Microsoft ประมูลได้ซึ่งพัฒนาจากพื้นฐานของ HoloLens
https://www.youtube.com/watch?v=XTV13SDWB-g
https://www.youtube.com/watch?v=x8p19j8C6VI
ส่วนเหล่ากองทัพอากาศมีการใช้งาน AR มานานแล้วในหมวกนักบินขับไล่ F-35 เพียงแต่ข้อมูลยังไม่ถูกแชร์ไปให้กองทัพอื่นได้ ถ้าโครงการนี้เกิด ข้อมูลจากหมวกนักบินที่นักบินเห็น ทหารราบ รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องก็จะเห็นข้อมูลนี้ด้วยเช่นกัน ในแบบเกือบ Real-timehttps://www.youtube.com/watch?v=k3aimm04SWU
ไม่ต้องแปลกใจทำไมรัสเซียถึงยิงดาวเทียมของตัวเองโชว์ เหตุผลก็จากโครงการ Multi Domain Operation นี้แหล่ะ ผิดถูกยังไงก็ขออภัยด้วยครับ ข้อมูลโครงการมันน้อยจริงๆ
ผมว่ายังไง AWS ก็แพ้อยู่ดีล่ะครับ
I need healing.
AWS สู้ราคาไหวหรอครับ :)
อารมณ์คล้ายๆ Blue Origin จัง แพ้ก็ฟ้อง แต่อันนี้กระทรวงกลาโหมดันช่วยครึ่งๆ ล้มโครงการได้ด้วย Microsoft ไม่เสียหายหรือไงนะ