คดีของนาย Kai Fu Lee ที่ย้ายจากไมโครซอฟท์ประเทศจีน ข้ามวิกมาอยู่กับกูเกิล เคยเป็นคดีดังที่ต่อสู้กันมาอย่างยาวนาน แต่หลังจาก Kai Fu Lee ทำงานในฐานะผู้จัดการใหญ่ของกูเกิลประเทศจีนมาได้ 4 ปี เขาก็ประกาศลาออกจากกูเกิลแล้ว
ในบล็อกอันล่าสุดของ Kai Fu Lee ชื่อ Goodbye, Google ( Google Translate ) เขาบอกว่าเป็นโอกาสอันดียิ่งของตัวเองที่เริ่มสร้างกูเกิลในประเทศจีนมาตั้งแต่ต้น จนปัจจุบันเริ่มเติบใหญ่ แต่หลังจากทำงานในบริษัทไอทีระดับโลกทั้งแอปเปิล ไมโครซอฟท์ และกูเกิลมาหมดแล้ว (Kai Fu Lee เคยทำงานกับ SGI ด้วยอีกแห่ง) เขาบอกว่าได้เวลาที่จะสร้างบริษัทเทคโนโลยีของคนจีนขึ้นมาสักที โดยขั้นต่อไปเขาจะช่วยผลักดันคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ให้ทำฝันได้เป็นจริง
Kai Fu Lee ยังไม่เปิดเผยชื่อบริษัทใหม่ แต่มีข่าวลือว่าเป็นบริษัท Innovation Works ซึ่งลงทุนในธุรกิจทางด้านเทคโนโลยีของจีน
ที่มา - CN Reviews
Comments
ใข่ฟูลี
@TonsTweetings
ดีจังเลยนะครับ - สำหรับประเทศจีนนะ
ผมว่าคนจีนนี่ชาตินิยมพอสมควรเลยนะเนี่ยเห็นบ่อยๆ ที่ไปเรียนรู้จากต่างชาติ แล้วเอากลับมาพัฒนาประเทศ
เห็นด้วย +100
+1
คนญี่ปุ่นด้วย
Windows 7 Professional on my ThinkPad T61 is very stable!
แล้วคนไทยล่ะ
ไล่ออกนอกประเทศไปแล้วนิ ไปตามกลับมาซิ รากหญ้าคงดีใจ
บางที่ก็โอนสัญชาติไม่กลับไปอีกเลย
ที่ค้างๆ เป็นอาจารย์อยู่ตาม IVY League นี่ก็ยังอีกเยอะครับ นับปริมาณที่กลับไปแบบช่วยชาติ นี่ผมว่าก็ไม่ได้เยอะขนาดนั้นนะ
LewCPE
lewcpe.com , @wasonliw
+1
LongSpine.com
ถ้าบ้านเมืองไทยดีขึ้น ไม่มีการ corruption จนคนดีไม่มีที่อยู่ละก็
ใครๆก็อยากอยู่นะ
อยากเห็นประเทศพัฒนาจัง
'คนดี'ที่เมืองไทยมีเยอะแยะ คนธรรมดาอยู่ไม่ได้ :)
LongSpine.com
มันไม่เกี่ยวกับการ corruption ทั้งหมดครับ (ไม่เกี่ยวเลยก็ไม่จริงใช่ม่ะ)
แต่การดึงสมองกลับประเทศอย่างไม่ลืมหูลืมตา เป็นเรื่องที่น่าจะแย่ที่สุดเท่าที่เราจะนึกออก สำหรับประเทศเราเอง ต่อให้ไม่มีการคอร์รัปชั่นเลยแม้แต่บาทเดียว (ไม่นับว่าเราต้องนิยามคอร์รัปชั่นให้ตรงกันก่อนนะ) ในฐานที่ประเทศเรายังขาดทรัพยากรหลายๆ อย่าง ก็เป็นเรื่องที่เหมาะสมดีแล้วที่แรงงานชั้นดีจำนวนหนึ่งควรอยู่ต่างประเทศต่อไป
ผมเคยคุยกับผู้บริหารอินเทล ท่านให้ความเห็นเล็กๆ ว่าอินเทลทุกวันนี้แทบจะเป็นอินเดียเทลอยู่แล้ว เดินไปทางไหนเห็นโพกหัวกันเต็ม
เรามองแล้วคิดอย่างไรครับ??? คิดว่าคนพวกนั้นทรยศชาติให้กำเนิดไปทำงานให้ต่างชาติอย่างนั้นหรือ?
การพัฒนามันมีขั้นตอนของมันครับ ประวัติศาสตร์ก็สอนเราได้ดี ญี่ปุ่น อินเดีย จีน ก็ล้วนผ่านเส้นทางคล้ายๆ กัน จากแรงงานราคาถูก ทำของเกรดต่ำ เรียนรู้เทคนิค พัฒนาบุคคลากรภายใน เพิ่มขนาดเศรษฐกิจ การบริโภคในประเทศ แล้วค่อยก้าวขึ้นไปสู่เทคโนโลยีขั้นสูง สร้างแบรนด์ของตัวเอง พัฒนาแรงงานเป็นแรงงานระดับมันสมอง
บ้านเราพอเห็น outsource เยอะเข้าหน่อย ผมเห็นหลายคนร้องยี้ว่าเป็นแรงงานให้ต่างชาติเสียแล้ว
ในความเห็นผม แนวคิดอย่างนั้นล่ะครับ ถ่วงความเจริญ
LewCPE
lewcpe.com , @wasonliw
เห็นด้วยครับ
สุดท้ายแล้วมันก็เป็นทางเลือกของคนคนนั้นอยู่ดี ตราบใดที่เขาเป็นคน เขาก็มีสิทธิใช่ไหมครับ จะไปเรียกเขาว่าทรยศชาติก็ไม่ใช่ ถ้าคิดดูให้ดีหลาย ๆ คนก็ยังส่งเงินกลับมาเลี้ยงครอบครัวของเขาในประเทศอยู่ดี? ถึงแม้ถ้าเขาออกไป ไม่มากก็น้อยเขาก็ต้องเผยแพร่ความเป็นไทยออกไปอยู่ดี
@TonsTweetings
"คุณเป็นคนไทยหรือเปล่า?"
!
ถ้าเป็นคนไทยควรฟังไว้ครับ
เข้าใจความหมายผมผิดแล้วครับ คำพูดนี้มันอยู่ในเครื่องหมายคำพูดอีกทีนะ :)
ผมว่าความเห็นนี้แหละ เป็นคนไทยแท้ๆ เลย
เพราะจากที่คุยกับคนไทยหลายๆ คนที่ไม่เคยเจอคนอื่นเลยนอกจาก "คนไทย" จะมีความคิดแนวๆ นี้ทั้งนั้น
โดยเฉพาะ "ข้าราชการ"
CMDEVHUB
เขียนเอามันส์ ลองเข้าไปดูความมันส์ได้ครับ
รู้จักข้าราชการครบทุกสายแล้วหรือ
+1
โอ้ววว เห็นด้วย ถ้าผมเก่งๆ ผมก็อยากไปเรียนรู้ให้มันเต็มที่ เก็บเกี่ยวให้มันเต็มที่ ทำไมต้องรีบร้อนกลับมาพัฒนาประเทศตัวเอง ทั้งๆ ที่ความรู้และประสบการณ์ยังไม่มาก ทั้งๆ ที่แทบจะไม่มีที่ให้เรายืนได้เต็มเท้า (ที่ยืนน่ะมี แต่มันไม่เต็มเท้า หมายถึง มีที่ให้พัฒนา แต่ไม่ได้สะดวกมากนัก ต้องมีอะไรให้ติดขัดอยู่เรื่อย) แล้วการไปทำงานต่างประเทศไม่ได้หมายความว่าไปทำให้ประเทศเขาเจริญอย่างเดียวสักหน่อย เราก็เอาเงินเขาขนมาเข้าประเทศเราไม่ใช่หรือ เมื่อเราขนกลับเข้าประเทศมาได้เยอะๆ แล้ว ตอนนั้นค่อยเอาไปลงทุนให้ออกดอกออกผลก็ยังไม่สาย ผมเชื่อว่าพัฒนาประเทศตอนที่เราตัวใหญ่ (มีเงิน มีประสบการณ์ และที่สำคัญที่สุดคือมีความรู้) ย่อมจะรวดเร็วและติดขัดน้อยกว่าตอนที่เราตัวเล็กๆ ^^
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
เงินมีเท่าไหร่ก็ใช้หมดครับ
ที่สำคัญ ถ้าหากเก่งขนาดไปอยู่ต่างประเทศได้แล้ว คิดว่าเขาจะกลับมาประเทศไทยอยู่เหรอครับ
อีกอย่าง คนที่จะไปอยู่ตรงนั้นได้ "ต้นทุนชีวิต" เขาต้องสูงอยู่พอสมควรแล้ว มันไม่ทำให้ประเทศรวยขึ้นหรอกครับ
ถ้าหากระบบการศึกษาในประเทศไทยยัง "ห่วยแตก" แบบนี้เหมือนเดิม โดยเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ ที่สอนท่องจำเป็นนกแก้วนกขุนทอง สอบได้เกรด 4 เจอฝรั่งถามทางวิ่งหนี มีเยอะแยะไป
ปล. วิชาคณิตศาสตร์ก็สอนให้ท่องจำอย่างเดียว อย่าง diff equation เจอโจทย์ที่เป็นสมาการมาแล้วเทพมากๆ แต่พอเจอโจทย์คำถามที่ต้องตีโจยท์เอง ตายเกือบทุกราย
CMDEVHUB
เขียนเอามันส์ ลองเข้าไปดูความมันส์ได้ครับ
+1
---
Khajochi Blog : It's not a Bug ... It's a Feature
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
เห็นด้วยกับการที่ส่งคนออกนอกเพื่อไปเรียนรู้ แต่ก็ควรเปิดให้คนๆ เดิมคนนั้น ได้มีโอกาสกลับประเทศเพื่อพัฒนาบ้านเมืองเค้าให้มากขึ้นครับ ตรงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องกลับ แต่น่าสำหรับคนที่อยากกลับก็น่าจะทำได้ง่ายกว่านี้ก็แค่นั้นเอง แล้วคนที่ไม่อยากกลับก็ไม่ได้หมายความว่าเค้าทรยศชาติเช่นกัน เป็นแรงงานให้ต่างชาติก็ไม่ได้ผิดอะไร ยิ่งถ้ามาจ้างในประเทศเรายิ่งดีใหญ่ที่ช่วยสร้างงานให้คนในชาติเรา
กรณีที่คุณ lew กล่าวถึงการพัฒนาอย่างมีขั้นตอนนั้น การก้าวไปสู่เทคโนโลยีขั้นสูงของจีนและอินเดีย ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการที่ปล่อยให้ต่างประเทศเข้ามาลงทุน เพื่อให้คนในประเทศได้เรียนรู้จากงานที่บริษัทต่างชาติเอาเข้ามา และประเทศก็ค่อยให้คนในชาติมีโอกาสลงทุนได้ง่ายอีกที ทำให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ในชาติ เลยได้เทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้อย่างรวดเร็ว
ส่วนกรณีคอรัปชั่น ผมว่ามันก็แค่ข้ออ้าง มันมีทุกประเทศแหละ ไม่ว่าจะเจริญแค่ไหนก็ตาม ก็เลือกเอาที่ๆ เหมาะกับตัวเองและมีความสุขแหละครับ
ถ้าผมเข้าใจผิดอะไรก็ขอคำแนะนำนะครับ พิมพ์เยอะซะงงตัวเองเลย คงต้องมีอะไรผิดบ้างแน่ๆ :)
corruption ไม่ใช่ปัญหาที่คนเก่งอยู่ไม่ได้ แต่เพราะระบบที่คอยจะเหยียบกัน ไม่ช่วยเหลือกัน ทำงานที่เดียวกัน แต่เหมือนออกรบเดี่ยว ไม่ได้โตเพราะเลียไม่เก่ง ทำเป็นแต่งาน คนเก่งมันเลยหนีไปเอาสัญชาติเมกันกันหมด
คนไทยเองก็ใช่ว่าไม่อยากจะกลับนะครับ แต่กลับไปแล้วไม่มีงานที่อยากทำจะกลับไหม? มีเหตุไหนบ้างที่จูงใจให้เรากลับนอกจากเพื่อนและครอบครัว? แล้วคำถามที่ผมว่าสำคัญที่สุดคือ ประเทศเราต้องการการพัฒนาจริงหรือ? และถ้าคนจบสูงๆกลับไปเขาจะได้รับโอกาสในการพัฒนาประเทศไหม?
ที่จีนเขาตอบปัญหานี้ได้ในระดับหนึ่ง คือมีงานที่น่าสนใจรองรับ มีบริษัทเกิดใหม่ที่มีระบบทันสมัย บริษัทต่างชาติที่ไปลงทุนต้องการ
LongSpine.com
ตามนี้เลย +100000
ใช่ครับ ส่วนตัวคิดว่านี่แหละคือสิ่งที่อยากให้ไทยทำได้
เพราะประเด็นไม่ได้เกิดจากว่าไปทำงานนอกประเทศ แต่เพราะประเทศเรายังขาดปัจจัยส่งเสริมให้คนที่มีความสามารถนำความสามารถนั้นกลับมาพัฒนาประเทศต่างหาก เลยทำให้คนเก่งๆ ที่เราพัฒนา กลายเป็นทรัพยากรของประเทศอืนไป
หากมองกลับกัน การที่รัฐต้องการส่งเสริมพัฒนาคนนั้นก็มีงบประมาณที่จำกัด แทนที่จะได้พัฒนาคนที่ทำประโยชน์ให้คนในชาติต่อไป กลับไม่สามารถนำสิ่งที่พัฒนาให้กับคนอื่นๆ ต่อไปได้
สรุป ในมุมปัจเจกผมว่าไม่ผิด แต่ในมุมของประเทศก็เสียดายครับ
จีนค่อยๆเข้าใกล้การเป็นผู้นำโลกเข้าไปทุกที ^^"
อยากให้คุณ Kai Fu Lee เขียนหนังสือจังเลย นี่แค่ข่าวสั้นๆยังให้แรงบันดาลใจตั้งเยอะ!
Search Engine ยอดนิยมในจีนไม่ใช่กูเกิลเลย รู้สึกจะชื่อ Baidu
baidu มี ค้นหา MP3 ให้หลาเลย เหอะๆ
ประเทศที่ internet อยู่ในแนวหน้าเค้าคงไม่ค่อยติดกูเกิ้ลกันมั๊งครับ ญี่ปุ่นก็ฮิต Yahoo! เกาหลีก็ใช้ Naver ส่วนจีนเค้าก็มี Baidu
ต่อไปบริษัทนี้คงน่าจับตาแน่นอนเพราะ lab ของเล็กนุ่มในจีนคนก่อตั้งก็คือตาหลี่ไคฝูคนนี้แหละครับ ต่อมาก็มาสร้าง lab ในจีนให้กูเกิ้ล คราวนี้ทำเองน่าจะเจ๋งกว่าเดิมอีก รอติดตามกันต่อไป
Naver นี่เพิ่งเคยได้ยินวันนี้เลย ต้องลอง :P
Acting Reporter & My Elder Brother Blog
ผมไปเกาหลี pc ให้บริการทุกเครื่องจะเซ็ต Naver เป็น default website เลยครับเพิ่งรู้จักตอนไปเกาหลีนี่แหล่ะ
รอเราเริ่มเจอมนุษย์ต่างดาวเมื่อไหร่ เราก็คงจะเริ่มไม่รู้สึกว่าเป็นประเทศใครประเทศมันขึ้นมา ต้องช่วยกันทั้งโลกแล้ว 555+
ขอแสดงความเห็นที่ไม่เกี่ยวกับนายไข่ฟู แต่เกี่ยวกับประเด็นในหลายๆ ความเห็น
ผมว่า คนที่จะแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องชาติไทยนั้น
ประการแรกเลย น่าจะตรวจสอบตัวเองก่อน
ว่า แค่ "รักชาติ" หรือถึงขนาด "คลั่งชาติ"
นะครับ
ข้อสังเกตอีกประการ
ไม่รู้เป็นไง
เวลาคุยเรื่องความเจริญของประเทศอื่น
จะต้องมีคนแอบด่านักการเมือง กับการศึกษาของคนไทยอยู่เรื่อย
(แค่สงสัยว่า ด่าแล้วมันจะได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา ?)
ประโยชน์ของการถกประเด็นเรื่องเกี่ยวกับประเทศ (อย่างที่เรียกว่าสาดความรู้ใส่กัน) คือทำให้คนที่ได้มาอ่านมีความรู้มากขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อประเทศประชาธิปไตย เพราะระบบนี้จะช่วยส่งเสริมให้เป็นไปตามที่คนส่วนมากอยากให้เป็นครับ
เห็นด้วยครับเถียงกันสิครับดีแต่เถียงกันด้วยปัญญาน่ะครับ การเถียงแบบนี้แต่ล่ะครั้งนี้แหล่ะที่ทำให้เกิดการเรียนรู้